อำเภอร่อนพิบูลย์ |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
|
อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นท้องที่อยู่กลางหุบเขาใหญ่โอบล้อมด้วยเขารามโรมและเขาหมาก อุดมไปด้วยลานแร่ดีบุกและแร่วุลแฟรม จนผู้คนสามารถใช้เลียงมาร่อนเอาได้โดยง่าย สถานที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ร่อน หรือ ที่ร่อน ครั้นแร่เป็นที่ต้องการของตลาดจึงมีผู้คนจำนวนมากร่วมประกอบอาชีพร่อนแร่เพิ่มขึ้น แร่ก็ไม่หมด ชุมชนแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า " บ้านร่อน " และต่อมาเรียกว่า " ร่อนพิบูลย์ " |
|
เหมืองแร่วุลแฟรม ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ |
|
สินแร่ที่ " บ้านร่อน " ดึงดูดให้ชาวจีนซึ่งชำนาญการทำแร่เข้ามาขอทำเหมืองแร่มากขึ้น เช่น ปรากฎหลักฐานตามเอกสารของกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ในหนังสือที่ 28/348 ลงวันที่ 26 สิงหาคม ร.ศ.123 (พ.ศ.2447) มีคนจีนขอทำเหมืองแร่ที่ตำบลร่อนพิบูลย์ มณฑลนครศรีธรรมราช ถือ 15 ราย เป็นรายใหญ่ก็มี รายย่อยก็มี พยายามทำไปตามกำลังของแต่ละราย และทุกรายล้วนได้รับพระราชทานพระบรมรา |
|
ชานุญาตออกประทานบัตรให้ทั้งสิ้น อนึ่ง หลักฐานนี้แสดงว่าชื่อ " ร่อนบูลย์ " มีใช้มาไม่ช้ากว่า พ.ศ. 2447 ในปี พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินเป็นมณฑล เทศาภิบาล กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งแขวงบ้านร่อนเป็น อำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความอุดมของสินแร่ดังกล่าวแล้ว เพราะได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้น ณ บ้านร่อน
|
|
การทำแร่ที่ร่อนพิบูลย์พัฒนาจากการร่อนเป็นการขุดและหาบที่เรียกว่า เหมืองหาบหรือเหมืองฉีด จนถึงปี พ.ศ. 2469 บริษัทแองโกเรียลเตลมาลายูได้สร้างเรือขุดแร่ที่ประเทศมลายู นำเข้ามาขุดแร่ที่บ้านเถลิง อำเภอ ร่อนพิบูลย์ เมื่อ พ.ศ. 2472 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น " บริษัทเถลิงติน " กิจการเหมืองเรือขุดทำให้พวกฝรั่งเข้ามาสู่ชุมชนแห่งนี้มากขึ้น ทำให้ผู้คนในท้องที่นี้มีทั้งคนไทย จีนและฝรั่ง ประกอบกับบ้านร่อน เคยมีสภาพเป็นเมืองใกล้เมืองท่า ดังหลักฐานที่พบ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ช้องต่อเนื่องมาจนถึงสมัยราชวงศ์หมิงและ |
|
ราชวงศ์ชิง เป็นจำนวนมากที่บริเวณวัดท้ายเภา และตามลำคลองเสาธงตลอดไปจนถึงคลองท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช แสดงว่าอำเภอร่อนพิบูลย์มีความสำคัญในการติดต่อค้าขายทางเรือ จุดหนึ่งของนครศรีธรรมราช และมีนามสถานที่บ่งบอกถึงสภาพที่ราบลุ่มหลายแห่ง เช่น บ้านขุนพัง บ้านท่าไทร บ้านพรุชิง บ้านทุ่งเลน บ้านอ่าวโหนด บ้านหนองมาก บ้านทุ่งน้ำจาน บ้านวังไทร บ้านห้วยไม้แก่น บ้านห้วยรากไม้ เป็นต้น อำเภอร่อนพิบูลย์ จึงเป็นอำเภอที่เก่าแก่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและเศรษฐกิจสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน |
สภาพทั่วไป
อำเภอร่อนพิบูลย์ ขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 413.226 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 31 กิโลเมตร |
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับอำเภอพระพรหม ทิศใต้ ติดกับอำเภอจุฬาภรณ์ ![]() ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอทุ่งสง |
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
|
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกติด เทือกเขานครศรีธรรมราชตลอดแนว ได้แก่ พื้นที่ตำบลควนเกย ตำบลร่อนพิบูลย์ และทิศเหนือติดเทือกเขาหลวง ได้แก่พื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์และตำบลหินตก
เป็นพื้นที่ส่วนของตำบลควนเกย ตำบลร่อน พิบูลย์ ตำบลหินตก ตำบลควนพัง ตำบลเสาธง และตำบลควนชุม
เป็นที่ราบลุ่มและดินพรุ คือ พื้นที่บางส่วนของตำบลควนพัง และตำบลเสาธง |
|
สภาพของพื้นทีราบตอนกลาง อำเภอร่อนพิบูลย์
|
|
ลักษณะภูมิอากาศ ในปีหนึ่ง ๆ มี 2 ฤดู คือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ |
|
จะมีอากาศร้อนจัดในช่วงฤดูร้อนและฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน แต่ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน - พฤศจิกายน |
การปกครอง
|
การปกครอง อำเภอร่อนพิบูลย์ แบ่งการปกครองเป็น 7 ตำบล 54 หมู่บ้าน คือ |
|
อำเภอร่อนพิบูลย์ มีเส้นทางคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและรถยนต์ ทางรถไฟมีสถานีร่อนพิบูลย์และสถานีชุมทางเขาชุมทอง ส่วนทางรถยนต์มีถนนหลวงหมายเลข 4017 เชื่อมต่อไปยังอำเภอชะอวดและจังหวัดพัทลุง มีทางหลวงสายเอเชียตัดผ่าน และมีทางหลวงหมายเลข 403 ซึ่งอาจเดินทางไปยังอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชต่อไปยังจังหวัดสงขลาหรือต่อไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือเดินเดินทางจากร่อนพิบูลย์ต่อไปยังอำเภอทุ่งสง และจังหวัดตรัง หรือย้อนไปยังจังหวัดสงขลาหรือย้อนไปจังหวัดกระบี่ได้ ![]() |
|
ปี พ.ศ. 2540 อำเภอร่อนพิบูลย์มีประชากร ทั้งสิ้น 89,129 คน
อาชีพของประชากรส่วนใหญ่
|
|
รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อครัวเรือน ประมาณ 20,000 บาทต่อปี ![]() |
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
อำเภอร่อนพิบูลย์มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ
ในปี พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ป่าไม้และภูเขา ประมาณ 135,094 ไร่ มีป่าสงวนแห่งชาติหลายแห่ง เช่น ป่าไสโตนในตาก ในเขตตำบลร่อนพิบูลย์ ป่าเชิงเขานา ในเขตตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลควนเกย ป่าคลองปากแพรก ในเขตตำบลร่อนพิบูลย์ ป่าเขาหลวง ในเขตตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลหินตก ป่าควนขี้แรด ควนนกจาบ ควนโปงโลง ช่องเขาไร่ใหญ่ ป่าปากอ่าว ในเขตตำบลร่อน |
|
พิบูลย์ ตำบลควนเกย ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ ในเขตตำบลเสาธง ตำบลควนพัง และตำบลทางพูน อำเภอร่อนพิบูลย์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือหลุมพอ ไข่เขียว อินทนิน กระบาก จำปา และตะเคียน
มีหลายชนิด เช่น ดีบุก วุลแฟรม หินปูน หินดิน ดาน เป็นต้น มีการให้ประทานบัตร เฉพาะการผลิต ไม่มีการแปรรูป เหมืองแร่ดีบุก กลายเป็นเหมืองร้าง เพราะรายได้ไม่คุ้มทุน เป็นภาวะที่เหมือนกันทั่วทั้งภาคใต้ กิจการทำแร่ที่ยังดำเนินการอยู่คือ เหมืองแร่บอลเคลย์ เหมืองหินปูนและทำปูนขาว |
แหล่งน้ำ
|
อำเภอร่อนพิบูลย์ มีคลองหลายสาย เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
ตำบลควนเกย ตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลควน ชุม และตำบลควนพัง
สกา ไหลผ่านตำบลเสาธง และตำบลทางพูน
|
|
สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินจากการขุดเจาะบ่อบาดาล ผลการสำรวจ ในปี พ.ศ. 2530 พบว่ามีสารหนูเจือปน เมื่อเกิดการสะสมเกินขนาดทำให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ร่างการ
|
โบราณสถานโบราณวัตถุ
|
โบราณ สถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่
|
|
ภายในหอพระแม่เศรษฐี วัดร่อนนา อำเภอร่อนพิบูลย์ |