www.tungsong.com


ผลการดำเนินการตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
          การดำเนินการตามนโยบายเน้นหนัก 8 เร่งรัด พัฒนาเมืองนครศรีธรรมราช
1. เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          กิ่งอำเภอนบพิตำได้ให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน ฯ ตามคำสั่งกิ่งอำเภอนบพิตำที่ 193 / 2541 เพื่อดำเนินการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องที่ให้พออยู่พอกินและพึ่งตนเองได้ โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
          1.1 กิจกรรมการเกษตรกรรมผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ได้ทำการส่งเสริมให้แก่เกษตรกรได้มีความรู้และดำเนินการตามนโยบายจนประสบผลแล้วในพื้นที่ ตำบลกะหรอ จำนวน 5 ราย คือ หมู่ที่ 3 จำนวน 4 ราย หมู่ที่ 1 จำนวน 1 ราย
          1.2 กิจกรรมการจัดลานค้าชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดลานค้าชุมชน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงดำเนินการจำนวน 5 แห่ง คือ
                    1.2.1 บ้านตลาดจันทร์ หมู่ที่ 2 ตำบลกะหรอ
                    1.2.2 บ้านในตูล หมู่ที่ 4 ตำบลนาเหรง
                    1.2.3 บ้านโรงเหล็ก หมุ่ที 1 ตำบลนบพิตำ
                    1.2.3 บ้านเปียน หมู่ที่ 4 ตำบลกรุงชิง
                    1.2.4 บ้านห้วยพาน (ร้านค้าริมทาง) หมุ่ที่ 2 ตำบลกรุงชิง
          1.3 กิจกรรมการสร้างเครือข่ายร้านค้าชุมชน ได้ดำเนินการส่งเสริมจัดตั้งร้านค้าชุมชนจำนวน 2 แห่ง คือ บ้านเปียน หมู่ที่ 4 ตำบลกรุงชิง และหมู่ที่ 1 ตำบลกะหรอ
          1.4 กิจกรรมพัฒนากลุ่มอาชีพ ได้ดำเนินการส่งเสริมนโยบายการจัดตั้งและการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้
                    1.4.1 จัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 กลุ่ม มีสมาชิก 363 ครัว
                    1.4.2 รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลนบพิตำ จำนวน 24 ราย
                    1.4.3 ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มปลูกผัก หมู่ที่ 5 ตำบลกรุงชิง
          1.5 รวมกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน ได้ส่งเสริมให้มีการออมทรัพย์ขึ้นในชุมชน ซึ่งปรากฎว่ามีการรวมกลุ่มออมทรัพย์หลายประเภท ดังนี้
                    1.5.1 กลุ่มจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ จำนวน 5 สหกรณ์ จำนวนเงิน 3,822,205 บาท
                    1.5.2 จัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน จำนวน 14 ธนาคาร สมาชิก 2,041 ครัว ทุนสำรอง
383,615 บาท
                       ตำบลนาเหรง 4 ธนาคาร สมาชิก 345 ครัว เงินทุนสำรอง 383,615 บาท
                       ตำบลกะหรอ 3 ธนาคาร สมาชิก 353 ครัว เงินทุนสำรอง 378,000 บาท
                       ตำบลนบพิตำ 3 ธนาคาร สมาชิก 352 ครัว เงินทุนสำรอง 245,300 บาท
                       ตำบลกรุงชิง 4 ธนาคาร สมาชิก 991 ครัว เงินทุนสำรอง 2,017,920 บาท
                    1.5.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 8 กลุ่ม สมาชิก 1,476 เงินสัจจะสะสม 7,834,050 บาท
          1.6 การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้ดำเนินการดังนี้
                    1.6.1 ก่อสร้างฝาย หมู่ที่ 7 ตำบลกะหรอ จำนวน 1 แห่ง
                    1.6.2 ขุดลอกหน้าฝาย หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ (ไม่ใช้งบประมาณทางราชการ) จำนวน 1 แห่ง
                    1.6.3 ขุดสระน้ำตามโครงการ น้ำ + ใจ ในพื้นที่ตำบลกระหรอ และตำบลนาเหรง จำนวน 20 สระ
          1.7 กิจกรรมประชาคม ได้ดำเนินการจัดตั้งและการดำเนินกิจกรรมประชาคม โดยมีการจัดตั้งประชาคมระดับหมู่บ้าน จำนวน 30 หมู่บ้าน ประชาคมระดับตำบล จำนวน 4 ตำบล และประชาคมระดับกิ่งอำเภอขึ้น มีการดำเนินกิจกรรมเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับตำบล โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้ง ซึ่งผลงานที่สำคัญของประชาคม ในทุกระดับคือการร่วมวิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่แล้วนำมาจัดแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ. 2545 - 2549) และแผนพัฒนาอำเภอประจำปี 2545 ทำให้แผนฯ ที่ได้มีความสมบูรณ์และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
          1.8 กิจกรรมศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการเกษตร ได้ดำเนินการเกษตร ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ถ่านทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร จำนวน 4 ศูนย์ ประกอบด้วย
                    - ตำบลนบพิตำ จำนวน 1 ศูนย์
                    - ตำบลนาเหรง จำนวน 1 ศูนย์
                    - ตำบลกะหรอ จำนวน 1 ศูนย์
                    - ตำบลกรุงชิง จำนวน 1 ศูนย์
2. การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
          กิ่งอำเภอนบพิตำได้ผนึกกำลัง และความร่วมมือในการดำเนินการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผรส. สรบ. และได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจตู้แดงโดย ใช้สายตรวจรกจักรยานยนต์ออกตรวจในทุกชั่วโมง การจัดชุดสายตรวจตำบล ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผรส. สรบ. ออกตรวจในพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม ทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่กิ่งอำเภอนบพิตำ มีจำนวนน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีความผิดประเภทคดีอุกฉกรรจ์ และสะเทือนขวัญมีจำนวนลดลง ดังจะเห็นได้จากสถานภาพอาชญากรรมเปรียบเทียบ 2541/2542/2543

สถิติสถานภาพอาชญากรรม
  ประเภทความผิด ม.ค. - พ.ย. 41 ม.ค. - พ.ย. 42 ม.ค. - พ.ย. 43
รับแจ้ง จับ รับแจ้ง จับ รับแจ้ง จับ
คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ 5 5 1 1 - -
คดีชีวิตร่างกายและเพศ 13 10 17 10 13 8
คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน 16 10 16 6 25 15
คดีที่น่าสนใจ 1 - - - 10 7
คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย 97 169 108 166 110 214
รวม 132   142   158  

3. การแก้ปัญหายาเสพติด
          ปัจจุบันปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กิ่งอำเภอนบพิตำ ได้ดำเนินการตามแนวคิด ราษฎร์ - รัฐ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด โดยได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐ ทุกส่วนราชการ และภาคเอกชนทุกฝ่าย และกิ่งอำเภนบพิตำได้แต่งตั้งคณะ ทำงานรณรงค์ป้องกันและต่อต้านยาเสพติดระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน โดยให้คณะทำงานระดับไดร่วมมือกันประสานการปฏิบัติ ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดทุก รูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจังจนกระทั่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในพื้นที่กิ่งอำเภอนบพิตำได้ลดลงตามลำดับ แต่ยังไม่อาจหมดไปได้เนื่องจากเกือบทุกหมู่บ้านมีพืชกระท่อม และยังมีผู้เสพยาเสพติดอยู่บ้างเล็กน้อย

4. เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
          กิ่งอำเภอนบพิตำ มีสถานที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หลายแห่งด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกิ่งอำเภอนบพิตำได้มีคณะทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
          - คณะกรรมการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวกิ่งอำเภอนบพิตำ ตามคำสั่งที่ 64/2540
          - คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวกลุ่มกรุงชิง - คลองกลาย ตามคำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ 3970/2541
          - คณะทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกิ่งอำเภอนบพิตำ ตามคำสั่งที่ 25/2542
          คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรประชาชนในพื้นที่ ได้จัดทำแผนและดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของกิ่งอำเภอนบพิตำ ดังนี้
          การเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
          - สร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หมู่ที่ 2 ตำบลกรุงชิง
          - ปรับปรุงถนนสายบ่อน้ำร้อน - หินดาน, สายน้ำตกกรุงนาง, สายคลองผด - อุทยานเขานัน
          - ก่อสร้างถนน คลส. เข้าแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกรุงชิง
          - ทำป้ายบอกทางเพิ่มเติม
          - จัดตั้งร้านค้าริมทาง
          - สร้างห้องน้ำสาธารณะ บริเวณหินดาน
          - ปรับปรุงตกแต่งจุดชมหมอก
          - ฝึกอบรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
          - รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านที่ดี
          การประชาสัมพันธ์
          - จัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวประจำปี ของกิ่งอำเภอเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ
          - ประสานงานกับภาดเอกชนเพื่อร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
          - จัดทำแผ่นพับ ใบปลิว
          การักษาความปลอดภัย
          - สร้างจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ ในการทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี
          - ประสานการดำเนินการระหว่างฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการให้ข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย
การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามระบอบประชาธิปไตย
          ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นทุกคนต้องศึกษาให้เข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องที่ทราบ ซึ่งกิ่งอำเภอนบพิตำได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ดังนี้
          - จัดอบรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับกฏหมายรัฐธรรมนูญ และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
          - ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทุกระดับได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
          - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ของทางราชการให้ประชาชนทราบ
          - ส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          - ปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิด 28 คดี จับผู้ต้องหาได้ 3 คดี
          - ได้ดำเนินการตามโครงการตำบล สะอาด โดยการประสานความ ร่วมมือระหว่างส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรประชาชนในพื้นที่ในการร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่ น่าอาศัย และในเบื้องต้นได้กำหนดตำบลนบพิตำเป็นตำบลนำร่อง
          - ดำเนินการปลูกป่าตามโครงการพระราชเสาวณีย์ และตามนโยบาย 4 ป่า โดยได้มีการปลูกป่าในสถานที่ราชการไปแล้วจำนวนต้น บริเวณ 2 ข้างถนน จำนวน ต้น บริเวณที่รกร้างว่างเปล่า จำนวน ต้น
          - ดำเนินการฝึกอบรมอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 รุ่ม 120 คน เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ได้รู้จักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
ผลการดำเนินงานตามนโยบายทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราช
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
     1.1 การส่งเสริมอาชีพและรายได้ โดยส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานและการเกษตรแบบยั่งยืนแก่ประชาชน ส่งเสริมและสาธิต การจัดทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต
     1.2 จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ ศูนย์ข้อมูล สถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
     1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการออมทรัพย์ของชุมชนโดยกระตุ้นให้ชุมชนมีการออมทรัพย์ในหลายรูปแบบและการนำเงินที่ออมไปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้
2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
     2.1 การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการ
          - พัฒนาบุคลากรให้ทำงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ในแต่ละแผนกบุคลากรสามารถทำงานทดแทนกันได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน
          - จัดแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการด้วยกันและประชาชน
          - ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของข้าราชการโดยให้ข้าราชการออกเพื่อที่ร่วมกันในหลายส่วนราชการ
     2.2 พัฒนาศักยภาพของคน
          - จัดการแข่งขันกีฬาประชาชน กีฬานักเรียน
          - อบรมอาชีพเสริมแก่กลุ่มอาชีพ องค์กรประชาชนต่าง ๆ จำนวน 10 กลุ่ม
     2.3 เสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
          ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย จัดกิจกรรมแห่เทียนพรรษา จัดกิจกรรมแห่หมรับเนื่องในเทศกาลเดือนสิบ
     2.4 การพัฒนาสุขภาพและพลานามัย
          - การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การจัดระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานองค์กร ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชน จะใช้ข้อมูลจากการ สำรวจสภาวะด้านสุขภาพของประชาชนกับข้อมูลจากการประเมินการพัฒนาสาธารณสุขของกิ่งอำเภอมาเพื่อประมวลผลสภาวะสุขภาพของประชาชน การจัดระบบฐานข้อมูลจะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำระบบฐานข้อมูลในงานต่าง ๆ เช่น โปรแกรมฐานข้อมูลในงานต่างๆ เช่น โปรแกรมฐานข้อมูลประกันสุขภาพ นำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพมาใช้ในส่วนของการพัฒนาคุณภาพองค์การ
          - การเร่งรัดการจัดบริการด้านสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรค ดำเนินการโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยใช้กิจกรรมสาธารณสุขมูลฐานเป็น กิจกรรมหลัก ในส่วนงานบริ สถานบริการเปิดให้บริการประชาชนนอกเวลาราชการจำนวน 3 แห่ง จากจำนวน 6 แห่ง และจะเร่งรัดการประกันสุขภาพทั้งในรูปแบบรัฐสวัสดิการ การประกันสุขภาพทั้งแบบสมัครใจและแบบกฏหมายบังคับ ให้ครอบ คลุมกลุ่มเป้าหมาย 100 % (ขณะนี้ครอบคลุมประมาณ 80 %) ในส่วนการควบคุมป้องกันโรคจะใช้กิจกรรมสาธารณสุขมูลฐานเป็นกิจกรรมหลักและโครงการที่ดำเนินงานที่สำคัญในปีที่ผ่านมา เช่น โครงการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก เฉลิมพระเกียรติฯ โครงการควบคุมโรคตามฤดูกาลโรคที่เป็นปัญหาใหม่
          - การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน โดยเฉพาะงานป้องกันและงานบำบัดยาเสพติดจะดำเนินการในส่วนป้องกันโดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเยาวชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนโดยเน้นการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนงานบำบัดจะจัดทำร่วมกับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระหว่างอำเภอท่าศาลา - นบพิตำ โดยมีคณะทำงานที่ผ่านการอบรมมาแล้ว
3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
     3.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกลาย
     3.2 ก่อสร้างซ่อมบำรุงทางคมนาคมในหมู่บ้าน
     3.3 พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ก่อสร้างฝาย จำนวน 1 แห่ง
4. ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม
     4.1 ควบคุมตรวจตราแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ซึ่งไม่ปรากฏมีแรงงานต่างด้าวในพื้นที่
     4.2 จัดทำข้อมูลด้านแรงงาน สำรวจข้อมูลผู้ว่างงาน ในทุกหมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวน 92 คน
     4.3 ส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมแก่ผู้ยากจน ผู้สูงอายุ การสำรวจผู้สูงอายุเพื่อรับการช่วยเหลือ การสำรวจให้บัตรสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
5. การพัฒนาการเมืองและการบริหาร
     5.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน โดยส่งเสริมการจัดตั้งประชาคม จนมีการจัดตั้งประชาคมระดับหมู่บ้าน จำนวน 30 หมู่บ้าน ประชาคมระดับตำบล 4 ตำบล และประชาคมระดับกิ่งอำเภอ
     5.2 ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาขอรับบริการ โดยได้ดำเนินการ
          - พัฒนาบุคลากร กระตุ้มส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่ระบบราชการจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม และการกำหนดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้
          * แต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปประจำที่กิ่งอำเภอในเวลาราชการ เพื่อให้บริการประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
          * แต่งตั้งเจ้าหน้าที่อยู่เวร บริการประชาชนในช่วงเวลาพักกลางวัน
          * จัดให้เจ้าหน้าที่อยู่เวร มีการทำงานเสริมกันได้
          - ปรับปรุงสำนักงาน ทั้งภายในและภายนอกสำนักงานให้สะอาดสวยงาม
          - สร้างความเข้าในกับประชาชน
          * จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสารที่ต้องนำมา อัตราค่าธรรมเนียม ในการติดต่อราชการ
          * ติดตั้งตู้แสดงความคิดเห็นของประชาชน
          - พัฒนาระบบงาน พิจารณาทบทวนกระบวนการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ และปรับปรุงให้ดีขึ้น
          * จัดทำหนังสือนัดหมายงานกับประชาชนผู้มาติดต่อ
          * ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โดยให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ได้
          * จัดทำปฏิทิน การออกท้องที่ การประชุม ของสำนักงานที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานคนเดียว
     5.3 จัดอบรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
          สภาพของอุทกภัย ในช่วงวันที่ 19 - 29 พฤศจิกายน 2543 ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน ประกอบกับพื้นที่กิ่งอำเภอนบพิตำมีสภาพส่วนใหญ่ เป็นภูเขามีความสูงชัน ทำให้กระแสน้ำไหลแรงเป็นผลถนนหลายสายถูกตัดขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านห้วยตง หมู่ที่ 7 ตำบลกรุงชิง เส้นทางเข้า - ออกหมู่บ้านถูกตัดขาด ไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้ และนอก จากนั้นน้ำได้ล้นลำคลองมาท่วมขังอยู่ทำให้พื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ต้องอพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัย
          ความเสียหาย
          - ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,750 ครัว 8,869 คน อพยพไปอยู่ที่ปลอดภัย จำนวน 220 ครัว 490 คน
          - พื้นที่และทรัพย์สินทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จำนวน 6,590,130 บาท
          การให้ความช่วยเหลือ
          กิ่งอำเภอได้ทำการสำรวจข้อมูลความเสียหายที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้แล้ว และได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ดังนี้
          - แจกข้าวสาร อาหารแห้งแก่ราษฎรที่ประสพภัย จำนวน 450 ครัวเรือน แจกยารักษาโรค จำนวน 50 ชุด
          - ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมให้สามารถใช้สัญจรไป - มาได้ จำนวน จุด
 
     กลับสู่หน้าหลัก
 
สนับสนุนข้อมูลโดย ที่ว่าการกิ่งอำเภอนบพิตำ