อำเภอชะอวด |
|||||
|
|
ประวัติความเป็นมา |
คำ ชะอวด จากคำบอกเล่ามาจากชื่อเถาวัลย์ที่ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า เชียกอวด หรือ ย่านเชือกอวด เพราะบริเวณนี้เคยอุดมด้วยเถาวัลย์ชนิดนี้ เป็นเถาวัลย์ที่มีความเหนียวและทนทาน ใช้สำหรับผูกมัดของ ต่อมาคำ เชียกอวดกลายเสียงเป็น ชะอวด พื้นที่บริเวณอำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง อำเภอจุฬาภรณ์ และบางส่วนของอำเภอร่อนพิบูลย์ |
เคยเป็นที่ราบลุ่ม ประกอบด้วยสันทรายและหาดทรายเป็นที่ราบลุ่มน้ำทะเลท่วมถึง และเป็นบริเวณที่ราบเกิดจากตะกอนลำน้ำทับถม เพราะเคยเป็นทะเลมาก่อน เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 บริเวณ เคร็งซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอชะอวดยังเป็นจุดแวะพักของผู้เดินทางเรือ และเส้นทางการค้าระหว่างนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ครั้นเส้นทางเรือค่อยตื้นเขินเพราะตะกอนดินทับถม จึงเป็นพรุขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ถึง 195.545 ไร่ จนทำให้บริเวณอำเภอ |
หัวไทร เชียรใหญ่ ชะอวด ปากพนัง ของจังหวัด นครศรีธรรมราช รวมไปถึงอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในภาคใต้เป็นเหตุให้บริเวณตำบลเคร็ง และบางท้องที่ที่ใกล้เคียงเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณควนเคร็ง และควนเชิงในตำบล เคร็ง มีหลักฐานบ่งว่าเพิ่งเป็นชุมชนขึ้นเมื่อประมาณ 100-150 ปีที่ผ่านมา จากทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช |
ครั้งรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2354 ท้องที่ของอำเภอชะอวดในปัจจุบันเรียกว่า ปรามบุรี มีหลวงพิชัยโยธา ธานิตภักดี ศรีสงครามศักดินา 1200 เป็นหลวงปรามบุรี เรียกบริเวณนี้ว่าที่ปรามนาหมาก เป็นเมืองฝ่ายขวาของนครศรีธรรมราช ออกหลวงพินิจภักดีศรีราชเป็นอากรนาหมาก ถือศักดินา 1200 เช่นกัน มีหลวงพิชัยภักดีศรีสงคราม ศักดินา 600 เป็นปลัดปราม และเมืองพินิจภักดีศรีสงคราม ศักดินา 600 เป็นเมืองรองนาหมาก และในท้องที่ดังกล่าวนี้ ยังมีที่เคร็งเป็นที่ |
พกหมากแต่ขึ้นกับท้ายวังฝ่ายซ้าย มีหมื่นภักดีนิตย์ ศักดินา 400 เป็นนายที่เคร็ง เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5ซึ่งมีพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2449) ได้แบ่งการปกครองเมืองนครศรีธรรมราชเสร็จในปี พ.ศ.2439 เป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอกลาย อำเภอสิชล อำเภอลำพูน |
อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง และอำเภอพังไกร ตามหนังสือพระยาราชวรานุกูล ราชปลัดทูลฉวาง ที่ 194/2753 ลงวันที่ 30 ธันวาคม ร.ศ.115 (พ.ศ.2439) กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ อ้างถึงใบบอกพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 114/893 ลงวันที่ 7 ธันวาคม ร.ศ.115 ว่า พระยาสุขุมนัยวินิตได้ปฤกษากับพระยาศรีธรรมราช พระศิริธรรมบริรักษ์ปลัด |
จัดการแบ่งท้องที่ต่าง ๆ ในแขวงเมืองนครศรีธรรมราชเปนอำเภอ ๆ ตามที่พระยาสุขุมนัยวินิตเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าจะเพียงพอแก่อำนาจกรรมการอำเภอจะปกครองได้ คิดประมาณที่ที่จะตั้งให้เปนสูนกลาง เดินทางได้ตลอดในวัน 1 และทั้งเปนที่ทำเลที่มีราษฎร์ตั้งอยู่แน่นหนาด้วย ได้ออกประกาศตั้งแขวงแล้ว 2 ตำบล ซึ่งเปนตำบลสำคัญในเมืองนครศรีธรรมราชคือ 1 อำเภอเมือง ตั้งนายร้อยเอกนายเกดข้าหลวง |
ผู้ช่วยแทนกรรมการอำเภอ นายจรเปนปลัดอำเภอ พร้อมด้วยพนักงานคนเก่า 2 อำเภอปากพนัง แต่เรียกว่า อำเภอเบี้ยซัด ตั้งให้ขุนพิบูลย์สมบัติแทนกรมการอำเภอ นายสาดเป็นปลัดอำเภอพร้อมด้วยพนักงานเก่า ตั้งต้นทำการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ร.ศ.115 ไป ในปลายเดือนธันวาคมนี้ พระยาสุขุมนัยวินิตจะได้รับพระราชทานตั้งอีกอำเภอ 1 ที่ต่อกับเมืองสงขลาเมืองพัทลุง เรียกว่าพัทลุง เรียกว่าอำเภอปราน จะตั้งให้ขุนพรหมรักษาเปนกรมการอำเภอ นายขำอำเภอเก่า |
เปนปลัดอำเภอ พร้อมด้วยพนักงานสำรับเก่า แต่แขวงอื่น ๆ นั้น ยังขัดออกไปไม่ได้ด้วยเหตุ 2 สถาน 1 กำลังฝนชุกน้ำท่วมทุ่งหมด การไปมาลำบาก 2 กำลังเลือกผู้ที่จะเปนกรรมการอำเภอยังไม่ได้ จึงจะได้จัดตั้งพร้อมกันทั้งหมด จำเป็นจะต้องให้แล้วเสร็จใน ร.ศ.115 ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยุ่งยากในการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ และในปลายแม่น้ำปากพนังนี้ มีพวกจีนไหหลำไปตั้งเลื้อยไม้อยู่อีกแห่งหนึ่ง เรียกว่าที่ปราน ที่นี้เป็น |
สูนกลางของอำเภอที่ต่อกับเมืองสงขลา เมืองพัทลุง ซึ่งพระยาสุขุมนัยวินิตจะให้ขุนพรหมรักษาไปเปนกรมการอำเภออยู่ และกะเรียกว่า อำเภอ ปราน พระยาสุขุมนัยวินิตจะได้ออกไปจัดตั้งเอง ตรวจตราทำเลที่ที่เลื่อยไม้ เพราะตำบลนี้มีไม้มาก ไม้ที่ใช้ในเมืองนครศรีธรรมราชอาไศรยที่นั้นมาก ด้วยล่องลงมาง่าย ทางข้างหลังเขาต้องอ้อมไปลงทางเมืองกาญจนดิฐ เปนการลำบากยิ่งนัก จะเนื่องด้วยปัญหาขัดข้องอย่างไรไม่ปรากฏ |
เมื่อถึง ร.ศ.116 พระยาสุขุมนัยวินิต ได้มีใบบอกรายงานการจัดตั้งอำเภอ 9 อำเภอ พร้อมบัญชีสำมโนครัวของอำเภอต่าง ๆ เมืองนครศรีธรรมราช ไม่ปรากฏชื่อ อำเภอปราน ดังกล่าวมา แต่ตำบลต่าง ๆ รวม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็ง ไปขึ้นอยู่กับอำเภอร่อนพิบูลย์ ทั้ง 5 ตำบลนี้ เป็นถิ่นธุระกันดารอยู่ห่าง |
ไกลจากชุมชนที่เป็นตัวอำเภอชะอวดปัจจุบัน การคมนาคมสมัยนั้นไม่สะดวก ติดต่อกันได้โดยทางรถไฟ และทางเรือระหว่างปากพนังกับชะอวด ต่อมาจึงมีเรือยนต์โดยสารทำให้สะดวกยิ่งขึ้น ชาวชะอวดและต่างตำบลจึงต้องพึ่งพากันเองเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าที่ตำบลเคร็งมีหมอตำแยผู้ชายอยู่มาก แปลกกว่าท้องถิ่นอื่น ๆ (ยังมีชีวิตอยู่บ้างจนถึง พ.ศ.2538) เนื่องจากการติดต่อภายในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้วิธีเดินเท้า ทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะฝ่ายป้องกันและ |
ปราบปราม จึงเป็นสามเหตุให้มีโจรผู้ร้ายชุกชุมแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.2463 ทางอำเภอร่อนพิบูลย์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตั้งกองปราบปรามโจรผู้ร้ายขึ้นที่วัดหนองจิก เรียกว่า กองกลาง (อยู่ในหมู่ 2 ตำบลที่เสม็ดในปัจจุบัน) โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจยศชั้น ว่าที่นายสิบ เป็นหัวหน้า มีพลตำรวจและกำนันผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เป็นผู้ช่วยเหลือ แต่วัดหนองจิกอยู่ห่างจากสถานีรถไฟถึง 3 กิโลเมตร |
การลำเลียงผู้ต้องหามาขึ้นรถไฟที่สถานีท่าเสม็ด (สถานีชะอวดในปัจจุบัน) เพื่อจะส่งไปอำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นไปอย่างลำบาก ดังนั้นจึงย้าย กองกลาง จากวัดหนองจิกมาตั้งอยู่ที่ริมทางรถไฟใกล้ ๆ กับสถานีท่าเสม็ดอยู่ห่างจากสถานีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร คือสถานที่ตั้งว่าการอำเภอชะอวดในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2466 ปรากฏตามหลักฐานในหนังสือราชกิจจานุเบกษา |
ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2466 ในสมัยที่พระสุนทรวรนาถ (พร้อม ณ ถลาง) เป็นนายอำเภอร่อนพิบูลย์ และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สินเทพหัสดิน) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยความเห็นชอบของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปทาชมณฑลปักษ์ใต้ ด้วยมีความประสงค์จะปราบปรามโจรผู้ร้ายให้สงบเรียบร้อย จึงดำเนินการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่ากิ่งอำเภอชะอวด มี 5 ตำบล คือ ตำบลเคร็ง ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง ตำบลท่าประจะ และตำบลชะอวด พ.ศ.2483 ได้ยุบเขตการปกครองซึ่งมีอยู่ 5 ตำบลเหลือเพียง 3 ตำบล คือ ตำบลเคร็งรวม |
กับตำบลท่าเสม็ดเรียกว่าตำบลท่าเสม็ด และรวมตำบลวังอ่างกับตำบลท่าประจะ เป็นตำบลท่าประจะ จึงมีตำบลในขณะนั้นเพียง 3 ตำบล คือ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลท่าประจะ และตำบลชะอวด พ.ศ.2493 กรมการปกครองได้แยกตำบลออกเป็น 5 ตำบลเหมือนเดิม เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2496 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอชะอวดขึ้นเป็น อำเภอชะอวด และต่อมาได้แยกตำบลชะอวดไปตั้งเป็นตำบลบ้านตูล แล้วแยกตำบลบ้านตูลไปตั้งเป็นตำบลควนหนองหงส์ แยกตำบลท่าเสม็ดไปตั้งเป็นตำบลขอนหาด แยกตำบลท่าประจะไปตั้งเป็นตำบลเกาะขันธ์ |
สภาพทั่วไป
อำเภอชะอวด ขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 833.048 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟ 851 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจุฬาภรณ์ และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอป่าพยอม และอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสงและอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอชะอวดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 81 หมู่บ้าน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2539 มีประชากรทั้งสิ้น 81,015 คน |
สภาพลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอชะอวดมีสภาพพื้นที่บริเวณด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม มีสภาพเป็นพรุ ส่วนบริเวณด้านตะวันตกเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าสวงนแห่งชาติ ตามสภาพพื้นที่แล้วสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้ดังนี้
|
จากสภาพพื้นที่ดังกล่าว ทำให้อำเภอชะอวดมีห้วย คลองเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ตื้นเขินและ |
แคบ ใช้ในการระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน ทำให้น้ำท่วมขังอย่างฉับพลัน และในช่วงหน้าแล้ง ห้วย คลองต่าง ๆ ก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ซึ่งในอำเภอชะอวดมีคลองที่สำคัญ ๆ หลายสาย ได้แก่ คลองชะอวด เดิมเรียกว่า คลองท่าเสม็ด เป็นคลองที่เกิดจากคลองต่าง ๆ ทางทิศตะวันตกไหลมารวมกันเป็นคลองชะอวด เช่น |
คลองไม้เสียบ คลองลาไม คลองเกียบ ฯลฯ คลองชะอวดเป็นคลองที่กว้างและลึก ไหลผ่านหลายตำบล เช่น ตำบลท่าประจะ ตำบลชะอวด ตำบลท่าเสม็ด ตำบล เคร็ง ไหลไปสู่อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร ลงสู่ทะเลที่อำเภอปากพนัง คลองชะอวดเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงชาวชะอวด และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด ที่เป็นทั้งแหล่งทำมาหากินและเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ |
คลองลาไม เป็นคลองที่เกิดจากห้วยต่าง ๆ ไหลมารวมกัน เช่น ห้วยไข่เน่า ห้วยตราบกอก ห้วยลูกฟาน ห้วยถ้ำพระ ฯลฯ ซึ่งเป็นห้วยเล็ก ๆ ด้านตะวันตกริมภูเขา ไหลมารวมกันเป็นคลองลาไม ผ่านตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง ตำบลท่าประจะ ลงสู่คลองชะอวด |
คลองบางกลม เป็นคลองที่เกิดจากห้วย คลองต่าง ๆ บริเวณตำบลควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด และบริเวณอำเภอจุฬาภรณ์ มารวมกันเป็นคลองบางกลม ไหลผ่านตำบลบ้านตูล ตำบลชะอวด ลงคลองชะอวด |
สภาพลักษณะภูมิอากาศ
อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเส้นศูนย์สูตรและคาบสมุทรซึ่งมีเทือกเขานครศรีธรรมราชเป็นแกนกลาง มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปัจจัยสำคัญ ประกอบกับอำเภอชะอวดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน แบ่งฤดูกาลได้ 2 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อากาศค่อนข้างร้อนตลอดฤดูกาล |
ฤดูฝน แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นช่วงที่ฝนตกหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติ อำเภอชะอวดมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ไม้หลุมพอ ไม้ตะเคียน ในเขตตำบลวังอ่าง มีแร่ธาตุที่สำคัญ คือ |
แร่พลวงเงิน และที่ตำบลเขาพระทอง มีแร่ฟอสฟอรัส และแร่ดลโดไมต์ ใช้ทำปุ๋ย ปัจจุบันไม่ได้นำมาใช้แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าควนแก้ว ป่าคลองตม และป่าทุ่งลานแซะ มีเนื้อที่ 116,093 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง และตำบลควนหนองหงส์ และมีพื้นที่บางส่วนเป็นป่าเสื่อมโทรม ซึ่งในขณะนี้กรมป่าไม้ไม่ได้ยกให้สปก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้แก่ราษฎร เนื้อที่ 68,656.25 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ายางงาม มีเนื้อที่ 1,143 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลท่าเสม็ด ปัจจุบันมีไม้ยางอยู่ |
บางส่วน และได้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดินไปทั้งหมด 1,143 ไร่ป่าสงวนแห่งชาติ ในป่าลุ่ม ป่ากุมแป และป่าพรุควนเคร็งมีเนื้อที่ 54,221 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านตูล ตำบลชะอวด ตำบลขอนขาด และตำบลเคร็ง และได้ออกพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดินไป 45,025 ไร่ อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า-เขาคราม มีเนื้อที่ประมาณ 23,125 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง และตำบลควนหนองหงส์ พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เนื้อที่ 62,500 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลเคร็ง |
การคมนาคม
การคมนาคมระหว่างอำเภอชะอวดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง สามารถเดินทางติดต่อได้สะดวก เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ มีดังนี้
|
|
การศึกษา ศาสนา สังคมวัฒนธรรม
เนื่องจากประชากรในอำเภอนี้ยังนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98.7 สังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นสังคมเกษตรแบบพุทธ ประเพณีและวิถีชาวบ้านเป็นแบบเดียวกันกับอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีศิลปินพื้นบ้านที่เป็นหนังตะลุง โนรา เพลงบอก สืบทอดกันหลายสายตระกูลประเพณีที่สำคัญ เช่น ประเพณีเดือนสิบ การรดน้ำผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ การทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ เป็นต้น |
การศึกษา อำเภอชะอวด การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมตอนปลาย มีสถานศึกษาของรัฐและของเอกชน ดังนี้
นอกจากนี้แล้ว มีสถานที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 74 แห่ง ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
|
การปกครอง |
อำเภอชะอวด แบ่งการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 81 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป.12 หมู่บ้าน และมีองกรค์ท้องถิ่น คือ สุขาภิบาลชะอวด องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 11 แห่ง ยกเว้นตำบลท่าเสม็ด ซึ่งจะยกฐานะเป็นองค์การส่วนบริหารตำบลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ความสนใจของประชาชนและการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง ความคิดทางการเมืองของประชาชนชาวอำเภอชะอวด ได้รับความสนใจสถานการณ์ทาง |
การเมือง การบริหารเป็นอย่างสูง โดยมีการคิดตามนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง มีการรับทราบข่าวสาร วิจารณ์ในทางการเมืองในแง่มุมต่าง ๆ มีการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และมีการเลือกพรรคหนึ่งพรรคเดียว และเข้าใจการเมืองมากพอสมควร สำหรับการที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่มาก นั้นเพราะราษฎรส่วนใหญ่ออกไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เมื่อถึงวันเลือกตั้งไม่ได้กลับมาใช้สิทธิ์ จึงทำให้จำนวนผู้ใช้สิทธิไม่มากเท่าที่ควร |
อาชีพและสภาพเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่นทำนา ทำสวนยางพารา พืชไร่ สวนผลไม้ พืชผัก ตัดไม้ขาย และหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพรุ โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เช่น แห ข่าย ไซ สุ่ม กระชุ ในเขตอำเภอชะอวดมีโรงสีข้าว (พ.ศ.2540) ถึง 72 โรงการปศุสัตว์ ปี พ.ศ.2539 มีการเลี้ยงโค 14,156 ตัว กระบือ 675 ตัว สุกร 9,500 ตัว เป็ด 24,540 ตัว ไก่ 204,228 ตัว ประชากรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 13,000 บาทต่อปีต่อคน |
แรงงานในอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด เป็นอำเภอที่มีประชากรมาก แต่มีพื้นที่ไม่เหมาะสมในการทำการเกษตร เพราะมีปัญหาแหล่งน้ำ ดินไม่มีคุณภาพ จึงทำให้แรงงานส่วนใหญ่อพยพไปทำงานในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ ฯลฯ จึงทำให้อำเภอชะอวด ขาดแรงงานในการทำงานต่างๆ ส่งผลให้การพัฒนาล่าช้า การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักและทำประโยชน์ให้อำเภอชะอวด มากที่สุด แต่เนื่องจากดินไม่ค่อยมี |
คุณภาพจึงทำให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งพอจะแยกลักษณะดินตามศักยภาพของดินเพื่อการเกษตรได้ 8 ประเภทดังนี้
|
ราบหรือเกือบราบเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวในฤดูฝน ถ้ามีการชลประทานในหน้าแล้ง สามารถทำนาปรัง ใช้ปลูกพืชผักหรือพืชไร่ต่าง ๆ ได้ ต้องมีการใช้ปุ๋ยในอัตราเหมาะสม ควรมีการชลประทานและคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาใช้ปลุก อาจประสบภาวะแห้งแล้งในช่วงฝนแล้ง |
|
ปานกลาง หรือสูง พบในสภาพพื้นที่ราบ เหมาะมากสำหรับการปลูกข้าวในฤดูฝน ถ้ามีการชลประทานในฤดูแล้ง สามารถทำนาปรัง ใช้ปลูกพืชผักหรือพืชไร่ต่าง ๆ ต้องมีการใช้ปุ๋ยตามความเหมาะสม เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้ดีอยู่เสมอ ควรมีการชลประทานและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม |
และมะม่วงหิมพานต์ ได้ ถ้ามีแหล่งน้ำสำหรับปลูกมะพร้าวบนดินมักไม่ได้ผล เนื่องจากชั้นตามอินทรีย์จะทำให้มะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต ต้องมีการใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม และมีมาตราการควบคุมความชุ่มชื้นของดิน ให้พอกับความต้องการของพืชที่จะใช้ปลูก |
ปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในอำเภอชะอวด เป็นอาชีพทางการเกษตรรองลงมาจากการกสิกรรม ส่วนใหญ่มักเป็นการเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ใช้แรงงาน และมักเป็นอาชีพที่ทำในครัวเรือน เพื่อการดำรงชีพมากกว่า ปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงโคโดยการสนับสนุนซื้อโคให้ราษฎรเลี้ยง โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณเป็นโคแม่พันธุ์ สัตว์ปีก จากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมารจากพระราชดำริ จำนวนสัตว์ของอำเภอชะอวด ปี 2539 มีดังนี้ ม้า 13 ตัว โค 14,156 ตัว กระบือ 675 ตัว สุกร 9,410 ตัว เป็ด 24,540 ตัว ไก่ 204,228 ตัว
|
การประมง สภาพการทำการประมงของอำเภอชะอวด โดยทั่วไปเป็นการทำการประมงแบบยังชีพโดยเครื่องมือประมงขนาดเล็ก เช่น แห ข่าย และไซ ส่วนในคลองปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปีมีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากการตื้นเขินของแหล่งน้ำธรรมชาติ และภัยธรรมชาติภาวะแห้งแล้ง และน้ำเค็มเข้าสู่แหล่งน้ำจืด ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ การวางไข่เลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำจืดมีน้อยลง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ราษฎรส่วนใหญ่ทำการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแบบพื้นบ้าน บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาเป็นบ่อขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงกันมาก คือ ปลาดุก ปลาหมอ และปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาไน กุ้งก้ามกราม มีเลี้ยงบ้างเล็กน้อย พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยงได้มาจากการรวบรวมลูก |
พันธุ์ปลามาจากธรรมชาติและจากบ่อเพาะในอำเภอชะอวด และจังหวัดใกล้เคียง พาณิชยกรรม-อุตสาหกรรม บริเวณศูนย์กลางการค้าขายของอำเภอชะอวด คือตลาดสดในเขตสุขาภิบาลชะอวด มีตัวตลาดและมีร้านค้าเป็นตึกแถวและแผงลอย จำหน่ายสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการครองชีพ นอกจากนี้บางตำบลมีร้านค้าย่อย และมีตลาดขนาดเล็ก เช่น ตลาดนางหลง ตลาดบ้านตูล ตลาดบ้านไม้เสียบนัก การเงินและการคลังอำเภอ อำเภอชะอวด มีสถาบันการเงิน จำนวน 3 แห่ง คือ
|