กระด้ง

 
 

กระด้ง

 

กระด้ง หรือ ด้ง เป็นภาชนะจักสาน มีลักษณะแบนขอบกลม มีหลายขนาด นิยมใช้ในการฝัด ร่อน หรือตากสิ่งของวัสดุหลักที่ใช้ทำด้ง ได้แก่ ไม้ไผ่และหวาย ไม้ไผ่ที่นิยมใช้เป็นไม้ไผ่สุกมากกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่นเพราะมีความเหนียวและคงทนกว่าส่วนหวายจะใช้หวายน้ำและหวายขลิงมากกว่าหวายชนิดอื่น เพราะมีความเหนียวมากและโอกาสที่ตัวมอดไชมีน้อย

 

ลักษณะทั่วไปของกระด้ง


ลักษณะของกระด้ง


 

รูปร่าง ของกระด้งมี 2 ลักษณะคือ

  • รูปร่างกลม เรียกว่า ด้งมอน มีขนาดของตอกกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร
  • รูปร่างกลมรีเหมือนรูปไข่ ซึ่งด้านหนึ่ง

 

คือด้านใน (เวลาใช้หันด้านนี้เข้าตัวผู้ใช้) มีลักษณะกลม ส่วนด้านนอก(หันออกนอกตัวเวลาใช้) มีลักษณะรี ปลายแหลมมนเป็นรูปไข่ เรียกว่า ด้งฝัด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 - 60 นิ้ว ขนาดของตอกด้งฝัดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร

        ไม้ไผ่ที่เลือกใช้งานไม่อ่อนและแก่จัดเกินไปและมีขนาดของปล้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป ข้อปล้องไม้ไผ่ที่ทำด้งไม่เหลาออกคงปล่อยไว้ตามสภาพการตัดปล้องไม้ไผ่มีความสำคัญมาก ต้องคำนวณให้ดี กล่าวคือ เมื่อจักตอกแล้วและสานจะต้องให้ข้อปล้องที่ปล่อยไว้เป็นลายคดกริชอยู่แนวส่วนกลางตามขวางของด้งจนตลอด การตัดไม่ไผ่แต่ละท่อนจึงตัดให้คร่อมข้อปล้อง

 

บางท่อนข้อปล้องอยู่กลาง บางท่อนเยื้องไปทางปลายข้างใดข้างหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งนี้เพื่อเวลาสานจะได้เป็นลายคดกริชนั่นเอง เมื่อตัดไม้ไผ่ตามการคำนวณแล้วจึงจักตอกให้ได้ขนาดตามประเภทของด้ง ผ่าขี้ (เยื่อด้านในของไม้ไผ่) ออก เอาเฉพาะส่วนหลังแล้วเหลาด้านขี้และตกแต่งขอบตอกให้ได้ขนาดเท่ากันจนพอกับจำนวณที่ต้องการ จึงทำการสานต่อไป


การสานกระด้ง


 

        การสานด้งสานด้วยลายบองหยองหรือลายขอ กระด้งลายขอนั้นใช้สำหรับฝัดข้าวเปลือกเพื่อเอาข้าวลีบและเศษฟางออกเพียงอย่างเดียวจึงนำขึ้นยุ้งข้าวหรือเรือนข้าวได้ ไม่ " ขวัญข้าว " เหมือนกระด้งลายบองหยอง มีวิธีการดังนี้

        หลังจากนั้นยกตอกยืนตามลักษณะของแต่ละลายที่สาน ว่า เริ่มต้นยกกี่ตอกถัดไปข่มกี่ตอกและต่อ ๆ ไป จนสุดตอก แล้วใช้ตอกอื่นสอดเข้าไประหว่างตอกที่ข่มและยกไว้ ตอนนี้เรียกว่า " ตอกพุ่ง " เมื่อสานตอกพุ่งเข้าไปตอกหนึ่ง ๆ ต้อง

 

ขจัดจังหวะของข้อปล้องให้เรียงขึ้นและเรียงลง จนเป็นลายคดกริช การเริ่มต้นดังกล่าวนี้เรียกว่า " ขึ้นลาย " หรือ "ตั้งลูกขี้" สำคัญมาก คือ ยกตอกและข่มตอกแต่ละช่วงต้องไม่ผิด ถ้าผิดจะไม่ได้เป็นลายตามต้องการ นอกจากขาดความสวยงามแล้ว ยังขาดความแน่นของด้งอีกด้วยการสานซึ่งเริ่มตั้งลูกขี้จากกึ่งกลางนี้จะเพิ่มจำนวณตอกขยายเนื้อที่ที่สานแล้วให้กว้างออกไปเรื่อย ๆ ทั้ง 4 ด้าน บางโอกาสด้านตอกยืนกลายเป็นด้านตอกพุ่ง และด้านตอกพุ่งกลายเป็นด้านตอกยืน กลับกันไปกลับกันมาอยู่อย่างเช่นนี้จึงได้เนื้อที่ตามขนาดตามที่ต้องการ

 

       หลังจากนั้นจึงทำการ " เข้าขอบ " หรือที่เรียกกันว่า " ขึ้นขอบ " ขนาดของขอบด้งฝัดกับด้งมอนมีขนาดไม่เท่ากันด้งฝัดมีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวน้อยกว่า รอบวงของด้งมอนประมาณ 6 นิ้ว เหลาปลายทั้ง 2 ให้บาง ปลายสุดแหลมมนเล็กน้อยเพื่อทำเป็นโค้งวงกลมตามรูปด้ง แล้วเอาปลายทั้ง 2 มาซ้อนกัน ให้เหลื่อมกันประมาณ 3 นิ้ว ถ้าส่วนเหลื่อมกันน้อยกว่านี้มักขยายวงขอบออกได้เวลาผูก หรือถ้าส่วนเหลื่อมมากกว่านี้ทำให้ขอบหนาเทอะทะในส่วนที่ต่อนี้

 

ความกว้างของขอบไม่เกิน 1 นิ้ว ถ้าเป็นด้งมอนขนาดขอบทั้ง 2 ใหญ่กว่านี้ประมาณ 1.5 นิ้ว ด้งลูกหนึ่งมี 2 ขอบซ้อนกัน วงขอบในเล็กกว่าขอบนอก ระยะห่างระหว่างขอบเมื่อซ้อนกันก็แค่ความหนาของตอก การขึ้นขอบต้องขึ้นขอบนอกก่อนโดยเอาขอบนอกวางเข้า แล้วเอาผืนด้งที่สานแล้ววางเข้าข้างบนซึ่งผืนนี้กว้างขอบ แล้วเอาขอบในวางเข้าข้างบนของผืนด้งใช้สันมือหรือไม้กลมสั้น ๆ กดลงไปที่ริมขอบในของด้งโดยรอบจัดระยะความลึกตื้นของผืนด้งที่ติดกับขอบให้เท่ากันและได้ส่วนโดยรอบ

 

ส่วนใดที่จัดได้ส่วนแล้วจึงใช้ " แห็บ " (คีมทำด้วยไม้ ปากคีมทั้ง 2 หนีบขอบทั้งนอกในไว้ ปลายด้ามคีมใช้ปลอกหวายบังคับให้เลื่อนขึ้นลงได้ ถ้าเลื่อนขึ้นทำให้ปากคีมหนีบแน่นเข้า เลื่อนลงปากคีมอ้าออก) หนีบไว้เป็นระยะ ๆ จนรอบขอบด้งก็ใช้แห็บประมาณ 7 - 8 ตัว ผู้ทำด้งบางรายจัดขึ้นขอบโดยวิธีขุดดินลึกเป็นหลุมกว้างเท่ากับความกว้างของขอบด้ง เอาขอบนอกวางเข้าปากหลุมกลบเอาผืนด้งที่สานเสร็จแล้ววางทับขอบนั้น แล้วเอาขอบในวางทับบนอีกครั้งหนึ่ง

 

ค่อย ๆ กดขอบในลงไป พาผืนด้งตามลงไปจนชิดกับขอบนอกวิธีนี้ก็นิยมกันมาก สะดวกกว่า เร็วกว่าด้วย ตกแต่งความลึกตื้นของขอบด้งได้ง่าย หลังจากตกแต่งและใช้แห็บคีบได้ที่แล้ว จึงใช้หวายผูกเป็นปลอก ไว้ห่าง ๆ หลังจากนั้นจึงใช้มีดตอก (เป็นมีดปลายงอนด้ามงอน คมมาก ใช้เหลาหวายจักตอกไม้ไผ่โดยเฉพาะ) ตัดตอกที่เหลือจากขอบพอเสมอกับขอบทั้ง 2 ซึ่งขณะนี้เสมอกันอยู่ แล้วใช้หวายทับหัวตอกไปโดยรอบ แก้หวายผูกที่ผูกปลอกขอบออกเมื่อหวายทับตัวตอกไปถึง แล้วผูกกลับเข้าใหม่

 

ทำเช่นนี้จนตลอดขอบ ขั้นต่อไปใช้หวายเหลาเป็นตอกเล็กที่เตรียมไว้พันขอบให้ติดกันรอบขอบด้วยวิธีผูกเอวมดแดงไว้ทั้งด้านนอกและด้ารในขอบ ซึ่งเพิ่มความแข็งแรงของขอบยิ่งขึ้น ขั้นสุดท้าย แทงหางแลน ทับหวายที่ปิดทับหัวตอก เพื่อเพิ่มความสวยงามและความคงทนของขอบ ก็จะได้ด้งที่สำเร็จ 1 ใบ เพื่อเพิ่มความคงทนของการใช้งาน ผู้ทำด้งดังใช้ใช้ขี้วัวสดผสมกับเปือกน้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลจาก หรือน้ำตาลมะพร้าว(ที่เคี่ยวแล้วเป็นเปือกตักใส่ภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากัน) ใช้ทาด้ง

 

ให้ทั่ว ตากให้แห้ง บางรายปั้นน้ำจากลูกตาล (โตนด) สุก ผสมกับขี้วัว ใช้ทาในทำนองเดียวกับที่ผสมด้วยเปือกน้ำตาลเคี่ยว

ขอบกระด้ง


ประโยชน์


 

        ใช้ประโยชน์สำหรับตากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ตากข้าวเปลือกก่อนสี ตากพริกขี้หนู ตากกล้วย ตากถั่วลิสง ตากเมล็ดกาแฟ ตากนุ่น ฝ้าย เป็นต้น เพราะเป็นภาชนะที่มีขอบ เนื้อที่กว้าง ยกเข้าออกได้ สะดวกเมื่อฝนตก ส่วนด้งฝัดใช้ประโยชน์ฝัดรำข้าวให้ออกจากข้าวสารหลังตำแล้ว ส่วนที่เป็นรำข้าวก็จะถูกฝัดให้ออกไป ที่เป็นข้าวสารเห็นว่าขาวพอสมควรแล้วก็เก็บไว้หุงต่อไป ถ้ายังไม่พอเอาลงตำต่อในครก ส่วนที่เป็นกากข้าวก็จะใช้ด้งร่อน คือ แกว่งเป็นลักษณะวงกลมไปทิศทางเดียวกันหลาย ๆ รอบ กากข้าวก็ขึ้นมากองรวมอยู่ข้างบนข้าวสาร เพราะข้อปล้อง

 

ที่เป็นลายคดกริชของด้งเป็นตัวช่วยผลักให้กากข้าวซึ่งมีความคายอยู่ (เมล็ดข้าวสารที่เปลือกหลุดมาแล้วลื่น) ขึ้นมากองรวมอยู่ข้างบนนับว่าเป็นความคิดของคนปักษ์ใต้ในอดีตที่คิดทำด้งให้เป็นลายคดกริชและวิธีร่อนกากข้าวอย่างน่าชมเชย กอบกากข้าวที่ได้ใส่ลงไปในครกเพื่อเซ (ตำเบา ๆ) ให้เป็นข้าวสารต่อไป บางโอกาสเมื่อข้าวสารผสมกากข้าวสารเพียงเล็กน้อย ใช้วิธีร่อนก็ไม่ได้ผล กากข้าวยังคงกระจัดกระจายอยู่จึงเปลี่ยนใช้วิธีหนึ่ง เรียกว่า ไทข้าว คือใช้มือจับข้างด้งด้านใดด้านหนึ่งให้ชิดเอวหันปลายแหลมออกนอก แล้วใช้สะโพกสั่นไปซ้ายทีขวาทีมือที่จับด้งก็ไปตามจังหวะของสะโพกสำหรับ

 

ขอบด้งด้านนอกตะแคงลง ทำอยู่เช่นนี้หลายๆ ครั้ง ข้อปล้องคดกริชจะช่วยไล่กากข้าวให้ออกไปกองอยู่ทางขอบด้งที่ตะแคงอยู่โดยแยกจากเมล็ดข้าวสาร ก็นับเป็นวิธีหนึ่งของการใช้ด้งไล่กากข้าว ในอดีตทุกครัวเรือนล้วนแต่มีด้งกันทั้งนั้น บางเรือนมีหลายลูก แต่ในปัจจุบันหาด้งตามบ้านเรือนไม่ค่อยจะได้ คงใช้ด้งฝัดข้าว ร่อนข้าว ไทข้าว ก็ทำไม่เป็นเอาเสียทีเดียว ที่ยังพอเป็นอยู่

 

บ้าง ก็เป็นคนสูงอายุ การที่วัฒนธรรมด้านนี้หมดไปเพราะชาวชนบทนิยมใช้ข้าวสารโรงสีเครื่องยนต์แทน ด้งฝัดเป็นด้งที่ห้ามนำขึ้นยุ้งข้าวหรือเรือนข้าวเพราะถือกันว่า " ขวัญข้าว "(ลบหลู่แม่โพสพ ไม่เป็นสิริมงคล ทำให้อับโชค) เพราะเป็นภาชนะที่ใช้ฝัดเมล็ดข้าวที่ถูกสีและซ้อมแล้วซึ่งใช้ทำพันธุ์หรือปลูกไม่ได้อีกแล้ว


   ......Back