|
อำเภอหัวไทรหากมองในภาพรวมพอที่จะสรุปศักยภาพและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอในอนาคตได้ ดังนี้
1.1 อำเภอหัวไทร เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีโครงการเข้ามาดำเนินการในพื้นที่หลายโครงการ
เช่น โครงการขุดคลองพระราชดำริชะอวด - แพรกเมือง โครงการตามแผนแม่บทจัดระบบน้ำเค็ม เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และ โครงการขุดลอกคลองหัวไทร - คลองหน้าโกฐ เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง อันจะเอื้อต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และ โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้ง การท่องเที่ยวในอนาคต อีกด้วย
1.2 อำเภอหัวไทร มีประชากร จำนวน 70,882 คน ซึ่งราษฎรมีความตื่นตัวในทุก ๆ ด้าน ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เป็นการเอื้อต่อการนำวิทยาการสมัยใหม่ รวมทั้ง เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงรูปแบบการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตมีปริมาณทลคุณภาพดีขึ้น
1.3 เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ เนื่องจาก มีพื้นที่กว้างขวาง และ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก ในแต่ละปีจะมีผลผลิตเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว พืชผัก ไร่นาสวนผสม และ ประมงน้ำจืด เป็นต้น หากมีการปรับปรุงระบบการผลิตและมีระบบชลประทานที่ดี รวมทั้ง มีการจัดระบบพื้นที่หรือจัดทำแผน แม่บทการเกษตรแบบหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการตลาดแล้ว สามารถส่งเสริมการปลูกข้าวที่มีคุณภาพ พืชผัก ไม้ผล และ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ก็จะเอื้อต่อการพัฒนาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และ เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรในอนาคต
1.4 เป็นศูนย์กลางด้านประมงและการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีทำเลที่ตั้งเกื้อหนุน และ เหมาะสมสำหรับการประมงชายฝั่ง มีท่าเทียบเรือ 2 แห่ง สามารถขยายเพิ่มเติมในอนาคตได้ เช่น ท่าเทียบเรือประมงบ้านทุ่งแพรกเมืองและมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งไม่น้อยกว่า 19,000 ไร่ เหมาะสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หากมีการจัดระบบเขตน้ำเค็ม น้ำจืด และ สาธารณูปการที่ดีแล้วสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านประมงและแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกได้
1.5 ความเข้มแข็งของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการรวมตัวตั้งกลุ่มองค์กร สถาบันเกษตรกร และ ประชาคม รวมทั้งมีการกระจายอำนาจจัดตั้งเป็นองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ สามารถรวมพลังพัฒนาอำเภอและผลักดันโครงการสำคัญต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าให้บ้านเมือง และ ชุมชนที่น่าอยู่ รวมทั้ง นำร่องภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างต่อเนื่อง
1.6 มีที่ดินและพื้นที่สาธารณประโยชน์จำนวนหลายแปลงมากพอที่จะเอื้อต่อการขยายตัวและการลงทุนทางเศรษฐกิจ เหมาะสมในการก่อสร้างเป็นสถาบันการศึกษา ท่าเทียบเรือและศูนย์วิจัยต่าง ๆ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ที่สาธารณประโยชน์ทุ่งทับในและที่สาธารณประโยชน์ทุ่งแพรกเมือง เป็นต้น
2. ผลการพัฒนาของอำเภอในช่วงแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีที่ผ่านมา
2.1 ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
- ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
- ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น มีการส่งเสริมด้านงบประมาณจากกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตมีราคาไม่ดี เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้การขยายตัวของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางชลอตัว การประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และ ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เลี้ยงกุ้งมีการเคลื่อนไหวและราคาดีพอสมควร
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่งระหว่างอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านยังไม่สะดวกและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนการก่อสร้างถนนลาดยางเพิ่มขึ้นจำนวนน้อยมาก ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเป้าหมายที่วางไว้ ด้านแหล่งน้ำ มีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่เพียงพอ และครอบคลุมพื้นที่ ระบบประปาชนบทและประปาหมู่บ้านได้รับงบประมาณน้อย ราษฎรส่วนใหญ่ ยังต้องซื้อน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค จำนวนหลายพื้นที่
- ด้านไฟฟ้าและโทรศัพท์ ระบบการผลิตและแรงส่งยังมีกำลังต่ำในหลายพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ ธุรกิจ ขนาดเล็กและขนาดกลาง การขยายเขตไฟฟ้าในครัวเรือน ยังขาดแคลนและไม่ทั่วถึง รวมทั้งการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการประกอบอาชีพด้วย สำหรับโทรศัพท์ที่ผ่านมาได้มีการขยายคู่สายและเลขหมายเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอ ชุมชนหลายแห่งยังมีความต้องการโทรศัพท์ประจำบ้านและโทรศัพท์สาธารณะ ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปด้วยความล่าช้า ประชาชนยังต้องเดินทางเข้ามาใช้ในเขตเมือง
2.2 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ยังมีปัญหาด้านการศึกษาต่อและคุณภาพการศึกษา ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด การพนัน และ การประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนด้านคุณภาพชีวิต การรักษาพยาบาลยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้ง การแพร่ระบาดของยาเสพติดและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการบุกรุกทำลายภูเขายังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ด้านขยะและสิ่งปฏิกูล ยังขาดการจัดระบบและการบริหารจัดการที่ดี สำหรับน้ำเสียในแม่น้ำลำคลอง ยังมีการปล่อยของเสียลงในแม่น้ำ รวมทั้ง ทรัพยากรชายฝั่ง ยังขาดการดูแลที่ถูกวิธี ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง รวมทั้ง มาตรการทางกฎหมายด้วย
3. ปัญหาความต้องการของอำเภอ
3.1 ปัญหาด้านการพัฒนาโครงการพื้นฐาน ได้แก่ น้ำดื่ม น้ำใช้ ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบประปา ถนน สะพาน และ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เป็นต้น
3.2 ปัญหาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ การเพิ่มพูนรายได้ การตลาด ปศุสัตว์ สหกรณ์ การปรับปรุงดิน การเกษตรกรรม การประมง และ การรวมกลุ่มอาชีพ เป็นต้น
3.3 ปัญหาด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ได้แก่ การพัฒนาคน การสาธารณสุข การศึกษา สตรี เด็ก และ เยาวชน คนชราและผู้พิการ การสวัสดิการสังคม การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้ง การแก้ไขปัญหาคนว่างงานและข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
3.4 ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรมและการป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัย เป็นต้น
3.5 ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง การรักษาความสะอาด การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และดิน การแก้ไขปัญหาแหล่งท่องเที่ยวทรุดโทรม การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและประมงชายฝั่ง รวมทั้ง การปลูกป่าชุมชน ปลูกป่าตามโครงการพระราชเสาวนีย์ฯ และการ ผังเมือง เป็นต้น
3.6 ปัญหาด้านการพัฒนาการบริหารและงานบริการ ได้แก่ การก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีด้านการเกษตร การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการประชาชน การพัฒนา ประสิทธิภาพข้าราชการและพนักงานของรัฐและโครงการอำเภอเคลื่อนที่ เป็นต้น
4. ความต้องการของอำเภอ
4.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากเป็นอำเภอใหญ่ มีพื้นที่กว้างขวางและเป็นแหล่งผลิตอาหาร ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและไม่เพียงพอ แยกได้ดังนี้
- ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 17,815 ครัวเรือน มีไฟฟ้า เพียง 12,835 ครัวเรือน ยังต้องการไฟฟ้าใช้อีก 4,980 ครัวเรือน และ ขอขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำและประมงน้ำจืดจำนวน 1,000 ราย รวมทั้งเพิ่มกำลังส่งกระแส ไฟฟ้าเป็นระบบ 3 เฟส ให้มีกำลังเพียงพอเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก - กลาง ทุกตำบล
- ประปา ระบบประปาชนบทและประปาหมู่บ้านที่ก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ กรมอนามัย เร่งรัดพัฒนาชนบท กรมทรัพยากรธรณี และ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ก่อสร้างยังมีจำนวนน้อย และ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จะต้องก่อสร้างเพิ่มขึ้น จำนวน 70 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประปาของเทศบาลตำบลหัวไทรและเขาพังไกรควรมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้เพียงพอต่อจำนวนความต้องการของผู้ใช้น้ำได้
-โทรศัพท์ มีจำนวนเลขหมาย 1,575 เลขหมาย ซึ่งยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องเพิ่มเลขหมายและขยายเขตไปยังตำบลต่าง ๆ ให้ทั่วถึงจำนวนครัวเรือนที่ต้องการใช้โทรศัพท์ประมาณ 1,500 ราย รวมทั้ง เพิ่มจำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณในเขตชุมชน จำนวน 50 ตู้
-การคมนาคม ยังไม่สะดวกและสามารถสัญจรได้ทุกฤดูกาล จำเป็นจะต้องก่อสร้างถนนลาดยาง และ สะพาน คสล. ถนนสายหลักสายรองเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. การก่อสร้างและปรับปรุงถนนลาดยางกรมทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 3 สาย พร้อมติดตั้งสัญญาณไฟจราจร และ ปลูกต้นไม้สองข้างทาง
2. ก่อสร้างถนนลาดยางพร้อมสะพาน คสล.กรมโยธาธิการ จำนวน 25 สาย และ บูรณะทางหลวงชนบท พร้อมขยายไหล่ทางถนนลาดยางกรมโยธาธิการ ที่มีอยู่ จำนวน 4 สาย ให้สามารถสัญจรไปมาได้สะดวกและปลอดภัย
3. ก่อสร้างถนนลาดยางและสะพาน รพช.จำนวน 20 สาย รวม ทั้งปรับปรุงและบูรณะถนนเดิม ซึ่งผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อ และ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตลอดสาย ให้มีมาตรฐานและปลอดภัยครอบคลุมทุกตำบล
4. ปรับปรุงถนนดินลูกรัง ถนนหินคลุก และ ถนน คสล. พร้อมท่อเหลี่ยม คสล. และ ท่อระบายน้ำทุกตำบล หมู่บ้าน ให้สามารถสัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาลและป้องกันน้ำท่วม
-การสื่อสารและคมนาคม เนื่องจากมีไปรษณีย์โทรเลขเพียง 1 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอ ควรจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ตำบลหรือไปรษณีย์สาขาเพิ่มขึ้น จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ไปรษณีย์โทรเลขตำบลเขาพังไกร ไปรษณีย์โทรเลขตำบลแหลม(ท่อทับใน) ไปรษณีย์โทรเลขบางนบ รวมทั้ง สถานีวิทยุเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารรองรับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง และ การท่องเที่ยว
-แหล่งน้ำ ควรขุดลอกคูคลอง ที่ตื้นเขิน และ ขุดลอกคลองส่งน้ำเชื่อมต่อโครงการชลประทานชะอวด - แพรกเมือง ให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ รวมทั้งสระน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม
4.2 ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านการเกษตร ควรมีการปรับปรุงดินและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากที่ดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการผลิต การปลูกข้าวพันธุ์ดีและโครงการ ไร่นาสวนผสม เกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ รวมทั้งการตลาดด้วย
- การประมง ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยแบ่งเขตน้ำจืด - น้ำเค็มให้ชัดเจน การเร่งรัดโครงการก่อสร้างตามแผนแม่บทจัดระบบน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเล การประมงน้ำจืดและการฟื้นฟูทะเลไทย เป็นต้น
- การปศุสัตว์ ควรส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและเพื่อจำหน่ายรวมทั้ง ก่อสร้างสถานีอาหารสัตว์และการบริหารการจัดการเรื่องตลาด
- อุตสาหกรรม ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรขนาดเล็ก - ขนาดกลาง
- ด้านพาณิชย์และการบริการ ให้มีตลาดกลางการเกษตร ท่าเทียบเรือประมงบ้านทุ่งแพรกเมืองที่มาตรฐาน จำนวนผู้ประกอบธุรกิจด้านการค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ สถาบัน และ การรวมกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจการค้าและการบริหาร
- ด้านการท่องเที่ยว ควรปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพร้อมสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่ควรพัฒนา ได้แก่ หาดแพรกเมือง หาดหน้าสตน อ่างเก็บน้ำทุ่งทับ ใน เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าควนทะเลมอง รวมทั้ง แหล่งท่องด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น อุทยาน ประวัติศาสตร์อำเภอพังไกร วัดบ่อโพง วัดควนชะลิก วัดพัทธสีมา เป็นต้น
- การเงินการคลัง ควรจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและสถาบันเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีเงินทุนในการพัฒนาและประกอบอาชีพ
4.3 ด้านสังคม
- การศึกษา ยังไม่เพียงพอและไม่มีมาตรฐาน อัตราส่วนระหว่างครูกับนักศึกษา อยู่ในอัตราส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาและส่งเสริมให้มีอัตราการเรียนต่อเพิ่มขึ้น รวมทั้ง จัดตั้งโรงเรียนมัธยมในรูปแบบพิเศษ คือ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เพื่อผู้ด้อยโอกาสและมีสถาบันการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี เช่น จัดตั้งสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช วิทยาเขตทุ่งทับใน ศูนย์วิจัยการเกษตรและประมง มหาวิชชาลัยพื้นบ้านศรีวิชัย และก่อสร้างสนามกีฬามาตราฐาน เป็นต้น รวมทั้งเสริมสร้างด้านคุณธรรม และ จริยธรรมให้มีจิตสำนึกสาธารณะร่วมกัน
- การสาธารณสุข ยังไม่มาตราฐานและบริการไม่ทั่วถึง ประชาชน ต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและไปเข้ารับการรักษาพยาบาลที่อื่น ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ควรก่อสร้างและพัฒนาโรงพยาบาลหัวไทรให้มีจำนวนเตียงและมาตราฐานการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น รวมทั้งก่อสร้าง และ พัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
- การรักษาความสงบเรียบร้อย ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาด ยากที่จะป้องกันและปราบปราม ควรที่จะมีมาตราการทางกฎหมายและสังคมที่เข้มงวดและผนึกกำลังทุกฝ่ายร่วมแก้ไขปัญหา ควรปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เพียงพอรวมทั้งยกระดับสถานีตำรวจภูธรสาขาตำบลบางนบ ให้มีอำนาจในการสืบสวน สอบสวน และ ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะชุมชนเพิ่มขึ้น
- สวัสดิการสังคม ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง ควรให้มีการรักษาพยาบาลฟรีทุกคน
4.4 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- แหล่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน และน้ำเสีย ควรที่จะมีการขุดลอก แหล่งน้ำธรรมชาติและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม ก่อนปล่อยน้ำจากชุมชนและบ่อกุ้ง
- ป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลายเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าและการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ควรส่งเสริมการปลูกป่าชุมชน การปลูกป่าตามพระราชเสาวนีย์ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ร่วมกันดำเนินการปลูกป่าทดแทนและเข้าร่วมโครงการปลุกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติโครงการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จำนวน 50 ราย พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 700 ไร่ ท้องที่ตำบลแหลม, ควนชะลิก, ทรายขาว,เขาพังไกร, หัวไทร, บางนบ และ ต.บ้านราม
- ดิน ทรัพยากรดินถูกทำลายและได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ควรมีการปรับปรุงดินและแบ่งเขตพื้นที่น้ำจืด - น้ำเค็ม ให้ชัดเจน รวมทั้ง จัดระบบชลประทานให้สัมพันธ์กับโครงการพระราชดำริและหยุดทำลายภูเขาทุกลูก
- สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ทรัพยากรทะเล และทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และฟื้นฟูทะเลไทยเพิ่มสัตว์น้ำจืด รวมทั้งฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และ ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นซัดฝั่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 24 กม.
- การผังเมือง ควรมีการจัดระบบผังเมืองรวมที่ดี และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
|