อำเภอท่าศาลา |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
ท้องที่อำเภอท่าศาลาในปัจจุบันเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 12-14 นั้น เป็นชุมชนที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย จึงพบหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งที่เป็นซาก เทวสถาน ศิวลึงค์ ฐานศิวลึงค์ เทวรูปพระวิษณุและพระศิวะกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งท้องที่อำเภอท่าศาลาและสิชล (ดูเขาคา แหล่งโบราณคดี) ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญเต็มที่ศาสนาพราหมณ์ค่อยเสื่อมลง จึงมีวัดสำคัญๆ เช่น วัดมเหยงคณ์ (เก่า) วัดนางตรา วัดโมคลาน เป็นต้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาท้องที่ที่สำคัญมากน่าจะเป็นที่ไทยบุรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลไทยบุรี |
ดังจะเห็นว่าในเรื่องตำนานเมืองนครศรีธรรมราชฉบับที่ว่าด้วย การกัลปนาวัด คณะลังการาม บ่งว่าครั้นถึงพุทธศักราช 2211 ตรงกับแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช)นายทองอ้ายซึ่งเป็นหลานชายของโคตรเศรษฐีพระท้าวราชท้าวท้ายสีจับไอ้เผือกได้ เจ้าพระยานครฯ ให้นำช้างนั้นไปน้อมเกล้า ถวายแด่สมเด็จพระบรมพิธ ณ กรุงศรีอยุธยานายทองอ้ายมีความชอบ จึงมีพระราชดำรัสตรัสสั่งว่านายทองอ้ายประสงค์สิ่งใด นายทองอ้ายกราบทูลต่อพระหมื่นไวยวรนาถว่า แลตัวข้าพระเจ้านายทองอ้ายขอประทานเป็นที่ไทยบุรีพระหมื่นไวยวรนาถ เอาคำนายทองอ้าย กราบทูลพระกรุณา ทรงพระกรุณาให้นายทองอ้ายเป็นพระไทยบุรีแล้วประทานเงินตรายี่สิบชั่งตราสัง ฯลฯ |
จะเห็นว่าอำเภอท่าศาลาเป็นอำเภอที่มีประวัติการสร้างเมืองอันยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของของชุมชนโบราณที่มีอายุกว่า 1,000 ปี เคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ เคยเป็นอู่ขาวอู่น้ำและเป็นด่านหน้าในการรบทัพจับศึกของเมืองศรีธรรมราชในอดีต จงเป็นที่ปรากฎในลายแทงเมืองนครศรีธรรมราชบทหนึ่งกล่าวว่า ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพระยัง ข้างหลังโพธิ์มี เจ็ดเจดีย์เก้าทวาร สี่เลนจัดตุบาท |
ก่อนที่กระทรวงมหาดไทย จะประกาศตั้งกิ่งอำเภอนบพิตำ ขึ้นอำเภอท่าศาลามีเขตการปกครอง 14 ตำบล ครั้นถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งเขตการปกครองท้องที่อำเภอท่าศาลาตั้งเป็นกิ่งอำเภอนบพิตำ ขึ้นโดยแบ่งพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลนบพิตำ ตำบลกรุงชิง ตำบลกะหรอ และตำบลนาเหรง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอนบพิตำ |
สภาพทั่วไป
อำเภอท่าศาลาขึ้นกับจังหวัดนครศรีฯมีพื้นที่ประมาณ 375.531 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่าศาลา ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 28 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสิชล ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอพระพรหม |
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยทิศตะวันตก ติดต่อกับกิ่งอำเภอนบพิตำ และ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชอำเภอท่าศาลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 10 ตำบล 106 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกลาย ตำบลตลิ่งชัน ตำบลสระแก้ว ตำบลท่าขึ้น ตำบลไทบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลหัวสะพาน ตำบลโพธิ์ทอง ตำบลโมคลาน และตำบลดอนตะโก |
ลักษณะภูมิประเทศ
1.มีลักษณะเป็นดินบนทรายและดินตะกอนเกิดจากการทับถมของทรายชายฝั่งและโคลนเลนบางส่วนเป็นที่ลุ่มน้ำขัง มีการทำนา ทำสวนมะพร้าว ได้แก่พื้นที่ในตำบลท่าศาลา ท่าขึ้นสระแก้ว และตำบลกลาย 2.บริเวณที่เป็นที่ราบตอนกลาง เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอ พื้นดินเป็นดินเหนียวบนทราบ บางแห่งเป็นที่ราบลุ่มมีการทำนา ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และไร่ยาสูบ ฯลฯ ได้แก่พื้นที่ตอนบนของอำเภอ กลาย สระแก้ว ท่าขึ้น และพื้นที่ทั้งหมดของตำบลดอนตะโก โมคลาน หัวตะพาน ไทยบุรี และบางส่วนของตำบลกะหรอ |
3.บริเวณที่ราบสูงและภูเขาด้านทิศตะวันตกของอำเภอพื้นที่เป็นที่สูงมีภูเขาสลับซับซ้อน มีป่าไม้ แร่ดีบุก วุลแฟรม แบไรท์ เหล็ก ดินขาว เป็นทรัพยากรสำคัญ ได้แก่พื้นที่ตำบลนบพิตำ และบางส่วนของตำบลกะหรอ และตำบลกลาย นามสถานในเขตอำเภอท่าศาลาที่สะท้องถึงสภาพภูมิประเทศในอดีตเช่นที่แสดงว่าเป็นท่าน้ำ ได้แก่ท่าศาลา ท่าสูง ท่าขึ้น ท่าขึ้นปากเจา อู่ตะเภา บางปอ แหลมที่เป็นทุ่งและป่า เช่น ลุ่มโหนด ทุ่งชน ไสโก ทุ่งปรือ บ้านไร่ ทุ่งตรา นาท้อน ในลุ่ม บ่อลึก ห้วยโก ทุ่งเกราะ วัดป่า สวนหมาก ยางหลวง ชะเมา จันพอ ฯลฯ |
ลักษณะภูมิอากาศ
อำเภอท่าศาลามีภูมิอากาศแบบโซนร้อน มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฝนจะตกหนักมากในเดือนตุลาคม ธันวาคม ลำน้ำที่สำคัญได้แก่ 1.คลองกลาย ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในกิ่งอำเภอนบพิตำ ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอท่าศาลา 2. คลองท่าแปรง ต้นกำเนิดจากเทือกเขาทองใบในกิ่งอำเภอนบพิตำ ไหลผ่านตำบลไทยบุรี ท่าขึ้นและท่าศาลา |
ไหลออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำท่าสูง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร 3. คลองในเขียว ต้นน้ำเกิดจากเขาขี้แรด เทือกเขาหลวง ไหลผ่านตำบลดอนตะโก โคลาน หัวตะพาน และท่าศาลา ไหลออกสูอ่าวไทยที่ปากน้ำท่าพยิง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร 4.คลองท่าพุด ต้นน้ำเกิดจากเขาไม้แปง เทือกเขาหลวง ไหลผ่านตำบลหัวตะพาน ไทยบุรีและตำบลท่าศาลา ไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลท่าสุง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร |
การคมนาคม
การคมนาคมในอำเภอท่าศาลาเป็นทางเชื่อมติดต่อระหว่างชุมชนโดยทางบกมีถนนสายหลักในสภาพที่เหมาะสม ส่วนถนนสายเชื่อมต่อกับชุมชนขนาดเล็กระดับตำบล และหมู่บ้าน ถึงกันหมด แต่บางสายยังไม่ได้มาตรฐาน เส้นทางคมนาคมสายหลักมี 1 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นถนนเชื่อมกับอำเภอข้างเคียงและจังหวัดนครศรีธรรมราช |
2 ทาง หลวงจังหวัดหมายเลข 4141 เป็นถนนแยกจากทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 401 ในเขตตำบลท่าศาลา เป็นถนนเชื่อมระหว่างอำเภอท่าศาลา-อำเภอพรหมคีรี 3.ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4140 เป็นทางหลวงแยกจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 401 เชื่อมระหว่างอำเภอท่าศาลา - ชุมชนบ้านโรงเหล็ก |
สังคมและเศรษฐกิจ
จากสภาพภูมิประเทศดินฟ้าอากาศ ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพด้านเกษตรกรรม จากรายงานของสำนักงานเกษตรท่าศาลา พ.ศ.2539 ปรากฎว่ามีราษฎร์ร้อยละ 37.47 ทำสวนยางพาราร้อยละ 7.75 ทำสวนผลไม้ร้อยละ6.23 ทำสวนมะพร้าวร้อยละ 5.03 อำเภอท่าศาลามีการทำไร่ยาสูบมาแต่โบราณ ปรากฎตามรายงานของพระยาสุขุมนัยวินิต เกี่ยวกับการค้าของเมืองนครศรีธรรมราช ว่า สินค้าทีเกิดในพื้นที่เมืองมีเข้าไต้ ยาสุบ คราม ดีบุก เรือมาด เป็นต้น สินค้าเหล่านี้ที่ เช่น ไต้ ยาสูบ ที่แขวงอำเภอกลายมีมาก ถึงแขวงอำเภออื่น ๆ ก็มีบ้าง ส่งออกไปต่างประเทศคือเมืองสิงคโปร์บ้าง หัวเมืองในเขตราชอาณาจักรอำเภอท่าศาลา มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 |
จากการสำรวจประชากร พ.ศ.2540 อำเภอท่าศาลามีประชากรทั้งสิ้น 99,464 คนผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 10 ขนบธรรมเนียบประเพณีที่สำคัญของอำเภอท่าศาลาเหมือนกับอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่พิเศษเช่น ประเพณีเขาโบสถ์เดือนสาม ทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 อันเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ทำกันจริงจังที่ตำบลห้วยสะพาน ดอนตะโก และตำบลกะหรอบางส่วน โดยร่วมกันทำข้าวหลามแล้วตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อนำไปถวายพระ ประเพณีให้ทานไฟ ทำกันในตอนเช้าตรู่ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามความเชื่อทำบุญด้วยความเชื่อ โดยแต่ละคนเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปทำอาหารที่วัดตอนเช้าตรู่เพื่อ ถวายพระ นอกจากนี้มีประเพณีทำบุญเดือนสิบ ลากพระ ในเดือนสิบเอ็ด ทำบุญวันว่าง ในเดือนเมษายนของทุกปี เป็นต้น |
สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอท่าศาลามีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีทั้งป่าเขาน้ำตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ หาดทราย ชายทะเลอันสวยงามและชุมชนโบราณ เช่น หาดทรายชายทะเล ชายทะเลมีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร เหมาะที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ได้แก่ หาดสระบัว หาดแสงทอง หาดสวรรค์นิเวศน์ หาดตะเคียงทอง อยู่ในตำบลท่าขึ้น และหาดอารีย์รัตน์หาดพังปริง อยู่ในพื้นที่ตำบลกลาย น้ำตกสุนันทา (เขานันท์) อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขานันท์ ในตำบลตลิ่งชัน ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนือ ประมาณ 31 กิโลเมตร |
เป็นน้ำตกชั้นเดียวหักมุม 90 องศาสูงประมาณ 84 เมตร แก่งคลองกลายเป็นแก่งที่มีต้นน้ำเกิดจากภูเขาเขตอำเภอนบพิตำ นักผจญภัยที่ชื่นชมะรรมชาติจะมาลงแพไม้ไผ่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ ล่องลงมาตามลำคลองกลาย ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร มาขึ้นฝั่งที่หมู่ที่ 2 ตำบลสระแก้ว ชุมชนโบราณในอำเภอท่าศาลาเป็นแหล่งชุมชนโปราณกระจายอยู่ทั่วทั้งอำเภอ เพราะนักโบราณคดีได้พบร่องรอยการอยู่อาศัยของคนจำนวนมาก พบสิ่งของ ซากปรักหักพังกระจายทั่วไป เช่นพบหลักหิน ซากเจดีย์ ซากเทวสถานศิวลึงค์ |
เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ที่วัดโมคลาน พบศิวลึงค์ และพระพิฆเนศวรที่วัดดอนใคร พบพระพิมพ์พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่วัดมเหยงค์กรุพระวัดหมาย พระพิมพ์วันนางตรา ใบเสมาศิลาแลง วัดเขาน้อย เทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ที่วัดตุมปัง หม้อดินสามขาที่บ้านปากลง พบชิ้นส่วนคลองมโหระทึกที่บ้านเราะ และพบเครื่องปั้นดินเผาทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเล ยังพบอยู่เนื่อง ๆ |
โดยเฉพาะโบราณวัตถุเก็บไว้ที่พิพิะภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช ส่วนโบราณสถาานก็ยังมีให้ศึกษาร่องรอยความเป็นมาของชุมชนโบราณแห่งนี้ อำเภอท่าศาลา มีคำขวัญประจำอำเภอว่า โมคลานตั้งก่อน ทรัพยากรมากหลาย หาดทรายยาวรี หม้อดีบ้านยิง มิ่งเมืองมหาวิทยาลัย น้ำใสปลาสด งดงามน้ำใจ เกี่ยวกับวัดโบราณในเขตอำเภอท่าศาลามีผู้รู้ผูกเป็นกลอนดังนี้ วัดเทวันโท วัดโดหอม นางตรา คงคานาล้อม วัดแสงแรง วัดเทคือวัดเทวดาราม |