อำเภอทุ่งสง |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา พื้นที่ตั้งอำเภอทุ่งสงปัจจุบัน มีหลักฐานการสร้างป่าเป็นนา หรือการพัฒนาป่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ฉบับบุดขาว อักษรไทยย่อว่า เมื่อประมาณมหาศักราช ๑๕๘๘ ปีมะเมีย ศกนักษัตร (ตรงกับจุลศักราช ๑๐๒๘ อัฐศก และ พ.ศ. ๒๒๐๙ อันเป็นแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช)พระพนมวังและนางสะเดียงทอง พร้อมด้วยเจ้าศรีราชาซึ่งเป็นบุตรได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ จากกรุงศรีอยุธยาให้ลงมาฟื้นฟูเมืองนครดอนพระพร้อมด้วยให้ไพร่พลมา ๗๐๐ แขก ๕๐ ช้าง ๓ ม้า ๒ ด้วยเหตุผลที่วิเคราะห์ได้มีอย่างน้อย ๒ ประการคือ ประการแรกก่อนแต่นี้เมืองนครศรีธรรมราชเกิดไข้ยมบนในเมือง คนหนีออกจากเมืองไปอยู่ป่า ตัวเมืองนครลอนพระเกือบเป็นเมืองร้าง ประการที่ ๒ ตามตำนานดังกล่าวบ่งว่า "แลเจ้าศรีราชานั้นแกล้วหาญ ท่านก็ให้ทหารไปอยู่สร้างทุกเมือง พระพนมวังแลนางสะเดียงทองไสเป็นธุระสร้างบ้านเมืองและพระมหาธาตุจงลุสำเร็จ แล้วให้เจ้าศรีราชาผู้ลูกพระพนมวังแลนางสะเดียงทองเข้ามาเอาแก้วสำหรับยอดพระเจ้านั้นแลทองออกไป แลพระเจ้าอยู่หัวให้สร้างป่าเป็นนาทุกตำบล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเท่านี้ แลให้มีศักราชตั้งไว้ศักราช ๑๕๘๘ ปีมะเมีย ศกนักษัตร " ทุ่งสง (พ.ศ.๒๔๔๐)ประกอบด้วยแขวง ๔ แขวง หรือ ๕ ที่ มีนายที่ปกครองดังนี้ "ขุนแก้ววังไทร นายที่แก้ว นา ๖๐๐ ฝ่ายขวา หมื่นอำเภอ ที่ทุ่งสง นา ๒๐๐ ขุนกำแหงธานี นายที่ชมาย ถือศักดินา ๘๐๐ ฝ่ายซ้าย ถือตรารูปเสือ มีม้า ๑ เครื่องม้า ๑ เสื้อ ๑ หมวก ๑ ปืนนกสับ บรรดาศักดิ์ ๒ กระบอก หอกเขน ๕ สิริขุน หมื่น ในที่ชมาย ขุน ๒ หมื่น ๒ รวม ๔ คน ขุนโจมธานี นายที่นาบอน นา ๔๐๐ ฝ่ายซ้าย ขุนศักดิ์ รองนายที่นาบอน นา ๒๐๐ ที่วัดนาบอน เป็นเลณฑุบาตในที่ชมาย" เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ ได้มีการปกครองแผนใหม่เป็นมณฑลเมือง จังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ทางราชการจึงรวมที่ทุ่งสง ที่ชะมาย ที่นาบอน และที่แก้ว ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันขึ้นเป็นอำเภอหนึ่งเมื่อพ.ศ.๒๔๔๐ เรียกว่า อำเภอทุ่งสง แบ่งการปกครองออกเป็น ๒๒ ตำบล ได้แก่ ปากแพรก กะปาง เขาโร ควนกรด ชะมาย ถ้ำใหญ่ ที่วัง นาโพธิ์ นาไม้ไผ่ นาหลวงเสน หนองหงส์ น้ำตก วังหิน บางขัน นาบอน ลำทับ ท่ายาง กุแหระ ปริก ทุ่งใหญ่ ทุ่งสัง และทุ่งสงขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากอำเภอทุ่งสงมีเนื้อที่ปกรินครศรีธรรมราชผ่านตำบลกะปาง ตำบลที่วังไปยังอำเภอร่อนพิบูลย์และครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ เสด็จเยี่ยมมณฑลปักษ์ใต้ทรงให้ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชทานพระแสงราชศาสตราสำหรับเมืองและจัดตั้งกองเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช เสด็จประพาสน้ำตกโยง ตำบลถ้ำใหญ่และเสด็จทอดพระเนตรการจับช้างป่าที่อำเภอทุ่งสง สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมายังอำเภอทุ่งสงเนืองๆ โดย |
|
สภาพทั่วไป อำเภอทุ่งสง ขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐๒,๙๗๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๐๑,๘๖๐ ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวจังหวัดไปประมาณ ๖๐ กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ จดอำเภอฉวาง อำเภอนาบอนและอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศใต้ จดอำเภอบางขัน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ทิศตะวันออก จดอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก จดอำเภอบางขัน และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๓ ตำบล ๑๐๔ หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปากแพรก ตำบลกะปาง ตำบลเขาโร ตำบลควนกรด ตำบลชะมาย ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลที่วัง ตำบลนาโพธิ์ ตำบลนาไม้ไผ่ ตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์ ตำบลน้ำตก ตำบลเขาขาว ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยเทศบาล ๑ แห่ง คือ เทศบาลตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีหน่วยราชการที่สำคัญๆ เช่น ศาลจังหวัดทุ่งสง กองพล ๕ กุมภาพันธ์-พฤษภาคม ช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน นอกนั้นฝนตกประปราย โดยรับฝนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า "ฝนออก" และรับฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า " ฝนตก" จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ในเขตอำเภอนี้มีความชุ่มชื้นเกือบตลอดปี จึงมีไม้เบญจพรรณขึ้นสมบูรณ์ทั่วไปในบริเวณเทือกเขาและเนินสูง ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็เหมาะแก่การทำกสิกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนยางพารา อนึ่ง จากสภาพภูมิประเทศที่มีภูเขาอยู่ทั่วไป จึงมีสถานที่อันสวยงามตามธรรมชาติซึ่งเป็นที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกโยง ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ (ห่างจากตัวอำเภอ ๗ กิโลเมตร) ถ้ำพระหอ ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ (ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๑๑ กิโลเมตร) ผาสวรรค์ ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ (ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๖ กิโลเมตร) ถ้ำตลอด ในเขตเทศบาลตำบลปากแพรก เป็นต้น นอกจากที่กล่าวแล้ว อำเภอทุ่งสงยังมีสินแร่ที่ขุดพบแล้ว ๒ ชนิด คือ ดีบุกและวุลแฟรม ด้านการคมนาคม นับว่าทุ่งสงเป็นศูนย์ทางภาคใต้ที่สำคัญจุดหนึ่ง คือเป็นชุมทางรถไฟที่แยกไปสู่กรุงเทพฯ ทางด้านเหนือแยกไปนครศรีธรรมราชและหาดใหญ่ทางทิศใต้ และแยกไปจังหวัดตรัง ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทางรถยนต์ก็เป็นศูนย์รวมเช่นเดียวกันคือมีทางหลวง ด้านสังคม อำเภอทุ่งสง จากการสำรวจประชากรเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ มีประชากร ๑๓๙,๕๖๘ คน อยู่ในเขตเทศบาล ๒๓,๕๒๗ คน จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาล ๔,๔๐๘ ครัวเรือน อยู่นอกเขตเทศบาล ๑๑๖,๐๔๑ ครัวเรือน จำนวน ๒๒,๙๑๒ ครัวเรือน การศึกษาในอำเภอนี้จัดอยู่ในระดับสูง บางสถานศึกษามีถึงระดับปริญญาตรี คือ สถาบันเทคโนโลยี ตำนานฉบับเดียวกันบ่งว่า "แลพระพนมวังแล นางสะเดียงทองก็มาตั้งบ้านอยู่จงสระอยู่นอกเมืองดอนพระสร้างป่าเป็นน้ำ" หลังจากพระพนมวังถึงแก่กรรมแล้ว เจ้าศรีราชาได้รับการโปรดเกล้าฯเป็น "พญาศรีธรรมโศกราช สุรินทรราชา สุรวงศ์ธิบดี ศิรยุธิษเถียร อภัยพิริยปรากรมหาหุ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมหานคร" จึง "พญาก็แต่งนายมูนเอาคนไปสร้างป่าเป็นนาในตำบลพระเข้าแดงชะมาย" พระเข้าแดงชะมายคือ ประเขาแดงชะมาย คือพื้นที่ตำบลชะมายในเขตอำเภอทุ่งสงในปัจจุบัน ถ้าศักราชที่กล่าวมาถูกต้อง ชะมายคงเป็นชุมชนหลัง พ.ศ.๒๒๐๙ ไม่นานซึ่งเมื่อดูการสร้างบ้านอื่นเมืองอื่นแวดล้อมก็ลงความเห็นว่า ๑๕๘๘ คือปีมหาศักราชตรงกับ พ.ศ.๒๒๐๙ นั่นคือชะมายเป็นเมืองขึ้นในสมัยพระนารายณ์ฯ หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก ต่อมาสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ "พระยาสุดขทัยออกมาเป็นเจ้าพระยามหานคร ดูแลในพระอัยการมีแต่กรมการผู้ใหญ่ สมุดตำแหน่งครั้งพระยาสุโขทัยเป็นเจ้าพระยานครนั้น มีกรมการขุนหมื่นผู้น้อยอยู่ด้วย" สมุดทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชนี้ขาดมิครบตามตำแหน่ง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ กราบทูลพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชำระทำเนียบข้าราชการนี้ขึ้นใหม่เมื่อศักราช ๑๑๗๓ (เป็นจุลศักราช ตรงกับพ.ศ. ๒๓๕๔ )จากทำเนียบดังกล่าวได้ความว่าพื้นที่อำเภอ ครองกว้างขวางมากไม่สะดวกในการดูแล จึงแยกตำบลลำทับไปขึ้นอยู่กับอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แยกตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลกุแหระ ตำบลปริก และตำบลทุ่งสัง รวมกัน ๕ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุแหระ ในปี พ.ศ. ๒๒๔๙ (กิ่งอำเภอกุแหระคือ อำเภอทุ่งใหญ่ในปัจจุบัน) พ.ศ.๒๕๑๘ได้แยกตำบลนาบอน ตำบลทุ่งสง และตำบลนาโพธิ์ บางส่วนรวมกันตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาบอน (ยกฐานะเป็นอำเภอ ปี พ.ศ.๒๕๒๔ พ.ศ.๒๕๒๒ อำเภอได้แยกตำบลนาโพธิ์ หมู่ที่ ๑,๓,๗,๘ และ ๙ไปเป็นตำบลเขาขาว และแยกตำบลบางขัน หมู่ที่ ๑,๒,๕ และ ๗เป็นตำบลบ้านลำนาว จึงมีตำบลในการปกครอง ๑๖ ตำบล ต่อมาครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๗ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศท้องที่อำเภอทุ่งสงตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น ๑ แห่ง เรียกว่า "กิ่งอำเภอบางขัน " โดยแบ่งตำบลบางขัน ตำบลลำนาว และตำบลวังหินไปอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอดังกล่าว ปัจจุบันอำเภอทุ่งสงจึงมีตำบลในปกครอง ๑๓ ตำบล ที่ว่าการอำเภอทุ่งสงเดิมตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาลตำบลปากแพรก ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้ง ณ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตลาดทุ่งสง คือที่ตั้งปัจจุบัน ในอดีต พระบาทสมเด็จฯพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสอำเภอทุ่งสง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสยายศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จจากเมืองตรังโดยขบวนช้างผูกเครื่องจัดริ้วขบวนตามธรรมเนียมเก่าของเมือง ประทับแรมที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด โรงงานทุ่งสง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลที่วังนับแต่ตั้งทุ่งสงขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ.๒๔๔๐ จวบถึงพ.ศ.๒๕๔๐ มีนายอำเภอปกครองทั้งสิ้น ๔๐ คน นายอำเภอคนแรกคือ หลวงพำนักนิคมคาม (เที่ยง ณ นคร) อำเภอทุ่งสงนับเป็นอำเภอที่สำคัญอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะเป็นชุมทางการคมนาคม เป็นอำเภอที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดในระดับสูง เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเป็นศูนย์การค้าพาณิชย์ที่สำคัญจุดหนึ่งทั้งมีหน่วยราชการสำคัญๆ ตั้งอยู่จำนวนมาก ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร กองบัญชาการช่วยรบที่ ๔ กองบังคับการพลเรือนตำรวจทหารที่ ๔๑ กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนเขต ๘ กองกำกับการ ๖ ฝึกพิเศษ สำนักงานพัฒนาชุมชนเขต ๘ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๕๗ โทรศัพท์ภูมิภาคที่ ๗ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเขต ๘ ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคใต้ ศูนย์สื่อสารเขต ๗ สถานีวิทยุ วปถ.๔ ทุ่งสง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เรือนจำกลางทุ่งสง และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช เป็นต้น ซึ่งหน่วยราชการเหล่านี้ล้วนทำให้ชาวทุ่งสงได้รับการพัฒนาและได้รับความสะดวกอย่างมาก ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีสภาพเป็นพื้นที่เป็นลูกคลื่นซึ่งประกอบด้วยภูเขาเตี้ยและป่าไม้กระจายทั่วทั้งพื้นที่ พื้นที่บางส่วนจะมีที่ราบระหว่างเนินจากลักษณะดังกล่าว ทำให้อำเภอทุ่งสงเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำธรรมชาติหลายสาย เช่น คลองวังหีบ ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์ ตำบลชะมา ตำบลควนกรด และตำบลนาไม้ไผ่ คลองท่าโหลน ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลปากแพรก ตำบลชะมาย ตำบลที่วัง คลองท่าเสา ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลชะมาย ตำบลที่วัง และตำบลกะปาง ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในตำบลน้ำตกในรอบปีจะมีฤดูกาลเพียงฤดูร้อนกับฤดูฝน ช่วงฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือน สายเอเชียผ่านตัวอำเภอทางด้านตะวันตก จากทางหลวงสายนี้มีทางแยกในเขตเทศบาลตำบลปากแพรกไปสู่นครศรีธรรมราช พัทลุงและหาดใหญ่ได้โดยใช้เส้นทางแยกไปทางตะวันออกสายหนึ่งไปสู่จังหวัดตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต โดยใช้เส้นทางแยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้สายหนึ่งไปสู่สุราษฎร์ธานีเลยขึ้นไปสู่กรุงเทพฯ หรือจะแยกไปทางกระบี่ ระนอง ในระหว่างทางก็ได้ โดยใช้เส้นทางแยกไปทางเหนืออีกสายหนึ่ง นับว่าการคมนาคมติดต่อกับภายนอกสะดวกอย่างยิ่ง ส่วนการคมนาคมภายในอำเภอก็มีทางหลวงส่วนท้องถิ่นและถนนโครงการข่ายต่างๆ เข้าสู่ตำบลได้สะดวก อาชีพและเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอทุ่งสงประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์นอกจากนั้นประกอบอาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและรับจ้าง ด้านอุตสาหกรรมมีโรงงานที่สำคัญ ได้แก่ บริาทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด โรงงานทุ่งสง บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด โรงงานทุ่งสง โรงงานทำยางเครฟ โรงงานผลิตออกซิเจน โรงงานแยกแร่ โรงงานทำน้ำแข็ง โรงเลื่อยจักรและโรงโม่หิน ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำสวน ทำไร่)ประมาณร้อยละ ๑๖.๓๙ ครัวเรือน ทั้งอำเภอประกอบอาชีพค้าขายประมาณร้อยละ ๗.๓๙ ครัวเรือน ทั้งอำเภอประกอบอาชีพรับจ้างควบคู่กับเกษตรกรรมประมาณร้อยละ ๒๕.๕๗ ของครัวเรือนทั้งอำเภอ นอกนั้นยังมีอาชีพช่างฝีมือ รับจ้างกรีดยาง ขับรถรับจ้าง ฯลฯ ราชมงคล ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ ตำบลถ้ำใหญ่ โครงสร้างของสังคมเป็นสังคมเมืองผสมกับสังคมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม มีองค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกและบริการประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อยรวมทั้งดูแลสุขภาพอนามัยเป็นจำนวนมาก จึงเป็นอำเภอที่มีศักยภาพสูง มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค |