อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

 
 

ประวัติความเป็นมา

 

ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2539 หน้าที่ 1 เล่มที่113 ตอนที่ 62 ก ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ให้แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวง อำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูน อำเภอร่อนพิบูลย์ ตั้งเป็น “ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ” เหตุผลในการประกาศ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้บริการของรัฐอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและส่งเสริมความเจริญตลอดจนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบห้าสิบปี

 

ในวาระเดียวกันตามพระราชกฤษฎีกานี้มีการตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 5 อำเภอ ทั่วประเทศ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช มีสำนักงานชั่วคราว ณ อาคารเรียน โรงเรียนสระไคร หมู่ที่ 9 ตำบลเชียรเขา โดยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2539


สภาพทั่วไป


 

อำเภอเฉลิมพระเกียรติขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 124.145 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนสันทรายเชียรใหญ่ ทางทิศใต้ของศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากศาลากลางประมาณ 30 กิโลเมตรบนเส้นทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช-บ่อล้อ-หัวไทร-สงขลา

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จดตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม
  • ทิศใต้จดตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่
  • ทิศตะวันออก จดตำบลชะเมา อำเภอปากพนัง และตำบลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่
  • ทิศตะวันตก จดตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ และตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด
 

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่

  • ตำบลดอนตรอ
  • ตำบลทางพูน
  • ตำบลเชียรเขา
  • ตำบลสวนหลวง ปี พ.ศ. 2539 มีประชากรทั้งสิ้น 34,405 คน

รูปแผ่นที่(.GIF)


ฤดู


 

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มี 2 ฤดู คือฤดูร้อน ประมาณ เดือนมีนาคมถึงกันยายน ส่วนฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม ถึงกุมภาพันธ์

ด้านสังคม ประกอบด้วยชุมชนใหญ่ตั้งอยู่ 4 ชุมชน ซึ่งมีตลาดนัด มีวัด โรงเรียนเป็นศูนย์รวม หรือเป็นศูนย์กลางหลักทางสังคมและเศรษฐกิจของอำเภอได้แก่ บ้านชะเมา บ้านเชียรเขา หรือเขาแก้ววิเชียร บ้านสระไคร บ้านหนองหม้อหรือบ้านพังยอม มีสถานบริการภาครัฐและเอกชนน้อยมาก แต่เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีระยะทางไม่ไกลนัก ประชาชนจึงประยุกต์

 

เอาวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองเข้ามามาก สำหรับการละเล่นพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงหลายแขนง เป็นต้นว่าเพลงบอกสร้อย ดำแจ่ม หรือเพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2538 หนังตะลุงคณะหนังปฐม อ้ายลูกหมี เพลงบอกสุรินทร์ เสียงเสนาะ ศิษย์เพลงบอกสร้อย คณะโนรา น้ำอ้อย ด้านศาสนา ประชาชนในอำเภอนับถือศาสนาพุทธทุกคนมีวัด 8 แห่ง โดยเฉพาะมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 3 รูป คือ พระครูวัตศีลคุณ (หลวงปู่สังข์) วัดดอน ส่วนที่มรณภาพแล้วคือ พระสมุห์เพิ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดพังยอม และหลวงปู่จันทร์วัดทุ่งเพื้อ


คมนาคม


 

ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ใช้สำหรับติดต่อระหว่างจังหวัด และใช้สำหรับคมนาคมกับอำเภอ ที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช-บ่อล้อ-หัวไทร-สงขลา ทางหลวงแผ่นดิน

 

สายปากพนัง-เชียรใหญ่-บ่อล้อ-ชะอวด-บางขัน-ลำทับ ทางหลวงชนบทสานหนองหม้อ-โคกกระถิน ทางหลวงชนบทสายวัดจันทร์-เชียรเขา ทางหลวงชนบทสายบางลิง-เชียรเขา จากนี้ยังมีคลองสำคัญ คลองค็อง คลองใหม่สุรินทร์ คลองชะเมา

 

การประกอบอาชีพของประชาชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของสันทรายเชียรใหญ่เพราะมีสภาพพื้นที่ราบเหมาะกับการทำนาข้าว ปลูกถั่วเขียว ทำไร่นาสวนผสม และไม้ดอกไม้ประดับ พบว่ามีประมาณ64,4494 ไร่ นอกจากนี้ยังปลูกพืชผักต่าง ๆ ประมาณ 1,851 ไร่

ที่ราบลุ่มด้านตะวันตกมี คลองค็อง เป็นแหล่งกักน้ำจากในบริเวณป่าพรุ ประกอบด้วยไม้เสม็ด ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอนทราย ป่าบ้านในกลอง และป่าคลองค็อง ตามโครงการชลประทานคลองเค็ง

 

เพื่อการกักน้ำเปรี้ยวจากป่าพรุมีพื้นที่กันดาร ในริมคลองนี้ที่เรียกว่า บ้านบางนกวัก

หมู่ที่ 4 ตำบลสวนหลวงและบ้านบางไทร หมู่ที่ 3 ตำบลสวนหลวง และคอลงชะเมา มีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช บริเวณอำเภอร่อนพิบูลย์ คลองทั้ง 2 สายนี้ เป็นคลองสาขาสำคัญแม่น้ำปากพนัง ทั้งการเดินเรือในอดีต มีสภาพเป็นเนินยาว มีถนน ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช-สงขลา ตัดผ่านเป็นแนวตามยาวตลอดกลางสันทราย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บนเนิน” มีครัวเรือนเกษตรประมาณ 5,164 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 104,023 ไร่

 

 

รูป (คลองเมา.GIF)

 

 

รูป(พื้นที่ทำนา.GIF)


   ......Back