จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนกลาง ระหว่างเส้นรุ้งที่ 8 – 10 องศาเหนือ เส้นแวงที่ 99 – 15 – 100 – 05 องศาตะวันออก ระยะห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางรถไฟ 816 กิโลเมตร โดยรถยนต์ 860 กิโลเมตร

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

 

 

ทิศเหนือ

ติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

 

 

 

 

ทิศใต้

ติดจังหวัดตรัง พัทลุง และจังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

ทิศตะวันออก

ติดอ่าวไทย ซึ่งมีฝั่งทะเลยาว 225 กิโลเมตร

 

 

 

 

 

 

ทิศตะวันตก

ติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่

 

 

 

 

 

 

ทิศเหนือ

ติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างไปตามลักษณะของเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามคาบสมุทร เป็นผลให้ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน

บริเวณเทือกเขาตอนกลาง ได้แก่ บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดลงไปถึงตอนใต้สุด บริเวณพื้นที่ของอำเภอที่อยู่ในเขตเทือกเขาตอนกลาง ได้แก่ อำเภอเมือง สิชล ขนอม ท่าศาลา ลานสกา พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์ และอำเภอชะอวด ในเขตเทือกเขาที่มีเขาสูงสุดในจังหวัด คือ เขาหลวง ซึ่งสูงประมาณ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก ได้แก่ บริเวณถัดจากเทือกเขาตอนกลางไปทางทิศตะวันออก ถึงฝั่งทะเลอ่าวไทยอาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 ตอน คือ ตั้งแต่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปทางใต้ เป็นที่ราบที่มีความกว้างจากบริเวณเทือกเขาตอนกลาง ไปถึงชายฝั่งทะเลระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร มีแม่น้ำลำคลองที่มีต้นน้ำเกิดจากบริเวณเทือกเขาตอนกลาง ไหลลงสู่อ่าวไทยหลายสาย นับเป็นที่ราบซึ่งมีค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัด

อีกบริเวณ คือตั้งแต่อำเภอท่าศาลาไปทางเหนือ เป็นบริเวณชายฝั่งแคบๆไม่เกิน 15 กิโลเมตร อำเภอที่อยู่ในบริเวณที่ราบด้านนี้ คือ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร และอำเภอชะอวด

บริเวณที่ราบด้านตะวันตก ได้แก่ บริเวณที่ราบระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาอยู่เป็นแห่งๆ อำเภอที่อยู่ในบริเวณนี้ คือ อำเภอพิปูน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง

 

การแบ่งการปกครอง

 

การบริหารการปกครองในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีหน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งแยกออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้

ก. ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย ส่วนราชการสังกัดส่วนกลางซึ่งจัดตั้งสำนักงานอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 98 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 10 หน่วยงาน สังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ 75 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ 13

ข. ราชการส่วนภูมิภาค

ระดับจังหวัด ประกอบด้วย ส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวน 31 หน่วยงาน ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน และสังกัด กระทรวงทบวงกรมอื่นๆ อีก 24 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ระดับอำเภอ จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 170 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน 24 เทศบาล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 165 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีอำเภอและกิ่งอำเภอดังนี้

 

ตาราง ลักษณะการแบ่งเขตการปกครอง จังหวัด นครศรีธรรมราช

อำเภอ

เนื้อที่
(ต.ร.กม.)

ระยะทางจากอำเภอถึงจังหวัด

จำนวนเทศบาล

จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบล

จำนวนตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนบ้าน

เมือง

13 

16 

108 

70,265 

พรหมคีรี

31 

7,931 

ลานสะกา

40 

10,112 

ฉวาง

10 

10 

78 

18,025 

พิปูน

39 

7,498 

เชียรใหญ่

10 

10 

97 

10,491 

ชะอวด

11 

11 

81 

19,428 

ท่าศาลา

10 

10 

106 

24,019 

ทุ่งสง

12 

13 

108 

37,330 

นาบอน

30 

6,289 

ทุ่งใหญ่

59 

15,797 

ปากพนัง

17 

18 

136 

24,760 

ร่อนพิบูลย์

49 

18,557 

สิชล

101 

19,735 

ขนอม

31 

8,691 

หัวไทร

11 

11 

98 

18,094 

บางขัน

54 

8,279 

ถ้ำพรรณรา

29 

4,516 

จุฬาภรณ์

24 

6,808 

พระพรหม

35 

10,099 

กิ่งอำเภอนบพิตำ

30 

6,667 

กิ่งอำเภอช้างกลาง

31 

7,426 

เฉลิมพระเกียรติ

35 

7,584 

ที่มา : ศาลากลางจังหวัด

 

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช (ณ ราคาตลาด) ในปี 2542 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.5 เป็น 67,779 ล้านบาท โดยด้านภาคธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นภาคที่มีสัดส่วนลดลงมากสุดราวร้อยละ 49.2 เป็น 1,384 ล้านบาท

เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของภาคธนาคาร รองลงมา ได้แก่ ภาคการทำเหมืองแร่ที่ลดลงร้อยละ 23.0 เป็น 6,292 ล้านบาท ภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 17.9 เป็น 18,372 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเพาะปลูกลดลงราวร้อยละ 30 เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 คิดเป็นมูลค่าราว 2,836 ล้านบาท และภาคก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นสูงสุดราวร้อยละ 47.2 เป็น 4,700 ล้านบาท แม้ว่าภาคธนาคาร ประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ตาม ภาคบริการก็ยังคงเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ราวร้อยละ 6.5 คิดเป็นมูลค่า 8,879 ล้านบาท และภาคการไฟฟ้าและการประปามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 7.3

 

เศรษฐกิจโดยรวม

 

แผนภาพ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด นครศรีธรรมราช ปี 2543

ที่มา :

กองบัญชีรายได้ประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

หมายเหตุ :

การประมาณการข้อมูลปี 2543 โดยบริษัทกลุ่มแอดวานซ์ รีเสริช์ จำกัด โดยใช้หลักการคำนวณแบบ Share และ Growth ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ปี 2543 เป็นวิธีการประมาณการและปรับตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

 

สำหรับทิศทางแนวโน้มของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช จะพบว่า ภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงในช่วงปี 2536-2542 ได้แก่ ภาคการผลิตไฟฟ้าและประปา ที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.9 ต่อปี รองลงมา ได้แก่ การคมนาคมขนส่งร้อยละ 11.0 ต่อปี ภาคการทำเหมืองแร่ที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และภาคที่อยู่อาศัยร้อยละ 5.5 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรกรรมซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 27.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมมีการชะลอตัวลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะภาคประมง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.3 ของภาคเกษตรกรรม โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี

ตัวเลขประมาณการของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช (ณ ราคาตลาด) ปี 2543 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่ลดลงร้อยละ 7 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 เป็น 67,844 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาคเกษตรที่มีสัดส่วนมากสุดในผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมีอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ติดลบร้อยละ 18 ในปี 2542 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ในปี 2543 เช่นเดียวกับภาคไฟฟ้า และภาคสาธารณะที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่ติดลบในปี 2542 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 และ 0.08 ตามลำดับ

แผนภาพ : ผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาตลาดปี 1991-2000

ที่มา :

กองบัญชีรายได้ประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

หมายเหตุ :

1. ราคาคงที่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตามปี 2531

 

2. การประมาณการข้อมูลปี 2543 โดยบริษัทกลุ่มแอดวานซ์ รีเสริช์ จำกัด โดยใช้หลักการคำนวณแบบ Share และ Growth ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ปี 2543 เป็นวิธีการประมาณการและปรับตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

รายได้ต่อหัว

 

รายได้ต่อหัวในจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วง 7 ปีผ่านมา (2536-2542) พบว่ามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสะสมร้อยละ 8.1 ต่อปี สำหรับสภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2542 ที่หดตัวลงร้อยละ 6.5 กอปรกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่งผลให้รายได้ต่อหัวของจังหวัดลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.5 เป็น 41,329 บาทต่อคนต่อปี เป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับที่ 11 ของภาคใต้

จากตัวเลขประมาณการของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่มีอัตราขยายตัวราวร้อยละ 0.09 มากกว่าการขยายตัวของจำนวนประชากรที่มีเพียงร้อยละ 0.02 ส่งผลให้รายได้ต่อหัวของจังหวัดนครศรีธรรมราชปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 เป็น 41,358 บาท

 

แผนภาพ รายได้ต่อหัวประเทศไทยเปรียบเทียบรายได้ต่อหัวจังหวัด นครศรีธรรมราช
ปี
2534-2543

 

หมายเหตุ :

การประมาณการข้อมูลปี 2543 โดยบริษัทกลุ่มแอดวานซ์ รีเสริช์ จำกัด โดยใช้หลักการคำนวณแบบ Share และ Growth ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ปี 2543 เป็นวิธีการประมาณการและปรับตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

การขนส่งทางรถไฟ

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเส้นทางรถยนต์ติดต่อกับกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ เช่น สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นอกจากนั้นยังมีรถไฟสายใต้ทุกขบวนผ่านทางทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และมีทางรถไฟแยกจากชุมทางเขาชุมทองในตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีขบวนรถจากกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราชดังนี้

 

รถด่วน จากกรุงเทพฯ ออกเวลา 19.15 น. ถึงนครศรีฯ 10.50 วันรุ่งขึ้น

 

รถเร็ว จากกรุงเทพฯ ออกเวลา 17.35 น. ถึงนครศรีฯ 09.25 วันรุ่งขึ้น

 

รถเร็ว จากนครศรีธรรมราช ออกเวลา 12.20 น. ถึงกรุงเทพฯ 05.05 วันรุ่งขึ้น

 

รถด่วน จากนครศรีธรรมราช ออกเวลา 14.00 น. ถึงกรุงเทพฯ 06.05 วันรุ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีรถไฟชานเมืองไปยังจังหวัดใกล้เคียงระยะสั้นๆ อีก 3 ขบวน

ในขณะนี้ทางสถานีรถไฟจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปิดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าด้วยระบบออนไลน์ คอมพิวเตอร์ เปิดจองในระยะเวลา 60 วัน เปิดรับบริการตั้งแต่เวลา 08.00 ถึง 17.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด และทางสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ได้เปิดบริการรับฝากสัมภาระ ค่าบริการชิ้นละ 10 บาทต่อวัน เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00–16.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด

 

การขนส่งทางรถยนต์

 

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีทางหลวงสายต่างๆ ที่สำคัญหลายทาง ทั้งทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงแผ่นดินภายในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางหลวงแผ่นดินสายประธาน 1 สาย ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน 5 สาย ทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัด 43 สาย ผิวทางคอนกรีตยาวประมาณ 28.338 กม. ผิวทางลูกรังยาวประมาณ 2,037กม. ผิวทางลาดยางยาวประมาณ 1,033.361 กม. ผิวทางลาดยางกำลังก่อสร้าง 175.017 กม. รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,238.863 กม. ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวง

 

การขนส่งทางน้ำ

 

ในสมัยโบราณ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยอาศัยทางน้ำเป็นหลัก ในการขนถ่ายสินค้าต่างประเทศ บริเวณปากแม่น้ำ เช่น ปากพนัง สิชล ท่าศาลา โดยเฉพาะในแม่น้ำปากพนัง เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดอื่นๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีเรือยนต์และเรือเดินสมุทรรับส่งสินค้าอยู่ เช่น เรือบรรทุกน้ำมันส่งคลังน้ำมัน (ของ ปตท.) แต่ได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากการคมนาคมขนส่งทางบกเข้ามามีบทบาทแทน

 

สำหรับท่าเทียบเรือเอกชนที่ใช้ขนถ่ายสินค้า ได้แก่

 

ท่าเรือ บริษัท แร่สัมพันธ์ อ.ขนอม

 

ท่าเรือ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด สินแร่เจริญผล อ.ท่าศาลา

 

ท่าเรือเอกชนที่ใช้ขนถ่ายสินค้าประเภทน้ำมัน ได้แก่ ท่าเรือค้าขายชายฝั่ง

 

การขนส่งทางอากาศ

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ตามมาตรฐานสากล โดยกรมการบินพาณิชย์ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง จำนวน 1,043 ล้านบาท ในเนื้อที่ประมาณ 1,790 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากพูน อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ มีทางวิ่ง 2,100x45 เมตร และได้เปิดใช้บริการแล้วเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 โดยใช้เครื่องบินโบอิ้งบินตรง กรุงเทพฯ – นครศรีธรรมราช ไปกลับใช้เวลา 1 ชม. 10 นาที

 

 

โทรศัพท์

 

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนชุมสายที่เป็นโครงข่ายขององค์การโทรศัพท์และเปิดให้บริการแล้ว 27 แห่ง มีจำนวนหมายเลขโทรศัพท์ทั้งสิ้น 36,312 เลขหมาย เป็นเลขหมายที่มีผู้เช่า 30,166 เลขหมาย คิดเป็นร้อยละ 83 ของจำนวนเลขหมายที่มี ในจำนวนนี้บ้านเป็นประเภทของผู้เช่า ที่เช่าเลขหมายมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 73.6 ของจำนวนเลขหมายที่มีผู้เช่า รองลงมา ได้แก่ ธุรกิจ ส่วนราชการ โทรศัพท์สาธารณะ และใช้ในองค์การโทรศัพท์ฯ ตามลำดับ

 

ตาราง แสดงเลขหมายโทรศัพท์ แยกตามประเภทผู้เช่า
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จังหวัด นครศรีธรรมราช

ปี

จำนวนเลขหมายที่มี
(เลขหมาย)

จำนวนเลขหมายที่มีผู้เช่า

รวม

ราชการ

บ้าน

ธุรกิจ

ท.ศ.ท.

สาธารณะ

2543

36,312

30,166

2,035

22,190

3,548

488

1,905

2542

37,269

26,473

1,910

18,938

3,566

432

1,627

2541

36,501

23,798

1,756

16,533

3,605

368

1,536

2540

23,093

20,610

1,370

14,021

3,616

323

1,280

2539

22,045

20,161

1,347

14,532

3,423

271

588

ที่มา : กองสถิติและรายงานจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

 

ตาราง แสดงเลขหมายโทรศัพท์ แยกตามประเภทผู้เช่า
บริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จังหวัด นครศรีธรรมราช

ปี

จำนวนเลขหมายที่มี

จำนวนเลขหมายที่มีผู้เช่า

2542

38,952

28,999

2541

38,952

30,041

2540

39,028

27,520

2539

34,324

20,150

2538

-

-

ที่มา : กองสถิติและรายงานจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

 

 

ไฟฟ้า

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ด้วยระบบแรงสูงที่แรงดัน 115,000 โวลท์ จากสถานีย่อย 2 แห่ง แล้วจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในระบบ 33,000 โวลท์ และ 400/380 โวลท์ แบ่งการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีควบคุมการจ่ายไฟ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้

1.     สถานีไฟฟ้านครศรีธรรมราช

2.     สถานีไฟฟ้าขนอม

ในปีงบประมาณ 2543 มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ารวม 293,361 รายลดลงจากปีก่อนราว 8,349 ราย มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้ารวม 757.04 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง โดยเป็นการจำหน่ายให้แก่สถานธุรกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุดราวร้อยละ 45.75 รองมา ได้แก่ ที่อยู่อาศัยราวร้อยละ 45.0 สำหรับอำเภอที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุด ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช รองลงมา ได้แก่ ทุ่งสง ปากพนัง และ ทุ่งศาลา เป็นต้น

 

ตาราง การจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
และจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า จังหวัด นครศรีธรรมราช ปี 2543

หน่วย : ล้านยูนิต

อำเภอ/กิ่งอำเภอ

ที่อยู่อาศัย

ธุรกิจและอุตสาหกรรม

สถานที่ราชการ
และสาธารณะ

อื่นๆ

จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า

เมือง

87.20

111.97 

20.64 

6.12 

63,055 

พรหมคีรี

7.86

0.55 

6.10 

0.37 

7,073 

ลานสะกา

7.67

0.96 

0.54 

0.22 

7,769 

ฉวาง

20.25

7.06 

2.09 

0.90 

19,616 

พิปูน

5.28

0.45 

0.47 

0.13 

6,501 

เชียรใหญ่

14.55

2.19 

0.91 

0.30 

14 

ชะอวด

14.58

1.55 

0.97 

0.68 

15,357 

ท่าศาลา

29.00

18.46 

1.61 

0.87 

26,589 

ทุ่งสง

41.80

78.86 

9.72 

3.44 

32,855 

นาบอน

5.65

5.82 

0.97 

1.13 

4,608 

ทุ่งใหญ่

13.84

7.54 

1.65 

0.80 

11,452 

ปากพนัง

21.79

40.19 

3.35 

1.24 

19,779 

ร่อนพิบูลย์

16.83

10.14 

1.36 

1.47 

15,126 

สิชล

19.58

15.28 

2.07 

0.57 

16,512 

ขนอม

9.20

22.88 

0.88 

0.46 

6,485 

หัวไทร

15.73

11.59 

1.18 

0.57 

14,024 

บางขัน

2.45

0.24 

0.73 

0.04 

4,513 

ถ้ำพรรณรา

3.32

10.93 

0.27 

0.09 

3,387 

จุฬาภรณ์

4.50

0.15 

0.12 

4,878 

รวม

341.08

346.81 

55.63 

55.63 

279,593 

ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

ประปา

 

การบริการประปาปัจจุบันมีการดำเนินการหลายรูปแบบ กล่าวคือ การดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาคที่อยู่ในเขตเทศบาล การดำเนินการโดยสุขาภิบาลและดำเนินการโดยชุมชนหมู่บ้านต่างๆ นอกเขตสุขาภิบาล เช่น การทำประปาภูเขา ประปาหมู่บ้าน ประปาผิวดิน เพื่อใช้ในหมู่บ้าน

การประปาของเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีโรงสูบน้ำอยู่ 2 แห่ง คือ โรงสูบและกรองน้ำที่ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนชลวิถี ต.ในเมือง อ.เมือง และโรงสูบและกรองน้ำที่ 2 ตั้งอยู่ที่ บ้านทวดทอง ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง

จากสถิติผู้ใช้น้ำประปาพบว่า ในปี 2543 ปริมาณจำหน่ายน้ำประปาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของปริมาณการผลิต รองลงมาได้แก่ น้ำเพื่อสาธารณประโยชน์และรั่วไหลคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ของปริมาณการผลิตและน้ำที่ใช้ในระบบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของปริมาณการผลิต โดยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอำเภอที่มีการใช้น้ำมากสุด รองลงมา ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอขนอม และอำเภอฉวาง เป็นต้น

 

ตาราง การจำหน่ายประปา จังหวัด นครศรีธรรมราช ปี 2543

อำเภอ/กิ่งอำเภอ

กำลังการผลิต
(ลบ.ม.)

น้ำที่ผลิตได้
(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำ
จำหน่ายแก่ผู้ใช้(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำจ่ายเพื่อ
สาธารณประโยชน์(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำ
ใช้ในระบบ(ลบ.ม.)

จำนวนผู้ใช้น้ำ
(ราย)

เมือง

13,578,000 

12,365,364 

7,200,000 

3,709,600 

72,000 

22,852 

ฉวาง

876,000 

471,525 

319,075 

152,310 

14,441 

1,648 

ท่าศาลา

438,000 

128,256 

99,700 

2,060 

585 

609 

ทุ่งใหญ่

438,000 

65,484 

25,717 

39,767 

2,250 

968 

ปากพนัง

3,153,600 

2,619,856 

1,731,457 

88,399 

196,724 

5,877 

สิชล

613,200 

196,500 

141,324 

850 

475 

570 

ขนอม

876,000 

591,802 

414,088 

2,187 

905 

1,266 

รวม

19,972,800 

16,438,787 

9,931,361 

3,995,173 

287,380 

33,790 

ที่มา : สำนักงานประปาเขต

 

 

จำนวนประชากร

 

ประชากรของจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 รวมทั้งสิ้น 1,524,558 คน โดยมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับปี 2542 เท่ากับร้อยละ 0.06 แยกเป็นชายจำนวนทั้งสิ้น 759,738 คนและหญิง 764,820 คน มีครัวเรือนรวม 368,401 ครัวเรือน โดยอำเภอเมืองเป็นอำเภอที่มีประชากรและความหนาแน่นมากสุดจำนวน 269,297 คน และ 436.1 คนต่อ ตร.กม. และอำเภอถ้ำพรรณรา เป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยสุดจำนวน 17,093 คน ความหนาแน่น 101.1 คนต่อ ตร.กม. ส่วนอำเภอที่มีความหนาแน่นน้อยสุด คือ กิ่งอำเภอนบพิตำ 39.3 คนต่อ ตร.กม.

 

ตาราง ประชากรจำแนกตามอำเภอ ปี 2543

จังหวัด/อำเภอ

ประชากรชาย

ประชากรหญิง

ประชากรรวม

จำนวนบ้าน

ความหนาแน่นของประชากร
ต่อตารางกิโลเมตร

จังหวัดนครศรีธรรมราช

759,738 

783,363 

1,543,101 

377,909 

เมืองนครศรีธรรมราช

132,610 

136,687 

269,297 

70,265 

436.10 

พรหมคีรี

17,617 

17,619 

35,236 

7,498 

109.60 

ลานสะกา

19,735 

20,246 

39,981 

10,112 

116.60 

ฉวาง

33,755 

34,712 

68,467 

18,025 

129.60 

พิปูน

13,706 

13,862 

27,568 

10,099 

75.80 

เชียรใหญ่

23,851 

24,084 

47,935 

10,491 

206.00 

ชะอวด

41,909 

42,965 

84,874 

19,428 

101.90 

ท่าศาลา

53,463 

54,121 

107,584 

24,019 

295.70 

ทุ่งสง

74,963 

72,956 

147,919 

37,330 

142.00 

นาบอน

13,793 

32,340 

46,133 

15,797 

107.80 

ทุ่งใหญ่

32,698 

32,340 

65,038 

15,797 

107.80 

ปากพนัง

58,422 

58,016 

116,438 

24,760 

275.60 

ร่อนพิบูลย์

43,034 

43,629 

86,663 

18,557 

258.30 

สิชล

40,787 

40,883 

81,670 

19,735 

116.20 

ขนอม

13,683 

13,325 

27,008 

8,691 

62.20 

หัวไทร

35,580 

35,697 

71,277 

18,094 

170.60 

บางขัน

18,427 

17,813 

36,240 

8,279 

60.20 

ถ้ำพรรณรา

8,549 

8,544 

17,093 

4,516 

101.10 

จุฬาภรณ์

14,940 

15,465 

30,405 

6,808 

154.70 

พระพรหม

20,757 

20,808 

41,565 

7,931 

280.90 

กิ่งอำเภอนบพิตำ

14,289 

14,019 

28,308 

6,667 

39.30 

กิ่งอำเภอช้างกลาง

15,613 

15,583 

31,196 

7,426 

134.20 

เฉลิมพระเกียรติ

17,557 

17,649 

35,206 

7,584 

283.60 

ที่มา : กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

 

โครงสร้างแรงงาน

 

ตามโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรระดับจังหวัด รอบที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) 2544 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรแรงงานรวม 1,669,055 คน โดยมีจำนวนที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมีจำนวน 1,138,849 คน หรือสัดส่วนร้อยละ 68.2 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 31.8 เป็นประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

สำหรับประชากรที่มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม พบว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ป่าไม้ รองลงมา ได้แก่ ภาคการค้าส่ง ค้าปลีก และภาคการผลิต ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่สถานภาพของผู้ที่มีงานทำ จะเป็นผู้ที่ทำงานส่วนตัว รองลงมา ได้แก่ ลูกจ้างเอกชน และช่วยธุรกิจครัวเรือน เป็นต้น

 

ตาราง จำนวนประชากร จำแนกตามสถานภาพการทำงาน
และเพศ ปี 2544

สถานภาพ

รวม (คน)

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวมยอด

1,669,055 

836,288 

832,767 

  อายุ 15 ปีขึ้นไป

1,138,849 

561,915 

576,934 

    กำลังแรงงานรวม

811,072 

450,756 

360,316 

      1.กำลังแรงงานปัจจุบัน

799,479 

444,536 

354,943 

        1.1 ผู้มีงานทำ

782,121 

433,237 

348,884 

        1.2 ผู้ไม่มีงานทำ

17,358 

11,299 

6,059 

      2. กำลังงานที่รอฤดูกาล

11,593 

6,220 

5,373 

    ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน

327,777 

111,159 

216,618 

      1. ทำงานบ้าน

95,407 

1,170 

94,237 

      2. เรียนหนังสือ

114,757 

56,276 

58,481 

      3. อื่น ๆ

117,613 

53,713 

63,900 

  อายุต่ำกว่า 15 ปี

530,206 

274,373 

255,833 

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ตาราง จำนวนประชากร อายุ 15 ปีขี้นไป ที่มีงานทำ
จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ ปี 2544

อุตสาหกรรม

รวม (คน)

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม

782,122 

433,237 

348,885 

เกษตรกรรม ล่าสัตว์ ป่าไม้

389,953 

209,272 

180,681 

การประมง

23,480 

20,578 

2,902 

การทำเหมืองแร่หิน

3,700 

3,700 

การผลิต

51,716 

26,145 

25,571 

การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา

2,551 

2,367 

184 

การก่อสร้าง

41,163 

39,497 

1,666 

การขายส่ง การขายปลีก

116,531 

51,092 

65,439 

โรงแรมและภัตตาคาร

36,731 

11,417 

25,314 

การขนส่ง ที่เก็บสินค้า คมนาคม

20,589 

20,086 

503 

อื่นๆ

95,708 

49,083 

46,625 

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ตาราง จำนวนประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีงานทำ
จำแนกตามสถานภาพการทำงาน และเพศ ปี 2544

สถานภาพการทำงาน

รวม

ชาย

หญิง

รวมยอด

780,177

432,421

347,756

นายจ้าง

28,020

17,898

10,122

ลูกจ้างรัฐบาล

74,923

44,557

30,366

ลูกจ้างเอกชน

216,334

137,224

79,110

ทำงานส่วนตัว

297,097

178,804

118,293

ช่วยธุรกิจครัวเรือน

163,803

53,938

109,865

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ค่าแรงขั้นต่ำ

 

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ว่าด้วยเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ประกาศให้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 133 บาทต่อวัน โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป

 

 

 

โครงสร้างเกษตรกรรม

 

อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ และสร้างรายได้ให้กับประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราชรองจากการประมง โดยพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มะพร้าว ไม้ผลทั่วไป เป็นต้น

แผนภาพ โครงสร้างการเกษตรจังหวัด นครศรีธรรมราช ปี 2543

ที่มา :

กองบัญชีรายได้ประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

หมายเหตุ :

1. ราคาคงที่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตามปี 2531

 

2. การประมาณการข้อมูลปี 2543 โดยบริษัทกลุ่มแอดวานซ์ รีเสริช์ จำกัด โดยใช้หลักการคำนวณแบบ Share และ Growth ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ปี 2543 เป็นวิธีการประมาณการและปรับตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

การเพาะปลูกและผลผลิตหลักของจังหวัด

 

การเพาะปลูกและผลผลิตของพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด

1) ยางพารา ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับหนึ่งของจังหวัด ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกยางพารารวมทั้งสิ้น 1,229,552 ไร่ มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 275,874.01 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5,751.97 ล้านบาท

2) มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกเนื่องจากไม่ต้องดูแลรักษามาก โดยปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งสิ้น 125,096 ไร่ แบ่งเป็นมะพร้าวบริโภคผลอ่อนร้อยละ 6.53 และมะพร้าวบริโภคผลแก่ร้อยละ 93.47 มีผลผลิตรวม 115,978.93 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 627.44 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 5.41 บาทต่อกิโลกรัม

3) กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากเพราะราคาที่จำหน่ายอยู่ในระดับสูง ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์โรบัสต้า ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งสิ้น 18,581 ไร่ มีผลผลิตรวม 3,346.66 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 103.55 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 30.94 บาทต่อกิโลกรัม

4) มังคุด เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นในทุกปี โดยในปีการเพาะปลูกปี 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกมังคุดรวมทั้งสิ้น 62,672 ไร่ และมีผลผลิตรวม 33,276.63 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 746.39 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 22.43 บาทต่อกิโลกรัม

5) ทุเรียน เป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์หมอนทองที่มีสัดส่วนการปลูกกว่าร้อยละ 64.16 ของทุเรียนทั้งหมด ในปีการเพาะปลูกปี 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งสิ้น 48,982 ไร่ มีผลผลิตรวม 38,398.23 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 810.59 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 21.11 บาทต่อกิโลกรัม

6) เงาะ ส่วนใหญ่นิยมปลูก เงาะโรงเรียน ในปีการเพาะปลูกปี 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกเงาะโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 69,557 ไร่ และมีผลผลิตรวม 74,230.49 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,008.79 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 13.59 บาทต่อกิโลกรัม

7) ลองกอง ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกลองกองรวมทั้งสิ้น 20,349 ไร่ และมีผลผลิตรวม 6,607.94 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 310.18 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 46.94 บาทต่อกิโลกรัม

8) มะนาว ในปีการเพาะปลูก2543/2544 มีพื้นที่ปลูกมะนาวรวมทั้งสิ้น 15,766 ไร่ และมีผลผลิตรวม 996.17 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 304.88 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 304.88 บาทต่อกิโลกรัม

9) ส้มโอ ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกส้มโอรวมทั้งสิ้น 16,336 ไร่ และมีผลผลิตรวม 13,218.59 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 149.90 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 11.34 บาทต่อกิโลกรัม

10) ลางสาด ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกลางสาดรวมทั้งสิ้น 4,739 ไร่ และมีผลผลิตรวม 2,262.55 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 55.16 ล้านบาท  ระดับราคาเฉลี่ย 306.05 บาทต่อกิโลกรัม

11) มะม่วง ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวมทั้งสิ้น 13,316 ไร่ และมีผลผลิตรวม 2,597.30 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 46.93 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 18.07 บาทต่อกิโลกรัม โดยพันธุ์ส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้

12) หมาก ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกหมากรวมทั้งสิ้น 15,023 ไร่ และมีผลผลิตรวม 41,160.40 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 128.83 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 3.13 บาทต่อกิโลกรัม

13) สะตอ ในปีการเพาะปลูก 2543/2544 มีพื้นที่ปลูกสะตอรวมทั้งสิ้น 14,107 ไร่ และมีผลผลิตรวม 5,263.58 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 389.14 ล้านบาท ณ ระดับราคาเฉลี่ย 73.93 บาทต่อกิโลกรัม

ตาราง ข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปี 2543/2544

ชนิดพืช

พื้นที่เพาะปลูก(ไร่)

ผลผลิตเฉลี่ย
(กก./ไร่)

ผลผลิตรวม(ตัน)

มูลค่าผลผลิต
(ล้านบาท)

กล้วยน้ำว้า

28,634 

41,152.05 

117.69 

กาแฟ

18,581 

3,346.66 

103.55 

เงาะ

69,557 

74,230.49 

1,008.79 

ทุเรียน

48,982 

38,398.23 

810.59 

ปาล์มน้ำมัน

12,558 

21,249.95 

71.82 

มะนาว

15,766 

996.17 

304.88 

มะพร้าว

125,096 

115,978.93 

627.45 

มะม่วง

13,316 

2,597.30 

46.93 

มังคุด

62,672 

33,276.63 

746.39 

ยางพารา

1,229,552 

275,874.01 

5,751.97 

ลองกอง

20,349 

6,607.94 

310.18 

ละมุด

6,421 

2,080.70 

27.69 

ลางสาด

4,739 

2,262.55 

55.16 

ส้มโอ

16,336 

13,218.59 

149.90 

สะตอ

14,107 

5,263.58 

389.14 

หมาก

15,023 

41,160.40 

128.83 

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัด

 

 

การผลิต

 

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและจำหน่าย โดยมีจำนวนปศุสัตว์รวมที่เกษตรกรเลี้ยงทั้งสิ้น 4,907,267 ตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.67 ทั้งนี้เกษตรกรนิยมเลี้ยงสัตว์ปีกมากสุดถึง 4,579,561 ตัวแยกเป็นการเลี้ยงไก่มากที่สุด เป็นจำนวน 3,515,155 ตัว คิดเป็นร้อยละ 76.76 ของสัตว์ปีกทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เป็ด 1,064,406 ตัวส่วนสุกรเลี้ยงเป็นอันดับที่สอง รองจากสัตว์ปีก จำนวน 174,502 ตัว และอันดับสาม ได้แก่ โค จำนวนรวม 129,995 ตัว โดยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงโคเนื้อมากกว่า

หากจะพิจารณาแยกตามอำเภอ พบว่า อำเภอท่าศาลา มีการเลี้ยงสัตว์มากสุดรวม 883,866 ตัว รองลงมา ได้แก่ อำเภอปากพนัง 798,043 ตัว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 426,082 ตัว และอำเภอสิชล 352,992 ตัว ตามลำดับ

ตาราง จำนวนปศุสัตว์ เป็นรายอำเภอ ปี 2543

(หน่วย : ตัว)

อำเภอ/กิ่งอำเภอ

ชนิดของปศุสัตว์

โค

กระบือ

เป็ด

ไก่

สุกร

แพะ

เมือง

7,539 

600 

93,930 

310,437 

7,467 

6,109 

พรหมคีรี

1,908 

325 

24,718 

143,222 

4,472 

29 

ลานสะกา

2,068 

8,368 

97,750 

4,178 

ฉวาง

3,379 

12 

4,432 

77,063 

5,436 

845 

พิปูน

4,007 

18 

2,416 

48,029 

3,203 

70 

เชียรใหญ่

10,190 

187 

21,023 

122,026 

5,228 

94 

ชะอวด

9,332 

116 

28,246 

208,823 

9,385 

215 

ท่าศาลา

15,546 

665 

94,909 

745,042 

26,624 

1,080 

ทุ่งสง

10,350 

150 

12,133 

214,383 

8,354 

109 

นาบอน

1,954 

16 

6,059 

45,384 

3,540 

10 

ทุ่งใหญ่

3,462 

64 

11,175 

84,548 

5,764 

244 

ปากพนัง

8,757 

174 

585,923 

194,808 

8,206 

175 

ร่อนพิบูลย์

8,194 

63 

23,253 

177,000 

13,647 

655 

สิชล

8,387 

9,668 

27,237 

291,815 

15,679 

206 

ขนอม

2,093 

412 

3,756 

37,008 

1,694 

12 

หัวไทร

6,102 

448 

32,732 

139,418 

4,889 

57 

บางขัน

1,865 

3,911 

44,610 

2,834 

209 

ถ้ำพรรณรา

1,218 

117 

3,260 

30,470 

1,648 

39 

จุฬาภรณ์

4,202 

43 

13,196 

99,790 

9,062 

279 

พระพรหม

5,520 

24 

28,613 

75,294 

5,071 

กิ่งอำเภอนบพิตำ

1,297 

14 

1,351 

136,639 

11,502 

กิ่งอำเภอช้างกลาง

3,445 

7,346 

76,028 

6,902 

66 

เฉลิมพระเกียรติ

9,180 

26,419 

115,568 

9,267 

29 

ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

 

 

ภาพรวมการประมง

 

ด้านประมงเป็นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้ ในจำนวนผลผลิตที่มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในการผลิตสัตว์น้ำทะเลต่างๆ ของภาคใต้ มีท่าเรือขนาดเล็ก จำนวนมากที่เรือสามารถเข้าจอดเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ รวมทั้งท่าเทียบเรือประมงองค์การสะพานปลา นอกจากนี้มีแพปลาของผู้ประกอบกิจการค้าสัตว์น้ำหลายแห่งที่รับขึ้นปลาและรวบรวมสินค้าเข้าสู่ห้องเย็นในจังหวัด จังหวัดอื่นๆ ที่ใกล้เคียง และตลาดภาคกลางรวมทั้งส่งไปยังตลาด เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ประกอบกับเป็นจังหวัดอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเล โดยเกษตรกรได้ยึดอาชีพการประมงทางทะเลมาเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ซึ่งติดกับอ่าวไทยมีความยาวตั้งแต่อำเภอขนอม ถึงอำเภอหัวไทร 225 กิโลเมตร

ในปี 2543 การจับสัตว์น้ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาณการจับสัตว์น้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มรวม 306,118.94 เมตริกตัน โดยปลาเป็นสัตว์น้ำทะเลที่มีการจับได้มากสุดราว 147,245.92 ตัน คิดเป็น 48.1 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดที่จับได้ รองลงมา ได้แก่ กุ้ง หมึกและปลาทู อย่างไรก็ตาม ปลาเป็ดเป็นสัตว์น้ำที่สร้างมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับกุ้ง โดยมูลค่ารวมที่ได้จากการจับกุ้งราว 6,762.65 ล้านคิดเป็นร้อยละ 89.1 ของมูลค่ารวมทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ปลา เป็ด และหมึก เป็นต้น

การจับสัตว์ทะเล

ตาราง การจับสัตว์ทะเล ปี 2543

ชนิดของสัตว์ทะเล

ผลผลิต (กก.)

มูลค่า (บาท)

ปลาทู

5,044,920 

50,450,000 

ปลาลัง

422,920 

380,000 

ปลาเลย

2,310,920 

18,490,000 

ปลาฉลาม

90,520 

2,720,000 

ปลากะเบน

115,020 

2,300,000 

ปลาเป็ด

147,245,920 

368,110,000 

กุ้ง

135,252,920 

6,762,650,000 

กั้ง

88,620 

6,200,000 

เคย

299,920 

2,400,000 

ปู

662,420 

19,870,000 

หอย

1,161,120 

17,420,000 

ปลาหมึก

12,843,800 

321,100,000 

แมงกะพรุน

ปลากะตัก

สัตว์น้ำอื่น ๆ

939,920 

14,100,000 

พื้นที่ป่าไม้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2543 (ข้อมูลเบื้องต้น) มีป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 69 แห่ง จำนวน 1,925,689 ไร่ โดยมีการออกกฎหมายกระทรวง เพื่อจัดพื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ปี 2495 จนถึงปี 2541 พื้นที่ดังกล่าวยังคงสภาพเป็นป่า 990,567 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51.44 ของพื้นที่รวมพื้นที่เศรษฐกิจ 748,085 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 38.85 และพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร 187,037 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.71 และสามารถแบ่งป่าออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

1. ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมี 3 แห่ง คือ

- อุทยานแห่งชาติเขาหลวง อยู่ในอำเภอท่าศาลา พิปูน ฉวาง เมือง พรหมคีรี และลานสกา มีเนื้อที่ 356,250 ไร่

- อุทยานแห่งชาติเขาปู่ย่า อยู่ในอำเภอชะอวดและทุ่งสง มีเนื้อที่ 58,750 ไร่

- อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อยู่ในอำเภอทุ่งสง นาบอน ฉวาง ลานสกา ร่อนพิบูลย์ และกิ่งอำเภอช้างกลาง มีเนื้อที่ 128,125 ไร่

2. ป่าเพื่อเศรษฐกิจ ได้แก่ พื้นที่อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่เหมาะสมที่จะอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ เช่น เอกชนเช่าปลูกป่า สวนป่า หมู่บ้านป่าไม้ พื้นที่สำนักงานปฏิรูปเพื่อการเกษตร พื้นที่หน่วยราชการและเอกชนใช้ประโยชน์

3. ป่าเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ พื้นที่ที่ถูกบุกรุกครอบครอง และมีสภาพเหมาะสมในการเกษตรกรรม มีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 35 และไม่เป็นพื้นที่ตามข้อ 1 และ 2

 

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

แม่น้ำลำคลองในจังหวัด ส่วนใหญ่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาบรรทัด แม่น้ำ ลำคลองที่สำคัญๆ ในจังหวัด มีดังนี้

แม่น้ำปากพนัง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ในเขตตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด ไหลผ่านอำเภอเชียรใหญ่ และมีสาขาจากอำเภอหัวไทร ไหลมารวมกันที่บ้านปากแพรก กลายเป็นแม่น้ำปากพนังไหลสู่อ่าวนคร

แม่น้ำหลวง เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปากพนัง ต้นน้ำเกิดบริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาภูเก็ต ส่วนที่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอพิปูนและอำเภอฉวาง ไหลผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอทุ่งใหญ่ เข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในเขตอำเภอพระแสง อำเภอบ้านนาสาร ไปรวมกับแม่น้ำคีรีรัฐนิคมที่อำเภอพุนพินเรียกว่า “แม่น้ำตาปี” ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของภาคใต้

คลองปากพูน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ไหลไปทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองไหลลงสู่อ่าวนครศรีธรรมราช

คลองปากพญา-คลองปากนคร ต้นน้ำเกิดจากแหล่งน้ำหลายสาขาในเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช โดยเฉพาะที่เขาคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา ไหลผ่านอำเภอเมือง คลองแยกเป็นหลายสาขาสายหนึ่งไหลเลียบตัวเมืองไปทางตะวันออก ออกทะเลที่ปากพญาเรียก “คลองปากพญา” ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ตำบลปากนคร อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช

คลองเสาธง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชในเขตอำเภอลานสกา คลองนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อตามท้องที่ที่คลองไหลผ่าน

คลองกลาย เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตตำบลนบพิตำ ไหลออกทะเลที่อำเภอท่าศาลา

คลองท่าทน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอสิชล

คลองน้ำตกโยง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ด้านตะวันออกอำเภอทุ่งสงไหลเข้าสู่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำตรัง

คลองมัน ต้นน้ำเกิดจากสามจอม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอทุ่งใหญ่ไหลลงมาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลไปเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำหลวง ออกอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

คลองท่าเลา ต้นน้ำจากเขาวังหีบ ในอำเภอทุ่งสงไหลลงทางใต้ ออกทะเลอันดามันที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คลองท่าโลน ต้นน้ำเกิดจากเขาปลายเปิดใกล้ๆ กับเขาวังหีบ ในอำเภอทุ่งสงไหลสู่ทางใต้ออกทะเลอันดามันในเขตอำเภอกันตังที่บ้านปันหยี

 

ชลประทาน

 

เนื่องจากปริมาณน้ำที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งได้จากน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ดังนั้นการพัฒนาแหล่งน้ำนอกเหนือจากการระบายน้ำแล้ว ได้มีโครงการก่อสร้างการชลประทานตามระบบ กชช. และโครงการอื่นๆ ที่สร้างแล้วเสร็จในจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

มีสหกรณ์หลายประเภทดังนี้

จำนวนสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  31 ธันวาคม 2544

ประเภท

จำนวนสหกรณ์

จำนวนสมาชิก

ทุนของสหกรณ์

 สหกรณ์การเกษตร

143

110,206

264.926

 สหกรณ์ออมทรัพย์

21

32,779

2,950.155

 สหกรณ์ร้านค้า

8

9,164

19.609

 สหกรณ์บริการ

4

912

3.461

 สหกรณ์นิคม

2

1,539

26.090

 สหกรณ์ประมง

2

151

12.793

 ชุมนุมสหกรณ์

1

42 สหกรณ์

0.615

 ชุมนุมสหกรณ์

1

42 สหกรณ์

0.615

 รวม  

181

154,751

3,277.65

 

 

 

การผลิต

 

จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีสินค้าหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้หัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของจังหวัด ได้แก่ เครื่องถมนคร เครื่องทองเหลือง รูปแกะสลักหนังตะลุง ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากย่านลิเภา ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์จากกระจูด และดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา เป็นต้น

 

ผลิตภัณฑ์ :

เครื่องถมนคร

ที่ตั้ง :

ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

รายละเอียด :

เป็นเครื่องถมแบบโบราณมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ถมดำซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีขาวพื้นเป็น สีดำและถมทอง หรือถมทาทองจะมีลวดลายเป็นสีทองพื้นเป็นสีดำ อาทิเช่น แหวน ล็อกเก็ต กำไล ขัน พาน ถาด
วัตถุดิบที่ใช้ : ทองเหลืองแผ่นและทองคำเปลว

 

ผลิตภัณฑ์ :

หัตถกรรมแกะสลักรูปหนังตะลุง

ที่ตั้ง :

ตำบลปากพูน
ตำบลเสาธง
ตำบลบ้านลำนาว

รายละเอียด :

เป็นการแกะสลักด้วยสิ่วขนาดต่างๆ ตอกสลับตามลวดลายที่ได้รับการออกแบบไว้แล้วบนผืนหนัง
วัตถุดิบที่ใช้ : หนังลูกวัว หรือหนังแพะดิบ

 

ผลิตภัณฑ์ :

เครื่องทองเหลือง

ที่ตั้ง :

หมู่บ้านไทยอิสลามสวนมะพร้าวหลังวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง

รายละเอียด :

เป็นหัตถกรรมที่นำทองเหลือง มาตีแล้วประกอบเป็นเครื่องใช้ต่างๆ ในปัจจุบันผลิตกระบอกรีดเส้นขนมจีนอย่างเดียว
วัตถุดิบที่ใช้ : ทองเหลืองแผ่นและเศษเหล็ก

 

ผลิตภัณฑ์ :

เครื่องใช้จากย่านลิเภา

ที่ตั้ง :

ตำบลนาเคียน
ตำบลท่าเรือ
ตำบลโพธิ์เสด็จ
อำเภอเมือง

รายละเอียด :

เป็นการนำเอาเถาวัลย์พื้นเมืองคือย่านลิเภาซึ่งมีอยู่จำนวนมากในจังหวัด มาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า กำไล ภาชนะต่างๆ และเป็นงานที่ใช้ฝีมือและมีเอกลักษณ์มานานมากกว่า 100 ปี
วัตถุดิบที่ใช้ : ต้นย่านลิเภา

 

ผลิตภัณฑ์ :

จากกระจูด

ที่ตั้ง :

ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
ตำบลสวนหลวง
ตำบลคลองน้อย
ตำบลแหลม

รายละเอียด :

เป็นการนำกระจูด ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองที่ขึ้นบริเวณป่าพรุ มาสานเป็นเสื่อและเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า หมวก
วัตถุดิบที่ใช้ : ต้นกระจูด

 

ผลิตภัณฑ์ :

หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา

ที่ตั้ง :

ตำบลนาบอน
ตำบลบ้านนิคม
ตำบลนาโพธิ์ ฯลฯ

รายละเอียด :

เป็นการนำเอาใบยางพารามาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกลิลลี่ และเครื่องประดับต่างๆ เช่น เข็มกลัดเสื้อ
วัตถุดิบที่ใช้ : ใบยางพารา

 

ผลิตภัณฑ์ :

การจักสานไม้ไผ่

ที่ตั้ง :

ตำบลท้องเนียน
ตำบลเปลี่ยน ฯลฯ

รายละเอียด :

เป็นการนำเอาไม้ไผ่มาจักสาน เป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ไม้กวาดไม้ไผ่ เข่งปลาทู ตะกร้า กระเช้าผลไม้ ตะข้องไม้
วัตถุดิบที่ใช้ : ไม้ไผ่พันธุ์ต่างๆ

 

 

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่สำคัญในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่แปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา อุตสาหกรรมปลาป่นโรงสีข้าว โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่สำคัญ ได้แก่

อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราขั้นต้น โดยอาศัยวัตถุดิบ คือยางแผ่นดิบนำมารมควันเพื่อไล่ความชื้น และรักษาคุณภาพของเนื้อยาง รวมทั้งจัดชั้นยางให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ตลอดจนจัดทำเป็นยางเครฟ ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำยางข้น

อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน ปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงผลิตยางแผ่นอบแห้ง และรมควันตามโครงการพัฒนาการผลิตยางแผ่น สหกรณ์กองทุนยางพารา จำนวน 57 โรง

อุตสาหกรรมยางแผ่นอบแห้ง (AIR DRIED SHEET) ในจังหวัดมีการสร้างโรงงานยางอบแห้ง ให้แก่กลุ่มเกษตรกรจำนวนหลายโรง โดยใช้งบประมาณจากโครงการพัฒนาจังหวัด และงบประมาณของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยางจัดตั้งเป็นสหกรณ์ สำหรับกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จ ในการสร้างโรงงานเพื่อจัดทำยางแผ่นอบแห้ง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางบ้านยางค้อม ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน, กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางบ้านไม้เรียง ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง และสหกรณ์จินดารัศมี หมู่ 11 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ สหกรณ์ไทรทองพัฒนา หมู่ 2 ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ สหกรณ์ทองเทพพัฒนา หมู่ 5 ตำบลรุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์

อุตสาหกรรมน้ำยางข้น ปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงงานผลิตน้ำยางข้น จำนวน 5 โรง คือ โรงงานน้ำยางขององค์การสวนยางนาบอน, บริษัท ศรีเจริญลาเท็กซ์ จำกัด, บริษัทนาบอนรับเบอร์ จำกัด, บริษัท เอฟ.ที.อินดัสตรี้ จำกัด และบริษัท ที.ที. ลาเท็กซ์ จำกัด  ตลาดน้ำยางข้นเป็นตลาดที่สำคัญ เนื่องจากน้ำยางข้นสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตประเภทอื่นๆ เข่น การผลิตถุงมือยาง ถุงมือแพทย์ ถุงยางอนามัย ที่นอน อื่นๆ เป็นต้น

อุตสาหกรรมปลาป่น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปลาป่น จำนวน 12 โรง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอขนอม และอำเภอปากพนัง  การซื้อขายปลาป่นจะขึ้นอยู่กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์เป็นสำคัญ เพราะผู้รับซื้อรายใหญ่เป็นผู้กำหนดราคาในการรับซื้อ โดยจะขึ้นป้ายราคารับซื้อในแต่ละวันตามเกรดและคุณภาพสินค้า ปกติจะกำหนดปริมาณโปรตีนที่มีอยู่ในปลาป่นร้อยละ 60 เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดราคา และราคาจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระดับโปรตีน

 

สถิติโรงงานอุตสาหกรรม

 

สำหรับสถิติอุตสาหกรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่

1) อุตสาหกรรมการเกษตร มีจำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมในหมวดการเกษตร ทั้งสิ้น 707 แห่ง เงินลงทุน 112.52 ล้านบาท มีการจ้างงาน 1,091 คน

2) อุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมในหมวดก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 516 แห่ง โดยมีเงินลงทุนสูงถึง 10,045.89 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 4,556 คน

3) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น 92 แห่ง มีเงินลงทุนสูงถึง 813.77 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 2,113 คน โรงงานที่สำคัญในหมวดนี้ ได้แก่ อาหารแปรรูปอาหารบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

4) อุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ จำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมในหมวดรวมทั้งสิ้น 106 แห่ง โดยมีเงินลงทุนสูงถึง 921.87 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 5,370 คน

5) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมในหมวดรวมทั้งสิ้น 5 แห่ง โดยมีเงินลงทุนเพียง 3.22 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 50 คน

6) อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก มีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 6 แห่ง มีเงินลงทุน 98.90 ล้านบาท มีการจ้างงาน 103 คน

7) อุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ มีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 26 แห่ง มีเงินลงทุน 23.50 ล้านบาท มีการจ้างงาน 127 คน

8) อุตสาหกรรมบริการ มีจำนวนสถานที่ประกอบการทั้งสิ้น 228 แห่ง เงินลงทุนสูง 462.18 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 1,996 คน

ตาราง จำนวนโรงงาน เงินทุน คนงานตามหมวดอุตสาหกรรม ปี 2543

ประกอบกิจการ

จำนวนโรงงาน (โรง)

เงินลงทุน
(ล้านบาท)

คนงาน (คน)

เกษตร

707 

112,521,080 

1,091 

วัสดุก่อสร้าง

516 

10,045,899,649 

4,556 

อาหารและเครื่องดื่ม

92 

813,775,400 

2,113 

ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

106 

921,877,151 

5,370 

สิ่งทอ - ตัดเย็บเสื้อผ้า

3,223,000 

50 

เคมีภัณฑ์และพลาสติก

98,900,000 

103 

โลหะและอิเลกโทรนิค

26 

23,502,000 

127 

บริการ

228 

462,179,905 

1,996 

อื่นๆ

137 

20,184,805,542 

7,184 

ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

 

การส่งเสริมการลงทุน

 

การส่งเสริมการลงทุนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ได้สรุปแนวโน้มดังนี้

การลงทุนภาคใต้ตอนบนปี 2544 นั้นยังคงมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนโครงการสูงเท่ากับปี 2543 (ปี 2543 มีจำนวน 46 โครงการ)

ประเภทอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเภทเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น น้ำมันปาล์มดิบ ไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง แปรรูปอาหาร รองลงมาเป็นกิจการอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ยังมีโอกาสขยายตัวไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

อย่างไรก็ตามในปี 2544 ราคาพืชผลภาคเกษตรยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องอยู่ ปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของราคาน้ำมันและความสามารถด้านตลาดในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญของการขยายตัวสำหรับการลงทุนของภูมิภาคนี้

แนวทางในการลงทุนของจังหวัดนครศรีธรรมราช 3 แนวทาง คือ

1. กลุ่มเกษตรกรรม ควรส่งเสริมการลงทุนในด้านต่างๆ ดังนี้
- ด้านการทำสวนผลไม้
- ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง-ทำนากุ้ง
- ด้านการเลี้ยงโคเนื้อ
- ด้านการเกษตรกรรมตามทฤษฎีใหม่

2. กลุ่มอุตสาหกรรม ควรส่งเสริมการลงทุนในด้านต่างๆ ดังนี้
- อุตสาหกรรมการประมง เช่น อุตสาหกรรมแช่แข็ง และอุตสาหกรรมผลิตอาหารกุ้ง อุตสาหกรรมทะเลกระป๋อง
- อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากไม้ยางพารา อุตสาหกรรมฟองน้ำยางพารา อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา อุตสาหกรรมมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง อุตสาหกรรมแช่เย็นผลไม้
- ในระยะยาวควรมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ปิโตรเคมี การต่อเรือและซ่อมเรือ โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกแก็ส ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมเซรามิค

3. กลุ่มการท่องเที่ยว
- ด้านการโรงแรม รีสอร์ท ที่พักตากอากาศ
- ด้านบริการนำเที่ยว รถเช่าเพื่อการท่องเที่ยว
- ร้านอาหารและของที่ระลึก
- ศิลปะหัตถกรรมต่างๆ

ในปี 2544 มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 จำนวน 1 โครงการ มีเงินลงทุนเท่ากับ 8.33 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานคนไทยจำนวน 35 คน โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมและการผลิตผลจากเกษตรกรรม

ตาราง จำนวนโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน ปี 2544

หมวดกิจการ

จำนวนโครงการ

เงินลงทุน
(ล้านบาท)

การจ้างงาน
(คนไทย)

เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร

35 

เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน

อุตสาหกรรมเบา (ผลิตเครื่องประดับ เครื่องกีฬาฯ)

ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง

อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า

เคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก

บริการและสาธารณูปโภค

ที่มา : คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

 

แร่ธาตุ

 

จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่จัดว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยในส่วนของทรัพยากรแร่ธาตุมีแร่ธาตุที่สำคัญ คือ แร่โดโลไมท์ ยิปซัม ดีบุก แบไรต์ เฟลด์สปาร์ บอลเคลย์ หินดินดาน และหินปูน ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ที่ติดกับเทือกเขานครศรีธรรมราช

ในปี 2543 จำนวนเหมืองแร่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีทั้งสิ้น 36 เหมืองแร่ ปริมาณการผลิตแร่เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 41.9 เป็น 10,152,545 เมตริกตัน ประเภทแร่ที่ผลิตได้มากสุดของจังหวัดในปี 2543 คือ หินปูนทั้งชนิดใช้ในอุตสาหกรรมซิเมนต์และก่อสร้าง โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 74.8 และ 37.8 ตามลำดับ รองลงไปเป็น บอลเคลย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.4 และหิน ดินดาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.5 อย่างไรก็ตาม แร่ดีบุก เฟลด์สปาร์ และแบไรต์ มีปริมาณการผลิตที่ลดลงร้อยละ 99.1 47.6 และ 88.7 ตามลำดับ

ตาราง จำนวนเหมืองแร่ ปริมาณแร่ที่ผลิตได้ จำแนกตามชนิดแร่ ปี 2543

ชนิดของแร่

จำนวนเหมือง

ปริมาณแร่ที่
ผลิตได้ (ตัน)

มูลค่าประมาณ
(ล้านบาท)

หินปูน(หินอุตสาหกรรมชนิดก่อสร้าง)

10 

3,354,561 

บอสเคลย์

10,700 

เฟลด์สปาร์ (โซเดียมชนิดก้อน)

300,600 

ดินขาว (ไม่ได้ทำการแต่งแร่)

2,000 

หินปูน (ใช้หินอุตสาหกรรมซิเมนต์)

5,241,163 

ดีบุก

96 

แบไรต์ (ชนิดก้อน)

1,100 

ยิปซั่ม

1,008,144 

โคโลไมต์ (ชนิดก้อน)

1,500 

หินดินดาน

232,681 

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรจังหวัด

 

 

ภาพรวมการก่อสร้าง

 

ในปี 2543 การก่อสร้างเมื่อพิจารณาจากสถิติผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้าง จะพบว่า ประเภทการก่อสร้างส่วนใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชจะเป็นการก่อสร้างใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตและนอกเขตเทศบาล ทั้งประเภทการก่อสร้างอาคารโรงเรือนและมิใช่อาคารโรงเรือน โดยการก่อสร้างอาคารโรงเรือนจะเป็นประเภทที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การพาณิชย์ และบริการ ส่วนที่มิใช่อาคารที่อยู่อาศัยจะเป็นประเภทปั๊มน้ำมันและลานจอดรถ หรือป้ายโฆษณามากที่สุด ในขณะที่การก่อสร้างประเภทสาธารณูปโภคนั้น จะเป็นประเภทการก่อสร้างพวกถนน/สะพาน สำหรับในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลจะเป็นการก่อสร้างถนนและสะพาน รองลงมา ได้แก่ รั้วและกำแพง และทางระบายน้ำ เป็นต้น สามารถแยกพื้นที่ก่อสร้างได้ดังนี้

ตาราง จำนวนผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง จำนวนสิ่งก่อสร้าง
และพื้นที่ก่อสร้างอาคารโรงเรือน จังหวัด นครศรีธรรมราช ปี 2543

ประเภทสิ่งก่อสร้าง

เขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

ก่อสร้างใหม่

ต่อเติมดัดแปลง

ก่อสร้างใหม่

ต่อเติมดัดแปลง

จำนวนที่อนุมัติ
(ราย)

พี้นที่ก่อสร้าง
(ตร.ม.)

จำนวนที่อนุมัติ
(ราย)

พี้นที่ก่อสร้าง
(ตร.ม.)

จำนวนที่อนุมัติ
(ราย)

พี้นที่ก่อสร้าง
(ตร.ม.)

จำนวนที่อนุมัติ
(ราย)

พี้นที่ก่อสร้าง
(ตร.ม.)

อาคารโรง เรือน รวม

490 

120,660 

14 

1,280 

429 

88,973 

46 

เพื่อที่อยู่อาศัย

449 

78,287 

11 

940 

413 

54,374 

46 

เพื่อการพาณิชย์

36 

20,609 

32 

14 

29,343 

เพื่อการอุตสาหกรรม

250 

5,160 

เพื่อการบริการ

21,764 

58 

96 

สิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคาร รวม

3,429 

5,046 

300 

ปั๊มน้ำมัน

2,132 

สนามกีฬา

274 

อื่นๆ เช่น ลานจอดรถ ป้ายโฆษณา

1,023 

5,046 

300 

รวม (ความยาวเป็นเมตร)

2,326 

1,106 

19 

12,884 

รั้ว/กำแพง

523 

3,209 

ถนน/สะพาน

1,803 

968 

11 

9,076 

ทางระบายน้ำ

138 

323 

อื่นๆ เช่น เขื่อน/คันดิน

276 

ที่มา : เทศบาลนคร

 

ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์

 

ราคาที่ดิน

ราคาประเมินที่ดินต่อตารางวาในเขตเทศบาล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีราคาประเมินสูงสุด เท่ากับ 140,000 บาท และต่ำสุด 500 บาท และนอกเขตเทศบาลมีราคาประเมินสูงสุดที่ 12,500 บาทและต่ำสุด 50 บาท สำหรับอำเภอที่มีราคาประเมินที่ดินต่ำสุด คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีราคาอยู่ที่ 15 บาท

ราคาสิ่งปลูกสร้าง

ราคาสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดนครศรีธรรมราชประเภทบ้านเดี่ยวมีราคาเฉลี่ย 4,588 บาท ต่อ ตารางเมตร ราคาทาวน์เฮาส์ 4,300 บาทต่อตารางเมตร และตึกแถว 4,333 บาท ต่อตารางเมตร

สำหรับราคาสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีราคาเฉลี่ย 4,450 บาท ต่อตารางเมตร ส่วนราคาสำนักงานและราคาโกดังเก็บของนั้นมีราคาเฉลี่ย 4,950 บาท ต่อตารางเมตร และ 3,900 บาท ต่อตารางเมตร ตามลำดับ

ตาราง ราคาประเมินที่ดินจังหวัด นครศรีธรรมราช

หน่วย : บาท/ตารางวา

อำเภอ/กิ่งอำเภอ

ราคาสูงสุด

ราคาต่ำสุด

เมือง

140,000.00 

50.00 

พรหมคีรี

5,000.00 

75.00 

ลานสะกา

1,250.00 

75.00 

ฉวาง

15,000.00 

25.00 

พิปูน

1,000.00 

37.50 

เชียรใหญ่

2,000.00 

20.00 

ชะอวด

6,000.00 

17.50 

ท่าศาลา

7,500.00 

37.50 

ทุ่งสง

35,000.00 

25.00 

นาบอน

2,000.00 

21.00 

ทุ่งใหญ่

3,500.00 

25.00 

ปากพนัง

15,750.00 

30.00 

ร่อนพิบูลย์

1,750.00 

40.00 

สิชล

15,000.00 

50.00 

ขนอม

10,000.00 

100.00 

หัวไทร

4,000.00 

25.00 

บางขัน

1,500.00 

40.00 

ถ้ำพรรณรา

250.00 

50.00 

จุฬาภรณ์

700.00 

50.00 

พระพรหม

10,000.00 

75.00 

กิ่งอำเภอนบพิตำ

1,125.00 

50.00 

กิ่งอำเภอช้างกลาง

4,000.00 

62.50 

เฉลิมพระเกียรติ

575.00 

15.00 

ที่มา : สำนักงานที่ดินจังหวัด

 

 

ตลาดท่องเที่ยว/จำนวนนักท่องเที่ยว

จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ยังคงสภาพความสวยงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในปี 2543 มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนเข้ามาเป็นจำนวน 793,568 คนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.27 อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศซึ่งมีสัดส่วนน้อย แต่กลับมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 64.57 โดยพาหนะที่ใช้เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมากสุด คือ รถยนต์ส่วนตัว รองมาได้แก่ รถโดยสารประจำทาง เครื่องบิน รถไฟ ตามลำดับ

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราชไม่มีการขยายตัวของจำนวนสถานพักแรม ทำให้จำนวนสถานพักแรมยังคงเดิมคือ 13 แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมกลุ่ม 5 ทั้งหมด โดยมีจำนวนห้องพักรวม 1,327 ห้อง มีอัตราการเข้าพักแรมเฉลี่ยร้อยละ 39.00 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 8.53 สำหรับประเภทสถานพักแรมที่นักท่องเที่ยวเข้าพักแรมของจังหวัดมากสุดในปี 2543 คือ โรงแรม เนื่องจากมีความสะดวกสบายและราคาห้องพักส่วนใหญ่ไม่แพงมากนัก

จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2543 ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนสู่จังหวัดจำนวน 1,796.55 ล้านบาท ในด้านการใช้จ่ายที่ผู้เยี่ยมเยือนใช้จ่ายในจังหวัดเฉลี่ยต่อคนต่อวันราว 1,335.24 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อที่พัก รองมาได้แก่ค่าซื้อสินค้าและของที่ระลึกต่างๆ

แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวคือ วัดพระมหาธาตุรมหาวิหาร และอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นต้น

ตาราง จำนวนโรงแรมและผู้เยี่ยมเยือน ปี 2539-2543

ปี

จำนวนโรงแรม (แห่ง)

จำนวนห้องพักโรงแรม (ห้อง)

จำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน
(ราย)

จำนวนนักท่องเที่ยว
(ราย)

จำนวนนักทัศนาจร
(ราย)

รวม

ชาวไทย

ชาวต่าง
ประเทศ

รวม

ชาวไทย

ชาวต่าง
ประเทศ

รวม

ชาวไทย

ชาวต่าง
ประทศ

2543

13 

1,327 

793,568 

774,030 

19,538 

549,607 

534,597 

15,010 

239,433 

243,961 

4,528 

2542

13 

1,323 

206,741 

201,160 

5,581 

ที่มา : สำนักงานท่องเที่ยวจังหวัด

 

ตาราง ผู้เยี่ยมเยือน ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาพำนักเฉลี่ย ปี 2543

หน่วย : บาท

รายการ

รวม

ชาวไทย

ชาวต่างประเทศ

จำนวนผู้มาเยี่ยม

793,568 

774,030 

19,538 

  จำนวนนักท่องเที่ยว

549,607 

534,597 

15,010 

  จำนวนนักทัศนาจร

243,961 

239,433 

4,528 

จำนวนผู้มาเยี่ยมจำแหนกตามการเดินทาง

793,568 

774,030 

19,538 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเครื่องบิน

39,180 

35,799 

3,381 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถไฟ

70,019 

68,859 

1,160 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

248,656 

242,637 

6,019 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถส่วนตัว

435,713 

426,735 

8,978 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยทางอื่นๆ

จำนวนผู้มาเยี่ยมจำแนกตามที่พัก

549,607 

534,597 

15,010 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามโรงแรม

246,760 

233,584 

13,176 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามเกสท์เฮาส์

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามบังกะโล/รีสอร์ท

104,854 

104,500 

354 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามบ้านญาติ/เพื่อน

163,764 

162,973 

791 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามที่พักในอุทยานฯ

19,910 

19,815 

95 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามบ้านพักรับรอง

18,154 

17,761 

393 

  จำนวนนักท่องเที่ยวที่พักตามอื่นๆ

6,195 

5,964 

231 

ระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว (วัน)

3.71 

1.97 

1.74 

ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย/คน/วัน (บาท)

2,999.02 

1,326.73 

1,672.29 

  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/วันของนักท่องเที่ยว (บาท)

3,053.71 

1,381.42 

1,672.29 

  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/วันของนักทัศนาจร (บาท)

2,273.54 

1,204.64 

1,068.90 

รายได้ (ล้านบาท)

1,796.55 

1,743.28 

53.27 

  รายได้จากการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยว (ล้านบาท)

1,503.28 

1,454.85 

48.43 

  รายได้จากการท่องเที่ยวจากนักทัศนาจร (ล้านบาท)

293.27 

288.43 

4.84 

จำนวนครั้งเฉลี่ยของการเดินทางในรอบปี (ครั้ง)

4.03 

2.31 

1.72 

  จำนวนครั้งเฉลี่ยของการเดินทางในรอบปีของนักท่องเที่ยว (ครั้ง)

3.98 

2.20 

1.78 

  จำนวนครั้งเฉลี่ยของการเดินทางในรอบปีของนักทัศนาจร (ครั้ง)

3.80 

2.55 

1.25 

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

สถานที่ :

พระพุทธสิหิงค์

รายละเอียด :

ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัด และศาลจังหวัด แต่เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ในบริเวณที่ตั้งวังเดิมของเจ้าพระยานคร (น้อย) พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวไทยสักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และมีอยู่หลายองค์ด้วยกันกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ แต่ที่ถือว่าเป็นองค์แท้จริงมีเพียงสามองค์ คือ องค์แรกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร องค์ที่สองประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่สามประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่าจำลองมาจากองค์ที่อัญเชิญมาจากลังกา เพื่อไปประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1845-1941

 

สถานที่ :

วัดพระมหาธาตุรมหาวิหาร

รายละเอียด :

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อ “วัดพระบรมธาตุ” ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตามตำนานกล่าวว่า สร้างเมื่อ ปี 854 สร้างมากว่า 1,500 ปี มีศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย โดยเจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลาและบาคู (นักบวช) ชาวลังกา เป็นผู้นำพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ ไว้ ต่อมาปี พ.ศ.1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นทรงศาญจิ และในปี พ.ศ.1770 พระองค์จึงได้รับเอาพระภิกษุจากลังกามาตั้งคณะสงฆ์ และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา อันเป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคือ เป็นทรงระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์ 158 องค์ สูงจากฐานถึงยอด 37 วา 2 ศอก ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (หรือ 960 กิโลกรัม)

 

สถานที่ :

อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้

รายละเอียด :

ที่ทำการของอุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ ตั้งอยู่บนเส้นทางถนนขนอม-โรงไฟฟ้า แยกซ้ายเข้าไปประมาณ 100 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเล เกาะแก่ง ภูเขา และพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอขนอมทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลสาบบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ประกอบไปด้วยเกาะน้อย เกาะวังใน เกาะวังนอก เกาะแตน เกาะราบ เกาะท่าไร่ เกาะผี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอ่าวขนอม อ่าวท้องท่าค่ำ อ่าวท้องหลาง อ่าวท้องหยี อ่าวท้องยาง และภูเขาต่างๆ เช่น เขาพรายดำ เขาผีหงาย เขาคอ เขาเพลา เขาดาดฟ้า เป็นต้น

 

สถานที่ :

อ่าวขนอม

รายละเอียด :

เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาอ่าวต่างๆ ของอำเภอขนอม อ่าวขนอมอยู่ห่างจากตัวอำเภอขนอมประมาณ 15 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงสาย 4014 ซึ่งแยกจากทางหลวงสาย 401 ประมาณ 17 กิโลเมตร ผ่านตลาดสุขาภิบาลขนอมประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นจึงเลี้ยวขวาไปตามตัวหาดขนอม หาดขนอมนั้นเป็นชายฝั่งทะเลที่สวยงามยาวติดต่อต่อกัน ซึ่งประกอบไปด้วย

 

สถานที่ :

อ่าวท้องหยี

รายละเอียด :

ลักษณะที่ตั้งระหว่างเนินเขาเพลาและเนินเขากลาง ชายหาดยาวขาวเป็นแนวโค้งชายหาดลงสู่ทะเล สลับโขดหินสวยงามเหมาะในการเล่นน้ำ บริเวณแนวหาดท้องหยีพบว่ามีแนวปะการังที่สมบูรณ์ แต่มีขนาดพื้นที่ปะการังไม่กว้างนัก ปะการังที่พบเห็น เช่น กัลปังหา เขากวาง รวมทั้งปะการังอ่อนที่มีหลากสีสวยงามและมีความเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์มาก

 

สถานที่ :

หาดหินงาม

รายละเอียด :

อยู่ในเขตตำบลสิชล อำเภอสิชล การเดินทางใช้ทางหลวง 401 จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 37 กิโลเมตร จากตัวอำเภอสิชลเลี้ยวขวาไปทางบ้านปากน้ำ 3 กิโลเมตรถึงหาดสิชล จากหาดสิชลมีถนนลูกรังต่อไปอีก 1.5 กิโลเมตร ถึงหาดหินงาม หาดหินงามเป็นหาดที่มีหินทั้งขนาดใหญ่และเล็กอยู่มากมาย ที่ชายหาดจึงไม่เหมาะที่จะเล่นน้ำ

 

สถานที่ :

หาดสิชล

รายละเอียด :

เป็นชายหาดโค้ง มีทิวทัศน์สวยงาม ชาวท้องถิ่นเรียกว่า อ่าวท้องหยี อ่าวท้องยาง อ่าวท้องโหนด น้ำทะเลใสเล่นน้ำได้

 

สถานที่ :

น้ำตกสี่ขีด

รายละเอียด :

อยู่ในเขตตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามระหว่างร่มไม้กับสายน้ำ อยู่ห่างจากหาดสิชลไปทางทิศตะวันตก 15 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4105

 

สถานที่ :

อุทยานแห่งชาติเขานัน

รายละเอียด :

ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอท่าศาลา ในเขตตำบลตลิ่งชัน ตำบลกรุงชิง อำเภอสิชล ในเขตตำบลน้อย ตำบลฉลอง ตำบลเปลี่ยน ตำบลเทพราช และในเขตของกิ่งอำเภอนบพิตำ ตำบลนบพิตำ นอกจากนี้อุทยานฯ ยังมีอาณาเขตที่ครอบคลุม เขาป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน และเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน อุทยานฯ แห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 272,500 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอท่าศาลาประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางนครศรีธรรมราช-ท่าศาลา

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ได้แก่

น้ำตกเขานัน เขานัน หรือนันทะ นันทา เป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเขาหลวง น้ำตกเขานันเป็นน้ำตกขนาดกลาง น้ำตกจากหน้าผาสูงชัน ที่หน้าผานี้ ทุกๆ ปีจะมีสัตว์ป่าตกลงมาตายที่แอ่งน้ำอยู่เสมอๆ ปัจจุบันนี้มีประชาชนนิยมเดินทางไปพักผ่อนที่น้ำตกแห่งนี้กันมาก

น้ำตกยอดเหลือง หรือน้ำตกเมืองใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของน้ำตกกรุงชิง เป็นน้ำตกขนาดกลางมี 3 ชั้น สามารถลงเล่นน้ำได้ สภาพทั่วไปเป็นป่าร่มครึ้ม การเดินทางไปยังน้ำตกเขานัน และน้ำตกยอดเหลือง เริ่มจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางสายนครศรีธรรมราช-พรหมโลก-เขาหลวง เป็นระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร และระยะทางเดินป่าเข้าชมน้ำตกอีกประมาณ 3.8 กิโลเมตร

น้ำตกสุนันทา เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความงดงามตามธรรมชาติ สายน้ำไหลจากหน้าผาชันลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง และไหลลงสู่ลำคลองกลาย ลำน้ำสายสำคัญในเขตอำเภอท่าศาลา สามารถจัด กิจกรรมล่องแพตามลำน้ำได้ในช่วงฤดูน้ำหลาก

ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ตั้งเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติเขานัน ตู้ ป.ณ.51 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 (ผู้ที่จะจองต้องมาติดต่อที่อุทยานฯ ด้วยตนเอง หรือมีหนังสือแจ้งล่วงหน้า)

 

สถานที่ :

ชายทะเลปากพนังและแหลมตะลุมพุก

รายละเอียด :

เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการเกิดวาตภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2505 มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ลักษณะของชายหาดปากพนังเป็นชายหาดสีขาวยาวเหยียดไปตามชายฝั่งทะเล มีแหลมตะลุมพุกเป็นแหลมทรายยาวเรียวยื่นไปในอ่าวไทย มีพื้นที่ติดกับพื้นดินบริเวณตอนบนของอำเภอปากพนัง และขณะนี้แหลมตะลุมพุกได้ขยายแนวเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ด้านที่ติดกับทะเลด้านใน (อ่าวนครฯ) มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ ส่วนด้านนอกที่ติดกับอ่าวไทยเป็นหาดทรายสะอาด ต้นสนขึ้นเป็นแนวยาวดูสวยงาม มีเปลือกหอยต่างๆ อยู่มาก  การเดินทาง ไปชายทะเลปากพนังและแหลมตะลุมพุกนั้น จากตัวเมืองเดินทางไปปากน้ำพนังแล้วเช่าเรือต่อไปยังแหลมตะลุมพุก ใช้เวลาเดินทางราวครึ่งชั่วโมง หรือใช้เส้นทางนครศรีธรรมราช-ปากพนัง (ทางหลวงสาย 4013) ไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันตกถึงบ้านบางฉนาก มีทางแยกเข้าสู่แหลมตะลุมพุก ระยะทางจากทางแยกไปยังแหลมประมาณ 16 กิโลเมตร เส้นทางตลอดสายสู่ปลายแหลมมีการทำนากุ้งสองข้างทางสลับกับแนวป่าชายเลน

 

สถานที่ :

บ้านรังนก

รายละเอียด :

อำเภอปากพนังเป็นอำเภอที่มีชื่อในเรื่องของนกนางแอ่น ที่เข้ามาทำรังอยู่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคน ในเขตอำเภอปากพนังจะพบได้ว่ามีบ้านและตึกแถวหลายหลังที่ถูกปิดลง เนื่องจากมีนกนางแอ่นจำนวนมากเข้าไปอาศัยอยู่และทำรังในบ้านเหล่านั้นเช่นเดียวกับนกที่อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเกาะ แต่เนื่องจากบ้านหรือตึกแถวที่มีนกนางแอ่นอาศัยเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล จึงไม่สะดวกในการเปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป

 

สถานที่ :

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

รายละเอียด :

ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมือง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอลานสกา อำเภอฉวางและอำเภอท่าศาลา มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 597 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 356,250 ไร่ ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ประกอบด้วยเทือกเขาที่สลับซับซ้อน มียอดเขาหลวงสูงสุด 1,835 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารและคลองต่างๆ กว่า 15 สาย สภาพป่าเขาเป็นแบบป่าดงดิบชื้นที่มีพรรณไม้และสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์  การเดินทางไปอุทยานฯ สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง
- เส้นทางแรก  เริ่มจากตัวเมืองนครฯ โดยใช้เส้นทางหมายเลข 4015 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ ของอำเภอลานสกา
- เส้นทางที่สอง  จากตัวเมืองนครฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 4015 ไปประมาณ 80 กิโลเมตร ก็จะถึงตัวอุทยานฯ ซึ่งจะอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอพิปูน

ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ตู้ ป.ณ.51 อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 หรือ โทร.01-228-1511

 

สถานที่ :

น้ำตกกรุงชิง

รายละเอียด :

“กรุงชิง” เป็นที่ราบสูงแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวง มีเขาต่างๆ เช่น เขายอดเหลือง เขากลบ เขาวังไฟ ฯลฯ รายล้อม จึงเรียกที่ราบนี้ว่า “อ่าวกรุงชิง” หมายถึงที่ราบสูงในวงล้อมของภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 100,000 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอท่าศาลา ชื่อ “กรุงชิง” มาจากคำว่า “ต้นชิง” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลปาล์มอย่างหนึ่งที่ขึ้นอยู่อย่างดาษดื่นในเขตนี้บริเวณที่ราบกรุงชิงนี้ เป็นต้นน้ำลำธารหลายสายที่สำคัญ ได้แก่ ลำธารกรุงชิง ซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกกรุงชิง ซึ่งมีอยู่หลายชั้น ชั้นที่น่าดูมากที่สุดได้แก่ “หนานฝนเสนห่า” เพราะน้ำตกจากหน้าผาสูงชันประมาณ 100 เมตร กระแสน้ำแผ่เป็นผืนกว้างกระจายออกเป็นละอองเหมือนเม็ดฝน ไม่จับกันเป็นเกลียวดังน้ำตกทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ฝนเสนห่า” ติดต่อล่องแก่งที่น้ำตกได้ที่ อบต.กรุงชิง โทร.(075)309-004

 

สถานที่ :

วัดเขาขุนพนม

รายละเอียด :

อยู่ในเขตตำบลเกาะ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีถ้ำที่มีกำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมา เช่นเดียวกับกำแพงเมือง ผนังด้านหน้ามีลายปูนปั้น ในถ้ำมีพระพุทธรูปสำริดประมาณ 30 องค์ และพระพุทธบาทสำริด ถ้ำในวัดแห่งนี้มีหลายถ้ำทะลุถึงกันหมดเหมือนค่ายคูประตูหอรบซึ่งบางคนสันนิษฐานว่า เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่บางท่านก็ว่าเป็นที่พักผ่อนของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พระยาตรังภูมาภิบาล) การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางสาย 4016 ถึงกิโลเมตรที่ 21 ผ่านตลาดพรหมโลกแล้วเลี้ยงแยกขวาเข้าไปอีก 2.5 กิโลเมตร ถึงวัดเขาขุนพนม

 

สถานที่ :

น้ำตกพรหมโลก

รายละเอียด :

อยู่ในเขตตำบลพรหมโลก น้ำตกพรหมโลกจัดว่าเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีลานหินกว้างและสวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ มีต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลลงมาบนแผ่นหิน 3 หนาน (ชั้น) ไหลผ่านหมู่ไม้นานาพันธุ์ริมเชิงเขา สร้างความชุ่มฉ่ำแก่ภูมิประเทศแถบนั้น แล้วไหลไปเป็นคลองท่าแพและลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลปากพูน การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางสายนครศรีธรรมราช-พรหมคีรี (ทางหลวงหมายเลข 4016) ถึงกิโลเมตรที่ 20 มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวง 4132 อีกประมาณ 5 กิโลเมตรก็จะถึงตัวน้ำตก

 

สถานที่ :

น้ำตกอ้ายเขียว หรือ น้ำตกในเขียว

รายละเอียด :

อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ในตำบลทอนหงส์ ต้นน้ำเกิดจากเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขานครศรีธรรมราช น้ำตกอ้ายเขียวมีทั้งหมด 15 ชั้น สภาพทั่วไปยังคงเป็นป่าทึบ สองข้างทางเข้าน้ำตกเป็นสวนพลู ชาวนครเรียกว่า “พลูปากทราย” ทั้งนี้เพราะมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ถ้าเคี้ยวเป็นประจำแล้วจะทำให้ปากอิ่มตึงสวยงาม หากประสงค์จะชมทิวทัศน์ยอดเขาหลวง ซึ่งมีความสูง 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเลควรไปชมที่น้ำตกแห่งนี้ การเดินทาง ไปน้ำตกอ้ายเขียว หรือน้ำตกในเขียวนี้ จากตัวเมืองใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกพรหมโลก แต่เลยไปจนถึงกิโลเมตรที่ 26 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร

 

สถานที่ :

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

รายละเอียด :

หรือเรียกกันทั่วไปว่า “น้ำตกโยงใสใหญ่” มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 126,675 ไร่ ครอบคลุมท้องที่อำเภอทุ่งสง อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน อุทยานฯ แห่งนี้มีสภาพป่าและทิวทัศน์ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปท่องเที่ยวและพักผ่อนอยู่เสมอๆ อุทยานฯ แห่งนี้ได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จากตัวเมืองใช้เส้นทางสายนครศรีธรรมราช-ทุ่งสง เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วให้แยกเข้าไปทางซ้ายอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงเขตอุทยาน ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 (ผู้ที่จะจองต้องมาติดต่อที่อุทยานฯ ด้วยตนเอง หรือมีหนังสือแจ้งล่วงหน้า)

 

สถานที่ :

น้ำตกปลิว

รายละเอียด :

ตั้งอยู่บริเวณป่าแพรก ห่างจากอำเภอทุ่งสงประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีขนาดเล็กแต่สวยงาม น้ำตกแห่งนี้มีความสูงประมาณ 25 เมตร แต่ละชั้นจะมีความกว้างประมาณ 15-18 เมตร มีน้ำไหลอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ใช้เวลาเดินทางจากหน้าบ้านน้ำร้อนขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุดของน้ำตกประมาณ 1 ชั่วโมง

 

สถานที่ :

น้ำตกโยงและน้ำตกโยงน้อย

รายละเอียด :

น้ำตกโยงมีความสูงประมาณ 15 เมตร มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่รองรับน้ำจากน้ำตกที่มีความสูงชันมาก ส่วนน้ำตกโยงน้อยนั้นมีลักษณะเป็นหน้าผากว้าง และสูงชัน มีน้ำไหลลดหลั่นลงมาเป็นสองสายมาบรรจบกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง

 

 

ธนาคารพาณิชย์

 

ธนาคารพาณิชย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 54 สาขา เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 สาขา โดยอำเภอเมืองมีสาขาธนาคารพาณิชย์มากที่สุดถึง 77 สาขา ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่มีสาขามากที่สุด ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มี 24 สาขา

ปริมาณเงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดในจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 29,476.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.6 โดยโครงสร้างเงินฝากประกอบด้วย เงินฝากประจำร้อยละ 66.7 เงินฝากประเภทออมทรัพย์ร้อยละ 31.7 และเงินฝากประเภทกระแสรายวัน ร้อยละ 1.7

ปริมาณสินเชื่อ ในปี 2543 ธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดได้อนุมัติสินเชื่อจำนวนทั้งสิ้น 17,962.36 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 18.1 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดการชำระหนี้ โดยโครงสร้างสินเชื่อประกอบด้วย เงินให้ยืม ร้อยละ 57.5 เงินเบิกเกินบัญชีร้อยละ 36.9 และ ตั๋วเงินร้อยละ 5.7

ตาราง เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ปี 2539-2543

หน่วย : ล้านบาท

ประเภท

2543

2542

2541

2540

2539

จำนวนสำนักงาน (แห่ง)

54.00 

54.00 

51.00 

52.00 

48.00 

เงินฝาก

29,475.00 

27,148.00 

26,490.00 

25,283.00 

23,346.00 

    เงินฝากกระแสรายวัน

489.00 

374.00 

338.00 

338.00 

426.00 

    เงินฝากประจำ

19,648.00 

19,490.00 

20,295.00 

19,334.00 

16,459.00 

    เงินฝากออมทรัพย์

9,338.00 

7,284.00 

5,857.00 

5,611.00 

6,461.00 

เงินให้สินเชื่อ

17,962.00 

21,919.00 

22,847.00 

131,857.00 

25,647.00 

    เงินเบิกเกินบัญชี

6,621.00 

9,307.00 

10,688.00 

12,495.00 

11,419.00 

    เงินให้กู้ยืม

10,320.00 

11,163.00 

10,554.00 

117,651.00 

12,422.00 

    ตั่วเงิน

1,021.00 

1,449.00 

1,605.00 

1,711.00 

1,806.00 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม

 

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานภาค-ตรัง ให้บริการสนับสนุน ผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่และจังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนและใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่

สำนักงานภาคใต้ 2

เลขที่ 59/12-14 ถนนห้วยยอด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 920 โทรศัพท์ (075) 223376, 223399 โทรสาร (075)210165

 

การประกันภัย

 

ธุรกิจประกันภัยที่เปิดดำเนินการในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนทั้งสิ้น 35 สาขา และ 35 สำนักงานตัวแทน ดังนี้

1. บริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 15 สาขา 29 สำนักงานตัวแทน

2. บริษัทประกันชีวิต จำนวน 20 สาขา 6 สำนักงานตัวแทน

 

 

โครงสร้างการตลาด และศูนย์กลางการค้า

 

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการผลิตสินค้าเกษตรหลากหลายชนิด ชนิดสินค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาก คือ ยางพารา ข้าว กาแฟ มะพร้าว มังคุด แร่ยิปซัม แร่โคโลไมต์ และกุ้งกุลาดำ อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรเหล่านี้ เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในจังหวัดมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าสินค้าเหล่านี้จะมีปริมาณที่เพียงพอในการลงทุนตั้งโรงงานแปรรูป

สภาพทางการค้า ปัจจุบันได้มีการเปิดห้างสรรพสินค้าขายส่งและปลีกรายใหญ่ คือ ห้างสรรพสินค้าโลตัส ทั้งนี้สามารถแยกการค้าออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) การค้าส่ง จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่พ่อค้าเป็นผู้รับสินค้าที่ผลิตได้จากจังหวัดอื่นๆ แล้วนำมาจำหน่ายส่งให้แก่พ่อค้าปลีกในจังหวัด ซึ่งสินค้าชนิดนี้ได้แก่ สินค้าอุปโภคและบริโภค สินค้าทุนและเครื่องจักร ปัจจัยการผลิต วัสดุก่อสร้าง และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ และอีกลักษณะหนึ่ง คือ พ่อค้าจะรวบรวมสินค้าที่ผลิตได้ในจังหวัด ส่งไปจำหน่ายยังตลาดปลายทางซึ่งสินค้าชนิดนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา กาแฟ มะพร้าว ผัก และผลไม้ และสินค้าประเภทสัตว์น้ำ

2) การค้าปลีก การค้าปลีกเป็นการค้าสินค้าอุปโภคและบริโภค การค้าจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งชุมชน ตลาดต่างๆ ในเขตเทศบาล สุขาภิบาล ตำบล และหมู่บ้าน

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางการตลาดที่สำคัญ จำแนกตามประเภทของสินค้าได้ดังนี้

ตลาดสินค้าพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลาดที่เป็นแหล่งศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้า พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ยางพารา กาแฟ มะพร้าว คือ ตลาดอำเภอทุ่งสง ตลาดสุขาภิบาลจันดี อำเภอฉวาง ตลาดอำเภอสิชล ตลาดอำเภอเมือง ส่วนตลาดซื้อขายประเภทสัตว์น้ำ คือ ตลาดอำเภอเมือง ตลาดอำเภอปากพนัง ตลาดอำเภอหัวไทร ตลาดอำเภอขนอม ตลาดทวดทอง เป็นตลาดที่ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดกลางรวมพืชผลหัวอิฐ ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดที่มีการซื้อขายส่งเฉพาะมะพร้าวเท่านั้น สินค้าจะมาจากทุกแห่งในภาคใต้และขายส่งไปยังตลาดต่างๆ ทุกภูมิภาค

ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ ตลาดสินค้าสัตว์น้ำส่วนใหญ่จะมีการซื้อขายตาแพปลา และที่ท่าเทียบเรือประมง ต่างๆ เช่น อำเภอเมือง ได้แก่ ตลาดสดปากนคร ตลาดสุขาภิบาลท่าแพ ตลาดสดวัดใหญ่ ซึ่งตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่จะซื้อขายเฉพาะสินค้าสัตว์น้ำเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีตลาดสัตว์น้ำในเขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลในเขตอำเภอสิชล และอำเภอปากพนัง โดยเฉพาะอำเภอปากพนังมีท่าเทียบเรือประมงขนาดใหญ่ และตลาดกลางสำหรับซื้อขายสัตว์น้ำ รวมห้องเย็นและโรงน้ำแข็งเพื่อเป็นแห่ลงซื้อขายสัตว์น้ำที่จับได้

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคศูนย์กลางตลาดซื้อขายสินค้าที่สำคัญ คือ ตลาดอำเภอเมือง ตลาดอำเภอทุ่งสง ตลาดอำเภอปากพนัง ตลาดสุขาภิบาลจันดี ซึ่งตลาดศูนย์กลางแต่ละแห่งนี้จะเป็นทั้งตลาดขายส่งและขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ให้แก่อำเภอที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

ตลาดนัด ตลาดนัดเป็นศูนย์กลางซื้อขายระหว่างพ่อค้ากับผู้ขายที่มาพบกันในแต่ละท้องที่ ซึ่งในจังหวัดมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกหมู่บ้านและตำบลของแต่ละอำเภอ จำนวน 138 แห่ง

ตลาดกลางสินค้าเกษตร ปัจจุบันตลาดกลางที่ได้รับการส่งเสริมตามระเบียบของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นตลาดกลางผักและผลไม้มีจำนวน 2 ตลาด คือ

1) ตลาดกลางผักและผลไม้หัวอิฐ ซึ่งดำเนินการโดยบุตร นายสุพร  อินทรวิเชียร ตั้งอยู่เลขที่ 11/7-53 ม.1 ถ.กระโรม ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร.(075)356-819, 344-203-4 ได้รับการส่งเสริมให้เป็นตลาดกลาง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534  สินค้าที่ซื้อขายเป็นประเภทผักและผลไม้ อาหารสดและแห้งเกือบทุกชนิด ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดประมาณวันละ 500 ตัน โดยมีแหล่งที่มาของสินค้าจากทั่วประเทศ และจำหน่ายสินค้าไปยังทั่วประเทศ และต่างประเทศ คือ มาเลเซีย ตลาดมีการคิดค่าบริการในการซื้อขายในตลาดเป็นค่าเช่าแผง ค่าชั่งน้ำหนักอัตรา 20–40 บาท/ตัน ขึ้นกับขนาดของรถและตลาด มีสำนักงานให้บริการติดต่อประสานงานกับผู้ซื้อผู้ขายในตลาด โดยให้บริการโทรศัพท์ ช่วงเวลาให้บริการของตลาดกลางตั้งแต่เวลา 05.00 – 17.00 น.

2) ตลาดกลางสินค้าเกษตรหัวอิฐ ดำเนินการโดย นายสุวรรณ คงสำราญ ตั้งอยู่ เลขที่1/8 ม.1 ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร.(075)344-483 ได้รับการส่งเสริมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2537

สินค้าที่จำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่เป็น ผักและผลไม้ รวมทั้งอาหารสด และแห้งต่างๆ เกือบทุกชนิดปริมาณการซื้อขายประมาณตันละ 50–100 ตัน ขึ้นกับฤดูกาลช่วงเวลาการให้บริการของตลาดเวลา 18.00–02.00 น. ตลาดกลางแห่งนี้มีห้องเย็นไว้บริการรับฝากสินค้า และเก็บรักษาสินค้าจากพ่อค้าและเกษตรกร

 

การจดทะเบียนธุรกิจการค้า

 

ในปี 2543 ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าและบริการมีการจดทะเบียน ตั้งใหม่ประเภทนิติบุคคลจำนวน 222 ราย มีเงินทุนทั้งสิ้น 421.82 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นประเภทบริษัทจำกัด 51 มีเงินทุน 151.50 ล้านบาท ประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด 171 ราย มีเงินทุน 270.32 ล้านบาท นอกจากมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง (เพิ่มทุน) จำนวน 49 ราย เป็นเงินทุนทั้งสิ้น 692.63 ล้านบาท สำหรับการจดทะเบียนโดยส่วนใหญ่จะเป็นการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในขณะที่มีการขอยกเลิกการจดทะเบียนนิติบุคคลทั้งสิ้น 47 ราย ในปี 2543 มีประเภทนิติบุคคลที่คงอยู่ทั้งสิ้น 3,225 ราย

ตาราง จำนวนสถานประกอบการค้า การบริการที่จดทะเบียนตั้งใหม่และเลิก ปี 2543

ประเภทพาณิชยกิจ

จดทะเบียนใหม่ (แห่ง)

ยังประกอบการอยู่ (แห่ง)

เลิกกิจการ (แห่ง)

ทะเบียนพาณิชย์

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

51 

707 

12 

บริษัทจำกัด

35 

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

171 

2,483 

34 

รวม

222 

3,225 

47 

ที่มา : สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด

 

สินค้านำเข้าและสินค้าออก

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้า 2 ด่าน คือ ด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช และด่านศุลกากรสิชล

ในปี 2543 การส่งออกสินค้า มีปริมาณรวม 2,831,232.98 ตัน มีมูลค่ารวม 1,093.15 ล้านบาท สินค้าที่ส่งออก ได้แก่ แร่ยิปซั่ม แร่โดโลไมต์ ก๊าซเอ็นจีแอล และก๊าซแอลพีจี โดยผ่านด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช มีปริมาณ 160,040.00 ตัน มูลค่า 102.53 ล้านบาท สินค้าที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรสิชล สำหรับแร่เฟลด์สปาร์มีปริมาณ 1,231,192.98 ตัน มูลค่า 990.62 ล้านบาท

สำหรับการนำเข้าสินค้า ผ่านพิธีการทางด้านศุลกากร ไม่มีการนำเข้าแต่อย่างใด ในปี 2543

ตาราง มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ปี 2539-2543

หน่วย : ล้านบาท

การค้าระหว่างประเทศ

2543

ส่งออก

1,093.15 

  - ผ่านท่าอากาศยาน

  - ผ่านการค้าชายแดน

1,093.15 

นำเข้า

  - ผ่านท่าอากาศยาน

  - ผ่านการค้าชายแดน

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

 

ปัจจัยพี้นฐานทางสังคม : สาธารณสุข

 

สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น 18 แห่ง จำนวน 1,563 เตียง โดยอำเภอเมืองมีจำนวนเตียงมากที่สุดถึง 863 เตียง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่น 2 แห่ง จำนวน 190 เตียง ซี่งอยู่ในอำเภอเมือง และอำเภอทุ่งสง สถานีอนามัยขนาดใหญ่มีจำนวน 34 แห่ง สถานีอนามัยขนาดทั่วไป จำนวน 216 แห่ง

สถานพยาบาลเอกชน

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงพยาบาลเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนทั้งสิ้น 4 แห่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง 2 แห่ง จำนวน 185 เตียง อำเภอทุ่งสง 1 แห่ง จำนวน 25 เตียง และอำเภอหัวไทร 1 แห่ง จำนวน 10 เตียง สถานผดุงครรภ์มีทั้งสิ้น 2 แห่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง และอำเภอฉวาง จำนวน 10 และ 2 เตียง ตามลำดับ

บุคลากรทางการสาธารณสุข

ในปี 2543 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนแพทย์ทั้งสิ้น 141 คน คิดเป็นสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1 : 10,819 คน จำนวนทันตแพทย์ เท่ากับ 34 คน คิดเป็นสัดส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1 : 44,869 คน และจำนวนทันตาภิบาล 37 คน คิดเป็นสัดส่วนทันตาภิบาลต่อประชากรเท่ากับ 1 : 41,231 คน

สาเหตุการตาย หรือเสียชีวิต

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2543 ลดลงอย่างชัดเจนเหลืออัตรา 0.75 (ต่อร้อยประชากร) อันเป็นผลจากอัตราเกิดมีชีพลดลง คือจากอัตรา 12.50 ในปี 2542 เหลือ 11.98 ในปี 2543 ในขณะที่อัตราตายของประชากรลดลงเพียงเล็กน้อย คือ จาก 4.80 (ต่อพันคน) ในปี 2542 เหลือ 4.44

สำหรับสาเหตุการตายของประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2543 พบว่า 5 อันดับแรกของสาเหตุการตาย ได้แก่ โรคหัวใจเป็นอันดับแรก รองมา ได้แก่ การถูกฆ่าและถูกทำร้าย มะเร็งทุกชนิด เนื้องอกไม่ร้าย อุบัติเหตุยานยนต์ และวัณโรค เป็นต้น

ตาราง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ
อัตราส่วนต่อประชากร จำนวนเตียง ทั้งภาครัฐและเอกชน ปี 2543

บุคคลากร

จำนวน

อัตราส่วนต่อประชากร

จำนวนบุคลากร

1,719 

 

   จำนวนแพทย์ 

141 

1:10,819

   จำนวนทันตแพทย์ 

34 

1:44,869

   จำนวนเภสัชกร 

69 

1:22,109

   จำนวนพยาบาลวิชาชีพ 

943 

1:1,618

   จำนวนพยาบาลเทคนิค 

532 

1:2,867

 จำนวนเตียง 

-

ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

หมายเหตุ : บุคลากรภาครัฐกระทรวงสาธารณสุข บางส่วนเป็นระดับผู้บริหารวิทยาจารย์ หรือทำงานในหน่วยงานที่สนับสนุนวิชาการ/บริการ

 

สถานที่กำจัดขยะ/น้ำเสีย

 

สาเหตุสำคัญของแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย ได้แก่

ขยะมูลฝอยชุมชน

แหล่งกำเนิดขยะที่สำคัญ ได้แก่ ครัวเรือน ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านอาหาร อาคาร สำนักงานและสถานที่ราชการ เป็นต้น สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถเก็บขนได้หมด เกิดขยะตกค้างตามมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนสถานที่ฝังกลบ หรือการดำเนินการฝังกลบไม่ถูกต้อง เกิดปัญหาน้ำเสียจากสถานที่ฝังกลบไหลสู่แหล่งน้ำ และพื้นที่ภายนอก ทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม

ขยะติดเชื้อ

เกิดจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงพยาบาลและคลินิก ได้แก่ อุปกรณ์ในการผ่าตัด และรักษาพยาบาล ตลอดจนชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีเชื้อโรคและสามารถก่อให้เกิดโรคได้ ปัจจุบันมีปัญหาการจัดการมาก เนื่องจากส่วนใหญ่การกำจัดขยะติดเชื้อต้องใช้เตาเผาขยะ ซึ่งปัจจุบันมีเฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลรัฐ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน ยังไม่มีเตาเผาขยะสำหรับกำจัดขยะติดเชื้อ จะนำขยะไปกำจัดรวมกับขยะชุมชนในสถานที่ฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขยะติดเชื้อ แพร่กระจายตามมา

ขยะอุตสาหกรรม

ปัญหาขยะอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดการและการกำจัดที่ไม่ถูกวิธี กล่าวคือ มีการลักลอบนำกากของเสียอันตราย จากอุตสาหกรรมไปทิ้งร่วมกับขยะมูลฝอยทั่วไป โดยที่ผ่านมาพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนำขยะอุตสาหกรรมไปกำจัดรวมกับขยะชุมชนทั่วไป และมีการลักลอบนำกากของเสียอันตรายไปทิ้งยังสถานที่ต่างๆ โดยขาดการดูแลและกำจัดอย่างถูกวิธี บางกรณี  ถ้าปริมาณกากของเสียอันตรายเหล่านี้มาก และมีการรั่วไหล อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง

น้ำเสีย

สถานการณ์และสภาพปัญหามลพิษทางน้ำของแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดนครศรีธรรมราช

แม่น้ำปากพนัง จัดเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำปากพนังมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด ในเขตอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ และมีสาขาจากอำเภอหัวไทรไหลไปรวมกันกับบ้านปากแพรก กลายเป็นแม่น้ำปากพนัง แล้วไหลออกสู่อ่าวนครศรีธรรมราชที่อำเภอปากพนัง

ในปี 2542 (เดือนมกราคม-กรกฎาคม) ศูนย์วิเคราะห์และทดสอบสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมภาคใต้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำของแม่น้ำปากพนัง จำนวนทั้งสิ้น 6 จุดตรวจวัดตลอดความยาวลำน้ำ ดังนี้คือ

- จุดที่ 1 ท่าเทียบเรือ อ.ปากพนัง

- จุดที่ 2 ท่าน้ำหน้ากองกำกับการ 3 กองตำรวจน้ำ อ.ปากพนัง

- จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำปากพนัง อ.ปากพนัง

- จุดที่ 4 ท่าน้ำวัดบางเข็ม ต.บางศาลา อ.ปากพนัง

- จุดที่ 5 ท่าน้ำที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่

- จุดที่ 6 สะพานบ้านการะเกด ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่

ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่าค่าเฉลี่ยของความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 7.3-7.6 ค่าของแข็งแขวนลอยระหว่าง 24-145 มก./ล. และค่าความสกปรกในเทอมของบีโอดี ระหว่าง 0.84-1.76 มก./ล. โดยจุดท่าน้ำหน้ากองกำกับการ 3 กองตำรวจน้ำ อ.ปากพนังเป็นบริเวณที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยบีโอดีและสารแขวนลอยมากที่สุด ในขณะที่ตำแหน่งบริเวณท่าน้ำที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ เป็นจุดที่มีการตรวจพบค่าเฉลี่ยบีโอดี และค่าของสารแขวนลอยต่ำที่สุด

สรุปสถานการณ์ของการดำเนินงาน ด้านการจัดการน้ำเสียของเทศบาล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2543

เทศบาลตำบลปากแพรก

- ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสีย (ปี 2537)

- ระบบบำบัด : เติมอากาศ

- ศึกษาออกแบบรายเอียดระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย (ปี 2541)

เทศบาลนครศรีธรรมราช

- ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสีย (ปี 2540)

- กำลังดำเนินการออกแบบรายละเอียดระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย (ปี 2543)

เทศบาลเมืองปากพนัง

- ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสีย (ปี 2538)

 

 

ปัจจัยพี้นฐานทางสังคม : การศึกษา

 

การจัดการศึกษา มีการจัดการศึกษาตามสภาพทางด้านสังคม ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มประชากรได้รับโอกาส การศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาก เนื่องจากประชาชนเล็งเห็นความสำคัญ และมีความตระหนักต่อผลการศึกษาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แต่ถึงอย่างไรก็ตามการดำเนินงานก็ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายได้ครบถ้วน

การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาครอบคลุมเป้าหมายที่มีจำนวนมากกว่าการศึกษาระดับอื่นๆ สถานศึกษาได้บริหารงานมุ่งคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาครอบคลุมวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของหลักสูตรเพราะในเชิงปริมาณ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม  ประชากรวัย 6-11 ปี ที่ต้องเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา สามารถจัดได้ครอบคลุมกลุ่มประชากร ในปีการศึกษา 2542 จัดได้ 100% แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง อัตราการตกซ้ำชั้นของนำเรียนระดับประถมศึกษา ยังคงมีสัดส่วนที่สูงกว่าระดับอื่นๆ อีกทั้งยังขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

การศึกษาระดับมัธยมศึกษา

การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่มีความหลากหลายและชัดเจนมีความเหมาะสมและสอดประสานกับการศึกษาระดับสูงขึ้น การจัดการศึกษาในวิชาสามัญและวิชาชีพเป็นการจัดที่สอดคล้องกับความต้องการ ความถนัดและความสนใจ สภาพปัญหาการจัดในระดับนี้ คือ อัตราการเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และต่อมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเชิงปริมาณเป็นไปตามแผน และเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบางรายวิชายังต่ำ คุณภาพของการจัดยังไม่เท่าเทียมกันระหว่างในเมืองกับชนบท สืบเนื่องจากการขาดแคลน ปัจจัยเกื้อหนุนความรู้ของบุคลากร เทคโนโลยีอันทันสมัย

การศึกษาเพื่ออาชีพ

การจัดการศึกษาในระดับนี้ สนับสนุนให้สถานศึกษาเปิดสอนในระดับและสาขาวิชาที่หลากหลาย พร้อมทั้งมีการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้องการและรองรับการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการศึกษาระบบทวีภาคี มีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมทั้งในและนอกระบบโรงเรียนแต่ถึงอย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการทางสังคมและเศรษฐกิจ ยังทำได้ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดบุคลากรทางด้านวิชาชีพในสาขาวิชาที่ต้องการเปิดสอน เช่น สาขาเทคโนโลยีการยาง เป็นต้น

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

การจัดการศึกษาระดับนี้ มีสถาบันการศึกษาจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาจนถึงปริญญาโท โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงเป็นโอกาสที่ดีของประชาชนที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้เพิ่มขึ้น

ตาราง อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียน นักเรียนต่อครู
จำแนกตามสังกัดและระดับ ปีการศึกษา 2542

ระดับ

จำนวนครู

จำนวน
นักเรียน

จำนวน
ห้องเรียน

นร.:ห้อง

นร.:ครู

สังกัด : สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ

ก่อนประถมศึกษา

10,099 

36,348 

1,804 

20:1 

4:1 

ประถมศึกษา

131,248 

5,622 

23:1 

 

มัธยมศึกษาตอนต้น

13,184 

527 

25:1 

 

สังกัด : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ก่อนประถมศึกษา

27,171 

 

 

ประถมศึกษา

13,208 

 

 

มัธยมศึกษาตอนต้น

8,462 

 

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายอาชีพ)

 

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

3,496 

 

 

สังกัด : เทศบาล

ก่อนประถมศึกษา

707 

2,752 

78 

35:1 

4:1 

ประถมศึกษา

13,947 

386 

36:1 

 

มัธยมศึกษาตอนต้น

812 

23 

35:1 

 

สังกัด : กรมสามัญศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

3,634 

48,051 

1,227 

39:1 

13:1 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

24,049 

661 

36:1 

 

ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

 

 

ปัจจัยพี้นฐานทางสังคม : ศาสนา

 

ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยในปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 498,796 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.72 รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม จำนวน 223,497 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.79 และศาสนาคริสต์ จำนวน 3,097 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.43

ตาราง จำนวนศาสนสถาน และศาสนิกชนจำแนกตามศาสนา ปี 2543

ศาสนา

จำนวนศาสนิกชน

จำนวนศาสนสถาน

พุทธ

498,796 

155 

อิสลาม

223,497 

119 

คริสต์

3,097 

พราหมณ์

อื่นๆ

398 

รวม

725,788 

283 

ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

 

 

สถาบันที่สำคัญ

 

สถาบันหรือหน่วยงานที่สำคัญและมีบทบาทต่อนักลงทุนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงาน สรรพสามิตจังหวัด หอการค้าจังหวัด สำนักงานจังหวัด สำนักงานแรงงานและ สวัสดิการสังคมจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัด และสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด หน่วยงานดังกล่าวมีความสำคัญต่อนักธุรกิจและนักลงทุนดังนี้

รายละเอียดสถาบันหรือหน่วยงานที่สำคัญ

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

ที่อยู่ :

44/100  ถ.สนามบินน้ำ  ต.บางกระสอ  อ.เมือง
จ.นนทบุรี  11000
โทรศัพท์ 0-2247-4621-25
โทรสาร   0-2547-4691

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- รับจดลิขสิทธิ์ชื่อตราสินค้า
- ให้ข้อมูลที่เป็นการสนับสนุนการขอจดลิขสิทธิ์และชื่อตราสินค้า
- ให้ข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการใหม่ควรทราบ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

 

ที่อยู่ :

618  ถ.นิคมมักกะสัน  แขวงมักกะสัน  เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ  10400
โทรศัพท์ 0-2253-0561
โทรสาร   0-2253-4086

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ขออนุญาตตั้งบริษัทหรือโรงงานในเขตส่งออกและเขตทั่วไป
- จัดทำข่าวสารด้านประโยชน์และบริการที่ได้รับและข้อมูลอื่นๆ
- ให้คำเสนอแนะซึ่งผู้ประกอบการใหม่ควรรับทราบ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานการค้าภายใน

 

 

ที่อยู่ :

86  หมู่ 1  ถ.มะขามชุม  ต.นาเคียน  อ.เมือง
โทรศัพท์
(075) 347358
โทรสาร   (075) 346541

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานเกษตรจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

ถ.นครฯ-ปากพนัง  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356413
โทรสาร   (075) 356164

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการเกษตรภายในจังหวัด
- ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้แก่เกษตรกร

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานขนส่งจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

ศูนย์ราชการนาสาร  ต.พระพรหม  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 378591, 378582-92
โทรสาร   (075) 378589

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- รับจดทะเบียนยานยนต์ตามพระราชบัญญัติยานยนต์
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- วางแผนการขนส่งทางบกและส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางบกภายในจังหวัด
- กำกับดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา และสถานีขนส่ง
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข

 

 

ที่อยู่ :

184 หมู่ 7  ต.โพธิ์เสด็จ  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 346942

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ให้ข้อมูลการขอเครื่องหมายมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.)
- ให้ข้อมูลที่เป็นการสนับสนุนการผลิต
- ให้ข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการใหม่ควรทราบ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานคลัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

ศาลากลางจังหวัด  ถ.ราชดำเนิน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356160
โทรสาร   (075) 341143 

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

ศาลากลางจังหวัด  ถ.ราชดำเนิน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356142
โทรสาร   (075) 356553

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่จังหวัด
- จัดทำสรุปรายงานประจำปีของแต่ละหน่วยงาน
- จัดอบรมพัฒนาข้าราชการ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานจัดหางานจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

129/2  ถ.ราชดำเนิน  ต.ในเมือง  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 360074
โทรสาร   (075) 340003

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- จัดหาแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการ
- จัดทำข่าวสารตลาดแรงงาน และตำแหน่งงานว่างออกเผยแพร่
- จัดทำทะเบียนแรงงานและอาชีพ
- จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐ
- แนะแนวอาชีพ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

73/78  ถ.พัฒนาการคูขวาง  ต.ท่าวัง  อ.เมือง
โทรศัพท์ 345593, 317774

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- รับจดทะเบียนจัดตั้ง และแก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งให้บริการออกหนังสือรับรองสำเนาเอกสารรายการทางทะเบียนธุรกิจ
- รับเรื่องราวการขออนุญาตให้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การอนุญาตจัดตั้งสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศ และสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ
- กำหนดมาตรฐานเครื่องชั่งตวงวัด

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานประกันภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

อาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช  86  ม.1  ถ.มะขามชุม  ต.นาเคียน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 347321-2
โทรสาร   (075) 347321

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานประมงจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

77/5  ม.1  ต.นาเคียน   อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356150, 312759
โทรสาร   (075) 356150

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับการประมง
- สำรวจวิเคราะห์และวิจัย แหล่งที่มีการทำประมง
- ศึกษาค้นคว้าวิจัยและทดลองวิชาการประมงทุกสาขา

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

86  หมู่ 1  ถ.มะขามชุม  ต.นาเคียน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 312902-3
โทรสาร   (075) 344215

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- รับคำร้องขอการจดทะเบียนสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า นำส่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการค้า

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม

 

 

ที่อยู่ :

ถ.พระรามที่ 6  เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ  10400
โทรศัพท์ 0-2202-3300-4
โทรสาร   0-2202-3415

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- การขอเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (ม.อ.ก.)
- ให้ข้อมูลที่เป็นการสนับสนุนการผลิตที่ได้มาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานแรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

ศาลากลางจังหวัด  ถ.ราชดำเนิน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 345158
โทรสาร   (075) 345159

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- คุ้มครองดูแลแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตรงตามที่กฎหมายกำหนด
- คุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องสภาพการจ้างและสภาพการทำงานให้เป็นไปตามกำหนดมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

138  หมู่ 8  ต.โพธิ์เสด็จ  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 341081
โทรสาร   (075) 347356, 31

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

163  ถ.ปากนคร  ต.ปากนคร  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 348091
โทรสาร   (075) 356452

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

ศาลากลางจังหวัด  ถ.ราชดำเนิน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 351152
โทรสาร   (075) 356171

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่จัดเก็บ
- กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพสามิตอำเภอ
- จัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างภายในจังหวัด

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานสรรพากรจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

ศาลากลางจังหวัด  ถ.ราชดำเนิน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 342368, 356145-6
โทรสาร   (075) 342933

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและตามกฎหมายอื่นๆ
- ศึกษาค้นคว้าเพื่อเสนอความเห็นต่อกระทรวงการคลังในเรื่องการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากร

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

184  หมู่ 7  ต.โพธิ์เสด็จ  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 346942
โทรสาร   (075) 343406

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

 

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

สำนักงานอุตสาหกรรม

 

 

ที่อยู่ :

87  หมู่ 1  ต.นาเคียน  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356740
โทรสาร   (075) 346121

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- รับจดทะเบียนการขออนุญาตการตั้งโรงงาน
- สนับสนุนการกระจายอุตสาหกรรมโดยเน้นการช่วยบรรเทาการว่างงาน
- ตรวจสอบและประเมินผลการป้องกันสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรม
- ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อฟื้นฟู ให้สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออก

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

หอการค้าจังหวัด

 

 

ที่อยู่ :

73/78  ถ.พัฒนาการคูขวาง  ต.ท่าวัง  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 345593, 317774

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

- ส่งเสริมวิสาหกิจต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินและเศรษฐกิจทั่วไป
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

 

 

 

 

สถาบัน/หน่วยงาน :

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ที่อยู่ :

ถ.เทวบุรี  อ.เมือง
โทรศัพท์ (075) 356252
โทรสาร   (075) 348016

 

 

บทบาทและหน้าที่ :

เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่

 

 

 

ปัจจัยในการพิจารณาศักยภาพการลงทุน 

 

จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการลงทุน โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนการลงทุนที่ประกอบด้วย

1. โครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า โดยมีการรับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อจ่ายไฟให้แก่ประชาชน และการประปา ซึ่งสามารถรองรับการขยายตัวของความต้องการได้อีกราวร้อยละ 26  ของกำลังการผลิต ส่วนระบบการสื่อสาร ในด้านหมายเลขโทรศัพท์ทั้งขององค์การโทรศัพท์และบริษัทที่ได้รับสัมปทาน ที่เหลือรองรับการขยายตัวของความต้องการได้อีกราวร้อยละ 20 เป็นต้น

2. การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่งสะดวก สามารถเดินทางได้สะดวกทางบกโดยทางรถยนต์ และรถไฟ ส่วนทางอากาศก็มีสนามบินพาณิชย์ ซึ่งบินประมาณ 2 เที่ยวต่อวัน

3. แรงงาน

จำนวนแรงงานที่มากในตลาดแรงงานโดยในปี 2542 มีแรงงานในกลุ่มกำลังแรงงานประมาณร้อยละ 54 ของประชากรทั้งสิ้น และค่าแรงขั้นต่ำที่ระดับ 133 บาท/วัน ในปี 2544 และแรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตร มากกว่าร้อยละ 80

4. วัตถุดิบ

ความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ จากการเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ยางพารา ข้าว มะพร้าว กาแฟ   ส่วนพืชผลที่สำคัญคือ มังคุด ทุเรียน และเงาะ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แร่โดโลไมท์ ยิปซั่ม ดีบุก แบไรต์ เฟสด์สปาร์ เป็นต้น

5. เขตการส่งเสริมการลงทุน

เป็นจังหวัดที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์เต็มที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และนโยบายของจังหวัดที่ต้องการให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเกษตรแบบครบวงจร ทั้งในด้านการส่งเสริมวิจัยและให้ความรู้แก่เกษตรกร

6. โครงสร้างทางสังคม

ความพร้อมทางโครงสร้างทางสังคมอื่นๆ เช่น บริการด้านสาธารณสุข ในปี 2542 มีจำนวนสถานพยาบาลมากกว่า 24 แห่ง สถานีอนามัยกว่า 34 แห่ง และมีนายแพทย์จำนวน 141 คน พร้อมทั้งมีสถานศึกษาพร้อมตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงอุดมศึกษา

 

อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุน

 

จากการสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยการสอบถามทัศนะคติของนักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ จะพบว่าอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่จะลงทุนได้ในจังหวัดนี้ได้แก่

อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและอาหาร

เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกและเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่นยางพารา ซึ่งสามารถนำมาทำการผลิตพวกอุปกรณ์พวกชิ้นส่วนยานยนต์และทางการแพทย์

อุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีและพลาสติก

เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบจากการมีโรงงานแยกก๊าซที่อำเภอขนอม ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติกขึ้นในจังหวัด

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชมีศักยภาพในระดับปานกลาง

 

 

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

 

 

ประเภท

2541

2542

2543

1.

ประชากร

 

  จำนวนประชากร

1,521,057  

1,523,557  

1,524,558  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

0.61  

0.16  

0.07  

 

  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ

N/A 

N/A 

N/A 

2.

รายได้ประชากร

 

  รายได้ต่อหัว (บาท)

44,670  

41,329  

41,358  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

6.41  

-7.48  

0.07  

 

  อันดับที่ของประเทศ

N/A 

N/A 

N/A 

3.

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

  การผลิตภาคการเกษตร

-0.53  

-3.66  

N/A 

 

  การผลิตนอกภาคการเกษตร

 

        อุตสาหกรรม

-21.35  

12.81  

N/A 

 

        ก่อสร้าง

-24.54  

50.62  

N/A 

 

        การค้า

-13.32  

3.08  

N/A 

 

        บริการ

5.87  

4.25  

N/A 

 

        อื่นๆ

-2.25  

-9.04  

N/A 

4.

แรงงาน

 

  จำนวนกำลังแรงงาน

757,982  

821,000  

811,072  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

N/A 

8.31  

-1.21  

 

  คิดเป็นสัดส่วนต่อกำลังแรงงานรวม (ร้อยละ)

N/A 

N/A 

N/A 

5.

การค้า

 

  การส่งออก

1,169.00  

769.00  

1,093.00  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

N/A 

-34.24  

42.16  

 

  คิดเป้นสัดส่วนการส่งออกรวม

N/A 

N/A 

N/A 

 

  การนำเข้า

18.00  

17.00  

N/A 

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

N/A 

-5.52  

-100.00  

 

  คิดเป้นสัดส่วนการส่งออกรวม

N/A 

N/A 

N/A 

 

  ดุลการค้า

1,151.00  

752.00  

1,093.00  

6.

การเงิน

 

  เงินฝาก (ล้านบาท)

26,494.00  

27,149.00  

29,476.10  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

4.78  

2.47  

8.57  

 

  คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณเงินฝากรวม

N/A 

N/A 

N/A 

 

  สินเชื่อ (ล้านบาท)

22,847.30  

21,919.06  

17,692.36  

 

  (%การเปลี่ยนแปลง)

-12.01  

-4.06  

-19.28  

 

  คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม

N/A 

N/A 

N/A 

7.

ฐานะการคลัง

 

  รายได้ (ล้านบาท)

17,714.00  

17,136.00  

20,931.00  

 

  คิดเป็นสัดส่วนรายได้รวม

N/A 

N/A 

N/A 

 

  รายจ่าย (ล้านบาท)

14,422.00  

16,662.00  

17,234.00  

 

  คิดเป็นสัดส่วนรายจ่ายรวม

N/A 

N/A 

N/A 

8.

การลงทุน

 

  กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

7  

2  

3  

 

  เงินลงทุน (ล้านบาท)

1,429.00  

260.00  

137.00  

 

  การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

N/A 

1,733  

1,823  

 

  เงินลงทุน (ล้านบาท)

N/A 

34,306.00  

32,667.00  

หมายเหตุ : การประมาณการข้อมูลปี 2543 โดยบริษัทกลุ่มแอดวานซ์ รีเสริช์ จำกัด โดยใช้หลักการคำนวณแบบ Share และ Growth ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ปี 2543 เป็นวิธีการประมาณการและปรับตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย