www.tungsong.com
                                            
ผ้ายกประดิษฐ์  ผลิตจักสาน  พื้นบ้านข้าวหลาม  งดงามมหาวิทยลัย  มะนาวไข่พันธุ์ดี
 
สรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายปี 2543
   1.  การดำเนินงานเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ(เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง)
   
อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้นำกลยุทธและแนวทางปฏิบัติไปดำเนินการในพื้นที่อย่างเต็มความสามารถ ทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายค่อนข้างสูง ประชาชนในพื้นที่สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง ดังนี้
           1.1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
   
ได้จัดตั้งและส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของอำเภอจำนวน 25 กลุ่ม เงินจัดตั้งสัจจะสะสม 3,286,650 บาท จำนวนสมาชิก 2,317 คน
           1.2 การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
   
อำเภอได้จัดสรรเงินให้แก่หมู่บ้านตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กระทรวงมหาดไทย หมู่บ้านละ 280,000 บาท จำนวน 8 หมู่ บ้าน เป็นเงินทั้งสิ้น 2,240,000 บาท มีครัวเรือนเป้าหมายยืมเงินไปแล้วจำนวน 28 หมู่บ้าน เป็นเงิน 2,722,000 บาท ครัวเรือนได้ยืมไปแล้ว 495 ครัวเรือน และในปีงบประมาณ 2544 อำเภอได้รับอนุมัติให้ดำเนินการอีกจำนวน 3 หมู่บ้าน ๆ ละ 280,000 บาท เป็นเงิน 840,000 บาท อยู่ในระหว่างดำเนินการ
          1.3 การจัดตั้งลานค้าชุมชน / ร้านค้าชุมชน / ตลาดนัดชุมชน
   
ในพื้นที่ตำบล หมู่บ้านของอำเภอโดยอำเภอเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนเปิดลานค้า / ตลาดนัดชุมชน จำนวน 13 แห่ง ทำให้กลุ่มอาชีพและเกษตรกรได้จำหน่ายสินค้า และซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันตลอดเวลา มีรายได้เพิ่มขึ้น
          1.4 สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
                 1.4.1  กลุ่มอาชีพจักสานไม้ไผ่ 2 หมู่บ้าน สมาชิก 71 คน มีเงินทุนของกลุ่ม ๆ ละ 30,000 บาท สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มคนละ 3,000 บาท / คน / เดือน
                 1.4.2  กลุ่มอาชีพทำขนม จำนวน 5 หมู่บ้าน สมาชิก 76 คน มีเงินทุนของกลุ่มจำนวน 56,000 บาท สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น 2,500 บาท / คน / เดือน
                 1.4.3  กลุ่มตีเหล็ก มีสมาชิก 5 คน มีรายได้เดือนละ 2,000 บาท /คน /เดือน
                 1.4.4  กลุ่มตีเหล็กสหกรณ์ช้างซ้าย มีสมาชิก 58 คน ดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ อาทิ การขยายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการผลิตของกลุ่ม
                 1.4.5   จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน (กพสม.) หมู่บ้านละ 15 คน รวม 35 หมู่บ้านสมาชิก 525 คน
                 1.4.6  จัดตั้งและสัมมนาคณะพัฒนาสตรีระดับตำบล (กพสต.) จำนวน 4 คณะ คณะกรรมการจำนวน 70 คน
                 1.4.7  จัดตั้งและสัมนาคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับอำเภอ (กพสอ.) 1 คณะ จำนวน 16 คน และจัดงานเป็นกองทุนสตรี 1 กองทุน เป็นเงิน 39,149 บาท
          1.5 การจัดเวทีประชาคม
   
อำเภอพระพรหมประสบผลสำเร็จค่อนข้างสูงสำหรับกิจกรรมเวทีประชาคมในชุมชน ที่ประชาชนได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแก้ปัญหาของชุมชน ในลักษณะพหุพาคี ซึ่งมีประชาคมทุกหมู่บ้าน และทุกตำบลของอำเภอและประชาคมอำเภอ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่หให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมสูงมาก อำเภอเป็นเพียง หน่วยที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดเวทีชาวบ้านหรือประชาคมเท่านั้น
   
กิจกรรมที่อำเภอได้รับความสำเร็จจากการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ตำบล และ อำเภอ ได้แก่
                 1.5.1 การจัดทำแผนพัฒนาอำเภแ 5 ปี (พ.ศ.2545 - 2549 ) ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน ตำบลได้มีการจัดเวทีประชาคมอย่างจริงจัง ไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง เพื่อร่วมกันจัดทำแผนความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล แม้กระทั่งในระดับอำเภแเองก็ตาม จนการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอสำเร็จตามเป้าหมายบนพื้นฐานความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
                 1.5.2  การจัดทำแผนพัฒนาอำเภแ 5 ปี (พ.ศ.2545 - 2549 ) ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน ตำบลได้มีการจัดเวทีประชาคมอย่างจริงจัง ไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง เพื่อร่วมกันจัดทำแผนความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล แม้กระทั่งในระดับอำเภแเองก็ตาม จนการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอสำเร็จตามเป้าหมายบนพื้นฐานความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
                 1.5.3  การดำเนินกิจกรรมผลิตปุ๋ยหมัก ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเริ่มจากความร่วมมือของประชาคมหมู่บ้านแต่ละแห่ง สามารถขยายผลได้ไปทุกหมู่บ้านของอำเภอพระพรหม และอำเภออื่น ๆ
                 1.5.4  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้การดำเนินการของประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งได้มีการจัดตั้งองค์กรประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 35 หมู่บ้าน ที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด และกำลังขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ต่อไป
                 1.5.6  การรณรงค์ตามโครงการชูธงเพื่อประชาธิปไตย โดยเวทีประชาคมหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวน 35 หมู่บ้าน สามารถขยายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ได้อย่างทั่วถึง
          1.6 การรณรงค์การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต
   
เป็นโครงการหนึ่งภายใต้การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดเป็นนโยบายเน้นหลักลำดับแรก อำเภอ พระพรหมได้สนองนโยบายดังกล่าง โดยเป็นอำเภอที่ดำเนินการโครงการนี้เป็นอำเภอนำร่องมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโครงการสนองพระราชดำริ เศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี ซึ่งอำเภอเริ่มดำเนินการโครงการนี้ที่หมู่ที่ 7 ตำบลท้ายสำเภา หลังจากได้เริ่มที่จุดแรกแล้ว อำเภอประสบความสำเร็จสูงมากเพราะมีการขยายกลุ่มผลิตปุ๋ย หมักไปยังบริเวณใกล้เคียง และขยายไปจนครอบคลุมทั่วทั้งอำเภอ ปัจจุบันมีกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก 299 กลุ่ม ผลิตได้จำนวน 577 ตัน ซึ่งในภาพรวมผลผลิตของจังหวัด เมื่ออำเภอต่าง ๆ รวมกัน ยังได้ผลผลิตไม่เท่ากับผลผลิตที่ได้จากอำเภอพระพรหมเพียงอำเภอเดียว ทำให้โครงการดังกล่าว ประสบผลสำเร็จสูงมาก ราษฎรจำนวนมากในพื้นที่มีรายยได้เพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมัก เป็นอาชีพเสริมอีกทางหนึ่ง นอกจากจะนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรแล้ว
   
อนึ่ง สำหรับข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของอำเภอ ที่ตกเกณฑ์จำนวน 14 ตัวชี้วัด ได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ อบต. ได้กำหนด แผนวางโครงการแก้ไขปัญหา ทุกตัวชี้วัด รวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกหมู่บ้านทราบและเข้าใจที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์สูง เช่น ข้อ 29 ครวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าคนละ 20,000 บาท/คน/ปี อำเภอพระพรหม มีครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ 3,870 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 51.3 (เกณฑ์ จปฐ.ร้อยละ 70) ได้มอบหมายให้พัฒนาการ อำเภอ/เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ และ สหกรณ์อำเภอ รวมถึง อบต. ทุกแห่ง ได้ร่วมกันวางโครงการส่งเสริมอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย โดยการทำปุ๋ยหมัก จัดตั้งร้านค้า ลานค้าชุมชน จัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อการ ผลิต,การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์, ฯลฯ


กลับสู่หน้าแรก