อำเภอปากพนัง

 
 

ประวัติความเป็นมา

 

นามสถาน "ปากพนัง" มีกล่าวถึงในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ตอนหนึ่งว่า "ครั้งนั้นยังมี(ขาวอริยพงศ์ อยู่เมืองหงษาวดีกับคน 100 หนึ่ง พาพระบตไปถวายพระบาทในเมืองลังกา ต้องลมภัยสำเภาแตกซัดขึ้นปากพนัง พระบตขึ้นปากพนังชาวปากพนังนำพามาถวาย" ตำนานฉบับดังกล่าวพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกงรณ์ ได้ทรงตรวจสอบทั้งเนื้อหาและปีที่บอกแล้ว ทรงวินิจฉัยว่าแต่งในแผ่นดินพระนารายณ์เชื่อถือได้อันนี้จึงเป็นหลักฐาน "คำปากพนัง" (พ.ศ.2199-2231) และสอดคล้องกับตำนานเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อพระพนมวัง และนางสะเดียงทองออกไปสร้างเมืองนครดอนพระ เมื่อ (มหา) ศักราช 1588 ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2209) ที่มีการสร้างป่าเป็นนาในท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช

 

(ทั้งบริเวณท่าศาลา สิชล ขนอมและว่า "แลนายสมิงคโตพรมนา ซึ่งเสียเรือแลมาอยู่เมืองนคร แลให้นางพทองเป็นเมีย ให้เป็นผขาวอริยพงศ์ อยู่รักษาพระมหาธาตุในเมืองนครแล"

นับแต่แผ่นดินพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) มาจนถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีการบ่งถึงความสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราชด้านยุทธการกองทัพมีการเกณฑ์ข้าราชการเมืองนี้ให้ต่อเรือรบเพิ่มเติม ซึ่งพออนุมานได้ว่า "ปากพนัง" คือ แหล่งที่มีบทบาทด้านนี้ของเมืองนครศรีธรรมราชเพราะมีทำเลเหมาะสมที่จะมีบทบาททางยุทธนาวี

ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2354 ปรากฎว่าการปกครองของเมืองนคศรีธรรมราชแบ่งเป็นกรมได้ 21 กรม หัวเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเพชรกำแพงสงครามรัตนบุรี

 

 

ครั้นถึง พ.ศ.2439 (ในรัชกาลที่ 5) ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ให้มีหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และเมืองบรรดาเขตปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว คือที่เมืองพนัง ที่เบี้ยซัด รวมเรียกว่า "อำเภอเบี้ยซัด" ขึ้นแก่จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอเบี้ยซัด ตั้งที่ว่าการที่ริมแม่น้ำปากพนัง มีหลวงพิบูลย์สมบัติ ข้าหลวงผู้ช่วยว่าที่นายอำเภอ เริ่มตั้งต้นทำการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ร.ศ.115 (พ.ศ.2439) ปรากฎตามรายงานตามรายงานราชการมณฑลนครศรีธรรมราชของพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศบาลภิบาลว่า อำเภอเบี้ยซัด เมื่อ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) มีกำนัน 31 คน มีผู้ใหญ่บ้าน 370 คน มี 514 หมู่บ้าน มี 6,755 หลังคาเรือน มีราษฎรชายหญิงรวม 34,685 คน

 

และมีราษฎร มากเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนี้ คือรองจากอำเภอกลางเมืองซึ่งมีราษฎรทั้งชายหญิงรวม 43,267 คนสาเหตุที่เรียกว่าอำเภอเบี้ยซัดนั้นเล่ากันว่า เพราะบริเวณฝั่งน้ำปากพนัง เป็นทีที่คลื่นซัดเอาเปลืกหอยเบี้ยหอยจากท้องทะเลขึ้นตรงนั้นและที่เบี้ยซัดนี้แผ่นดินได้ตั้งกรมการผู้ปกครองที่ขึ้นไว้ดูแล คือผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นบรรดาศักดิ์เป็นเมืองรามธานีแม้ว่าชื่อทางราชการเป็นอำเภอเบี้ยซัด แต่ราชการในท้องที่เรียกว่า อำเภอปากพนัง จนถึงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2445 จึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเบี้ยซัดเป็น "อำเภอปากพนัง" อำเภอปากพนังเป็นศูนย์กลางของความเจริญแห่งหนึ่งของภาคใต้ เป็นเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าขาย และศูยน์กลางคมนาคม

 

ในด้านการศาลยุติธรรม หลังจากมีการจัดระเบียบศาลเพื่อใช้ทั่วราชอาณาจักรแล้ว ได้มีแจ้งความกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2448 ว่า "ด้วยข้าหลวงเทศบาลภิบาลและอธิบดีผู้พิพากษามณฑนนครศรีธรรมราช มีใบบอกมาว่าอำเภอปากพนังและอำเภอเขาพังไกร แขวงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นท้องถิ่นอันกว้างขวาง มีพลเมืองมากสมควรตั้งศาลขึ้นที่ตำบลปากพนัง สำหรับคดีที่เกิดขึ้นใน 2 อำเภอนี้ โปรกเกล้าฯ พระราชพระบรมราชานุญาตแล้ว ศาลปากพนังนี้มีอำนาจเหมือนศาลเมืองตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลหัวเมือง"

ด้านการทำถนนและขุดคลอง ปรากฎตามรายงานนาชการมณฑลนครศรีธรรมราช ร.ศ.117 ของพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลว่า ในปี ร.ศ.116 (พ.ศ.2440)

 

"ได้ตัดถนนขึ้นที่ริ่มฝั่งแม่น้ำพนังตะวันออก

ส่วนการขุดคลองปรากฎตามรายงานว่า "ที่ปากพนังนี้น้ำเค็ม ราษฎรที่อยู่แทบนี้ต้องไปตักน้ำที่บางจาก การขุดคลองจะมีประโยชน์คือ

ประการที่ 1 จะได้น้ำจืดมาที่แม่น้ำปากพนัง ให้ราษฎรได้น้ำจืดใช้ได้ง่ายกว่านี้ประการหนึ่ง

ประการที่ 2 น่าคลื่นลมจัด เรือลูกค้าพานิชแลราษฎรที่มาจากกลางเมือง จะได้มาคลองทางนี้ ไม่ต้องออกทะเลประการหนึ่ง

ประการที่ 3 จะได้ที่นาสวนริมสองฝั่งคลองอีกหลายพันไร่

ตามหนังสือราชปลัดทูลฉลองที่ 790/7290 ลงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ.119 บ่งว่า คลองปากพนังที่ขุดใหม่ระยะทาง 300 เมตร นั้นเรือสามารถแล่นได้ ไปแต่ปากพนังถึงเมืองนครศรีธรรมราช ไม่ต้องออกทะเลก็ได้ ส่วน 2 ข้างคลองราษฎรจับจองเป็นที่นา

 

สถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอปากพนังเดิมตั้งอยู่ที่โรงสีเอี่ยมสิน ในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง ต่อมาในสมัยหลวงสินธุสงครามชัยเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่คลองบางลำ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งตลาดสดเทศบาลเมืองปากพนัง และต่อมาในสมัยพระวิชิตสรไกร (เอี่ยม ขัมพานนท์) เป็นนายอำเภอได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ริมคลองบางฉนากด้านใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการด่านตำรวจน้ำและต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่หมู่ 3 ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

เหตุที่ต้องย้ายในครั้งหลังสุดเพราะเกิดไฟไหม้อาคาร ที่ว่าการประกอบกับที่ตั้งเก่าคับกับที่ตั้งเก่าคับแคบและและอยู๋ใกล้ฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะอำเภอปากพนัง เป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและด้านยุทธนาวีเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่อดีตดังเช่นปรากฎตามใบบอกของพระยาสุขุมนัยวินิต เทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชว่า เมื่อปี ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ว่า "ข้าวเปลือกในแขวงอำเภอเขาพังไกรและเบี้ยซัดมีมาก ซึ่งราษฎรพามาจำหน่ายที่ปากพนัง ลงเรือไปเมืองสิงคโปร์ เมืองแขกบ้าง กรุงเทพฯ บ้าง"


สภาพทั่วไป


 

อำเภอปากพนังขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 363 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอยู่จากตัวจังหวัดอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 36 กิโลเมตร

รูปส่วนหนึ่งลุ่มน้ำปากพนัง.GIF

 

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จดอ่าวไทย
  • ทิศใต้
  • จดอำเภอหัวไทร อำเภอ เชียรใหญ่และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย

ทิศตะวันตก จดอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช

จำนวนประชากร ปี พ.ศ.2540 มีทั้งหมด 117,999 คน อยู่ในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง 23,506 คน อยู่นอกเขตเทศบาล 94,493


ภูมิประเทศ


 

พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปากพนังไหลผ่าน พื้นที่เดิมเป็นทะเล เป็นดินดอน พื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาและป่าจาก แม่น้ำปากพนังแบ่งอำเภอปากพนังออกเป็น 2 ส่วนคือ

ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก บริเวณปากแม่น้ำมีแหลมจะงอยยื่นออกไปกลางทะเลตรงบริเวณตำลบแหลมตะลุมพุก มีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรประมาณ 176,286 ไร่ ใช้ทำข้าวประมาณ 167,014 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งถูกปรับเป็นนากุ้งมีผู้ประกอบอาชีพการเกษตรประมาณร้อยละ 78.53 ที่หมู่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย นิยมปลูกส้มโอจนทำให้ "ส้มโอแสงวิมาน "

รูป แม่น้ำปากพนัง 2 ฝั่ง.GIF

 

เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มีพื้นที่เพาะกุ้งกุลาดำประมาณ 7,500 ไร่ มีผู้เลี้ยงประมาณ 1,500 ราย มีผลิตภัณฑ์ทางด้านประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทางการประมง เช่น อู่ต่อเรือ แพปลา องค์การสะพานปลา การทำปูเค็ม ปลาเค็มและกะปิ

ข้อจำกัดในการพัฒนาอำเภอปากพนัง เนื่องมาจากสภาพที่ดินที่ราบลุ่มมีน้ำทะเลท่วมในบางฤดูกาลดินจึงมีคุณภาพต่ำและเสื่อมโทรม ทำให้ไม่หมาะสมแก่การเพาะปลูกต้องแก่ปัญหาด้วยดารใส่ปุ๋ยและอินทรีย์เป็นจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลผลิตต่ำ และว่างงานนอกฤดูทำนา

 

รูป อู่ต่อเรือ.GIF

 

ราษฎรส่วนใหญ่ยากจน จึงมีโครงการพัฒนาพื้นฃึ่งเป็นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประประโยชน์ในการบรรเทาทุกภัยการกักเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูก การระบายออกน้ำจากที่ลุ่มเพื่อการเพาะปลูกและการป้องกันน้ำเค็มมิให้ทำการเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก มีประตูระบายน้ำพร้อมด้วยคันกั้นน้ำตามความเหมาะสม สำหรับเก็บกักน้ำจืดไว้ในแม่น้ำปากพนัง และเป็นการแยกพื้นที่น้ำจืดกับพื้นที่น้ำเค็มออกจากกันเมื่อโครงการนี้สิ้นเสร็จประชาชนสามารถที่จะประกอบอาชีพเกษตรได้เช่นเดิม

รูป ลุ่มน้ำปากพนัง.GIF

 

สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอปากพนังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางธรณีสันฐานและความของอ่าวและแหลม ได้แก่ แหลมตะลุมพุก อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 28 กิโลเมตร เกาะกระ มีเนื้อที่บนเกาะประมาณ 50 ไร่ มีความงามตามธรรมชาติ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 25 กิโลเมตร บ้านปลายแหลม และหาดชายทะเล เป็นหาดทรายที่ขาวสะอาด อากาศดี (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์)

 

 

รูปแหลมตะลุมพุก.GIF


   ......Back