อำเภอพระพรหม |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
วัดพระเพรง ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม ได้พบพระพุทธรูปเทวพระวิษณุ ทรงสวมกิรีฎมงกุฎและกุณฑล พระหัตถ์ขวาหน้าทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือสังข์อยู่ข้างพระโสณี ส่วนพระหัตถ์หลังทั้ง ๒ ข้างหักหายไป รศ.ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ให้คำอธิบายว่า มีอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นรูปแบบที่นิยมอย่างมากของศิลปกรรมในราชวงศ์คุปตะ และมีความสัมพันธ์ต่อประติมากรรมรูปพระวิษณุในศิลปะของอาณาจักรฟูนัน นอกจากนี้ยังพบเทวรูปพระวิษณุศิลาลักษณะเดียวกันนี้ ที่เทวสถานพระนารายณ์ ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เทวรูปที่พบที่วัดพระเพรงดังกล่าว จึงสอดคล้องและสัมพันธ์กับหลักฐานเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ที่บริเวณเขาคา อำเภอสิชล อันแสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ที่บริเวณตำบลท้ายสำเภาเคยพบเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถังและสมัยราชวงศ์ซ้องเป็นจำนวนมากกระจายเชื่อมตลอดไปจนถึงคลองท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งแสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองเก่าสำคัญของอาณาจักรตามพรลิงค์ ที่สัมพันธ์กับชนชาติจีนและอินเดียต่อเนื่องมายาวนานมีนามสถานที่สะท้อนวัฒนธรรมดังกล่าวหลายแห่ง เช่น บ้านพระพรหม ตำบลนาพรุ (เคยขุดพบเทวรูป ฐานพระสยมและศิวลึงค์ ในการขุดดินทำถนน จากตำบลนาพรุไปอำเภอลานสกา) บ้านนาพรุ ตำบลนาพรุ วัดห้วยพระ ตำบลนาพรุ เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญมากอีกวัดหนึ่ง ได้เก็บรักษาตัวหนังตะลุงรุ่นเก่าซึ่งมีอายุประมาณเกือบ ๒๐๐ ปีไว้ (ปัจจุบันได้มอบให้ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช) เป็นรูปที่มีคุณค่าทั้งด้านพัฒนาการของรูปหนังตะลุง และสะท้อนวัฒนธรรมอื่นๆ ของภาคใต้ ตลอดจนบ่งว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งสำคัญด้านศิลปะและวัฒนธรรมของภาคใต้แหล่งหนึ่ง และหลายอย่างยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน พุทธศาสนาก็เจริญเรื่อยมาตามคำกล่าวที่ว่า "นครดอนพระ" จึงมีศาสนสถานทางพุทธศาสนาทับซ้อนกันอยู่กับเทวสถานบ้าง แทรกสลับอยู่บ้าง เช่น บ้านห้วยพระ (เล่ากันว่าเคยพบพระพุทธรูปในลำห้วยนี้) บ้านเนกข์ (ตามคำบอกเล่ามาจาก "เนกข์ม" หมายถึง การออกบวชโดยชาวบ้านนี้ไปบวชที่วัดโมคลาน ที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกของเมืองนครศรีธรรมราช) วัดพระเพรง เป็นต้น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ที่ว่าด้วยกัลปนาที่สำหรับคณะลังการาม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าบรรดาญาติเหล่ากอของหมอช้าง ๔ คน คือ หมอไซ หมอแก้ว หมอศรี หมอจัน พรรคพวกของพระท้าวราช พระท้าวศรี มีกำลังมั่งคั่งคิดเลื่อมใสในพระศาสนา จึงสร้างอารามทุกที่ทุกตำบล "คฤา วัดสำฤาที่ยไชย ๑ วัดไทคย ๓ ต้น ๑ วัดก็ปงง ๑ วัด นำมดำ ๑ วัดตะบาก ๑ วัดหม้าย ๑ วัดจัรรภอ ๑ วัดทุงภรุะ ๑ วัดเสมาเมือง ๑ " รวม ๙ อาราม มีที่ไร่นาและข้าพระโยม และอารามทั้ง ๙ นี้ขึ้นกับสมเด็จเจ้าโพธิสมภาร ผู้เป็นอธิการวัดท่าช้าง อารามหลวงคณะลังการาม "กิ่งอำเภอกาบัง " จังหวัดยะลา เป็น " อำเภอกาบัง " และ "กิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง" จังหวัด |
สภาพทั่วไป
อำเภอพระพรหมขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ ๑๔๗.๙๖๓ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๕ กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ทิศใต้ ติดกับอำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอลานสกา ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์จำนวนเนื้อที่ ๘๒ ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ ๔ เขตตำบลนาพรุ โดยเลี้ยงขวาจากบ้านพระพรหมไปเส้นทางโรงเรียนวัดพระพรหม โรงเรียนวัดห้วยระย้าและโรงเรียนวัดห้วยพระประมาณ ๘ กิโลเมตร หรือเส้นทางสายเลียบคลองชลประทานประมาณ ๕ กิโลเมตร อำเภอพระพรหมนับว่าเป็นอำเภอขนาดเล็กที่แยกตัวออกไปจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๔ ตำบล ๒๘ หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนาพรุ ตำบลนาสาร ตำบลข้างซ้าย ตำบลท้ายสำเภา ประชากรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีจำนวน ๓๕,๒๔๕ คน อาชีพส่วนใหญ่ทำนา ปลูกผัก ผลไม้และยางพารา รวมทั้งรับจ้างในภาคธุรกิจในเขตเมือง สภาพภูมิประเทศ โดยทั่วไปอำเภอพระพรหมเป็นที่ราบและราบลุ่ม (บางส่วนอยู่ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ถนน รพช. สายนาพรุ-อำเภอลานสกา เป็นต้น ส่วนเส้นทางรถไฟนครศรีธรรมราช-เขาชุมทอง-กรุงเทพฯ เป็นเส้นทางหนึ่งที่ทำให้มีความสะดวกในการเดินทาง แม้นว่าจะไม่เป็นที่นิยมของประชาชน คงเป็นเพียงทางผ่านของการเดินทางสู่กรุงเทพฯ ก็ตาม แต่ในระยะยาวอำเภอพระพรหมจะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมของนครศรีธรรมราชโดยอาศัยทางรถไฟได้ด้วย สถานที่สำคัญ อำเภอพระพรหมเป็นพื้นที่ตัวอย่างของการผสมผสานการเป็นชุมชนชนบทกับการเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมือง โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่ที่ตั้งของศูนย์ราชการระดับจังหวัดที่ตำบลนาสาร หรือที่เรียกว่าศูนย์ราชการนาสาร ในรูปแบบการบริการเสร็จสิ้นใน ๑ วัน (One day Service) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานของราชการ เป็นต้นว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ศูนย์เครื่องมือจักรกลการประปาส่วนภูมิภาค สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) นอกจากนี้อำเภอพระพรหมยังเป็นเมืองที่ตั้งสถานศึกษาของรัฐทุกระดับการศึกษา กล่าวคือในระดับอุดมศึกษา มีศูนย์วิทยบริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดให้บริการการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการจัดสอนและสอบโดยตรงที่ศูนย์ฯ นี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่กรุงเทพฯ และเป็นศูนย์การเรียนการสอนในช้างซ้าย ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๙.๔๗ วัดที่สำคัญมาแต่โบราณ คือ วัดพระเพรง วัดมะม่วงตลอด วัดป่าห้วยพระ และวัดที่จัดเป็นอุทยานการศึกษา ๑ แห่ง คือวัดท้ายสำเภา เป็นศูนย์ภูมิปัญญาหมู่บ้านยาสมุนไพรท้ายสำเภา พระอธิการสีวิชัยพุทธรักขิตโตเจ้าอาวาสเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม มีมัสยิด ๓ แห่ง ในตำบลข้างซ้าย นอกจากนี้ในอำเภอพระพรหม เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม |
(ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานแสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทุ่งพรุ แล้วเป็นนาพรุ) บ้านท่าช้าง ตำบลช้างซ้าย (เคยเป็นท่าน้ำกว้าง ใช้เป็นที่ให้ช้างกินน้ำและอาบน้ำให้ช้าง) บ้านพระเพรง ตำบลนาสาร (ที่พบเทวรูปพระวิษณุ ดังกล่าวมาแล้ว) บ้านท้ายสำเภา ตำบลท้ายสำเภา (เคยขุดพบสมอเรือ และเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถังและสมัยราชวงศ์ซ้อง) เป็นต้น วัดป่าตอง (วัดร้าง) เคยมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กล่าวคือ เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ยังมีพระประธานองค์ใหญ่ สมัยกรุงศรีอยุธยาประดิษฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน มีหลักฐานและคำบอกเล่าว่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น ได้มีพระเถระผู้ใหญ่จากกรุงศรีอยุธยาหนีภัยมาพำนักอยู่นครศรีธรรมราชและได้สร้าง "วัดป่าตอง" ขึ้น ภายหลังเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาปราบก๊กเจ้านคร พระองค์ได้ทรงนิมนต์พระเถระผู้นี้ไปเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่กรุงธนบุรี สถิตอยู่ทีวัดหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) ในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้ทรงยกวัดหว้าใหญ่ เป็นพระอารามหลวง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อันเชิญพระไตรปิฎกไปจากเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชและพระเถรานุเถระ สังคายนาจนสำเร็จสมบูรณ์ตามพระราชประสงค์ ณ วัดนี้ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระสังฆราชรูปนี้ยังได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช (ลี) อันเป็นปฐมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บางวัดอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอพระพรหมในปัจจุบัน เช่น "วัดก็ปงง" คือ "เกาะปง" ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ในท้องที่ตำบลท้ายสำเภา " วัดหม้าย" ก็น่าจะอยู่ในท้องที่ "บ้านทุ่งมาย" (ชาวบ้านเรียกว่า บ้านหมอมาย) ตำบลท้ายสำเภา "วัดนำมดำ" หรือ "วัดน้ำดำ" ก็คงอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ถ้าไม่อยู่ในท้องที่อำเภอพระพรหม ก็อาจจะอยู่ในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งต่อแดนกันเพราะแหล่งนี้มีสารหนูเจือปนอยู่ในดินค่อนข้างสูง อำเภอพระพรหม เคยอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชมาช้านาน เพราะอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียงประมาณ ๑๕ กิโลเมตรเท่านั้น แต่เนื่องจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีพื้นที่รวมกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นกิ่งอำเภอและพัฒนาเป็นอำเภอในระยะต่อๆมา เช่นปี พ.ศ.๒๔๕๔ แบ่งตั้งเป็นกิ่งอำเภอลานสกา ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ แบ่งตั้งเป็นกิ่งอำเภอพรหมคีรี และกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศตั้งเป็น "กิ่งอำเภอพระพรหม" โดยแบ่งท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชรวม ๔ ตำบล คือ ตำบลนาพรุ ตำบลนาสาร ตำบลช้างซ้าย และตำบลท้ายสำเภา รวมพื้นที่ประมาณ ๑๘๗.๐๒๖ ตารางกิโลเมตร ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลนาพรุ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้นไป ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๔๐ ยกฐานะ "กิ่งอำเภอพระพรหม" ตั้งเป็น "อำเภอพระพรหม" เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ในโอกาสเดียวกันนี้ "กิ่งอำเภอ" ในภาคใต้ที่ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ คือ สงขลา เป็น "อำเภอคลองหอยโข่ง" ลุ่มแม่น้ำปากพนัง) ด้านทิศตะวันออกในท้องที่ตำบลช้างซ้ายเป็นพรุขนาดใหญ่เคยเป็นแหล่งน้ำสำคัญเชื่อมต่อไปไหลลงสู่แม่น้ำปากพนัง ผ่านคลองเสาธงและคลองค๊อง (ปัจจุบันทางราชการเรียกว่า คลองฆ้อง) คลองท่าเรือ คลองวังวัว ส่วนที่ราบตอนกลางของอำเภอเหมาะแก่การทำสวนและทำนาเป็นอย่างยิ่ง และในอดีตพื้นที่ราบบริเวณนี้ คือ แหล่งปลูกข้าวแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งของนครศรีธรรมราช การเป็นที่ราบลุ่มทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมในฤดูฝนอยู่เสมอๆ เนื่องจากน้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราชจะไหลบ่าคลองท่าดีและป่าคลองชลประทานแล้วไหลย้อนกลับขึ้นไป เพราะพื้นที่หลายส่วนที่เคยเป็นเส้นทางระบายน้ำกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองและมีการสร้างถนนหลายสายขวางกั้นทางน้ำธรรมชาติที่มีมาตั้งแต่อดีต อำเภอพระพรหมประกอบไปด้วยภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อนในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ส่วนฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม |
การคมนาคม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใช้เป็นทางผ่านจึงมีเส้นทางที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างเมืองหรือชุมชนต่างๆ กล่าวคือ ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช-ทุ่งสง เป็นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชกับอำเภอร่อนพิบูลย์และอำเภอทุ่งสง ซึ่งมีทางเชื่อมต่อกับจังหวัดทางฝั่งตะวันตก เป็นต้นว่า จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ หรือจังหวัดสุราษฎร์ธานี เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองกับชุมชนบริเวณนี้มาแต่โบราณ ทางหลวงแผ่นดินสายสามแยกนาพรุ-สี่แยกเบญจมฯ เป็นเส้นทางมาตรฐานจากศูนย์ราชการนาสารไปสู่เมืองนครศรีธรรมราช และตรงไปสู่สนามบินพาณิชย์จังหวัด ระดับบัณฑิตศึกษา สาขารัฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจและสาขาบริหารการศึกษา ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่เปิดบริการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อรองรับการให้บริการนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในเขตภาคใต้ การศึกษาขึ้นพื้นฐานหรือระดับมัธยมศึกษามีโรงเรียนศรีวิชัย สังกัดกรมสามัญศึกษา เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษา ๒ โรง ส่วนการศึกษาภาคบังคับ ประกอบด้วยโรงเรียนระดับประถมศึกษา ๑๖ โรงเรียน และจากความสมบูรณ์ของสถานศึกษาและสถานที่ราชการดังที่กล่าวมาแล้ว จึงมีการกล่าวกันว่าอำเภอพระพรหมเป็น "เมืองปัญญา" นอกเหนือจาก "เมืองศูนย์ราชการ" ส่งผลให้บริเวณริมทางหลวงแผ่นดินทั้ง ๒ สาย เกิดเป็นถิ่นที่อยู่ใหม่แบบชุมชนเมือง เนื่องจากมีหมู่บ้านจัดสรร ๔ โครงการใหม่ๆ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนที่ทำงานในตัวเมืองนครศรีธรรมราช กระนั้นก็ดี ความเป็นชุมชนชนบทหรือวิถีชีวิตแบบชนบทก็ยังคงปรากฏอยู่ทั่วไป เพราะว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชนที่มีความต่อเนื่องมาแต่อดีต เช่น มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ๆ เช่น บริเวณวัดพระเพรง หมู่ที่ ๓ ตำบลนาสาร มีร่องรอยของการเป็นสถานที่ผลิตอิฐก่อพระบรมธาตุ อายุประมาณ ๗๐๐ ปี วัดป่าห้วยพระ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาพรุ เป็นวัดจำพรรษาของหลวงปู่ทวด พระพุทธรูปหิน วัดมะม่วงขาว อายุประมาณ ๗๐๐ ปี ส่วนศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ เป็นต้นว่า ที่หมู่ที่ ๔, ๕ ตำบลนาสาร บ้านมะม่วงขาว บ้านหนองเข้ บริเวณวัดคันนารามเป็นแหล่งที่ผลิตผ้าพื้นเมืองหรือการผลิตผ้ายกเมืองนครฯ ยังดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน การผลิตเครื่องจักรสานไม้ไผ่และเครื่องถมเงินของแม่บ้านหมู่ที่ ๒-๓ ตำบลนาพรุ และตำบล เป็นต้นว่า โรงงานเคมีภัณฑ์ โรงงานน้ำปลา ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลท้ายสำเภา สำหรับการคงความเป็นชนบท มีการรักษาเอกลักษณ์การละเล่นแบบชนบทในนครศรีธรรมราชอย่างเข้มแข็ง มีศิลปินพื้นบ้านที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ เช่น คณะโนราหนูเขียน เสียงทอง หมู่ที่ ๒ ตำบลท้ายสำเภา คณะโนราเชิด หมู่ที่ ๑ ตำบลนาพรุ คณะหนังตะลุงประดับ ประดิษฐ์ศิลป์ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาพรุ และคณะหนังชู บ้านไสเลียบ ตำบลช้างซ้าย เป็นต้น
|