ซัดต้ม
ซัดต้ม เป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมเล่นในเทศกาลออกพรรษา มีประวัติเกี่ยวกับเนื่องกับประเพณีชักพระซึ่งจัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เข้าใจว่ากีฬาซัดต้มมีเฉพาะจังหวัดพัทลุง เท่านั้น และมีเพียงบางตำบล เช่น ตำบลตำนาน ชะรัด ท่าแค ร่มเมือง เป็นต้น ในสมัยรัตนโกสินตอนต้นก็เคยปรากฏว่าเจ้าบ้านผ่านเมืองได้คัดเลือกผู้มีฝีไม้ลายมือในการซัดต้มไปแสดงการซัดต้มถวายหน้าพระที่นั่งหลายครั้ง หลายครา
มูลเหตุแห่งการซัดต้มมีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อพระพุทธองค์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบพวกเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถีเสร็จสิ้นก็เป็นฤดูจำพรรษาพอดี จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยมีพระประสงค์จะแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับมนุษย์โลกทางประตูนครสังกัสสะซึ่งเป็นวันออกพรรษา พุทธบริษัทต่างไปรอรับเสด็จเป็นจำนวนมากและนำภัตตาหารไปถวาย แต่ไม่สามารถถวายภัตตาหารถึงพระองค์ได้ทั่วทุกคน จะส่งต่อกันไปก็ไม่ทันใจจึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้างปาไปบ้าง โดยถือว่าเป็นการทำด้วยความบริสุทธิ์ใจจึงเกิดประเพณี
ห่อต้ม หรือ ห่อปัด ขึ้นทางพัทลุงเรียกว่าแทงต้ม และน่าจะเป็นเหตุให้เกิดประเพณี การซัดต้ม ขึ้นแต่ผู้รู้บางท่านอ้างว่าประเพณีห่อต้มหรือห่อปัดนั้นเกิดจากความกันดารของนครสังกัดอันเป็นนครเล็ก และประชาชนที่ไปประชุมรอรับเสด็จพระพุทฑองค์อยู่ก็เป็นคนยากจนเข็ญใจเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สามารถที่จะหาภัตตาคารอย่างอื่นเตรียมถวายพระพุทธองค์อยู่ก็เป็นคนยากจนเข็นใจเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สามารถที่จะหาภัตตาหารอย่างอื่นเตรียมถวายพระพุทธองค์ได้คงหาได้แต่อาหารจำพวกเสบียงกรังชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ต้ม หรือ ปัด เท่านั้นในวันลากพระจึงนิยมนำต้มไปทำบุญที่วัดสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้การซัดต้ม เริ่มด้วยการเตรียมอุปกรณ์ในการซัดต้ม เขาจะทำลูกต้มสำหรับปาด้วยข้าวตากประสมทรายห่อด้วยใบตาลโตนด หรือใบมะพร้าวมาสานแบบตะกร้ออย่างแน่นหนา ขนาดเท่ากับกำปั้นพรเหมาะมือ อาจจะใช้หวายสอดภายนอกอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แน่นและคงทนยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็นำลูกต้มไปแช่น้ำเพื่อให้ข้าวตากพองตัวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก เมื่อปาถูกฝ่ายตรงข้ามจะทำให้เจ็บ การปาบางครั้งก็อาจทำให้เลือดตกอางออกได้ ส่วนสนามหรือเวทีในหารซักต้มปลูกยกพื้นสูง ประมาร 1 เมตร กว้างด้านละ 1-2 เมตร ห่างกันประมาณ6-8 เมตร หรืออาจจะใช้พื้นดินธรรมดาก็ได้
การเปรียบคู่ จะเอาคนที่มีลักษณะรูปร่างความแข็งแรงและความชำนาญสามารถพออจะสู้กันได้ หรืออาจจะให้คนที่มีฝีมือมาสู้กัน คู่ต่อสู้จะยืนบนเวทีหันหน้าเข้าหากัน ห่างกันประมาณ 6-8 เมตร โดยมีกรรมการเป็นผู้กำหนด การปาหรือซัดต้มจะ ผลัดกันเช่น ปาคนละ 3 ครั้ง โดยมีลูกต้มวางข้างหน้าฝ่ายละประมาณ 25-35 ลูก การแต่งกายจะนุ่งกางเกงหรือนุ่งผ้าโจงกระเบนก็ได้ บางคนลงมือแข่งขันก็มีการร่ายคาถาอาคม ลงเลขยันต์ที่ลูกต้มเพื่อให้แคล้วคลาดจากลูกต้มฝ่ายตรงกันข้ามฝ่ายตรงกันข้าม
ผู้ที่จะเป็นนักซัดต้มได้นั้นต้องเป็นคนใจกล้าสายตาดี เมื่อคู่ต่อสู้ปามาด้วยความเร็วและแรงนั้น ต้องมีความสามารถในการหลบหลีกหรือรับลูกต้มไว้โดยไม่ให้ถูกตัว หรือใช้เท้าถีบ ลูกต้มให้กระเด็นออก ถ้ารับด้วยมือต้องกำลูกต้มบางส่วนอยู่ในมือ หากรับด้วยมือเปล่าอาจทำให้มือเคล็ดได้ จะเห็นว่าการซัดต้มหรือปาต้มนั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนานตื่นเต้น โดยเฉพาะเสียงเชียร์จากผู้ดูการซัดต้มจึงต้องอาศัยศิลปะ ไหวพริบและความว่องไวเป็นอันมาก ผู้ใดปาหรือ ซัดถูกคู่ต่อสู้มากก็จะเป็นฝ่ายชนะ
กีฬาซัดต้ม นอกจากจะจัดขึ้นในเทศกาลชักพระแล้ว อาจจะจัดให้มีในวันทอดกฐินและสงกรานต์ได้ด้วย กีฬาประเภทนี้ให้ความสนุกหรรษา และส่งเสริมความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาได้อย่างดี