อำเภอฉวาง

 
 

ประวัติความเป็นมา

 

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ฉบับที่กรมหมื่นพิทยากรณ์ทรงวินิจฉัยว่า แต่งขึ้นในสมัยพระนารายณ์ ได้กล่าวย้อนหลังถึงเหตุการณ์เมืองมหาศักราช 1550 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2171 ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมว่า ศรีมหาราชาและสามจอม ได้ “แจกดินป่า ณ หัวปากนายคำให้แก่พระมหาธาตุเจ้า โดยพระราชทานที่เพื่อกัลปนาที่ภูมีสัตและเชิงกุฎี (ข้าพระคนทาน) ในท้องที่ฝ่ายตำบลพายัน เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อทำนุบำรุง

พระพุทธศาสนา โดยมีรหน้าที่บำรุงวัดและโยมสงฆ์ในท้องที่ “ตำบลท่าชี” วัดพระคูหา วัดลำพูนฉวางเมืองสระ” ผนวกด้วยหน้าที่ดูแลพระระเบียง พระธรรมศาลา และวิหารหลวงของพระมหาธาตุ

 

และสร้างนาจังหันสำหรับมหาเปรียญทศศรีซึ่งปลูกกุฎีอยู่ฝ่ายพายัพพระมหาธาตุ ข้อมูลในตำนานฉบับ ดังกล่าวนี้ แสดงว่าระยะเวลาในช่วงแผ่นดินพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148) จนถึงสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2231) นั้นท้องที่บริเวณฉวาง ท่าชี ลำพูน (ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านนาเดิม) ตลอดถึงเวียงสระ มีสภาพเป็นป่า มีของป่าและสัตว์ป่าเป็นทรัพยากร แล้วถูกสร้างให้เป็นนาตามพระบรมราชานุญาต ให้เป็นที่พระกัลปนา เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาและบรมธาตุเป็นสำคัญ

คำว่า”ฉวาง” น่าจะมาจาก “ขวาง” ดังที่ตำนานฉบับเดียวกันกล่าวถึงว่า ในการทำพระระเบียงล้อมพระธาตุนั้น ได้แก่”ขุนศรีพลแปดอ้อมแสนเมืองขวางเจ้าเมืองสระ 4 ห้อง” และว่า

 

“ขุนศรีพลแปดอ้อมแสนเมืองขวาง เอาเชงกุฎีวัดคูหา วัดฉวาง วัดลำพูน เอาจากมามุงพระพระธรรมศาลา” อีกตอนหนึ่งว่า “เป็นนาจังหันตำบลปัจฉิมหรดี เมืองนาขวางแปดริ้ว ให้แก่พระธรรมศาลา เ ป็นนา 8 เส้น” การที่ “ขวาง” จะกลายเสียงเป็น “ฉวาง” เป็นปรากฏการณ์ปกติทางภาษาจากหลักฐานที่กล่าวมา แสดงว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ท้องที่ บริเวณฉวางและบริเวณใกล้เคียงมีฐานะเป็นเมือง คือ เมืองขวาง มีขุนศรีพลแปดอ้อมแสนเป็นผู้ปกครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น “เมือง” มีพื้นที่กว้างขวางครอบครุมท่าชี เวียงสระ บ้านนาเดิม และ ฉวาง ในปัจจุบันมีวัดสำคัญในเขตพื้นที่คือ วัดคูหา วัดฉวาง และวัดลำพูน เป็นวัดสำคัญและเป้นต้นเหตุสำคัญอขงชื่อแขวง “ฉวางท่าชี” ในกาลต่อมา

 

ในปีจุลศักราช 1173 ตรงกับ พ.ศ. 2354 แผ่นดินในสมัยสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ กราบทูลพระกรุณา ว่า พระหลวงกรมการเมืองนครฯ ขาดมิครบตามตำแหน่ง จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งให้ครบตามตำแหน่ง ณ วัดจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีมะเมียตรีศก ปรากฏ ตามทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2354 ว่า เมืองขวางหรือฉวางมีฐานะเป็น “แขวงที่ฉวางท่าชี” ประกอบด้วยที่และอำเภอ คือแขวงที่ฉวางท่าชี มีหมื่นเพชรธานี นายที่ฉวางท่าชี ที่พดชมโรที่กะเที่ยง ที่ต่อขนุน ศักดินา 800 ฝ่ายขวา มีขุนศรีอินทบุรีเป็นรองที่ฉวางท่าชี ศักดินา 400 มีที่แขวงที่และอำเภอที่ขึ้นกับแขวงนี้คือ อำเภอท่าชี อำเภอวัดขรม อำเภอที่วัดขรม อำเภอที่วัดขรม อำเภอน้ำพุ และ

 

แขวงที่ฉวางท่าชี มีผู้ปกครอง ถือศักดินาคนละ 200 เท่ากัน ได้แก่ หมื่นไชยบุรี หมื่นเสนบุรี หมื่นจิตบุรี หมื่นยมบุรีและพันอินทร์ตามลำดับ ส่วนเมืองอื่น ๆ แยกออกไป คือ “ ที่วังสระ” มีขุนพรหมธานีเป็นนายที่ ศักดินา 400 ฝ่ายขวา “ที่ลำพูน” มีหลวงอินทรพิชัย ศักดินา 800 เป็นนายที่ซึ่งมีฐานะสูงกว่าที่ฉวางท่าชีก่อนที่พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงปฎิรูปการปกครองหัวเมืองในปี ร.ศ. 115 และ ร.ศ. 116 บริเวณในเขตอำเภอฉวางในปัจจุบันและบริเวณใกล้เคียง เคยมีการแบ่งเป็นหัวเมือง สังกัดกรมช้างกลาง รวม 4 หัวเมือง ได้แก่ “หัวเมืองกระเบียด” (ปัจจุบันคือ ตำบลกระเปียด) “หัวเมืองพิปูน (ปัจจุบันคือ อำเภอพิปูน) “หัวเมืองหลักช้าง” (ปัจจุบันเป็นตำบลในกิ่งอำเภอช้างกลาง) และ “หัวเมืองละอาย” ปัจจุบันคือ ตำบลละอาย อำเภอฉวาง)

 

ร.ศ. 115 - ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2439 พ.ศ. 2440) มีการปฎิรูปการปกครองหัวเมือง เป็นเหตุให้ กะเปียด พิปูน หลักช้าง ละอาย และฉวางท่าชี ถูกยุบและออกเป็นตำบล ตั้งเป็นอำเภอฉวางขึ้น (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี) คนทั่วไปจึงเรียกกันในขณะนั้นว่า “อำเภอฉวางท่าชี” ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช

พระยาสุขุมนัยวินิต ได้จัดทำบาญชีสำมโนครัวเมืองนครศรีธรรมราชว่า “แขวงอำเภอฉวาง มีกำนัน 8 คน ผู้ใหญ่บ้าน 80 คน มี131 หมู่บ้าน มี 164 หลังคาเรือน ราษฎรชาย 5,002 คน หญิง 5,123 คน ครั้น ร.ศ. 118 (พ.ศ.2442) เทศบาล นครศรีธรรมราช เห็นว่าอำเภอฉวางยากต่อการควบคุมดูแล จึงตั้งอำเภอลำพูนขึ้นอีก ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านนาเดิม โดนแบ่งพื้นที่ตำบลเวียงสระ ทุ่งหลวง ท่าชี และอู่มาต เป็นตำบลบ้านนาสาร

 

ครั้นถึง ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือที่ 194/2753 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 118 กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ราชเลขานุการว่า ได้รับใบบอกพระยาสุขุมนัยวินิต ลงวันที่ 16 กรกฎาคม ร.ศ. 118ว่า “แขวงเรียกว่าอำเภอฉวางแลอำเภอลำพูนยังเป็นการก้าวก่ายกันอยู่ ทั้งอาณาเขตก็กว้างขวางหนทาง แต่ที่ว่าการอำเภอลำพูนกว่าจะไปหมดอาณาเขตรที่ต่อกับเมืองพังงาหรือเมืองกระบี่ถึง 5-6 วัน ถ้าจะไปแต่กลางเมืองไม่ต่ำกว่า 15 วัน นายอำเภอตรวจตกไม่ใคร่จะถึง ราชการในอำเภอนี้ชักช้ากว่าอำเภออื่น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าต้องเพิ่มแขวงอีกแขวง 1 เรียกว่าแขวงพระแสงคือ แบ่งตัดเอาตั้งแต่ฝั่งแม่น้ำหลวง ฝั่งขวาฟากข้างเมืองคิริรัฐนิคมไปตอน 1ที่ว่าการอำเภอตั้งแต่ที่พระแสงอยู่ในระหว่างกลางตำบลพนม

 

แลตำบลอีปันแขวงลำพูนยังจะเหลืออยู่ฝั่งซ้ายนิดเดียวพระยาสุขุมนัยวินิตได้ปฤกษาตกลงกัน ร่นแขวงฉวางตอนใต้มาเพิ่มในแขวงลำพูน แลร่นแขวงทุ่งสงมาเพิ่มในแขวงฉวางเปนลำดับกันมา แต่คงเรียกชื่อเดิม… พระยาสุขุมนัยวินิตจึงได้มีคำสั่งจัดการไป คือย้ายนายน้อย นายอำเภอฉวางไปเปนนายอำเภอลำพูน ให้นายนากเสมียนในที่ว่าการอำเภอเมืองไปทำการแทนนายอำเภอฉวางให้ขุนรองบรรจงเลขาสารเลขที่ว่าการเมืองนครศรีธรรมราชไปเปนนายอำเภอพแสง ปี พ.ศ. 2454 หวงสกลกิจจานุวัตร (ภู่) เป็นนายอำเภอได้ย้ายที่ว่าการอำเภอฉวางมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านวังม่วง ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน

ฉวางมีพื้นที่กว้างขวางมาก ไม่สะดวกแก่การปกครอง จึงได้แบ่งพื้นที่เป็นกิ่งอำเภอ และยกฐานะเป็นอำเภอ คือ แยกเป็นอำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอถ้ำพรรณรา กิ่งอำเภอช้างกลาง


สภาพทั่วไป


 

ฉวางเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดนครศรีฯพื้นที่ 528 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภออยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีฯ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับกิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีฯ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับกิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอลานสกา อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีฯทิศตะวันตก ติดต่อกับถ้ำพรรณรา และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีฯ

 

อำเภอฉวางแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 82 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลฉวาง ตำบลละอาย

ตำบลนากะชะ ตำบลกะเปียด ตำบลไม้เรียง ตำบลนาแว ตำบลห้วยปริก ตำบลไสหว้า ตำบลนาเขลียง และตำบลจันดี

รูปแผ่นที่.GIF


ลักษณะภูมิประเทศ


 

ฉวางเป็นอำเภอที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน

 

ทางทิศตะวันออกมีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ทางด้านตะวันตกเป็นเนินสูงเป็นลุ่มเป็นดอนสลับกันไป เหมาะแก่การทำสวน


ลักษณะภูมิอากาศ


 

ฤดูกาล 2 ฤดู คือฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนธันวาคม และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม

ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านทำให้ฝนตกชุก และฝนจะตกชุกมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

 

อำเภอฉวางมีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ

แม่น้ำตาปี ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาภูเขาหลวง ไหล ผ่านตำบลนาแว ตำบลไม้เรียง ตำบลนากะชะ และอำเภอถ้ำพรรณรา มีน้ำไหลตลอดปี

ลำน้ำคลองจันดี ไหลผ่านกิ่งอำเภอช้างกลาง ตำบลฉวางไหลลงสู่แม่น้ำตาปีที่ตำบลฉวาง


   ......Back