อำเภอพิปูน

 
 

ประวัติความเป็นมา

 

ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช จ.ศ.1173 ครั้งราชการที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวถึง ตำแหน่งนายที่พิปูน นา 6000 ฝ่ายขวา มีช้างพลาย 1 ช้างจำลอง 1 ธงทวน 2 หมวก 2 แหลน 2นวม 3 ปืนนกสับหลังช้าง 1 กระบอก ปืนกระสุนนิ้วกึ่งบรรดาศักดิ์ 1 กระบอก ปืนนกสับบรรดาศักดิ์ 4 กระบอก เสื้อ 4 หมวก 4 หอกเขน 10 ทวนเท้า 4 เสื้อพล 10 หอกสำหรับช้าง นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ ดังนี้

“หมื่นณรงคบุรี รองที่พิปูน นา 300

“หมื่นกะเชนบุรี สมุห์บัญชี นา 200

“หมื่นสารวัตร” เป็นสารวัตร นา 200

“ขุนไกรธานี” นายที่วัดถ้ำนารา นา 400

“หมื่นเดชบุรี” รองที่ถ้ำนารา นา 300

“หมื่นสุรินทรบุรี” สมุห์บัญชี นา 200

“หมื่นชำนาญ” สมุห์บัญชี นา 200

สิริ หลวง ขุน หมื่น ที่พิปูน ถ้ำนารา ขุน 2 หมื่น 7 รวม 9

 

มีข้อสังเกตพิเศษสำหรับนายที่พิปูนคือ มีศักดินา 600 มีอำนาจดูแลทั้งที่พิปูนผนวกด้วยที่ถ้ำนารา รวม 2 พื้นที่ที่พิเศษ คือขุนไชยธานี นายที่พิปูน มีศักดินา เพียง 600 แต่มีเครื่องประดับยศ ช้างพลายและสิ่งอื่น ๆ จำนวนมาก

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อ ร.ศ. 115 (พ.ศ.2439) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล พระยาสุขุมวินิตได้ตั้งอำเภอฉวางขึ้น เมื่อ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2540) ตามใบบอกเกี่ยวกับเรื่องตั้งกรมการอำเภอมีว่า “อำเภอฉวางเป็นแขวงชั้นนอกต่อแดนเมืองคีรีรัฐนิคม เมืองกาญจดิฐ เมืองกระบี่ ตั้งที่ว่าการบ้านคลองตาล” และบาญชีสำมโนครัวของอำเภอฉวาง ศก 116 ว่า”นามแขวงฉวาง นามนายอำเภอ นายน้อยทำเมื่อปีศก 116 มีกำนัน 8 คน ผู้ใหญ่บ้าน 40 คน หมู่บ้าน 131 หลังคาเรือน 164 จำนวนราษฏรชาย 5,002 หญิง 5,123

 

เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เกิดอุทกภัยร้ายแรง ทำให้อำเภอพิปูนเสียหายอย่างร้ายแรงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่และวัฒนธรรมเช่น”บ้านหาดเจ็ด มีหาดทรายสวยงาม ครั้นเมื่อเกิดอุทกภัยปี พ.ศ. 2531 สายน้ำเปลี่ยนทิศทางเดินสภาพชายหาดหมดไป คงเหลือต้นประดู่ใหญ่ 3 ต้นที่ไม่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เมื่อถึงฤดูออกดอก บานสะพรั่ง ชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อ”บ้านหาดเจ็ด” เป็น บ้านดอกประดู่”

ประวัติชื่อหมู่บ้านในเขตอำเภอพิปูนที่มีคุณค่า มีอยู่หลายแห่งเช่น “บ้านกะทูน” เดิมเรียกว่า”ห้วยช่อง” เดิมประชาชนในบริเวณนี้นิยม เรียกว่า”บ้านทุ่งปลายเสียว เพราะสภาพเป็นป่ารกชัฎมีสัตว์ร้ายชุกชุมอยู่ปลายแดน น่าหวาดเสียว

“บ้านนามวน” เป็นที่ซึ่งน้ำไหลมารวมกันกลายสาขา ทำให้เกิดการหมุนของสายน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า”มวน” จึงเรียกกันว่า “บ้านนามวน”

 

“ทูนของไว้บนหัว” เพื่อการขนย้ายของ ซึ่งเรียกว่าทูน ต่อมาคนต่างถิ่น เติม กะ เข้าหน้าคำเป็น “กะทูน” ชื่อบ้านแห่งนี้สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้านยังสัมพันธ์กับความคิดที่ว่า “ราษฎรในเมืองนี้คงไม่ต่ำกว่า 200,000 คนไม่ค่อยทำมาหาเลี้ยงชีพสักเท่าใด ที่ทำก็พอรับพระราชทาน ไม่คิดถึงกับจะได้ค้าขายให้เปนอาณาประโยชน์ต่อไป จึงเป็นคนยากจนโดยมากการแต่งตัวแลนุ่งห่มก็เลวทรามดูเหมือนหนึ่งคนที่เปนไข้อยู่เสมอผมเผ้าก็ไม่ได้หวีให้เรียบร้อย เปนดังนี้ทั่วกันทั้งเมือง การที่นำสิ่งของไปมาค้าขายไม่เลือกว่าของชนิดใดใช้ทูนศีศะทุกอย่าง ที่สุดจนตระกร้ากุ้งสดปลาสดก็ทูนบนศีศะ ดูไม่ถือกันว่า เปนการโสโครกอย่างใด แลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกคำสั่งห้ามมิให้ราษฎรใช้ทูนสิ่งของด้วยศีศะ

“บ้านปากเสียว” ในตำบลควนกลางแต่เดิม


สภาพทั่วไป


 

อำเภอพิปูน ขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 363 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านท้ายสำเภา ตำบลพิปูน อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 93 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกิ่งอำเภอนบพิตำจังหวัดนครศรีฯทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอฉวาง

 

 

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมคีรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีฯอำเภอพิปูนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 40 หมู่บ้าน คือ ตำบลพิปูน 6 (หมู่บ้าน) ตำบลเขาพระ(11 หมู่บ้าน) ตำบลควนกลาง(6 หมู่บ้าน) ตำบลกะทูน (8 หมู่บ้าน) และตำบลยางค้อม (9 หมู่บ้าน) ปี พ.ศ. 2540 มีประชากร ทั้งสิ้น 27,915 คน นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98


ภูมิประเทศ


 

อำเภอพิปูน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่าหุบเขา เป็นป่าแลภูเขา ที่ราบส่วนใหญ่เป็นลำห้วย มีภูเขาอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีชื่อสถานที่ที่บอกสภาพความเป็นห้วย หนอง คลอง เป็นจำนวนมาก เช่น

  • ห้วยหมาก
  • ห้วยโก
  • ห้วยใหม่
  • ห้วยท้อน
  • ห้วยตรีด
  • ห้วยยอ
  • ห้วยทรายขาว
  • ห้วยกลาง
  • ห้วยช่อง
  • หนองบัว พรุทัง
  • เหนือคลอง

เนื่องจากเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา อำเภอพิปูนจึงเป็นที่เกิดของต้นน้ำตาปี

 

ซึ่งประกอบด้วยสายน้ำใหญ่ 4 สาย คือ

  • คลองกะทูน มีต้นกำเนิดจากภูเขาหินแท่น ไหลผ่านตำบลกะทูน ตำบลเขาพระ มีน้ำไหลตลอดปี
  • คลองดินแดง อยู่ทางทิศเหนือ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาไม้แบ่ง ไหลผ่านตำบลเขาพระและตำบลกะทูน มีน้ำไหลตลอดปี
  • คลองระแนะ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาไม้แบ่ง ไหลผ่านตำบลพิปูน ตำบลเขาพระ มีน้ำไหลตลอดปี
  • คลองใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี ลำคลองทั้ง 4 นี้ไหลมารวมกันที่หมู่ที่ 5 บ้านคุ้งวัว ตำบลควนกลาง เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่ ทั้งหมดเป็นแหล่งธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอพิปูน

สภาพภูมิอากาศ

มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มี 2 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม ิฝนตกชุกที่สุดในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม

สังคมวัฒนธรรม


 

ของอำเภอพิปูน นับแต่วัฒนธรรมชุมชนของพิปูนเจริญขึ้นจากยุคสร้างป่าเป็นนาจนถึงสมัยปฎิรูปการปกครองหัวเมือง ชาวพิปูนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ชาวนอกเขา” ซึ่งมีความหมายตามนัยทางภูมิศาสตร์ว่าพวกที่อาศัยอยู่ด้านตะวันตกเขาหลวงและห่างไกลจากตัวเมืองเป็นพวกยังชีพด้วยการทำสวนผลไม้และหาของป่า ได้แก่ ชาวฉวาง พิปูน และนาบอน ในทางสังคมกลุ่มชาวนอกเขาก็ดี

กลุ่มชาวเหนือก็ดี

 

เป็นการเรียกเชิงดูหมิ่นถิ่นแคลนของชาวเมืองอยู่ในที่ว่าเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

ประเพณีและวัฒนธรรม

ประเพณีเฉพาะที่โดดเด่นคือ ทีวัดทองทนุ (หน้าเขา) มีวันทำบุญวัดชายเขา ตรงกับวันสิ้นเดือนของเดือนสี่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วันดับ” ประชาชนร่วมกันไปตกแต่งสถานที่และขนทรายจากแม่น้ำลำคลองไปกองไว้ในวัด ตามคติที่ว่า “ขนทรายเข้าวัด” ถือเป็นงานบุญประจำปีของอำเภอนี้

 

 

รูปบ้าน.GIF

 

 

รูปบ้าน.GIF


คมนาคม


 

การคมนาคม ระหว่างอำเภอกับจังหวัดเป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร ส่วนการติดต่อระหว่างอำเภอกับ

  • ตำบลพิปูน
  • ตำบลเขาพระ
  • ตำบลกะทูน
  • ตำบลยางค้อม เป็นถนนลาดยาง ยกเว้นตำบลควนกลาง เป็นถนนลูกรัง ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
 

อาชีพและเศรษฐกิจ ประชากรอำเภอพิปูนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม มีพื้นที่เพื่อการเกษตรประมาณ 105,326 ไร่ เป็น

  • ที่นา 7,161 ไร่
  • สวนผลไม้ 11,842 ไร่
  • สวนยางพารา 46,323 ไร่ ปี พ.ศ. 2540 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 7,000 บาทต่อคนต่อปี สินแร่ที่สำคัญ คือดีบุกและวุลแฟรม

   ......Back