![]() |
![]() เป็นหัตถกรรมที่อยู่คู่กับชุมชนในนครศรีธรรมราชเป็นเวลาหลายร้อยปีแหล่งสำคัญที่มีการผลิตมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคือ ที่บ้านปากพะยิงในอำเภอท่าศาลา อยู่ห่างจากชุมชนโบราณ วัดโมคลาน ทางทิศเหนือราว 100 เมตร มีลำน้ำสายหนึ่งชื่อ "คลองโต๊ะแน็ง" หรือ "คลองควาย" หรือ "คลองโมคลาน" ห่างจากคลองโต๊ะแน็งมาทางเหนือราว 1 กิโลเมตร มีลำน้ำอีกสายหนึ่งชื่อ "คลองชุมขลิง" (หรือ "คลองยิง" หรือ "คลองมะยิง" ) คลองทั้งสองนี้ไหลผ่านสันทรายอันเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณโมคลานไปลงทะเลอ่าวไทยทางทิศตะวันออก ระหว่างคลองทั้ง 2 สายนี้ เป็นบริเวณที่ชุมชนแห่งนี้ทำเครื่องปั้นดินเผามาแต่โบราณ และมักจะเรียกกันว่า "แหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาโมคลาน" หรือ " แหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาบ้านยิง" อยู่ในหมู่ที่ 9 ตำบลหัวตะพาน และหมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา เนื้อที่ที่ใช้เพื่อการนี้ทั้งที่เคยใช้มาแล้วแต่โบราณ และกำลังทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ประมาณ 30 - 40 ไร่ เมื่อ พ.ศ.2521 เจ้าหน้าที่ของศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้เริ่มเข้าไปดูการทำภาชนะดินเผาที่บ้านมะยิงแห่งนี้ และได้เข้าไปศึกษาอีกหลายครั้ง พบว่าในบริเวณนี้เต็มไปด้วยเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถมด้วยเศษภาชนะดินเผา ชาวบ้านได้เคยขุดดินบนเนินเพื่อขยายเตาเผาภาชนะดินเผาออกไป ได้พบว่าเศษภาชนะดินเผาที่ทับถมกันอยู่นั้นลึกมาก และได้พบเศษภาชนะดินเผารุ่นเก่าเป็นดินเผาเนื้อแกร่งจำนวนมาก ลายบนภาชนะดินเผาที่พบมี ![]() ![]() ![]() ลายประทับหลายลายที่มีลักษณะคล้ายกับลายภาชนะดินเผาแบบทวารวดีที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ. 2524 ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้เข้าไปสำรวจจำนวนผู้ที่ยังคงทำภาชนะดินเผาอยู่ ณ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ปรากฎผลว่ามีผู้ที่ยังคงทำภาชนะดินเผาอยู่จำนวน 13 ราย คือ อยู่ในหมู่ที่ 9 ตำบลหัวตะพาน 9 ราย และหมู่ที่ 11 ตำบลโมคลาน 3 ราย ![]() ![]() |
![]() ![]() นายจ่าง สุวพันธ์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนวันสระประดิษฐาราม หมู่ที่ 7 ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่าเมื่อตนได้เข้ามาในชุมชนนี้ในปี พ.ศ.2477 มีผู้ทำภาชนะดินเผาราว 20 ครัวเรือนและสอบถามผู้เฒ่าในขณะนั้นดูได้ความว่าทำมานาน และทำต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ดังที่ได้ปรากฎเนินดินและเตาเผาที่มีเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอยู่นั้น ในขณะนั้นนิยมทำเตาเผาโดยการขุดเนินจอมปลวกให้เป็นโพรงภายในโพรงนั้น จะมีลักษณะเป็นห้องหรืออุโมงค์สำหรับวางภาชนะในขณะที่เผาส่วนยอดจอมปลวกก็ตัดให้เป็นช่องขนาดใหญ่ เตาชนิดนี้ด้านข้างถูกเจาะเป็นที่สุมไฟ และด้านบนเป็นช่องระบายความร้อนและลำเลียงภาชนะขึ้นลงเมื่อจะนำเข้าและออกจากเตาเผาครั้งหนึ่ง ๆ ถ้าภาชนะที่เผามีขนาดไม่โตนัก เช่น หม้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 6 นิ้ว จะได้ราว 200 ใบ เตาเผาแบบนี้นับว่าเป็นเตาเผาที่ทำอย่างง่าย ๆ และเป็นที่สืบทอดกันมาแต่ตั้งเดิม และยังทำต่อมาจนบัดนี้โดยมิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย เรียกว่า "เตาหลุม" อันเป็นเตาแบบดั้งเดิม แบบหนึ่ง และเป็นต้นแบบของเตาเผาแบบระบายความร้อนขึ้น เนื่องจากช่องระบายความร้อนกว้างมาก เมื่อเผาภาชนะจึงต้องใช้เศษภาชนะดินเผาที่แตก ๆ วางซ้อน กันขึ้นไปบนภาชนะที่จะเผาอีกทีหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความร้อนมิให้พุ่งออกไปทางด้านบนของเตาเร็วเกินไป เตาแบบนี้ให้ความร้อนไม่สูงพอและควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถทำภาชนะดินเผาแบบเคลือบได้ นายจ่าง สุวพันธ์ ได้เคยทดลองทำภาชนะดินเผาเคลือบโดยใช้เตาเผาแบบนี้แล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ |
![]() ผลการศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ในการทำภาชนะดินเผาในอดีตและปัจจุบัน ในชุมชนโบราณแห่งนี้ ทำให้ทราบว่ากรรมวิธีในการผลิตภาชนะดินเผา ณ ชุมชน โบราณแห่งนี้ในปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากที่เคยทำมาเมื่อสมัยโบราณเลย โดยมีขั้นตอนการผลิตดังนี้ |
![]() |
![]() |
3. นำดินที่เตรียมไว้แล้วมาขึ้นรูปโดยใช้แป้นหมุน แป้นหมุนที่ใช้ในแหล่งนี้มีทั้งแป้นหมุนชิ้นเดียว (ซึ่งพบว่าแป้นหมุนลักษณะนี้เริ่มมีการใช้ครั้งแรกที่เมืองเออร์ (ur) ในสุเมอร์ เมื่อประมาณ 4,000 - 35,00 ปีมาแล้ว) และแป้นหมุน 2 ชิ้น (ซึ่งพบว่ามีใช้ครั้งแรกที่เมืองฮาเซอร์ (Hazor) ในอียิปต์เมื่อประมาณ 3,300 ปีมาแล้ว) แป้นหมุนนั้นในชุมชนนี้เรียกว่า "มอน" ในขณะใช้แป้นหมุนขึ้นรูปนั้น จะใช้น้ำประสานซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "น้ำเขลอะ" คือ น้ำละลายด้วยดินเหนียวให้ข้นชุบผ้าลูปไปตามผิวภาชนะรูปทรงที่ต้องการในขณะที่อีกคนหนึ่งช่วยหมุนแป้นข้างในภาชนะใช้ลูกถือ (หินดุ) ซึ่งชุมชนนี้เรียก "ลูกเถอ" ตกแต่งในขณะขึ้นรูป ![]() ![]() ![]() |
4. ตกแต่งและต่อหู (หากมีหู) หลังจาที่ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว ใช้เชือกที่ทำจากใยใบสับปะรดตัดที่ก้นให้ก้นภาชนะหลุดออกจากแป้นหมุน นำภาชนะที่ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วมาวางให้หมาดแล้วฝากระป๋องขูดตกแต่งผิว จากนั้นจึงใช้ลูกสะบ้าถูที่ผิวเป็นการขัดมัน |
5. แต่งผิวภายในด้วยลูกถือ ส่วนภายนอกใช้ไม้แบบตีให้เป็นลาย หรือกดลายประทับตามต้องการ ![]() ![]() ![]() |
6. วางภาชนะไว้ในที่ร่ม
![]() ราว 3 - 4 วัน จนภาชนะนั้นแห้งสนิท (ไม่นิยมตากแดดเพราะภาชนะจะแตก) เมื่อภาชนะแห้งสนิทแล้ว นำเข้าเตาเผาแบบหลุมโดยมีชั้นสำหรับวางภาชนะ (Fire bars) รองรับ วางภาชนะซ้อนทับกันขึ้นมาราว 100 - 200 ใบ เมื่อภาชนะซ้อนกันขึ้นมาจนถึงปากอุโมงค์ค์ของเตาแล้ว เอาเศษภาชนะดินเผาที่แตก ๆ และมีขนาดใหญ่ ๆ ปิดบนภาชนะเหล่านั้นจนเต็ม |
7. สุมไฟตอนล่างของหลุมทางช่องของเตาหรืออุโมงค์ที่ขุดไว้สำหรับสุมไฟ (มีเพียงช่องเดียว) เมื่อไฟลุกจะเผาภาชนะซึ่งวางอยู่บนชั้นข้างบน ควันและความร้อนจะระบายออกทางปากอุโมงค์ เตาหลุมแบบนี้จะให้ความร้อนไม่เกิน 800 - 900 องศาเซลเซียส ภาชนะดินเผาที่ได้จากการเผาด้วยเตาหลุมแบบนี้จึงไม่แกร่งพอมีความพรุน ดูดซึมน้ำได้ดี เวลาจับต้องจะหนึบมือ เนื้อดินยังหลอมติดไม่ค่อยสนิทเพราะอุณหภูมิในขณะที่เผายังต่ำ |
![]() ![]() ![]() สิ่งที่ผลิตในระยะนั้นคือ โอ่งน้ำ อ่าง สวด หม้อข้าว หม้อแกง กระทะ ขัน กรอง (กะชอน) เนียง (คล้ายไห ส่วนปากกว้างกว่า) และกระถาง โดยทำได้วันละ 100 - 150 ใบต่อคน เส้นทางลำเลียงภาชนะดินเผาออกขายในสังคมภายนอกขณะนั้นคือ คลองโต๊ะแน็ง และคลองชุมขลิง โดยใช้เรือใบบรรทุกมาส่งที่ท่าแพและท่าโพธิ์ อันอยู่ในบริเวณเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อลำเลียงต่อไปยังปากพนัง เกาะสมุย สิชล ปากนคร และปากพญา เรือใบแต่ละลำบรรทุกภาชนะดินเผาได้ราวเที่ยวละ 1,000 - 2,000 ใบ แต่ละครอบครัวบรรทุกออกไปขายเดือนละ 1 เที่ยว ราคาขายในระยะนั้น อย่างหม้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ขายราคาร้อยละ 3 บาทถึงปี พ.ศ.2541 ราคาใบละประมาณ 50 - 100 บาท |
ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 3. กรุงเทพฯ. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย,
ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542, 6 หน้า. |