อำเภอขนอม

 
 

ประวัติความเป็นมา

 

จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช (ต้นฉบับเดิมเป็นสมุดไทยซึ่งเป็นบุดขาวอักษรไทยย่อ) บ่งว่าเมื่อมหาศักราช 1588 ปีมะเมีย (ตรวจสอบได้ตรงกับ พ.ศ.2209) ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ประทานให้พระพนมวังและนางสะเดียงทอง พร้อมไพร่พลประมาณ 750 คน ทั้งไทยและแขกมาสร้างเมืองนครดอนพระ และบำรุงพระมหาธาตุและสร้างป่าเป็นนา

  amp_หาดท้องยาง อำเภอขนอม.gif

 

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหาธาตุนั้นกล่าวว่า เจ้าศรีราชาลูกพระพนมวังและนางสะเดียงทอง “เอาแก้วสำหรับยอดพระเจ้านั้นแลทองออกไป” ส่วนด้านธุระสร้างบ้านเมืองนั้นว่า “แลพระพนมวัง และนางสะเดียงทองก็มาตั้งบ้านอยู่จงสระ อยู่นอกเมืองดอนพระ สร้างป่าเป็นนา สร้างนาทุ่งเอน สร้างนาท่าทอง สร้างนาไชยคราม สร้างนากะนอม สร้างราสะเพียง สร้างนาตระชน…แลพระพนมวัง แลนางสะเดียงทอง มีลูก 3 คน เจ้าศรีราชา 1 เจ้าสนตรา 1 เจ้ากุมาร 1

amp_หาดในเพลา.gif

 

…แลเจ้าสนตราไสอินทราชา ขอเอาเป็นเมียตั้งบ้านแบบทะเลตระหนอม สร้างนาศรีชน สร้างนาสะชน สร้างนาศรีชน สร้างนาสะเพียง แลกะนอม แลสร้างทั้งนั้น…”จากตำนานดังกล่าวนี้ “กะนอม” และ “ตระหนอม” เป็นสถานที่เดียวกันกับ “ขนอม” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น เดียวกับ “ตระชน” และ”ศรีชน” คือ “สิชล” ในปัจจุบัน

อนึ่งในตำนายฉบับเดียวกัน บางที่เรียกเมือง “ตระหนอม”เป็น”กระหนอม”

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช (อยู่ในรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช)

 

ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงอธิบายไว้ในคราวพิมพ์ครั้งแรก (พ.ศ.2471) ว่า “สันนิษฐานว่าแต่งในแผ่นดินพระนารายณ์ ศักราชในที่สุดบอกปีในปลายแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง” ได้กล่าวถึงการรบูรณะพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชว่า “…รับสั่งให้นิมนต์ปเรียนทศศรีชาวหงษาวดี ซึ่งมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มหาปเรียนออกมากับนายแวงจำพระบรรทูล…จึงนิมนต์พระมหาเถรสุทธิชาติพงษ์รื้อเอาญาติโยม มาแต่ขนอม นายผ่อง หัวพัน คุมไพร่ส่วย พันไกรพลดานมาสร้างวัดมังคุด” เหตุการณ์ดังที่กล่าวถึงนี้สอดคล้องกับจารึกที่แกนปลีใต้กลีบบัวหงาย

 

อักษรขอมภาษาไทย ซึ่งก่องแก้ว วีระประจักษ์ อ่านได้ว่า “พระพุทธศักราชได้สองพันร้อยเก้าสิบ พระพรรษาเศษได้สี่วันเมื่อยอดพระเจ้าหัก วันจันทร์เดือนหกแรมสี่ค่ำปีมะเมีย เพลาชายแก้วสองยามสร้างตรลบหกสู่ยอดพระเจ้าหั้นแล เมื่อได้ทำการนั้นเดือนสิบวันศุกร์เพลาเช้าขึ้นถึงสิบชั้นเป็นสุดเอยะ” อันนี้แสดงว่าเมื่อ พ.ศ.2190 ตรงรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง

 

ยอดพระมหาธาตุหักลงและได้ซ่อมหลังจากนั้นมา 4 เดือนจึงเสร็จ จึงแสดงคำว่า ขนอม มีใช้มาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2190 แล้วและแสดงว่าเมืองขนอม หรือตระหนอม เป็นเมืองที่เจ้าสนตรา บุตรีพระพนมวัง พร้อมด้วยสามีของนางคือ เจ้าอินทราชาเป็นผู้สร้างป่าเป็นนา และตั้งบ้านอยู่ที่นี่ในช่วงเวลาดังกล่าว

ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2 บ่งว่า “เมืองขนอมพเนียนเป็นที่พกหมาก”

 

และบ่งว่า “ออกพระศรีราชสงครามรามภักดี ปลัดถือศักดินา 3000 ฝ่ายขวา…ได้รับพระราชทานกิจกระทงความและข้าวผูกกึงเจ้าเมือง และที่พกหมาก ตำบลพเนียนขนอม ขึ้นสำหรับที่ 3 ตำบล…” และมี “เมืองไชคีรีศรีสงคราม เมือง ขนอม นา 800 “ อันนี้แสดงว่าเมืองขนอมเป็นที่พกหมากผู้ปกครองมีบรรดาศักดิ์เป็นเมือง ศักดินา 800 แล้วยังอยู่ในความควบคุมของออก

 

พระศรีราชสงครามภักดี ปลัดเมืองจึงอาจเป็นได้อีกทางหนึ่งที่ คำว่า “ขนอม” หรือ “ตระหนอม”จะมีความสัมพันธ์กับคำ “ขนอน” (อากรขนอนตลาด) เพราะเป็นที่พกหมากที่มีอยู่ในช่วงนั้น เช่น ที่เมืองบาคลี (ถลาง) ก็ดีที่ปรามบุรี (ชะอวด) ก็ดี ก็เป็นเหมือนด่านคอยเก็บอากรขนอนตลาดด่านหนึ่ง

คำประกาศพิธีตรุศ ครั้งรัชกาลที่ 4 กล่าวถึงเมืองสำคัญ ๆ ฝ่ายทักษิณ มีบ่งถึงเมือง

 

“เวียงสระ ระมุ กุแหระ กระแดะ กระแหระ กระรอ ทรศักดิ์ ศรีชน พรหมดวง ม่วงง่าม บางงวน ขนอม พนม พนัง ตรังค…” แสดงว่าเมืองขนอม เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของภาคใต้ คำประกาศเทวดาในพระราชพิธีตรุศ รัชกาลที่ 5 ก็เอ่ยถึงนามเมืองบริเวณนี้ว่ามี “…นครศรีธรรมราช กะเหราะ กะนบพิตำ อลอง สีชล กลาย ขนอม เกาะสมุย พิเชียร พนัง…”

 

อำเภอขนอม เดิมเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอสิชล ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2481 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งตำบลขนอมและตำบลท้องเนียน ซึ่งติดต่อกับอำเภอสิชลยากลำบาก และยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอขนอม ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ที่ปากน้ำขนอม หมู่ที่ 1 ตำบลท้องเนียน ครั้นถึง พ.ศ.2500 ได้ย้ายที่ทำการกิ่งอำเภอขนอมไปอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลขนอม และใน พ.ศ.2503 ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็น “อำเภอขนอม” มาจนถึงปัจจุบัน


สภาพทั่วไป


 

อำเภอขนอม ขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 433.926 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 99 กิโลเมตร เป็นอำเภอซึ่งอยู่ตอนเหนือสุดของจังหวัด

อาณาเขต

ทิศเหนือ จดอ่าวไทย และอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ทิศใต้ จดอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย

ทิศตะวันตก จดอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อำเภอขนอมแบ่งเขตการปกครองเป็น 3 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ตำบลขนอมมี 13 หมู่บ้าน ตำบลควนทอง มี 10 หมู่บ้าน และตำบลท้องเนียน มี 7 หมู่บ้าน ปี พ.ศ.2540 มีประชากรทั้งสิ้น 26,767 คน

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปถูกล้อมรอบด้วยภูเขามีที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก ในเขตท้องที่ตำบล

 

ขนอมและที่ราบลุ่มฝั่งทะเลด้านทิศเหนือ อยู่ในเขตท้องที่ตำบลท้องเนียน เหมาะแก่การทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และทำการประมง มีหาดทรายที่สวยงามเป็นที่พักผ่อน ส่วนตอนกลางเป็นที่ราบสูง อยู่ในเขตตำบลควนทอง สภาพดินเป็นดินแดงเหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และสวนกาแฟ ส่วนด้านตะวันตก มีภูเขาเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงใต้ ติดต่อกับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขาประมาณ 240,205 ไร่ มีที่ราบเชิงเขา เหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนกาแฟ และสวนผลไม้ภูมิอากาศของอำเภอขนอม มีลมมรสุมพัดผ่าน มีฝนตกชุกตลอดปี อากาศไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป มีฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน ฝนตกชุกช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม และฤดูร้อนค่อนข้างร้อนจัด ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

พื้นที่อำเภอขนอม เป็นจุดที่รัฐบาลกำหนดเป็นทางเลือกจุดหนึ่ง เพื่อพัฒนาตามโครงการก่อสร้างทาง

 

สะพานเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คือโครงการ “เซาเทร์นซีบอร์ด”อาชีพหลักของประชากรอำเภอขนอม คือ ทำนา (พื้นที่ประมาณ 14,702 ไร่) ทำสวนมะพร้าว (ประมาณ 19,020 ไร่) ทำสวนยางพารา (ประมาณ 20,981 ไร่) ทำสวนกาแฟ (ประมาณ 12,296 ไร่) รวมถึงพื้นที่เพื่อเกษตรกรรมประมาณ67,783 ไร่ ทำการประมง มีเรืออวนลากประมาณ 83 ลำ เรืออวนลอยกุ้ง

 

ขนาดเล็กประมาณ 130 ลำ มีฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำประมาณ 35 แห่ง และมีแพปลา 14 แห่ง อำเภอขนอม เป็นที่ตั้งโรงจักรไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ทันสมัย เป็นโรงจักรลอยน้ำ 3 โรง เป็นอุตสาหกรรมบริการของรัฐที่ใหญ่ที่สุด โรงที่ 1 และโรงที่ 2 ก่อสร้างบนเรือขนส่งขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตเครื่องละ 75,000 กิโลวัตต์ สามารถ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณปีละ 1,100 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง โดยใช้น้ำมันเตาหรือก๊าซธรรมราชเป็นเชื้อเพลิง

 

เป็นที่ตั้งโรงงานแยกก๊าซธรรมราชขนอม (หน่วยที่ 4 ) ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นโครงการแยกก๊าซธรรมชาติแห่งแรกของภาคใต้ เพื่อส่งไปยังคลังก๊าซสุราษฎร์ธานีและสงขลา มีกำลังแยกสูงสุด 230 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน สามารถสนองความต้องการของภาคใต้ได้ประมาณ 140,000 ตัน/ปี (เปิดใช้การเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2539)

 

อำเภอขนอม เป็นที่ตั้งโรงงานโม่แร่ขนอมของบริษัทเหมืองแร่สัมพันธ์พานิช จำกัด สำหรับโม่แร่โดโลไมต์ เพื่อใช้ทำแก้วชนิดพิเศษ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลควนทอง เมื่อบดสำเร็จแล้วจะส่งไปยังเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นขนอมมีอ่าวและเกาะแก่งที่สวยงาม เช่น อ่าวท้องเนียน อ่าวหลักขอ อ่าวเตล็ดนุ้ย อ่าวเตล็ดใหญ่ มีสิ่งมหัศจรรย์คือบ่อน้ำจืดในทะเล ซึ่งบ่อน้ำจืดตามธรรมชาติอยู่ใต้ทะเล มีเขอผี หรือขื่อผีที่เกาะท่าไร่ เชื่อกันว่า

 

หากผู้ใดได้นั่งเรือลอด “ช่องเขอผี” แล้วจะประสบโชค อำเภอขนอมมีถ้ำสวยงามหลายถ้ำ เช่น ถ้ำเขาวังทอง ถ้ำเขากรด ถ้ำเขาพระ โดยเฉพาะถ้ำเขาวังทอง มีธรรมชาติ ซึ่งหาดูที่อื่นได้ยาก แหล่งธรรมชาติที่น่าท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น น้ำตกธารทอง น้ำตกหินลาด หินงอกหินย้อยที่สวยงาม พื้นถ้ำมี

 

หินรูปแปลกตาสวยงามปูลาดเต็มพื้นถ้ำ ผนังถ้ำมีรูปต่าง ๆ ที่สวยงามตามน้ำตกเสม็ดชุน น้ำตกท่าน้อย มีหาดทรายขาว และมีน้ำทะเลชายหาดใสสะอาด เช่น หาดในเพลา หาดท้องหยี หาดท้องยาง และหาดหน้าด่าน เป็นต้น เมืองขนอมได้ชื่อว่า “เป็นเมืองที่อยู่ในอ้อมกอดแห่งขุนเขาและเกาะแก่งของทะเล”


   ......Back