www.tungsong.com
ทิศทางการพัฒนาอำเภอ
2.1 สรุปวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ.2545-2459)
        จากการจัดประชาคมเวทีชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสิชล จำนวน 9 ตำบล 101 หมู่บ้าน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่และประชากรในอำเภอสิชลอย่างทั่วถึง ได้เกิดเป็นข้อมูลเบื้องต้นสามารถสรุปและประกาศร่างวิสัยทัศน์สิชล ว่า" เมืองสิชล คนมีคุณภาพชีวิตสดใส่ เศรษฐกิจก้าวไกล สิ่งแวดล้อมยั่งยืน"พร้อมกำหนดเป็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาอำเภอสิชล (พ.ศ.2545-2549) เป็น 7 ยุทธศาสตร์ คือ
        1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
        อำเภอสิชลยังมีปัญหาในด้านการจัดการเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความสงบสุขของประชาชน ซึ่งภาพที่ปรากฎชัดเจน เช่น ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวเป็นผลต่อปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน การขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังในเรื่องการออกกำลังกาย รักษาสุขภาพ ปัญหาขยะมูลฝอยในเขตชุมชน ปัญหาโจรผู้ร้าย ยาเสพติด อบายมุข และอาชญากรรมที่มีข่าวเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ
        เป้าหมาย
        สิชล คนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น สุขภาพสมบูรณ์ ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข
        แนวทางการพัฒนา
        1. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะสนามกีฬา การออกกำลังกาย การป้องกันโรคทุกชนิด
        2. ส่งเสริมให้มีการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ โดยเฉพาะการสนับสนุนการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ รวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
        3. รณรงค์และกำหนดมาตรการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับชุมชน เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงให้ปลอดยาเสพติด อบายมุข สิ่งมอมเมาต่าง ๆ
        4. เสริมสร้างสถาบันครอบครัวและวัฒนธรรมครอบครัวไทย ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการเสริมสร้างเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
        2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้
        อำเภอสิชลเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางทรัพยากร มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีปัญหาด้านการจัดการของประชาชนในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอยคล้องกับท้องถิ่น และการวิจัยเพื่อการพัฒนา
        เป้าหมาย
        สิชลได้ยกระดับและกระจายการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยระดมสรรพกำลังทุกฝ่าย เพื่อจัดการศึกษา รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางการบริหารขอบเขตพื้นที่ และศูนย์กลางทางการจัดการศึกษาด้านจริยธรรม คุณธรรม และศาสนา
        แนวทางการพัฒนา
        1. สนับสนุนให้มีสถานศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาทุกประเภทอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
        2. จัดแหล่งการเรียนรู้สำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง ทั้งห้องสมุด ศูนย์ศึกษาต่าง ๆ เวทีท้องถิ่นและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
        3. ระดมสรรพกำลังทุกฝ่าย เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา ทั้งประชาชน องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนองค์กรส่วนท้องถิ่น
        4. ส่งเสริมให้มีศูนย์ศึกษาด้านจริยธรรม คุณธรรม พร้อมสนับสนุนกิจกรรมทางด้านศาสนา โดยเน้นการพัฒนาเยาวชนให้มีชีวิตแบบไทย ภายใต้หลักธรรมของศาสนา
        5. ปรับปรุงแนวทางการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
        3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศิลปวัฒนธรรม
        อำเภอสิชล มีมรดกทางวัฒนธรรมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตที่ดีงามสืบทอดมายาวนาน ซึ่งถ้าได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จะเป็นอำเภอหนึ่งที่ถือเป็นสูนย์กลางวัฒนธรรมของภาคใต้ได้สภาพปัจจุบันขาดการพัฒนา สืบสานและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของศิลปวัฒนธรรม
        เป้าหมาย
        อำเภอสิชลต้องมีองค์กรระดับอำเภอเชื่อมโยงเครือข่ายกับท้องถิ่น องค์กรหน่วยงาน และสถาบันที่มีหน้าที่โดยตรง เพื่อร่วมพัฒนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมการปลูกจิตสำนักประชาชนให้เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม
        แนวทางการพัฒนา
        1. สร้างจิตสำนึกประชาชนให้เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความภูมิใจในฐานะคนอำเภอสิชล
        2. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมตามประเพณี ที่เป็นกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีของท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการดำเนินการ
        3. สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อรักษาศิลปวัฒนธรรมและจัดการให้เกิดเป็นมูลค่าที่สร้างรายได้แก่ประชาชน
        4. สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและค่านิยมของท้องถิ่นที่ดีงาม
        5. ส่งเสริมการสร้างความรู้แก่ประชาชนให้เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม รู้สึกหวงแหนและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่
        4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
        อำเภอสิชล มีทรัพยากรและพื้นที่ที่หลากหลาย อุดมสมบูรณ์สามารถประกอบอาชีพทั้งเกษตรกรรมการประมง เหมืองแร่ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันอาชีพต่าง ๆ ยังพัฒนาช้า ขาดความมั่งคง ขาดการรวมกลุ่ม และยังไม่ได้จัดการทรัพยากร เพื่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณค่า
        เป้าหมาย
        เศรษฐกิจของอำเภอสิชลเพิ่มพูนด้วยการเพิ่มผล แปรสถาพวัตถุดิบ มีอำนาจต่อรองและคำนึงถึงระบบนิเวศน์ การรักษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
        แนวทางการพัฒนา
       1.ส่งเสริมการพัฒนาผลผลิตของเกษตรกรให้มีการลดต้นทุนการผลิตปลอดสารพิษ และแปรสภาพวัตถุดิบเพื่อเพิ่มมูลค่า
        2. สนับสนุนการพัฒนาตลาดกลางและตลาดนัดให้เป็นตลาดเพื่อเกษตรกรของประชาชนในอำเภอสิชล
        3. สนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ และเป็นการสร้างงานในท้องถิ่น
        4. สนับสนุนการผลิตสินค้าพื้นเมือง เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสิชล และเป็นการเพิ่มรายได้แก่ประชาชน
        5. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ และการดำเนินการด้านการออมทรัพย์ การสหกรณ์
        5. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
        อำเภอสิชล มีพื้นที่ประมาณ 700 ตารางกิโลเมตรเป้นที่รวมของทรัพยากร ทั้งภูเขา ป่าไม้ แร่ธาตุพื้นที่ราบ แม่น้ำลำคลอง ชายทะเล แลสัตว์ต่าง ๆ มากมายปัจจุบันทรัพยากรถูกทำลายไปมาก เกิดปัญหาเสียความสมดุลความขัดแย้งในการจัดการปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตชุมชน ขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประชาชนยังขาดจิตสำนึกสาธารณะ
        เป้าหมาย
        อำเภอสิชลมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และกระบวนการมีการดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล และประชาชนมีสำนึกรับผิดร่วมกัน
        แนวทางการพัฒนา
       1. สนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชน องค์กรท้องถิ่น และองค์กรวิชาการ มีส่วนร่วมในการวางแผนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
        2. มีระบบบำบัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสภาวะแวดล้อม
        3. มีระบบป้องกันมลพิษ สารเคมีต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ มีการกำกับควบคุมอย่างทั่วถึง
        4. สนับสนุนกิจกรรมการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งน้ำ ภูเขา ป่าไม้ การอนุรักษ์สัตว์
        5. รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันสารพิษ และการปฎิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ของชุมชน
        6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
        อำเภอสิชลเป็นแหล่งรวมทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ กิจกรรมทางประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งชายฝั่งทะเล ถ้ำ น้ำตก น้ำพุร้อน วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ และการชมระบบนิเวศน์ต่าง ๆปัจจุบันชุมชนต่าง ๆพยายามที่จะรณรงค์ให้พื้นที่ของตนเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังขาดทิศทางที่เหมาะสมขาดเป้าหมายที่ชัดเจน และขาดการประสานการรวมตัวระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้การดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพ
        เป้าหมาย
        อำเภอสิชลมีปัจจัยอื่น ๆ ด้านการท่องเที่ยวที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มีระบบการประชาสัมพันธ์และการจัดการที่ดี มีศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางตอนเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราชและตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
        แนวทางการพัฒนา
       1. พัฒนาแผนแม่บนการท่องเที่ยวให้เป็นแผนรวมของอำเภอสิชล
        2. พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการคมนาคม สินค้าพื้นเมือง ความปลอดภัย แหล่งบริการ ให้มีความสะอาด
        3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ให้มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ของตน และสามารถเชื่อมประสานกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในอำเภอและต่างอำเภอ
        4. พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นกรณีพิเศษ และสนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวให้ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว เกิดรายได้จากการจัดการท่องเที่ยว
        5. เร่งปลูกจิตสำนึกประชาชน ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยว และให้มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
        7. ยุทธศาสตร์การจัดการประชาคมและกลุ่มพิเศษ
        อำเภอสิชลมีประชากร 80,000 กว่าคน ทุกพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถประกอบอาชีพหล่อเลี้ยงตนและครอบครัวได้อย่างดี จึงส่งผลให้ประชาชนขาดการรวมกลุ่ม ขาดความร่วมมือในการพัฒนา และยังส่งผลให้บางพื้นที่มีสภาพเป็นชุมชนแออัดรวมถึงการมาอาศัยของคนต่างชาติ
        เป้าหมาย
        ประชาชนอำเภอสิชลมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาท้องถิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่มีปัญหาของคนต่างชาติ
        แนวทางการพัฒนา
         1. สนับสนุนการรวมกลุ่มให้มีความหลากหลาย กว้างขวาง เข้มแข็ง โดยมาจากพื้นฐานของประชาชน
        2. ส่งเสริมการพึงพาตนเองของชุมชน ให้มีการกำหนดทิศทางพัฒนาท้องถิ่นของชุมชนต่าง ๆ
        3. ส่งเสริมการจัดการชุมชนแออัดให้ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีการดูแลเกี่ยวกับสุขอนามัยและการดำเนินชีวิต
        4. ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนต่างชาติที่มาอาศัยในพื้นที่ ให้อยู่ในปริมาณที่รัฐกำหนดและอยู่ภายใต้เงื่อนไขของอำเภอที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
        5. สนับสนุนการจัดระบบประชาสัมพันธ์ในชุมชน ให้สามารถประสานเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ