|
ประจำเดือนผิดปกติ |
ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหากับ ประจำเดือนอย่างน้อยๆ ก็อาการ ไม่สบายตัว ก่อนที่คุณจะคิดว่าการมีรอบเดือนของคุณนั้นผิดปกติ ควรทำ ความเข้าใจกับรอบเดือน ปกติเสียก่อน ว่าเป็นฉันใด... |
ประจำเดือนปกติ |
ประจำเดือน คือเลือดที่ออกจากโพรงมดลูกเป็นรอบๆ ห่างกันทุก 28 วัน ผิดพลาดได้ไม่เกินบวกลบ 7 วัน หมายความว่า บางเดือน หรือ ของ บางคน รอบของประจำเดือนอาจจะเป็น 21 วัน 22 วัน หรือ30 วัน 35 วันก็ได้ ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะเวลาที่มีเลือดประมาณ 2-7 วัน โดยปริมาณเลือดที่ไหลออกมาทั้งหมด ราวๆ 20-60 ซีซี ต่อรอบ |
เด็กสาวที่เริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ ในช่วง 1-2 ปีแรก จะมีประจำเดือน ไม่สม่ำเสมอ รอบมักจะยาว บางคน 2-3 เดือนจึงจะมาสักครั้ง เนื่องจาก การทำงานของรังไขยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือน จึงมาห่างๆ และมักจะมามากนานหลายวัน หลังจากนั้น เมื่อเข้าที่เข้าทาง ก็จะมีรอบเดือนสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะมีการตกไข่ ทุกเดือน |
ปัจจัยที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม เชื้อชาติ สิ่งแวดล้อม แสงสว่าง ความอ้วน ผอมของร่างกาย สุขภาพทั่วไป สภาวะ ทางจิตใจ และเชื่อหรือไม่ คนที่อาศัยอยู่ในเมือง หรือประเทศใกล้เส้น ศูนย์สูตร พื้นที่ระดับน้ำทะเล เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีประจำเดือน เร็วกว่า พวกที่อยู่ในชนบทไกลจากเส้นศูนย์สูตร หรืออยู่บนยอดเขา เช่น ธิเบต เป็นต้น ที่น่าแปลกก็คือมีการศึกษาพบว่า เด็กที่ตาบอดกลับมีประจำเดือนเร็วกว่าเด็กปกติ แสดงว่า แสงสว่างน่าจะมีผลต่อการ มีประจำเดือนด้วย |
สาเหตุของการมี ประจำเดือน ผิดปกติ |
ความไม่สมดุล ของระดับ ฮอร์โมน เป็นสาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุด ของ การมี ประจำเดือน ไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือน ออกมาก มักเกิดจากการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ เรียกว่าภาวะประจำเดือน ออกผิด ปกติ (Dysfunctional uterine bleeding หรือ DUB) |
สาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล |
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น หรือวัยใกล้ หมดประจำเดือน |
โรคเบาหวาน, ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ ;หรือต่อมใต้ สมอง(Pituitary) หรือความผิดปกติอื่นๆ |
อ้วนมากเกินไป |
ภาวะเครียด |
การออกกำลังกายหนักเกินไป |
ความผิดปกติของการทานอาหารบางอย่าง เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia nerversa) |
เนื้องอกของมดลูก : |
ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกประเภทนี้มักเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ค่อยมี เนื้อร้ายซึ่งนอกจากทำให้มีเลือดออก ผิดปกติแล้ว ยังอาจ ทำให้รู้สึก ปวดหรือถ่วงในท้องน้อยได้ด้วย |
สาเหตุอื่นที่พบไม่บ่อยเช่น |
การตั้งครรภ์นอกมดลูก |
ผลจากยาบางอย่าง เช่น ยาประเภทฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิด |
มีโรคที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ |
การติดเชื้อ หรือมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ |
ปัญหาจากการใส่ห่วงอนามัย |
เยื่อบุช่องคลอดที่บางและเกิดแผลอักเสบง่าย |
ข้อมูลจาก : นิตยสาร Health Today |
 |