จ่าง รัตนะรัต

 

 

รูปนายจ่าง รัตนะรัต.GIF

 

นายจ่าง รัตนะรัต หรือ ดร.จ่าง เป็นนักการศึกษานักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และนักบริหาร อาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์คนแรกของภาคใต้ในยุคปัจจุบันท่านได้เริ่มชีวิตจากชนบท ศึกษาเล่าเรียนจากวัด ตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ในชั้นเรียนต้น ๆ เป็นผู้ที่มีความมานะพยายามสูง สามารถสร้างสถานภาพของตนเองจนเป็นบุคคลชั้นนำของประเทศในเวลาต่อมานายจ่าง รัตนะรัต เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2447 ที่บ้านบางหรง ตำบลบางนบ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

บิดาชื่อนายล่อง มารดาชื่อนางเลื่อน เป็นบุตรคนที่สองในจำนวนพี่น้องห้าคน ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่วัดท่าซอม อำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

และไปศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และได้รับทุนดีที่สุดของมณฑลนครศรีธรรมราชให้ไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบไล่ได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์ (มัธยมศึกษาปีที่ 8) และประโยคครูมัธยม (ป.ม.) เมื่อปี พ.ศ.2466

ปี พ.ศ.2466 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนประจำมณฑลนครศรีธรรมราชคือโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ซึ่งในขณะนั้นชั้นสูงสุดของโรงเรียนมีเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นายจ่าง ได้เป็นครูชุดแรกของโรงเรียนมหาวชิราวุธ

 

ที่ได้บุกเบิกให้มีชั้นเรียนสูงขึ้นถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 และได้เป็นครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 เป็นคนแรกของโรงเรียนแห่งนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2470 นายจ่าง ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการให้ไปเรียนวิชาเคมีที่ประเทศ เยอรมนี ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเยนา

จนได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิต เมื่อ พ.ศ.2478 ต่อจากนั้นได้ทำงานวิจัยที่สถาบันโลหะ ที่เมืองสตุตการ์ด ประเทศเยอรมนีอีก 1 ปีได้เข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.2497 – 2485จึงได้รับคำสั่งจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฎิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวง อุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ.2488

 

 

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2506 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และได้ครบเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ.2507 ขณะที่ทำหน้าที่ครูก็เป็นครูที่สอนได้เกือบทุกวิชา เป็นครูที่มีความรู้ดีเยี่ยม สามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ประทับใจของศิษย์ในสมัยนั้นเป็นอันมาก

เมื่อเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ก็ยังเป็นที่รักและประทับใจของผู้ใต้บังคับบัญชา ดังที่ข้าราชการของกรมวิทยาศาสตร์ทุกคนในสมัยนั้นเห็นพ้องกันว่า “ท่านเป็นคนดู” ดุจริง ๆ แต่การดุของท่านไม่ได้เป็นโทษแก่พวกเราเลย กลับเป็นบุคคลเพิ่มความรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติงาน เพราะท่านดุไปสอนไป ให้แง่คิดต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมนานไปพวกเราก็เลยรู้ว่าท่านดุแต่ปากแต่น้ำใจนั้นประเสริฐนัก

 

มิได้อาฆาตพยาบาทใครไม่เคยเอารัดเอาเปรียบ มีแต่ให้…อย่างเดียว” นี่คือคำอำลาต่อท่าน ดร.จ่าง รัตนะรัต ในสมัยที่ท่านเป็นอธิบดีที่สำคัญคือทำให้งานของกรมวิทยาศาสตร์พัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอันมาก ทำให้หน่วยงานทางวิทยาศาสตร์แตกแขนงไปหลายหน่วยงาน เช่น สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งล้วนแต่จากการริเริ่มของ ดร.จ่าง รัตนะรัต ทั้งสิ้น

นับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่เป็นต้นมานั้น ได้มีการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้อย่างรีบด่วน บ่อยครั้งขาดความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง


 

 

มีผลให้การประยุกต์ดังกล่าวมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย จนสาธารณชนเกิดวิกฤตศรัทธาต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.จ่าง รัตนะรัต ได้เป็นผู้ผลักดันการวิจัยการใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและการแก้ไขปัญหาในทิศทางที่ถูกต้องมาโดยตลอดชีวิต ลูกหลานและมิตรสหายที่ใกล้ชิดทราบว่า ดร.จ่าง มีความห่วงใยวิกฤตศรัทธาของสาธารณชนและได้ ปรารภถึงการแก้ไข ลูกหลานของท่านจึงมีความเห็นว่า สมควรจะสืบทอดเจตนารมณ์นี้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับความเข้าใจในการใช้วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง โดยได้ร่วมกันจัดตั้ง “กองทุน ดร.กระจ่าง รัตนะรัต เพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2536 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด อายุ 89 ปี ของท่าน

 

     โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ

  1. เพื่อให้บุคคลในวงการต่าง ๆ และสาธารณชนได้เข้าใจคุณค่าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
  2. เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องชีวิตกับชีวิตประจำวัน
  3. เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจประโยชน์ของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ถูกต้องรวมทั้งผลเสียและอันตรายอันเกิดขึ้น หากผู้ใช้ขาดความเข้าใจและขาดการวางแผนที่ดี
  4. เพื่อให้บริการทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานตามที่มีผู้ขอร้อง


 

 

 

ทำให้เกิดศรัทธาและสามารถชี้แจงให้ผู้อื่นได้รับทราบ จนขยายวงกว้างเพิ่มศรัทธาต่อวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยในระยะยาวอันจะนำไปสู่ทัศนคติที่ถูกต้องและให้ความร่วมมือต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาประเทศ

ดร.จ่าง รัตนะรัต เป็นนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจสังคมไทย และวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง จึงได้มีความห่วงใยในวิกฤตศรัทธาดังกล่าว คุณสมบัติที่สำคัญอื่น ๆ ของท่านก็คือ เป็นผู้ที่มีความจำดีเลิศ เป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ มีความเป็นระเบียบ เป็นคนกล้าตัดสินใจไม่โลเลมีความรู้ดีเยี่ยม

 

เป็นนักวิชาการที่สามารถนำความรู้มาใช้ในงาน

อุตสาหกรรมได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว จึงทำให้ ดร.จ่าง รัตนะรัต ได้ชื่อว่า เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมเคมีพื้นฐานของประเทศไทย

ในด้านชีวิตครอบครัว ดร.จ่าง รัตนะรัต ได้สมรสกับนางสาวระเบียบ วิชัยดิษฐ์ (คุณหญิงระเบียบ รัตนะรัต) ได้มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน ซึ่งล้วนแต่มีตำแหน่งหน้าที่การงานและประสบความสำเร็จในชีวิตกันทุกคน

ดร.จ่าง รัตนะรัต ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2536 สิริรวมอายุได้ 89 ป