Tradition of Nakhon Sri Thammarat


          ประเพณีลากพระ บางครั้งเรียกว่า " ประเพณีชักพระ " หรือ " ประเพณีแห่พระ " เป็นประเพณีที่ชาวนครสืบทอดกันมาแต่โบราณ ยืนยันได้จากจดหมายเหตุของอีจิง (หงีจิง) ภิกษุชาวจีนซึ่งจาริกผ่านเมืองนครเพื่อไปยังประเทศอินเดีย ตามจดหมายเหตุนี้เรียกเมืองนครว่า " โฮลิง " ก็คือ ตั้งมาหลิ่ง หรือ ตั้งมาหลิ่ง หรือ ตามพรลิงค์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองนคร

          ในจดหมายเหตุได้กล่าวถึงพิธีลากพระไว้ตอนหนึ่งว่า " พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่ออกจากวัด โดยประดิษฐานบนรถ บนถนนจะมีพระสงฆ์และประชาชน มีการตีกลอง และถวายของหอม ดอกไม้ และถิอธงชนิดต่าง ๆ ที่ทอแสงกลางแดด "

          สันนิษฐานว่าประเพณีเกิดในประเทศอินเดียตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมนำเทวรูปมาแห่ ต่อมาชาวพุทธจึงนำเอามาดัดแปลงให้ตรงกับคัมภีร์ทางพุทธศาสนา

          ตามคัมภีร์ของพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปรามเดียถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี เมื่อสิ้นสุดก็เป็นฤดูเข้าพรรษาพอดี จึงทรงตัดสินพระทัยไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์ ด้วยมีพระประสงค์จะแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา

          วันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์มีประสงค์กลับโลกมนุษย์ ได้เสด็จมาถึงประตูนครสังกัสสะเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับวันออกพรรษา ประชาชนเตรียมอาหารเพื่อถวายภัตตาหาร เพื่อเป็นการแสงดถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ ชาวเมืองจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่ไปยังที่ประทับของพระองค์ จึงถือเอาเหตุการณ์นั้นเป็นประเพณีลากพระหรือชักพระ
 

ประเพณีลากพระที่เมืองนคร

          ก่อนถึงวันวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันลากพระ ชาวนครจะเตรียมทำต้ม ส่วนทางวัดจะตีตะโพนทั้งกลางวันกลางคืนเพื่อประโคมก่อนถึงวันลากพระ 7-15 วัน เพื่อเตือนให้ชาวบ้านทราบ ชาวบ้านเรียกการประโคมนี้ว่า "การคุมพระ"

          พระสงฆ์ สามเณร จะช่วยกันทำบุษบกสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรชาวนครเรียกว่า "พระลาก" ก่อนหน้าวันลากพระ 2-3 วัน เรียกบุษบกนี้ว่า "นมพระ" (มากจากคำว่าพนมพระ) ยอดบุษบกเรียกว่า "ยอดนม" ต่างตกแต่งกันอย่างสวยงามเพราะมีการประกวอ บางปีจะมีการประกวดกันที่สนามหน้าเมือง

ประเพณีลากพระของเมืองนครมี 2 รูปแบบคือ

         ลากพระบก วัดส่วนใหญ่ที่อยู่ไกลแม่น้ำจะนิยมลากพระบก เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วแห่ลากไปบนบก

         การสร้างบุษบก ส่วนใหญ่นิยมสร้างร้านม้า บนไม้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สองท่อนรองรับข่างล่างเพื่อลากให้บุษบกไปได้สะดวก ไม้สองท่อนสมมุติเป็นพญานาค ทางด้านหัวและท้ายทำค้ลายหัวแลเท้ายเรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า "เรือพระ"
    1.ส่วนหน้า บางทีแกะสลักเป็นรูปหัวเรือ หัวนาค และมีเชือกขนาดใหญ่พอกำรอบผูกข้างละเส้น เพื่อใช้ลากพระ จะวางบาตรสำหรับรับต้มจากผู้ทำบุญ
    2.กลางลำตัวนาค ทำเป็นร้านสูง 1.50 เมตร สำหรับวางพระพุทธรูป รอบ ๆ นมพระมักประดับด้วยธงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ด้านล่ะ 3 ผืน ใช้ผ้าแพร่ประดับ มีกิ่งไม้ ธงราวธงยืน และเครื่องประดับอื่น ๆ เช่น ยอดต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าว
    3. ด้านหลัง ข้างหลังทำเป็นรูปหางนาค จะมีเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์นั่ง
        ลากพระน้ำ วัดที่อยู่ใกล้แม่น้ำจะแห่พระน้ำ เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนบุษบกในเรือ จะเอาเรือขนาดใหญ่ 2-3 ลำมาเรียงกัน หาไม่มาวางทาบตามขวางเรือ ผูกให้ติดกันแล้วเอากระดานมาวางเรียงกันให้เต็ม การตกแต่งก็จะคล้าย ๆ กับการลากพระบก
 
        
ขบวนลากพระ

        ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวนครจะไปทำบุญอกกพรรษาที่วัด จากนั้นก็จะทำความสะอาดพระลาก และมีพีธีสงฆ์เพท่อสมโภชพระลากในตอนค่ำ มรการเทศเทศเกี่ยวกับการเสด็จสู่ดาวดึงส์กระทั่งเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์

        ในวันแรม 1 เดือน 11 เป็นวันออกพรรษา และเริ่มลากพระเป็นวันแรก ประชาชนเตรียมตักบาตรทั้งคืน ตอนเช้าก็นำอาหารไปใส่บาตรที่จัดเรียงกันตรงหน้าพระลาก ซึ่งชาวนครเรียกว่า " ตักบาตรหน้าล้อ " บางท้องที่เช่นอำเภอปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ จะสร้างศาลาเล็ก ๆ เสาเดียวเพื่อตักบาตร เรียกศาลานี้ว่า " หลาบาตร "

        สถานที่ที่ลากพระส่วนมากจะไม่ไกลจากวัดมากนัก โดยประมาณเอาว่าลกาพระออกจากวัดเมื่อพระฉันเช้าแล้ว กะไปถึงเวลาพระฉันเพล ไม่ไกลจากชุมชนปัจจุบันนี้ชาวนครจะลากพระที่สนามกีฬา สุสานจีน บางส่วนของสนามบินกองทัพภาคที่ 4 ส่วนท้องที่ที่ห่างไกลตัวเมืองจะกำหนดจุดศูนย์รวมของนมพระกันเอง

        การเล่น "ซัดหลุด " หรือสวดโคลนของชาวปากพนัง ในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ชาวปากพนังจะลากเรือพระออกไปทางปากแม่น้ำซึ่งมีโคลน และจะปาโคลนใส่กันอย่างสนุกสนาน บางพื้นที่ร่วมกันจัดงานรื่นเริงที่ศูนย์รวมในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วันรุ่งขึ้นจึงค่อยลากพระกลับ

        ส่วนการลากพระกลับวัด จะลากกลับเมื่อถึงที่หมาย หลังจากถวายภัตตาหารพระสงฆ์และร่วมกันละเล่นกันพอควร

        เมื่อลากพระถึงวัดก็ช่วยกันทำความสะอาด จากนั้นจะแยกย้ายกันกลับบ้าน
 

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน                    ประเพณีสงกรานต์