อำเภอนบพิตำ |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า เมื่อมหาศักราช 1588 ปีมะเมีย (ตรงกับ พ.ศ.2209) พระพนมวังและนางสะเดียงทองสร้างป่าเป็นนา และบำรุงพระมหาธาตุ ณ เมืองจรุงสระ นอกเมืองนครดอนพระ มีการสร้างป่าเป็นนา ในท้องที่ที่อยู่ในเขตกิ่งอำเภอนบพิตำ ในปัจจุบัน พบว่าน่าจะเป็นไปได้ที่กล่าวถึงนั้นคือบริเวณบ้านและนบและบ้านพิตำในเขต กิ่งอำเภอนี้เคยเป็นที่สร้างทำนบกั้นน้ำ สำหรับ สร้างป่าเป็นนา สอดคล้องกับที่ จ.ส.ต.เล็ก สุขประชา เล่าว่า บริเวณนี้เคยมีคันดินใหญ่มาก |
ซึ่งเชื่อมต่อกับนาและแนวร่องน้ำที่ติดต่อกับครองกลาย มีคำว่าพนัง ซึงเป็นชื่อวัดเก่าแก่ คือ วัดพนังตรา ที่ตอนหลังกลายเป็น วัดนางตรา ก็บ่งถึงความเกี่ยวโยงกับเรื่อง นบ กั้นน้ำ อันน่าจะมีส่วนเรียกบ้านนี้ว่านบพิตำส่วนคำ พิตำ สันนิฐานกันว่า เป็นคำภาษาทมิฬเพี้ยนมาจาก ติรำ ซึ่งหมายถึงน้ำ นบพิตำ จึงน่าหมายถึงทำนบกั้นน้ำดังกล่าวแล้ว การที่ชนชาติทมิฬเข้ามาเกี่ยวพันกับภาคใต้ส่วนนี้ มีประจักษ์พยานอยู่มาก เช่น ศิลาจารึก ภาษาทมิฬที่วัดพระบรมธาตุ เป็นต้น
|
สภาพทั่วไป
กิ่งอำเภอนบพิตำขึ้นอยู่กับอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 720.156 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 450.097 ไร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราชไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสิชล ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพิปูน ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าศาลา ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี |
กิ่งอำเภอนบพิตำแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ตำบลนบพิตำ 7 หมู่บ้าน ตำบลนาเหลง 7หมู่บ้าน ตำบลกำหรอ 7 หมู่บ้าน ตำบลกรุงชิง 6 หมู่บ้าน มีเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ คือ ถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 4140 เป็นเส้นทางประชาชนใช้สัญจร ระหว่างตำบลกับอำเภอท่าศาลามาแต่อดีต ได้ปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐาน ใช้เป็นสายหลักสายหนึ่ง ทางหลวงแผ่นดินสาย 4016 สายนครศรีธรรมราชถึงกรุงชิง ระยะทาง 70 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางสายยุทธศาสตร์ เพราะกิดจากการบุกเบิกของเหล่าทหารนาวิกโยธิน |
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศนับเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้พื้นที่นี้มีชื่อเสียง ทั้งการเป็นที่มั่นกองกำลังให้เกิดการต่อสู้ระหว่างลักธิดังกล่าว แล้ว (ในประวัติความเป็นมา) และในปัจจุบันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่สำคัญและเป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวมาก เพราะมีทั้งการปีนภูเขา เดินป่า ล่องแก่น ขี่ช้างเนื่องจากมีภูเขาสลับซับซ้อน จนมีการเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ของภูเขา หรือ ทะเลภูเขา ในทำนองที่ว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ สวิสเซอร์แลนด์ของประเทศไทยส่วนกรุงชิง คือ เพชรบูรณ์ ของภาคใต้ |
เทือกเขาสูงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราชมีสภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบ มีภูเขาที่สำคัญ คือ เขาหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 9 ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 356,250 ไร่ หรือ 570 ตารางกิโลเมตร เขาหลวงคือยอดเขาที่สูงที่สุด 1,835 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขานี้ครอบครุมพื้นที่กิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอพิปูน อำเภอลานสกา กิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอพรหมคีรี อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง นอกจากนี้กิ่งอำเภอนบพิตำยังเป็นที่ตั้งของเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง |
มีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวของกรมป่าไม้ไว้บริการ ในปี พ.ศ.2541 อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (รางวัลกินรีทองคำ) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและดึงดูดใจนักท่องเที่ยวคือ น้ำตกกรุงชิงตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลกรุงชิง มีความสูงเป็นน้ำตกถึง 7 ชั้น ชั้นที่สองเรียกว่า หนานฝนแสนห่า เป็นชั้นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดตกลงมาจากที่สูงสุดประมาณ 80-100 เมตร ความสูงนี้ทำให้ม่านน้ำตกแผ่ขยายออกเป็นผืนกว้างสวยงาม กระทรวงการคลังนำน้ำตกฝนแสนห่านี้ พิมพ์ลงในด้านหลังของธนบัตรฉบับละพันบาท |
ที่ใช้อยู่ในช่วง พ.ศ.2539-ปัจจุบัน นอกจากนี้ป่าในบริเวณป่ากรุงชิงยังมีความสมบูรณ์มาก เขตอุทยานแห่งชาติป่าเขานันท์ ที่มียอดเขาสูงระดับ1,438 เมตร นับว่าเป็นยอดเขาที่สูงอันดับที่ 2 ของเทือกเขานี้ เทือกเขายอดเหลือง มีลักษณะเทลาดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชมีน้ำตกยอดเหลือง ในหมู่ที่ 1 ตำบลนาเหรง ภูมิประเทศเป็นที่ราบ ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมการล่องแก่งใน คลองกลายซึ่งเกิดจากต้นน้ำบนภูเขาหลวง ยาว 60 กิโลเมตร ไหลไปออกอ่าวไทยที่อำเภอท่าศาลา นอกจากนี้ยังมีคลองในบริเวณที่ราบอื่น ๆ อีกเป็นต้นว่า คลองท่าเปรง คลองท่าพุด คลองชุมขลิง |
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ส่วนฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2540 กิ่งอำเภอนบพิตำ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,965 คน อาชีพและเศรษฐกิจในอดีตทำให้ประชาชนมีรายได้ในการทำเหมืองแร่เหล็ก แต่ได้ปิดกิจการไปประมาณสิบปีเศษ |
อาชีพที่สำคัญในปัจจุบัน คือการเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตร 310,211 ไร่ โดยมีพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ยางพารา การทำสวนผลไม้ที่มีชื่อเสียง คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ (บางครัวเรือนจะมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกประเภท หรือผลิตหลายประเภทในครัวเรือน) ส่วนที่ลุ่มริมคลองต่าง ๆ มีการปลูกข้าว |