Tradition of Nakhon Sri Thammarat


       ประเพณีสวดด้าน สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมและความเจริญทางด้านภาษาของชาวนคร

        ความเป็นมา เนื่องในวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ ชาวเมืองนครไปนั่งรอฟังเทศน์ที่ระเบียงที่วัดพระหมาธาตุ ฯ ขณะที่นั่งรอได้คิดว่าควรที่จะทำอะไรก่อนที่พระจะมา จึงเกิดเป็นประเพณี สวดด้าน ที่ได้เรียกว่าสวดด้านเพราะ รอบ ๆ พระระเบียง ทั้ง 4 ด้านขององค์พระบรมธาตุนั้นเป็นที่ประดิษฐ์ของพระพุทธรูปปั้นจำนวน 173 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้เรียกว่า " พระด้าน " เลยเรียกการสวดหนังสือว่า "สวดหนังสือที่พระด้าน " แต่ชาวนครนิยมเรียกว่า "การสวดด้าน "

        วิธีการสวด หนังสือที่นิยมสวดคือหนังสือร้อยกรอง ( ชาวนครเรียกว่า " สวดหนังสือ " ) ประเภทนิทาน ส่วนใหญ่เป็นนิทานพื้นเมือง กวีชาวนครใช้ภาษาพื้นเมืองของชาวนครในการสวด เช่น เรื่องสุบิน, วันคาร, ทนวงศ์, สี่เสาร์, กระต่ายทอง เป็นต้น จะมีการสวดเฉพาะในวิหารคดหรือระเบียงรอบพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน ณ วัดพระธาตุวรหมาวิหารเท่านั้น ผู้ที่สวดจะต้องรู้จักเน้นเสียง เอื้อน เล่นลูกคอ นอกจากนี้ยังมีท่าทางประกอบเช่น โยกตัว

        เนื่องจากการสวดด้านจะสวดทุกด้านของพระระเบียง ดังนั้นผู้สวดแต่ละคนจะต้องแสดงความสามารถในการสวด เพราะหากสวดไม่เก่งผู้ฟังจะไปฟังอีกด้าน

        เป็นที่น่าเสียดายที่ประเพณีการสวดด้านได้สูญหายไปราว 20 มาแล้ว
 

ประเพณีการแต่งงาน                    ให้ทานไฟ