อำเภอถ้ำพรรณรา |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
|
เอื้อม อุบลพันธุ์ นักวิชาท้องถิ่นสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อ " ถ้าพรรณรา " ว่าน่าจะมาจาก 3 ประการ
|
|
ถ้ำเล็ก ถ้ำจำนวนนับร้อย ๆ ถ้ำ และถ้ำที่สำคัญมาก คือ ถ้ำพรรณรากับถ้ำกัลยามิตร หรือถ้ำกัลยาณมิตร โดยที่ ถ้ำทองพรรณรา เป็นแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุ มีการขุดพบทรัพย์สมบัติที่มีค่า ทั้งทอง เงิน พระพุทธรูป ถ้วย ชาม เครื่องประดับ อาวุธ ถ้ำพรรณรา |
|
ส่วนที่เป็นหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ขวานหินขัด ภาชนะดินเผาสีดำ สีแดง ลายเชือกทาบ ชิ้นกระดูกมนุษย์ นับเป็นแหล่งโบราณคดีหลายสมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งชาวบ้านบริเวณนี้มีการสันนิษฐานกันว่า เป็นทรัพย์สินของคนโบราณ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปร่วมกันสร้างพระบรมธาตุที่หาดทรายแก้ว เมื่อทราบว่ามีการสร้างพระบรมธาตุเสร็จแล้ว จึงหยุดการเดินทางและทำการสร้างสิ่งสักการะไว้ เช่น พระพุทธไสยาสน์ ตามตำนานกล่าวว่า สร้างเสร็จหลังการสร้างพระบรมธาตุ |
เมื่อมีเศรษฐีนีชาวอินเดีย 2 คน ชื่อ ชีปริง และชีปราง เดินทางมากับพรรคพวก นำสิ่งของมาร่วมสร้างพระบรมธาตุ เดินทางมาตามลำน้ำตาปี เมื่อทราบข่าวการสร้างพระบรมธาตุเสร็จ ทั้งสองคนจึงหาสถานที่เหมาะสม พบว่าบริเวณถ้ำพรรณราเหมาะสมจึงทำการสร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยนำเอาสิ่งของมีค่า แก้ว แหวน เงิน ทอง บรรจุไว้ฐานพระและบริเวณใกล้เคียงจำนวนมาก เมื่อทั้งสองเสียชีวิตลง ได้มีการสร้างรูปทั้งสองไว้ที่ปลายเท้าของพระพุทธรูป และบรรจุอัฐไว้ ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและนำเอาอัฐิจำนวนมากเก็บใส่หม้อดินบรรจุถ้ำต่ง ๆ |
|
พระพุทธไสยาสน์ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2520 มีความยาว 11 เมตร สูงราว 5 เมตร และได้นำเอาวัตถุโบราณที่ค้นพบบรรจุไว้ในส่วนองค์พระบรรทมและในส่วนหมอน นอกจากนั้นยังได้ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปต่าง ๆ ในบริเวณนี้ เป็นต้นว่า พระปริง พระปราง ทุก ๆ ปี จะมีประชาชนเดินทางมาบูชาแก้บน ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตามความเชื่อว่าเป็นคณาญาติของชีปริงและชีปราง โดยได้กระทำต่อเนื่องกันมาจนเป็นประเพณีถึงปัจจุบันนี้ เมื่อคณะที่มาทำบุญบวงสรวงเสร็จ ลูกหลานที่ติดตามมาก็จะเดินสำรวจถ้ำต่าง ๆ จนกลายเป็น ประเพณีขึ้นสำรวจถ้ำ เป็นงานสำคัญในท้องถิ่นด้วย ถ้ำทองพรรณราในปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณวัดถ้ำทองพรรณรา หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำพรรณรา โดยสถานภาพปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. 2521 |
|
ถ้ำทองพรรณรา หรือถ้ำพรรณรา ถ้ำพรรณราเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ แบ่งแยกอำเภออกจากอำเภอฉวาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2533 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2533 และยกฐานะเป็นอำเภอถ้ำพรรณรา เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2538 |
สภาพทั่วไป
|
อำเภอถ้ำพรรณราขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่จำนวน 180 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 112,500 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัด 108 กิโลเมตร |
|
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ อ. เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานีทิศใต้ ติดกับ อ. ทุ่งใหญ่ ทิศตะวันออก ติดกับ อ. ฉวาง ทิศตะวันตก ติดกับ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช |
|
|
|
โดยมีประชากรเมื่อ พ.ศ. 2540 จำนวน 16,848 คน
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นเนินเขา ทิศเหนือ ในเทือกเขานครศรีธรรมราช ประกอบด้วยป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 ป่า คือ ป่าปลายรา ตำบลถ้ำพรรณรา เนื้อที่ 37,681 ไร่ ป่าคลองซ่อน ตำบลดุสิต เนื้อที่ 1,717 ไร่ และป่าทุ่งหนอง |
|
ครวญ เนื้อที่ 16,288 ไร่ ทิศใต้และทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ๆ คือ แม่น้ำตาปี คลองวง คลองยาว คลองเที๋ยะ และคลองรา และมีน้ำผุดธรรมชาติ 1 แห่ง บริเวณเกาะลอย น้ำผุดหรือเกาะพระ หมู่ที่ 3 ตำบล ดุสิต ซึ่งเป็นน้ำของคลองเล |
|
ภูมิอากาศมี 2 ฤดู คือ |
|
|
|
การคมนาคมมีถนนอย่างดีเพียง 2 สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหรือถนนเพชรเกษม หมายเลข 41 เป็นเส้นทางสายหลักผ่านพื้นที่อำเภอนี้ และทางหลวงจังหวัด 4224 สายถ้ำพรรณรา - ทานพอ นอกนั้นเป็นถนนลูกรังและถนนดินธรรมดาเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ จำนวน 27 สาย |
|
แผนทีอำเภอถ้ำพรรณรา |
|
อำเภอถ้ำพรรณรา มีสถานที่สำคัญเป็นที่รู้จักของประชาชนภายในและอำเภอใกล้เคียง นอกเหนือจาก ถ้ำทองพรรณรา ถ้ำที่สำคัญอีกถ้ำคือ ถ้ำกัลยามิตร หรือเขาพันถ้ำ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลดุสิต มีฐานะเป็นที่พักสงฆ์ในการอาศัยเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำไร ตามเจ้าของที่ดินเดิมชื่อนายไร ต่อมาพระภิญโญได้ซื้อมาจนเปลี่ยนชื่อเป็น ถ้ำกัลยาณมิตร มีสภาพทั่ว ๆ ไปเป็นป่า ภายในถ้ำมีความสวยงามของหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ มีภาพเขียนของคนดบราณและเคยเป้นฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ใช้ถ้ำบางถ้ำเป็นที่ |
|
ประชุมหรือชุมนุมของสมาชิกพรรค และสถานที่น่าสนใจ แหล่งสุดท้ายคือ เขตอนุรักษ์เกาะลอยหรือเกาะพระ หรือน้ำผุดคลองเล เป็นบ่อน้ำผุดขนาดใหญ่หรือมีสภาพเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 ตำบล ดุสิต มีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำและปกคลุมด้วยต้นไม้หนาแน่นเหมาะแก่การท่องเที่ยว โดยมคำขวัญที่สอดรับการท่องเที่ยวและสภาพภูมิประเทศว่า พระไสยาสน์ล้ำค่า ตระกาลตาถ้ำกัลยามิตร ผลผลิตยางพารา อนุรักษ์ป่าฉ่ำชื่น ขึ้นถ้ำเป็นประเพณี สายตาปีชลเขต |