
|
|
นครศรีธรรมราช จากกิ่งก้านประวัติศาสตร์
|

|
นครศรีธรรมราช จังหวัดใหญ่ทางภาคใต้
อายุโบราณรู้จักกันกว้างขวางในหมู่พ่อค้านักเดินเรือและการศาสนาวาณิชในฐานะเมืองที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม การปกครอง และศาสนาในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาไม่น้อยกว่า
๑,๘๐๐ ปี
มาแล้วดินแดนนี้เคยถูกกล่าวถึงไว้ในถ้อยคำตอนหนึ่งของพระมหานาคเสนที่ยกมาเป็นข้ออุปมาถวายพระเจ้ามิลินทร์ ในคัมภีร์มิลินทปัญหาเมื่อราว พ.ศ.๔๐๐
|
|
|
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่เคยถูกเรียกไว้ว่า ตามพรลิงค์ (Tambralinga) สลักไว้เป็นภาษาสันตกฤตประกฎพบในศิลาจารึกที่ ๒๔ ที่วัดหัวเวียง
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ.๑๗๗๓ นอกจากนี้นครศรธรรมราชเป็นดินแดนที่มาร์โค โปโล นักเดินทางค้นหาฝั่งผู้ยิ่งใหญ่ผู้นั้นได้เคยผ่านมาและเรียกไว้ว่า
โลแค็กหรือโลกัก (Locae, Lochae) ระหว่างเดินทางจากจีนกลับบ้านเกิดเมืองนอนใน
พ.ศ.๑๘๓๕ และทราบหรือไม่ว่าการผ่านพ้นของยุคสมัยและศัพท์สำเนียงของชนชาติต่าง ๆ
ทำให้มีชื่อเรียกนครศรีธรรมราชอีกหลายชื่อ ที่ผ่านมา อาทิ ตามพรลิงค์ ตั้งมาหลิ่ง
สิริธรรมนคร ลิกอร์ เป็นต้น
|
|
ความยิ่งใหญ่ของนครศรีธรรมราชในประวัติศาสตร์ แม้นไม่อาจ
มองเห็นด้วยตาจากปัจจุบัน แต่ก็พอเลาะเลียบจากข้อมูลต่าง ๆ ได้ว่า ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการตั้งชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์
จากผืนป่าและเขาหลวงอันเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาคใต้กอรปทั้งมีชายฝั่งทะเลที่เปิดรับความอุดมสมบูรณ์
|

|
|
จากท้องทะเลมีทำเลที่ดีในการจอดเทียบเรือสินค้า
ตลอดจนสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีมาได้อย่างต่อเนื่องทำให้การเดินทางของนครศรีธรรมราช
ยังคงเป็นพลวัตที่ต่อเนื่อง มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมจวบจนปัจจุบัน
|
|
ที่นี่เมืองคอน
|

|
จังหวัดนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์
พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสมกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์
ครบสิ้นกุ้งปู ตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนกลางมีพื้นที่
๙,๙๔๒ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น ๒๒ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ
ระยะทางจากกรุงเทพมหานครโดยรถยนต์ ๘๖๐ กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดอ่าวไทย
มีชายฝั่งทะเลยาว ๒๒๕ กิโลเมตร มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำปากพนัง
มีต้นน้ำจากเทือกเขาบรรทัด ที่ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวนคร มีลำน้ำสาขา ๑๑๙ สาย
รวมความยาวกว่า ๗๐๐ กิโลเมตร
ซึ่งการไหลผ่านผืนดินของลำน้ำเหล่านี้ก่อให้เกิดพื้นที่ตะกอนลำ (Flood
plain) เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่เรียกกันว่า ลุ่มน้ำปากพนัง
สถานที่ท่องเที่ยวและเทศกาลที่เป็นที่นิยมได้แก่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
หาดขนอม แหลมตะลุมพุก อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
ประเพณีชักพระหรือลากพระ เป็นต้น
|
|
อักษรสำคัญ
เล่าภาพความยิ่งใหญ่
|

|
ภาพของความเจริญและความมั่งคั่งของลุ่มน้ำปากพนังในอดีตที่คนรุ่นปัจจุบันมองไม่เห็นได้ด้วยตาแต่สามารถมองเห็นด้วยจินตนาการผ่านตัวอักษรประวัติศาสตร์อายุเกือบ
๒๐๐ ปี ที่เป้นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเสด็จฯประพาสปากพนัง เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๘
ที่ได้คัดความมาบางส่วนดังนี้
|
|
|
|
เมื่อวันที่ ๘
เวลาเช้าสามโมงได้ลงเรือมาดไปปากพนัง ซึ่งอยู่ท้ายอ่าวแหลมตะลุมพุก ใช้เวลา ๓
ชั่วโมง หย่อนถึงปากพนัง แม่น้ำสักโตรางแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ... บ้านเรือนทั้งสองฟากแน่นหนาเพราะมีพลเมืองถึง
๔๖,๐๐๐ เศษ มีจีนมาก...ได้ขึ้นลำน้ำหลายเลี้ยวจนถึงโรงสีไฟจีนโก๊ะหักหงี ซึ่งตั้งใหม่...อำเภอปากพนังนี้
แต่เมื่อไปถึงที่ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมากไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งคั่งถึงเพียงนี้...บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูตะวันออก
เห็นจะไม่มีแห่งใดเท่าปากพนัง
|
โรงสีไฟของโก๊ะหักหงี ปัจจุบันคือ
อาณาบริเวณที่ตั้งประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เป็นสิ่งยืนยันว่าบริเวณนี้พระพุทธเจ้าหลวงเคยเสด็จฯ มาแล้ว
|
|
รู้ไหม อะไร? : รังใหญ่
ไข่ยาว ตามคม ขนมแปลก
|
|
ลุ่มน้ำปากพนังมีเอกลักษณ์สำคัญที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
ว่ามีรังนกนางแอ่นมากตามริมฝั่งน้ำและอ่าวปากพนัง
ในแม่น้ำลำคลองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิด มีไข่ปลาจำนวนมาก
ส่วนผู้หญิงในย่านนี้ว่ากันว่า สวยแบบมองแล้วอาจบาดเจ็บได้เพราะ สวยคม คนในพื้นที่ก็ทำมาค้าขายคล่องมาช้านาน
มีขนมชนิดหนึ่งไม่เหมือนที่อื่น เอาไปใช้ในงานทำบุญประเพณีสารทเดือนสิบ คือ ขนมลา วิถีชีวิตของชุมชน
มีการตั้งบ้านเรือนของชุมชนลักษณะเป็นกลุ่มบ้านหนาแน่นแถบสองฟากฝั่งคลอง มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทำนาเป็นอาชีพหลักและออกหาปลาในคลอง ตกกุ้งแม่น้ำ
(กุ้งแม่น้ำที่นี่เนื้อนิ่มตัวใหญ่อร่อยลิ้น) และผักพื้นบ้าน มาบริโภค
และเหลือจึงขาย
|
|
ตรรกะแห่งการอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์
|
|
|
ชุมชนและสังคมจะดำรงอยู่ได้ถึงเมื่อไหร่? ส่วนหนึ่งคงมาจาก วัฏจักรธรรมชาติที่มอบสภาพความสมบูรณ์กลมกลืน ของทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อมไว้ให้ตามกฎอายุขัย
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือทางที่คนในสังคมเลือกวิธีในการดำเนินชีวิตว่าจะอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติอย่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน
หรือผลาญธรรมชาติไปเรื่อย ๆ จนหมดตัว
|
|
ลุ่มน้ำปากพนังก็ประสบกับปัญหาที่ว่านี้ด้วยทางที่วิ่งสวนกันของจำนวนประชากรและทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ต้นน้ำลดลงอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับไว้
และทยอยปล่อยลงในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาในช่วงฤดูแล้งลดลงจากเดิม
ที่เคยมีน้ำจืดใช้ปีละ ๙ เดือน เหลือเพียง ๓ เดือน ส่งผลให้มีน้ำเค็ม
รุกตัวไปในลำน้ำ พื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย และพรุควนเคร็งเกิดดินที่เป็นกรดสูง
มีน้ำเปรี้ยวลงสู่ลำน้ำ (น้ำ ๓ รส จืด เค็ม เปรี้ยว) นำไปสู่ประเด็นของความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรในท้องถิ่น
ผู้คนเริ่มไร้สุข
|
|
เคยได้ยินไหม?:ปากพนัง
เมืองสนุก แหลมตะลมพุก กำลังจะเป็นวัง
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงรับทราบปัญหาที่ราษฎรลุ่มน้ำปากพนังประสบอยู่ด้วยความห่วงใย
จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังหลายครั้ง ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๒๑ เรื่อยมาเป็นลำดับ
ทั้งในด้านการวางระบบชลประทานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาอาชีพของราษฎรควบคู่กันไปโดยมีชื่อเรียกการพัฒนานี้ว่า
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
|
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เป็นรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน
บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างคนและระบบนิเวศน์อย่างเหมาะสม
มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้นประมาณ ๑,๙๓๗,๕๐๐ ไร่
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเก็บกักน้ำจืดป้องกันน้ำเค็มจากทะเลที่จะไหลเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง
เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยมีการแบ่งพื้นที่น้ำจืด น้ำเค็ม อย่างชัดเจน
เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรนากุ้งและราษฎรนาข้าว
ส่งเสริมพัฒนาอาชีพราษฎรรวมทั้งฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของลุ่มน้ำปากพนังให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
โดยได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗
มีองค์ประกอบหลักของการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
|
|
·
ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เป็นนามพระราชทาน มีความหมายถึง แบ่งแยกน้ำจืดน้ำเค็มได้สำเร็จ
|
·
ระบบระบายน้ำหลัก
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
|
·
คันแบ่งน้ำจืด น้ำเค็ม
เพื่อแบ่งเขตการประกอบอาชีพ ระยะทาง ๙๑.๕ กิโลเมตร
|
·
ระบบชลประทานเพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม ๕๒๑,๐๐๐
ไร่
|
·
การพัฒนาประมง ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรับปรุงพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
|
·
การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมรายได้ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
|
·
การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
|
|
หากว่าปัจจุบันเป็นตัวกำหนดอนาคต จากสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่
ชีวิตสองฟากฝั่งปากพนังวันนี้ กำลังมุ่งสู่อนาคตด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ภาพของพลังพัฒนาจากภาครัฐและประชาชนที่ปรากฏเด่นอยู่ ณ
ปัจจุบันก็ฉายสะท้อนให้เรามองเห็นเค้าโครงความสำเร็จในอนาคต
เป็นภาพของความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในทำเลแห่งความสุข
ณ ลุ่มน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำแห่งการพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขจาก พ่อผู้ให้ พ่อแห่งแผ่นดิน
|
|
ที่มา : วารสาร
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ เดือนเมษายน
มิถุนายน ๒๕๔๖
|
|
|