อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช ได้ประกาศตั้งเมื่อ พ.ศ.2444 โดยตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ สนามหน้าเมือง ตำบลคลัง ในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ.2454 ได้ประกาศท้องที่ทางทิศตะวันตกเป็นกิ่งอำเภอ เรียกวา กิ่งอำเภอลานสกา (คืออำเภอลานสกาในปัจจุบัน) มีเขตการปกครอง 4 ตำบล ใน พ.ศ.2458 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมือง ไปตั้งที่ตำบลในเมือง บริเวณเดียวกับที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และเมื่อ พ.ศ.2506 |
ได้สร้างที่ว่าการอำเภอนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่และได้ใช้เป็นสถานที่ราชการตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ พ.ศ.2517 แบ่งเขตที่ตั้งทางตะวันออกเฉียงเหนือตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอพรหมคีรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพรหมคีรี) ปี พ.ศ.2537 แบ่งท้องที่ทางทิศใต้เป็นกิ่งอำเภอพระพรหม ปัจจุบันเป็นอำเภอพระพรหม ปี พ.ศ.2540 อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จึงมีตำบลในปกครอง 16 ตำบล |
ลักษณะภูมิอากาศ
ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนกับฤดูหนาว ในแต่ละปีฝนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่ตุลาคม |
จนถึงเดือนมกราคม ฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนภึงเดือนกัยยายน |
ประชากร
จาการสำรวจในปี พ.ศ.2540 มีประชากรทั้งสิ้น 259,201 คน ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 86 ศาสนาอิสลามร้อยละ 12 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2 พลเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช แบ่งการปกครองเป็น 16 ตำบล 108 หมู่บ้าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีพื้นที่เป็นป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ |
ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้หลุมพอ ไม้ตะเคียน ไม้จำปา นอกจากนี้ยังมีของป่าอื่น รูปคหปตานีและราษฎร(.GIF) |
โบราณสถาน
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ชาวบ้านทั่วไปเรียกกว่า วัดพระธาตุ เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นมิ่งขวัญของชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย รูปทรงเจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ หรือระฆังคว่ำ ยอดหุ้มด้วยทองประมาณ 216 กิโลกรัม สูง 37 วา |
รูปวัดมหาธาตุ (.GIF) |
วัดเสมาเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของจังหวัดนครศรีธรรมราชและอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัด ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชหอพระนารายณ์-หอพระอิศวร เป็นเทวสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง
|
วัดท่าโพธิ์วิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบันเป็นอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ริมคลองนครน้อย เลียบฝั่งตรงกันข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเมื่อประมาณทศวรรษที่ 18-19 ต่อมามีการบูรณะเพิ่มแหล่งชุมชนสมัยโบราณ มีอุโบสถ เจดีย์ สมัยอยุธยา
|
กำแพงเมือง เป็นสัญลักษณ์เติมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อป้องกันวิถีกระสุนปืนใหญ่ในขณะนั้น ปัจจุบันปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวรูปกำแพงเมือง (.GIF) |
สระล้างดาบศรปราชญ์ เชื่อกันว่าเป็นสระที่เพชรฌฆาตใช้ล้างดาบหลังจากประหารชีวิตศรปราชญ์กวีแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว เนื่องจากประพฤติผิดพระราชประเพณี และประพฤติผิดเรื่องชูสาวด้วยพระพุทธสิหิงค์ เป็นโบราณสถานวัตถุเก่าแก่ประดิษฐ์ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ อยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัดกับศาล เป็นพระพุทธรูปที่งดงามยิ่ง มีพระพักตร์กลมยิ้ม |
เจดีย์ยักษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลังใกล้ ๆ กับเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช
รูปเจดีย์ยักษ์ (.GIF) |
อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ.2485 (จ่าดำ) ตั้งอยู่ในบริเวณมณฑลทหารบกที่ 5 ค่ายวชิราวุธ สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี ความกล้าหาญของทหารไทยที่ได้พลีชีพต่อต้านทหารญี่ปุ่นรูปจ่าดำ (.GIF) |
ประเพณี
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ (ประเพณีเดือนสาม) คือการแห่ผ้ายาว ๆ ขึ้นห่อเจดีย์พระบรมธาตุฯ เป็นพุทธบูชาโดยจัดทำขึ้นในเทศกาลวันมาฆบูชา จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสาม นำไปถวายสักการะพระบรมธาตุฯ และพอตกกลางคืนจะมีพิธีเวียนเทียน รูปแห่ผ้าขึ้นธาตุ(.GIF) |
ประเพณีกวนข้าวมธุปายาสสาคู (ประเพณีเดือนสาม) ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าข้าวมธุปายาสเป็นข้าวที่ส่งเสริมพลังกายได้เป็นอย่างดี โดยมีความเชื่อจากตำนานพุทธประวัติ ตอนที่นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสก่อนอภิสัมโพธิกาลรูปกวนข้าวมธุปายาสยาคู(.GIF) |
ประเพณีสาทรเดือนสิบ (ประเพณีเดือนสิบ) โดยเชื่อว่าปลายเดือนสิบ ปู่ยาตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และพวกเปรต (คนบาป) ทั้งหลายจะถูกปล่อยจากนรก ในวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบและกลับไปที่เดิมในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบรูป ห.ม.รับ(.GIF) รูป ห.ม.รับ(.GIF) |
ประเพณีการให้ทานไฟ (ประเพณีเดือนอ้าย) มีความมุ่งหมายที่จะก่อไฟให้พระภิกษุสงฆ์ที่มีผ้าหุ้มบาง ๆ นั้นได้รับความอบอุ่น โดยพุทธศาสนิกชนจะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เตาไฟ ไม้ฟืน มาพร้อมกันที่วัด ทำอาหารและขนมร้อน ๆ มาถวายพระภิกษุประเพณีตักบาตรธูปเทียน ทำอยู่แห่งเดียวที่วัดพระธาตุวรมหาวิหารในวันเข้าพรรษา ตั้งแต่ตอนบ่ายประมาณเวลา 15.00 นาฬิกา ไปจนถึงยามค่ำ ในวันนี้พระภิกษุสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ทั่งเมืองนครศรีธรรมราชจะไปมนัสการพระบรมธาตุฯ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงนำธูปเทียนไปถวายพระภิกษุนั้นเอง การละเล่นพื้นเมือง มีหนังตะลุง โนรา เพลงบอกกีฬาพื้นเมืองที่มือชื่อเสียง ชนวัว ชนไก่ ด้านศิลปหัตถกรรม มีเครื่องถม นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักหนังตะลุง ทำหัวเรือ เทริดโนรา การผลิตศิลปหัตถกรรมโดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น ใบไผ่ ใบลาน ย่านลิเพา (อัมมร ธุระเจน) |