อำเภอจุฬาภรณ์ |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา จุฬาภรณ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลสามตำบลมีประวัติเชิงตำนานของไสว วังปรีชาว่า ครั้นเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น พม่าได้เผากรุงศรีอยุธยาเสียหายย่อยยับ ประชาชนและท้าวพระยามหากษัตริย์ต่างหลบหลี้หนีภัยไปคนละทิศละทางเพื่อเอาตัวรอดบ้าง เพื่อหาทางกู้บ้านกู้เมืองบ้างในจำนวนนั้นมีเจ้านาย 2 องค์ ซึ่งไม่ทราบนามเดิมและฐานันดรศักดิ์ แต่คนทั่วไปเรียกองค์พี่ว่า หม่อมเณรใหญ่ (ต้นตระกูลเณรานนท์) ส่วนองค์น้องเรียกกันว่า หม่อมเณรน้อย (ต้นตระกูลชัยพลบาล) ทั้ง 2 พาลูกเมียและพรรคพวกประมาณ 500 คน หนีรอนแรมลงมาทางภาคใต้จนมาถึงบริเวณใกล้คลองวังฆ้องในปัจจุบัน จึงให้ช่วยกันทำเพิงพักเพื่อค้างแรมแล้วจะเดินทางต่อไป ผู้ที่มีหน้าที่หุงหาอาหารไม่สามารถหาน้ำได้ จึงต้องนอนท้องเปล่ากันทุกคืนครั้นตอนทั้งหมดได้ยินเสียงกบร้องมาทางทิศใต้ หม่อมเณรน้อยรู้ได้ทันทีว่ามีแหล่งน้ำอยู่ไม่ไกลนัก จึงสั่งให้คนทำคบไม้ไผ่จุดไฟส่องทางเดินไปทางเสียงกบร้อง ก็พบลำธารใหญ่ น้ำใส สะอาดคือคลองวังฆ้อง จึงได้นำมาปรุงอาหารตามต้องการ รุ่งเช้าหม่อมทั้งสองพร้อมด้วยญาติมิตรได้ช่วยกันเดินสำรวจบริเวณรอบที่พัก เห็นเป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับตั้งบ้านพักอาศัยอย่างถาวร จึงได้ตั้งมั่นอยู่ ณ บริเวณดังกล่าว หม่อมเณรใหญ่ให้ผู้ติดตามมาทั้งหมดช่วยกันสำรวจพื้นที่สำหรับทำนา เพื่อจะได้อาหารหลัก |
หม่อมไพนารถ บุตรหม่อมเณรใหญ่ พาพรรคพวก ไปทางทิศอีสาน ถางป่าเบิกเป็นนาและตั้งบ้านพัก ณ บริเวณ หมู่ที่ 1 บ้านวังไส ตำบลสามตำบลในปัจจุบัน ทุ่งนาที่เบิกคือ ทุ่งห้วยยาง ห้วยยมและทุ่งวังไส ส่วนที่พักของหม่อมไพนารถปัจจุบันเรียกว่า บ้านเก่าไพนารถ ส่วนบุตรชายอีกคนหนึ่ง ของหม่อมเณรใหญ่ คือ หม่อมไพบูรณ์ หรือ หม่อมบุญ พาพรรคพวกไปทางทิศใต้ เบิกป่าเป็นนา ณ บริเวณหมู่ที่ 2 ตำบล นาหม่อมบุญ (ปัจจุบันคือบ้านในวัง) (หรือวังบุญ) ริมคลองนาหมอบุญ ตำบลควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด) ทำนาตลอด ไปจนถึงทุ่งนาหมอบุญ ทุ่งบ้านรั้ว ทุ่งลานควาย เป็นต้น ส่วนหม่อมชัยพลบาล บุตรของหม่อมเณรน้อย ได้พาพรรคพวกไปทางทิศตะวัน |
ออก ทำนาที่ทุ่งห้วยหุ่น ทุ่งไสใหญ่ ทุ่งลานควาย ทุ่งข่า เป็นต้นและสร้างที่พักอย่างถาวร บริเวณบ้านต้นเหรียงในปัจจุบัน บริเวณที่พักของหม่อมเณรใหญ่ที่วังฆ้องนั้น ต่อมาทายาทได้ถวายเป็นที่วัด จึงชื่อว่าวัดวังฆ้อง และเป็นที่ประดิษฐ์ ฐานเจดีย์ บรรจุอัฐิของหม่อมเณรใหญ่ (องค์ทิศใต้) และหม่อมเณรน้อย (องค์ทิศเหนือ) ปัจจุบันเจดีย์ ที่บรรจุอัฐิของหม่อมเณรใหญ่ถูกขุดทำลายไปหมดแล้วคำเรียกว่า สามตำบลจึงเกิดจากวังฆ้อง วังไส และวังบุญ และคงเรียกกันมาไม่ช้ากว่ารัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ดังที่ปรากฏในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 73 ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2354) กล่าวถึงที่ สามตำบลว่า ขุนฤทธิธานี |
นายที่สามตำบล ถือศักดินา 600 ฝ่ายซ้ายหมื่นชนะบุรี รองที่สามตำบล ถือศักดินา 300 สิริ ขุนหมื่น ที่ ร่อนสามตำบล ขุนสอง หมื่นสี่ รวมหกคน อันนี้แสดงว่าในช่วงนั้นเรียกชื่อรวม ๆ กันว่า ที่ร่อนสามตำบล ถ้าจะเปรียบเทียบ ฐานะกับท้องที่ใกล้เคียงกันในขณะนั้น โดยเอาศักดินาของผู้ควบคุมดูแลเป็นเกณฑ์ ที่ร่อนสามตำบล จะเท่ากับที่พิปูน ที่กลาย (ต่อมาเป็นอำเภอกลางแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าศาลา) และผู้ควบคุมมีศักดินากว่านายที่ร่อนเขาใหญ่ (ศักดินา 400 ) นายที่สิชล (ศักดินา 400) เป็นต้น ต่อมาเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฎิรูปการ |
ปกครองได้รวมเขตพื้นที่ 3 แห่ง คือ วังไส วังฆ้อง และนาหมอบุญ เป็นแขวง เรียกว่า แขวงสามตำบล และต่อมาเปลี่ยนเป็น ตำบลสามตำบล ขึ้นกับอำเภอร่อนพิบูรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเพื่อประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชน โดยได้รับพระราชทานพระอนุญาติให้ใช้ พระนาม ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ฯ เป็นชื่ออำเภอว่า อำเภอจุฬาภรณ์ (เป็นการตั้งอำเภอเป็นกรณีพิเศษ ที่ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเป็นกิ่งอำเภอ |