การคัดเลือกวัวใช้ทำวัวชน

 

นักเลงวัวชนที่เป็นเจ้าของวัวบางคนจะผสมพันธุ์วัวชนของตนเอง แล้วคัดเลือกลูกคอกที่มีลักษณะดีนำมาใช้เป็นวัวชนต่อไป แต่บางคนอาจจะสืบเสาะหาวัวที่มีลักษณะดีเด่นตามที่ตนต้องการการจากท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีพันธุ์วัวชนอยู่ โดยการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัวชนตัวหนึ่ง ๆ มีราคาประมาณตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท วัวตัวที่ได้รับ

 

การคัดเลือกก็จะต้องเป็นวัวที่มีลักษณะดี หรือมีเชิงชนดีอย่างใดอย่างหนึ่งดังได้กล่าวมาแล้ว ส่วนมากจะเป็นวัวที่เคยชนมาแล้วอย่างน้อย 1-2 ครั้ง จนเห็นชั้นเชิงหรือลีลาการชนและมักเป็นวัวที่มีอายุไม่มากนัก คือราว 3-5 ปี แต่ถ้าเป็นวัวที่ไม่เคยชนมาก่อนก็ต้องเอามา “วาง” หรือ “ซ้อม” ดูกับวัวอื่น เพื่อดู “ทางชน” หรือชั้นเชิงของวัวตัวนั้นเสียก่อน ถ้าชนดี ก็คัดเลือกเอาไว้ใช้เป็นวัวชนต่อไป

 

การเลี้ยงดู

ในระยะแรกต้องเอาวัวที่คัดเลือกไว้นั้นมา “ปรน” (บำรุงเลี้ยงดู) ให้สมบูรณ์เสียก่อน ในกรณีที่เป็นวัวใหม่ อาหารหลักก็คือหญ้าเกือบทุกชนิด นอกจากจะล่ามหรือผูกให้กินหญ้า ตามทุ่งหญ้าหรือสนามหญ้าแล้วยังจะต้องตัดหญ้าใส่ลังหรือรางให้กินในโรงที่พักของวัวอีกด้วย บางทีอาจป้อนหญ้าให้กินด้วยก็มี เพราะฉะนั้นวัวชนจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าวัวใช้งานและวัวชนิดอื่น ๆ จนมีสำนวนพูดเปรียบเทียบกับคนที่มีฐานะดีที่ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายในการทำมาหากินว่า “กินหญ้าตัด” อรหารหลักอย่างอื่นก็มีน้ำและเกลือ สำหรับน้ำจะต้องให้กินอย่างน้อย วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนเกลือนั้นให้กิน 15 วันต่อ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 กำมือหรืออาจมากน้อยกว่านั้นสักเล็กน้อยก็ได้ อาหารเสริมสำหรับวัวชนมีหลายอย่าง เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาลกรวด ข้าวต้มกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม น้ำมะพร้าวอ่อน อ้อย ขนุน ไข่ไก่และผลไม้อื่น ๆ สำหรับไข่ไก่ให้กินสด ๆ ทีละ 10-15 ฟองบางตัวที่เจ้าของฐานะดีก็อาจจะเอาไข่ไก่นั้นตีแล้วคนกับเบียร์ดำตราคอหมาป่าใส่กระบอกกรอกให้กินก็มี

ที่อยู่อาศัยของวัวชน จะปลูกสร้างเป็นโรงนอนให้อยู่ขนาดพอสมควร ต้องก่อไฟแกลบไล่ยุง ริ้นไม่ให้รบกวนได้บางตัวที่เจ้าของฐานะดีก็อาจจะเย็บมุ้งหลังใหญ่ให้นอนด้วยในปัจจุบันในเรื่องนี้ไม่ค่อยมีปัญหานัก เพราะเกือบทุกโรงนอนของวัวชนที่มีชื่อมักทำมุ้งลวดให้อยู่อาศัย โรงวัวดังกล่าวก็จะต้องทำความสะอาดทุกวัน

เดือนหนึ่ง ๆ จะซ้อมคู่ได้ประมาณ 1-2 ครั้ง วัวชนตัวหนึ่งต้องซ้อมคู่ 4-5 ครั้ง จึงจะทำการชนได้ ฉะนั้นวัวชนตัวหนึ่ง ๆ โดยฌฉพาะวัวใหม่จะต้องใช้เวลาเลี้ยงดูและฝึกซ้อมอย่างจริงจังอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 เดือน

วัวชนนั้นถ้าได้เลี้ยงดูและฝึกซ้อมดีจนถึงขนาด ก็อาจเอาชนะคู่ต่อสู้ได้แม้ว่าจะมีชั้นเชิงด้อยกว่าคู่ต่อสู้ก็ตาม เช่นนี้ เรียกว่ามี “น้ำเลี้ยง” หรือ “เนื้อเลี้ยง” หรือ เนื้อดีกว่าในขณะเดียวกันตัวที่แพ้ก็จะเรียกว่า “แพ้เนื้อ” หรือ “แพ้น้ำเลี้ยง”

 

การออกกำลังกายและฝึกซ้อมในระยะก่อนชนคนเลี้ยงต้องพาวัวเดินออกกำลังกายในตอนเช้ามืดทุกวัน เป็นระยะทางวันละ 5-10 กิโลเมตร เป็นประจำ เมื่อเดินออกกำลังกายในตอนเช้าแล้วผู้เลี้ยงจะนำวัวไปอาบน้ำด้วยการขัดสีด้วยแปลง บางตัวก็ฟอกสบู่จนเนื้อตัวสะอาดดีแล้วก็นำมากินหญ้าแล้วเริ่มตากแดด เรียกว่า “กราดแดด” หรือ “กรากแดด” คือล่ามหรือผูกไว้กลางแดดเพื่อให้วัวมีน้ำอดน้ำทน เริ่มกราดแดดตั้งแต่เวลา 09.00 นาฬิกา จนกระทั่งถึง 12.00 นาฬิกา แต่บางตัวที่ยังไม่หอบก็ต้องตากแดดไปถึงบ่ายก็ได้ เมื่อกราดแดดแล้วก็นำเข้าโรงเพื่อพักผ่อน ให้กินหญ้ากินน้ำ พอถึงเวลา 15.00-16.00 นาฬิกา คนเลี้ยงจะนำวัวไปอาบน้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วพาเดินไปยังสนามที่จะชนเพื่อให้คุ้ยเคยกับสถานที่ เรียกว่าให้ “ลงที่” ทุกวัน

การซ้อมคู่ เรียกว่า “ปรือ” หรือ “ปรือวัว” ก่อนจะมี การซ้อมคู่จะต้องหยุดการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 วัน การซ้อมคู่ใช้เวลาประมาณ 5-20 นาที (เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับวัยและความแข็งแกร่งของวัวแต่ละตัว) การซ้อมคู่ในปัจจุบันจะใช้ปลาสเตอร์พันปลายยอดหรือหลายทั้ง 2 ข้าง ถ้าเป็นวัวเขายาวอาจต้องใช้พลาสเตอร์หลายม้วนก็ได้ และการซ้อมคู่ทุกครั้งจะต้องใช้เชือกยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการแยกวัวออกจากกันเมื่อต้องการจะหยุดซ้อม

ฉะนั้น การที่วัวชนตัวใดตัวหนึ่ง จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้นั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุผลบางประการ คือ จะไม่เสียเปรียบคู่ต่อสู้จนเกินไป ไม่ว่าในเรื่องของร่างกาย เขา เชิงชน ความแข็งแรง และควมทรหดอดทน ฯลฯ ส่วนลักษณะตามความเชื่อ เช่น สี ขวัญ หรือกิริยาอาการต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นเครื่องสังเกตอย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เครื่งทำนายผลการต่อสู้ได้อย่างถูกต้องทุกครั้งไป

 

 

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัว

1. เลียะ เหลียะ หรือ สนตะพาย เป็นเชือกสั้น ๆ ที่ใช้ร้อยจมูกเพื่อใช้ล่ามและจูง โดยต่อกับเชือกเส้นอื่นที่มีขนาดเดียวกันอีกต่อหนึ่ง

2. เชือกล่าม คือเชือกที่ต่อกับเลียะนั้นเอง

  1. เชือกจูง คือเชือกที่ต่อกัลเลียะแต่สั้นกว่าเชือกล่าม
  2. เทียนพราง คือวงแหวนที่ใช้ร้อยจมูกวัว (ทำเป็นวงกลม) ขณะที่จะทำการชน ทำด้วยเชือกเหนียวหรือหวายถักอย่างแข็งแรง
  3. เชือกวาง คือ เชือกสั้น 2 เส้น ใช้ร้อยลงในเทียนพราง ใช้สำหรับจูง ดึง หรือชักวัวตอนเข้าชน โดยใช้คนจูง 2 คน ซึ่งเรียกว่า “คนวางวัว”

 

 

6. ไม้ใส่หลัง เป็นไม้กลมขนาดยาวประมาณ 2 วา อาจจะใช้ไม้ไผ่ได้ ร้อยหรือผูกติดกับเชือกจูง เพื่อป้องกันไม่ให้วัวทำร้ายคนเลี้ยง ในกรณีที่เป็นวัวดุ คนเลี้ยงจะใช้ไม้อันนี้ค้ำหัวหรือคอของวัวตัวนั้นเอาไว้ เมื่อมันแว้งเข้าขวิด หรือเข้าทำร้ายวัวที่ดุร้ายจะต้องทำเช่นนี้ เรียกว่า “ใส่หลัง” ทุกตัว

7. ปลอกเขา ใช้สำหรับสวมปลายเขาป้องกันไม่ให้ปลายเขาหักหรือแตกขณะอยู่ในระยะเลี้ยงดูปลอกเขาส่วนมากทำด้วยทองเหลือง 1 คู่ หรืออาจจะทำด้วยวัสดุอื่น ๆ ก็มี

  1. แส้ปัด ใช้สำหรับปัดแมลง เช่น เหลือบ ยุง ริ้น ฯลฯ ที่มาไต่ตอมทำความรำคาญให้กับวัว
  2. ไม้เรียว ใช้สำหรับบังคับวัว โดยเฉพาะวัวใหม่ที่ยังไม่เชื่อง หรือใช้ไล่วัวให้วิ่งเพื่อออกกำลังกายที่เรียกว่า “ยิกวัว”
 

ตั้งชื่อวัวชน

ในสมัยก่อนการตั้งชื่อวัวชนไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่อย่างใด คือมักจะเรียกตามชื่อ “สี” ของวัวตัวนั้น หรืออาจจะนำเอาชื่อเจ้าของวัวต่อท้ายชื่อวัวนั้นเข้าไปด้วยก็ได้ เช่น วัวสีแดง ของนายทบ แห่งอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชนกับวัวลายของนายเตง แห่งอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชตามกำหนดการของสนามก็จะออกมาว่า “วัวแดงทบ”นายทบ ฉวาง ชนกับ วัวลายลูกเตง นายเตง เชียรใหญ่ “ ฯลฯ ในปัจจุบันการตั้งชื่อวัวชนถือเป็นเรื่องสำคัญคล้ายกับตั้งชื่อคน หรือชื่อนักมวยอยู่เหมือนกันแต่ชื่อของวัวชนนั้นจะตั้งชื่อว่าอะไรก็ตาม คำนำหน้าชื่อจะต้องขึ้นต้นด้วยสีของวัวก่อนเสมอ ตัวอย่างเช่น โคแดงไพรวัลย์ โคโหนดแสนสิงห์ โคขาวสังหารลูกเทวดา โคโหนด 357

 

โคโหนดเฉียบขาด โคลั่นดาสายชล โคลางสาดนิ่มนวล โคดุกด้างน้องหนึ่ง โคโหนดพระราม โคนิลยมบาล โคขาวเทวา โคนิลหนุมาน โคแดงขุนช้าง โคขาวไหมสิงโต โคดุกด้างค้างคาว โคขาวเนตรน้อย โคขาวพเยาว์ โคแดงชาติชาย โคแดงขุนทัพ โคนิลสกายแล้ป โคนิลยีราฟ โคโหนดเปาบุ้นจิ้นโคแดงว่องไว โคนิลท้องลายณรงค์ฤทธิ์ โคแดงงามรุ่งโรจน์ โคโหนดโคฮัง โคนิลโพธิ์เงิน โคคอดำเอราวัณ โคแดงอาภัพ โคขาวแห้ง โคนิลแซมประกายฟ้า โคนิลน้อย โคขาวขวัญโดม โคลายกู้เกียรติพิชิตศึก ฯลฯ

การเติมชื่อวัวชนบางที่เติมคำว่า “อ้าย” เข้าข้างหน้าชื่อก็มี เช่น อ้ายแดงไพรวัลย์ อ้ายนิลโพธิ์เงิน เป็นต้น

 

ความเชื่อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับการชนวัว

ความเชื่อทางไสยศาสตร์เป็นความเชื่อที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของคนไทยทุกท้องถิ่นได้เป็นเช่นนี้มานานแล้ว การเล่นวัวชนก็ได้นำเอาความเชื่อดังกล่าวเข้ามาแทรกปนอยู่ด้วย เช่นในตอนกลางคืนก่อนวันชน เจ้าของวัวบางคนจะต้องจัดทำ พิธีเรียกว่า เข้าโรง หรือ “เข้ามณฑล” (ดู เข้ามณฑล) โดยจะมีหมอไสยศาสตร์ ที่เรียกว่า “หมอวัว” มาทำพิธีปลุกเสกลงเลขยันต์ใหักับวัว บางคนก็เอาใบอ้อยมาลงเลขยันต์แล้วเสกให้วัวกินก่อนจะจูงวัวออกจากโรง ที่คอวัวก็ผูกผ้าประเจียดพิสมรหรือเอาด้ายแดงด้ายขาวที่เสกแล้วมาสวมที่โคนเขา ก่อนชนจะ

 

ต้องอาบ รดน้ำมนต์ อยู่ไม่ได้ขาด ขณะที่จูงวัวเข้าสนาม ด้ายแดงด้ายขาวที่เสกแล้วมาสวมที่โคนเขา ก่อนชนจะต้องอาบ รดน้ำมนต์ อยู่ไม่ได้ขาด ขณะที่จูงวัวเข้าสนาม หมอวัวจะเดินประพรมน้ำมนต์นำหน้าจนกระทั่งเข้าสู่สังเวียน ที่เรียกว่า “หมอวัว” มาทำพิธีปลุกเสกลงเลขยันต์ใหักับวัว บางคนก็เอาใบอ้อยมาลงเลขยันต์แล้วเสกให้วัวกินก่อนจะจูงวัวออกจากโรง ที่คอวัวก็ผูกผ้าประเจียดพิสมรหรือเอาด้ายแดงด้ายขาวที่เสกแล้วมาสวมที่โคนเขา ก่อนชนจะต้องอาบ รดน้ำมนต์ อยู่ไม่ได้ขาด ขณะที่จูงวัวเข้าสนามหมอวัวจะเดินประพรมน้ำมนต์นำหน้าจนกระทั่งเข้าสู่สังเวียน

 

ข้อสังเกตบางประการในการดูแลลักษณะอาการของวัวชน ก่อนจะเข้าชน มีดังนั้คือ

  1. การเคี้ยวเอื้อง วัวตัวที่เคี้ยวเอื้องถี่ขึ้นทุก ๆ ที ทุกครั้งที่กลืนหญ้า เชื่อว่าจะชนชนะ
  2. น้ำลาย ให้สังเกตดูว่าเมื่อขณะที่เคี้ยวหญ้า ถ้าน้ำลายออกมาจนเป็นฟองทั้ง 2 ข้างปาก ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านว่าดีมาก บอกอาการสบายดี
  3. กรยืน ขณะที่ยืนอยู่ในที่พักก่อนจะเข้าชน ถ้ายืนเท้าหน้าระวังตรงดี ท่านว่าเป็นนิมิตบอกว่าชนะ (แต่เท้างอไม่ดี)
  4. อัณฑะ ขณะยืนอัณฑะจะยานไม่หด ถือว่าดี
  5. ลึงค์ ที่ปลายลึงค์ จะมีน้ำย้อยตลอดเวลา ถ้าเป็นเช่นนี้ถือว่าดีมาก บอกนิมิตของการชนะ
  6. การนอน การนอนพักผ่อนในโรงก่อนไปชน ถ้านอนหันหน้าหรือหันหัวไปในทิศทางอันเป็นที่ตั้งของบ่อนไม่นอนทอดเข้าไปข้างหน้า หรือนอนเอาคางเกยแบบนอนทอดอาลัยถือว่าเป็นนิมิตรดี
 
  • การเดินเข้าสังเวียน ขณะที่จูงออกจากโรง หรือขณะจูงเข้าสังเวียนถ้าเต็มใจเดินไปโดยดี คือเดินอย่างกระฉับประเฉงสง่าผ่าเผย และขัน (ร้องด้วยความคึกคะนอง) ไปตลอดทางดัง “ฮึด-ม้อ” เรียกว่า “อาด” เต็มที่ เป็นนิมิตที่บอกว่าชนะ
  • อาการชนะที่อยู่ในสังเวียน ขณะที่อยู่ในสังเวียนก่อนจะชนเมื่อเห็นคู่ต่อสู้ด้วยนัยน์ตาที่มีประกายเขียวปัด และไม่สะบัดหน้าสะบัดตัว ถ้ามีอาการดังนี้ท่านว่าจะชนะคู่ต่อสู้
  • ขณะพร้อมจะเข้าชน คือตอนประจันหน้ากับคู่ต่อสู้ถ้ามีปลายลึงค์โผล่เข้าออก หรือกระดกขึ้นกระดกลง แย้มหรือแพลมขณะที่กำลังชน ท่านบอกว่าเป็นนิมิตรที่บอกความชนะอย่างแน่นอน

     

     

    บวดวัว (การล้มวัว)

    การบวดวัวหรือล้ม หมายถึง การกลั่นแกล้งให้วัวตัวใดตัวหนึ่งต้องประสบกับความพ่ายแพ้โดยการกระทำของผู้ที่ทำการ “บวด” ซึ่งมักจะเป็นเจ้าของวัวนั่นเสียเอง วัวที่ถูกกลั่นแกล้ง ให้แพ้หรือ ถูกบวชเรียกว่า “วัวบวด” ทั้งนี้เพราะเจ้าของวัวบางคนเห็นแก่เงินถ่ายเดียวไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรี หรือมีความละอายใจแต่อย่างใด ที่ได้กลั่นแกล้งสัตว์เลี้ยงของตนให้ได้รับความเจ็บปวดอย่างทุกข์ทรมาน และต้องประสบความพ่ายแพ้ไปในที่สุด คนจำพวกนี้ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลงวัวชนเลย ในวงการชนวัวถือกันว่าเป็นคนที่ไม่มีจิตใจเป็น “นักเลง” คือไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬานั่นเอง ในกรณีเช่นนี้มักจะทำกับวัวชนตัวที่เป็นต่อมาก ๆ

    สนามชนโค หรือบ่อนชนวัว

    ในสมัยก่อนจะทำกันอย่างง่าย ๆ เนื้อที่ตั้งบ่อนก็ไม่กว้างขวางเหมือนปัจจุบัน การชนวัวในสมัยก่อนชนกันเพียง 2-3 รอบ คือ รอบเช้า รอบเที่ยง และรอบบ่ายเท่านั้น โรงพักวัวชั่วคราวก่อนชน จะปลูกสร้างไว้ในบริเวณบ่อนข้าง ๆ “สังเวียน” ทั้ง 4 ทิศ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เช่น สังเวียน อุปกรณ์ที่ใช้ประจำบ่อนก็มีเหมือนปัจจุบัน

     

    หรือเป็นวัวตัวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักเลงวัวชนทั่วไป เจ้าของวัวเมื่อได้กระทำกับวัวของตนอย่างใด อย่างหนึ่งแล้ว ก็ให้พวกพ้องของตนที่ร่วมกระทำการ “บวดวัว” แอบไปเล่นพนันวัวอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นวัวรองไว้เป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่ ๆ กับผู้อื่นหลายก้อน เรียกว่า เล่นพนันกันไว้หลาย “ขุม” ทีเดียว แต่บางครั้งผลการต่อสู้อาจจะกลับตาลปัดได้ เช่นกัน คือวัวของตนกลับเป็นฝ่ายชนะก็มี อันจะทำให้เจ้าของวัวนั้นต้องประสบกับความหายนะไปก็มาก

    การ “บวดวัว” ทำได้หลายอย่าง เช่น เอาตะปูเข็มตอกตรึงรอบบริเวณโคนเขาวัวทั้ง 2 เขา หรือวัวต้องตรากตรำก่อนวัวชนหลายวันโดยไม่ให้พักผ่อนเลย ฯลฯ