ฐะปะนีย์ นาครทรรพ |
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ เป็นนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีไทย มีงานเขียนเกี่ยวกับตำราภาษาไทยหลายเล่ม รวมทั้งบทร้อยกลองอีกเป็นจำนวนมาก ฐะปะนีย์ นาครทรรพ สกุลเดิม ณ ถลาง เป็นบุตรีพระยาอมรฤทธิธำรง และคุณหญิงอมรฤทธิธำรง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2564 ที่บ้านแลขที่406 ถนนประตูโพธิ์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สมรสกับศาสตร์จารย์ ดร.อรรถ นาครทรรพ อาจารย์ใน มหาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่44 ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน 9 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
การศึกษา เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนศึกษากุมารี จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นโรงเรียนของคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียน และเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียน เดียวกันจนจบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพ โดยเข้าเรียนชั้นมัธยมปี่ที่ 6 ที่โรงเรียนสตรีจุลนาค แล้วย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์จนจบชั้นมัธยมปีที่ 7 ในปี พ.ศ. 2480 เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 พ.ศ.2482 เข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้ และศึกษาจนได้ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต |
ประวัติการทำงาน พ.ศ.2488 เป็นครูประจำชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียน ศึกษากุมารี นครศรีธรรมราช พ.ศ.2498 รับราชกาลเป็นครู่ทีโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช พ.ศ.2492 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมวังจันเกษม และในปี พ.ศ.2493 ไดัรับทุนกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนล U.S.A. ได้รับปริญญาโท M.A ทางวรรณคดี อเมริกันและสัทศาสตร์ พ.ศ.2496 ย้ายไปเป็นครูใหญ่โท โรงเรียนสตรีฉะเชิงเทรา เป็นเวลา 2 ปี พ.ศ.2498 เป็นนักศึกษานิเทศน์ กรมวิสามัญศึกษาสายวิชาภาษาไทย จนถึง พ.ศ. 2502 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ |
พ.ศ.2516 โอนไปเป็นอาจารย์ ในภาควิชามัธยมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2523 ลาออกจากราชการ มีความสนใจการประพันธ์บทร้อยกลองมาตั้งแต่เรียน โดยกลอนบทแรกที่แต่งชื่อ ผ้าดำผ้าขาว ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ชอบเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม เช่น ส่งเสริมภาษาไทย ส่งเสริมพุทธศาสนา เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ให้คติเตือนในในการใช้ธรรมะช่วยในดารดำรงชีวิต ซึ่งการเขียนแนวนี้ ส่งผลให้ได้รับคัดเลือกจากกรมศาสนา ให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพุทธศาสนาด้านหนังสือและคำประพันธ์ประจำปี พ.ศ.2525 ผลงานของฐะปะนีย์ที่ได้รับรางวัลมี บทดอกสร้อย ฝนทั่งเป็นเข็ม |
ได้รับรางวัลจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ.2484 มือของฉันและปาทิไลย์ช้างแสนรู้ ซึ่งเขียนร่วมกับกาหลง พานิช ได้รับรางวัลจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2515 นิทานภาพพุทธรักษา ได้รับชมเชยในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำปี พ.ศ.2524 สำหรับผลงานด้านวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่มีหนังสือเรียนภาษาไทยและคู่มือครูวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมสึกษาตอนต้นและตอนปลาย ของกรมวิชาการ |
รูปฐะปะนีย์.GIF |
ผลงานวรรณกรรมอื่น ๆ 1. บทอาศิรวาทในโอกาศต่าง ๆ 2. ไทยปฐพีร่มเย็น คำกาพย์ พิมพ์ในหนังสือ เพ็ญพระพิริยะเกินจะรำพัน ของสมาคม ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย 3. พลังแห่งทศพิธราชธรรม พิมพ์ในหนังสือ พระมิ่งขวัญจิตรลดา เนื่องในโอกาสที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช มีพระชนมายุครบ 5 รอบ 4. ใต้ร่มพระมหากรุณาธิคุณ พิมพ์ในหนังสือ จิตรลดารวมใจ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ5. หนังสือทศชาติคำกาพย์ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมต้นม.6 6. หนังสือ สัชชุริสธรรม (หนังสืออ่านเพิ่มเติม) วิชาสังคมศึกษา 7. หนังสือ หนูน้อยพลอยเพลิน (บทร้อยกลอง สำหรับเด็ก) 8. หนังสือ ศึกษาภาษิตและร้อยกลอง (บริษัท ต้นอ้อ จำกัด |
9. หนังสือ จากใจแม่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับ ประถมศึกษา 10. บทวิทยุรายการ อยู่อย่างไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2536) ประมาณ 50 เรื่อง 11. บทโทรทัศน์รายการ อยู่อย่างไทยประมาณ 40 เรื่อง 12. หนังสือ ภาษา-พาสาร ว่าด้วยสำนวนไทย 13. หนังสือ การประพันธ์ (ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์) 14. หนังสือ การเขียน 2 ระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย 15. เอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช 5 ชุดวิชา ได้แก่ การใช้ภาษาไทย การสอนภาษาไทย การอ่านสำหรับครู การ เขียนสำหรับครู และพัฒนาการวรรณคดีไทย 16. หนังสือเรียนภาษาไทย ที่ทำร่วมกับคณะ กรรมการ สื่อการเรียนภาษาไทยของกรมวิชา การระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยม ศึกษาตอนปลาย |
เกียรติคุณที่ได้รับ (ภายหลังเกษียณอายุ)1. ศาสตร์จารย์กิตติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2525 2. เสมาธรรมจักรประเภทบำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อ พุทธศาสนาด้านหนังสือและคำประพันธ์ พ.ศ.2525 3. โล่เกียรติยศศึกษานิเทศก์ดีเด่น จากสมาคม ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 25287 4. โล่นักกลอนดีเด่น จากสมาคมนักกลอนแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2529 5. พระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2533 |
6. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2533 7. โล่ประพันธ์เพลงให้แก่สถาบันเทคโนโลยีราช มงคล 8. โล่เกียรติคุณคนดีเมืองนครศรีธรรม วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2533 9. ศิษย์เก่าดีเด่นของสวนสุนันทา ประจำปี พ.ศ. 2534 10. ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (ร้อยแก้วร้อยกลอง) ประจำปีพุทธศักราช 2535
|