ระเบียบกรมการปกครอง เรื่อง การประกวดวงเมโลเดียนนักเรียนเทศบาลและเมืองพัทยา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2545 ------------- กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการกีฬาและการดนตรี โดยเฉพาะประเภทวงเมโลเดียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ทั้งยังสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาความรู้
ความสามารถทางด้านดนตรีเป็นสื่อนำในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพต่อไปได้
ด้วยเหตุนี้ กรมการปกครอง จึงได้จัดประกวดวงเมโลเดียนระดับประถมศึกษาขึ้น
โดยมีจุดประสงค์ให้โรงเรียนเทศบาลและเมืองพัทยาทั่วประเทศ ได้พัฒนาวงเมโลเดียนสำหรับใช้ในกิจการของโรงเรียนและการบริการชุมชน
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะความรู้
ความสามารถทางดนตรีของนักเรียนให้มีโอกาสแสดงความสามารถและได้รับประสบการณ์ตรงจากการประกวด
และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการแข่งขันดนตรีประเภทเมโลเดียนของนักเรียนให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศต่อไป 1. ชื่อและความหมายของวงเมโลเดียน การประกวดวงเมโลเดียนนักเรียนเทศบาลและเมืองพัทยาระดับประเทศ ครั้งที่ 7
ประจำปี 2545 ชื่อภาษาอังกฤษ ALL
Thailand School Band Festival V 2001 วงเมโลเดียน
เป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีเมโลเดียน (Melodion) ขนาดต่าง
ๆ ที่ก่อให้เกิดเสียงประสาน เป็นหลักในการบรรเลงมีเครื่องกระทบ (Percussion)
ที่เป็นเครื่องดนตรีสากลและดนตรีไทย 2. ประเภทของการประกวด การประกวดวงเมโลเดียนระดับประถมศึกษา
ผู้เข้าประกวดเป็นนักเรียนเทศบาลและเมืองพัทยา ระดับไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 อายุไม่เกิน 13 ปี (เกิดในปี พ.ศ.2533) โดยจัดประกวดเป็นครั้งที่
7 3. สนามประกวด เป็นการประกวดดนตรีสนาม ขนาดสนามกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร
มีเส้นแบ่งครึ่งกลางสนาม ด้านข้างสนามด้านหน้าประธานมีป้ายผ้าประกวดยาว 20 เมตร มีช่องวิ่งของลู่กรีฑา 8 ช่องวิ่งสำหรับการเดินแถวมีความยาว
100 เมตร 4. รูปแบบและเพลงบรรเลงประกวด การประกวดวงเมโลเดียน
จัดประกวดในรูปแบบของการบรรเลงดนตรีสนาม (Marching
& Displays) ประกอบด้วยการเดินแถว (Marching) ด้วยเพลงมาร์ชกราวกีฬา เพลงมาร์ชเทศบาล
เพลงพระราชนิพนธ์ หรือเพลงสืบสานวัฒนธรรมไทย
และเพลงเลือกประกอบการแปรรูปขบวนและการแสดงตามรูปแบบต่าง ๆ 5. จำนวนผู้บรรเลงประกวด การประกวดวงเมโลเดียน วงเมโลเดียนวงหนึ่ง ประกอบด้วย คทากร 1 คน ผู้บรรเลง 40 - 45 คน
ผู้แสดงประกอบ 15 คน พร้อมอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น ธง ร่ม
พัด หมวก ริบบิ้น พู่ คทาไม้สั้น เป็นต้น ควรใช้ฉากเคลื่อนที่ได้สะดวก
ไม่ควรใช้วัสดุเชื้อเพลิงจะเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวผู้แสดง ในขณะแสดงไม่ได้
ยกเว้นสลับตำแหน่งผู้แสดง 6. เวลาที่ใช้ในการบรรเลง การประกวดวงเมโลเดียน ใช้เวลาบรรเลง
15 นาที บวก-ลบ
ไม่เกิน 2 นาที
เริ่มจับเวลาเมื่อคทากรให้สัญญาณบรรเลงเพลงกราวกีฬา
จนจบการแสดงเมื่อคทากรเคารพประธานหรือกรรมการตัดสิน ณ จุดกลางสนาม
เวลาที่แสดงเกินหรือขาดตัดคะแนนนาทีละ 2 คะแนน เวลาในการจัดฉากหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงใช้เวลาไม่เกิน
10 นาที 7. คุณสมบัติของผู้บรรเลงและการสมัครเข้าประกวด คุณสมบัติของผู้แสดงวงเมโลเดียน
ไม่จำกัดเพศ อายุไม่เกิน 13 ปี (ไม่เกิดก่อนปี พ.ศ.2533) ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษา
สังกัดโรงเรียนเทศบาลและเมืองพัทยา โดยรับรองคุณสมบัติจากนายทะเบียนโรงเรียน
และผู้บริหารโรงเรียน พร้อมหลักฐานการสมัครเข้าประกวด ประกอบด้วย ใบสมัคร
ประวัติของวงเมโลเดียน รายชื่อผู้บรรเลง
รายชื่อเพลงบรรเลง 8. วิธีดำเนินการจัดประกวด การจัดประกวดวงเมโลเดียน
ใช้วิธีดำเนินการเดียวกันโดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ 8.1 ระดับภาค เป็นการประกวดรอบคัดเลือก
แบ่งออกเป็น 5 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
จัดประกวดพร้อมกับการจัดแข่งขันกีฬานักเรียนเทศบาลและเมืองพัทยา
โดยมอบให้เทศบาลที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน เป็นเจ้าภาพจัดประกวดวงเมโลเดียน
เพื่อคัดเลือกวงที่มีระดับความสามารถได้คะแนนรวมเฉลี่ยสูงสุดอันดับ 1-3 เป็นตัวแทนภาคเข้าประกวดระดับประเทศ (วงที่เข้ารอบระดับประเทศควรมีระดับความสามารถรางวัลเหรียญทอง) 8.2 ระดับประเทศ
เป็นการประกวดชิงชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 โดยมอบให้เจ้าภาพระดับประเทศจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนฯ รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ จัดประกวดวง
เมโลเดียน
รอบชิงชนะเลิศพร้อมกันด้วยและให้สิทธิเทศบาลที่เป็นเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศจะพิจารณาส่งวงเมโลเดียนเข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศได้ 1 วง 9. เกณฑ์การตัดสินการประกวด คณะกรรมการตัดสินการประกวดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีและมีประสบการณ์ในการจัดประกวดและการให้คะแนน
เป็นผู้กำหนดรูปแบบและเกณฑ์การตัดสินแจ้งให้ทราบทุกวงที่ประกวดและจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดให้ผู้ควบคุมวงรับทราบก่อนการประกวด
การพิจารณาให้คะแนน เน้นการแต่งกาย การจัดรูปวง การเดินแถว การแปรรูปขบวน
การแสดงและอุปกรณ์ประกอบการแสดงพลังเสียงประสานและความสมดุลย์ของเสียง
เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นหลักในการพิจารณา ดังนี้ 9.1 การพิจารณาด้วยสายตา ประกอบด้วย -
การแต่งกายต้องเหมือนกันทั้งวง -
ความพร้อมเพรียงของวง -
ระเบียบวินัย -
ความพร้อม
ความรวดเร็ว ตามคำสั่งหรือสัญญาณ 9.2 การพิจารณาด้วยการฟัง ประกอบด้วย -
การเลือกบทเพลงประกอบการเดินแถวและแปรรูปขบวน -
การตอบสนองจังหวัดสั้น
ยาว เบา ดัง และของเพลง -
ความสม่ำเสมอ
เร็ว ข้า ตามจังหวะสัมพันธ์กับเพลง -
ความสมดุลย์ของเสียง และแนวเสียงประสาน 9.3 การพิจารณาแนวความคิดสร้างสรรค์ -
การจัดรูปวง
หมวดหมู่ของเครื่องดนตรีและอุปกรณ์การแสดง -
ระเบียบแถว
การเดินแถว ระยะต่อ ระยะเคียง การเลี้ยว การหัน การหยุด ฯลฯ -
การแปรรูปขบวนตามหลักเรขาคณิตและการเคลื่อนที่แบบลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง 9.4 การพิจารณาคทากร ประกอบด้วย -
การใช้คทากรนำแถวตามรูปแบบสากล
คำสั่งและสัญญาณในการแปรรูปขบวน -
การทำหน้าที่ตลอดการบรรเลงด้วยความเข้มแข็งและมีลีลาอารมณ์ประกอบการแสดง -
บุคลิกท่าทางและอิริยาบทในการเคลื่อนไหวตามลักษณะผู้นำวง 9.5 การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด
จะประท้วงมิได้ 10. มารยาทของวงในการประกวด 10.1 ไม่ควรนำวัสดุเชื้อเพลิงใช้ประกอบการแสดง 10.2 ไม่ควรมีเครื่องดนตรีข้างสนาม
และการมาร์คจุดในการแสดง 10.3 ควรใช้ฉากประกอบการแสดงที่เคลื่อนย้ายสะดวก
และประหยัด 10.4 ควรมีการบรรเลงและการแสดงอย่างต่อเนื่อง
กระชับฉับไว 10.5
เพลงบรรเลงและการแสดงไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ไม่ล้อเลียน 10.6 การเมือง และสังคม 10.7 ควรตรงต่อเวลาในการรายงานตัว ตามกำหนดการ
และการบรรเลงประกวด 10.8
ควรปฏิบัติตามระเบียบ ข้อปฏิบัติ
และมารยาทของการประกวดอย่างเคร่งครัด 11. รางวัลของการประกวด 11.1 ระดับภาค (รอบคัดเลือก)
เจ้าภาพ ผู้จัดประกวดเป็นผู้พิจารณา ตามคะแนนเหมาะสม -
รางวัลชนะเลิศ
ได้รับถ้วยและประกาศนียบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลรองชนะเลิศ
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลระดับความสามารถ รางวัลเหรียญทอง คะแนนรวมเฉลี่ย ร้อยละ 85-100 และประกาศเกียรติบัตร รางวัลเหรียญเงิน คะแนนรวมเฉลี่ย ร้อยละ 75-84 และประกาศเกียรติบัตร รางวัลเหรียญทองแดง คะแนนรวมเฉลี่ย ร้อยละ 75-74 และประกาศเกียรติบัตร -
รางวัลคทากรดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลเดินแถว (Marching) ดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตร -
รางวัลการแปรรูปขบวน
(Displays) ดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตร วงที่เข้ารอบระดับประเทศควรมีระดับความสามารถรางวัลเหรียญทอง 11.2 ระดับประเทศ (รอบชิงชนะเลิศ)
เจ้าภาพผู้จัดประกวดเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม -
รางวัลชนะเลิศ
ได้ครองถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับ 1 ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับ 2 ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลคทากรดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตรและเงินรางวัล -
รางวัลการเดินแถว
(Marching) ดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตร -
รางวัลการแปรรูปขบวน
(Displays) ดีเด่น
ได้รับถ้วยและประกาศเกียรติบัตร -
ผู้บรรเลงทุกคนได้รับประกาศเกียรติบัตร -
ผู้ควบคุมและครูผู้สอน
ได้รับโล่และประกาศเกียรติบัตร -
วงทุกวง
ได้รับโล่และประกาศเกียรติบัตร 12. คุณประโยชน์ที่ได้รับจากการประกวด 12.1 มีวงเมโลเดียน
สำหรับใช้ในโรงเรียน และบริการชุมชนในงานเทศกาลต่างๆ 12.2ครูผู้สอนดนตรีได้มีการพัฒนาตนเองและถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้แก่นักเรียน 12.3 นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกทางด้านดนตรี
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการใช้เวลาว่างให้เห็นประโยชน์
และหลีกพ้นจากอบายมุขและสิ่งเสพติด 12.4 ผลจากการประกวดแสดงถึงระดับความสามารถของตัวเองและหมู่คณะที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง 12.5 รางวัลที่ได้รับเป็นเกียรติประวัติติดตัวตลอดชีวิต
สำหรับนำไปใช้ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพต่อไปได้ ****************** |
หน้าแรก |