|
|||
Tradition of Nakhon Sri Thammarat |
![]() |
เป็นประเพณีที่เชื่อกันว่ามีเทพเจ้าเป็นเจ้าของมีอำนาจในการดลบันดาลให้ผู้ปลูกได้ผลผลิตมากหรือน้อย คือ " เจ้าแม่โพสพ " |
ตามตำนานกล่าวว่า ประชาชนไม่ให้ความสำคัญแก่เจ้าแม่โพสพ เพราะหลังจากเจ้าแม่โพสพกำเนิดสัตว์โลกต่างพูดจากันเข้าใจ แต่ชาวบ้านกลับคิดว่าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญที่สุด ดังนั้นนางจึงหนีไปอยู่ที่ถ้ำอันห่างไกล ทำให้นาข้าวของชาวบ้านได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ชาวบ้านจึงทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่าชาวบ้านไม่รู้จักบุญคุณของนาง จากนั้นพระพุทธเจ้าให้มาตุลีแปลงตัวไปเป็นปลาสลาดไปบอกนาง แต่นางได้ฝากเม็ดข้าวเก้าเม็ด และกำชับให้ระลึกถึงนาง นางจะมาเยี่ยมปีล่ะหน และจะต้องมีปลาสลิดเป็นเครื่องเซ่น |
![]() ![]() การมัดเลียงข้าวโดยใช้เชือกที่ฟั่นจากต้นข้าว |
ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงทำขวัญข้าว เพื่อระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพจนถึงทุกวันนี้ |
พิธีทำขวัญข้าว มีขั้นตอนดังนี้
|
การทำขวัญข้าวมี 2 ประเภทคือ การทำขวัญข้าวในนา ทำในขณะที่ยังไม่เก็บเกี่ยว และ การทำข้าวในยุ้งฉาง ทำภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว |
![]() ![]() เลียงข้าวหลังจากเก็บแล้วนำมาผึ่งแดด |
การทำขวัญข้าวในนา มีขั้นตอนดังนี้
|
การทำขวัญข้าวในยุ้งฉาง ในยุ้งฉางของชาวปักษ์ใต้มีกองข้าวที่เรียงกันเป็นระเบียบเรียกว่า " ลอม " ของที่ใช้ในการทำขวัญข้าวมีของที่จำเป็นที่จะใช้เหมือนกับการทำขวัญข้าวในนา เว้นแต่ในบายศรีปากถ้วยจะต้องเพิ่มผลไม้หลาย ๆ ชนิด มีขั้นตอนดังนี้
|
![]() |
ประเพณีการทำนาหว้า แสดงออกถึงความมีน้ำใจต่อกัน ความเข้าใจและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าของที่นากับผู้ที่ไม่มีที่นา ประเพณีการทำนาหว้าทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยน้อยลง |
![]() ชาวนากำลังถอนกล้าจากแปลง |
การทำนาหว้า หรือเรียกอีอย่างว่า นาหวะ ตรงกับภาษามลายูว่า " rawah " หมายถึงการรวมหุ้นทำกิจ โดยฝ่ายหนึ่งลงทุนอีกฝ่ายหนึ่งลงแรง ซึ่งจะมีหลายรูปแบบเช่น การทำนาหว้า การวิดบ่อปลาหว้า และทำไร่จากหว้า (น้ำผึ้งจาก) |
วิธีการทำนาหว้า ใครที่ทีมีที่นามาก ๆ ทำด้วยตนเองไม่หมดหรือมีนาแต่ไม่ทำนา ก็จะให้คนอื่นทำ โดยตกลงตามเงื่อนไข ส่วนใหญ่จะตกลงกันด้วยปากไม่มีการบันทึกหลักฐาน เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็นำส่วนข้าวที่ตกลงกันไว้ไปให้เจ้าของ |
![]() ![]() การเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ |
สภาพสังคมและระบบเศษฐกิจการทำนาหว้าก่อให้เกิดประโยชน์ทั่งผู้ที่มั่งมี และผู้ที่อยากจน |
ประเพณีสงกรานต์ ![]() ![]() ![]() |