![]() |
![]() |
![]() |
หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล ศิลปินหนังตะลุงผู้เติบโตมาจากครอบครัวศิลปิน บ้านนา ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลงานการแสดงหนังตะลุงเป็นที่ประทับใจของบรรดา"คอหนังตะลุง" มากที่สุดคณะหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ.2509 - 2520 มีชื่อเสียงโด่งดัง มากที่สุด มี"ขันหมาก" ติดต่อกันถึงเดือนละ 20 - 30 คืน หนังเคล้าน้อย เป็น "หัวโจด" ศิลปินหนังตะลุง แห่งลุ่มน้ำปากพนัง เชื้อสายหนังสีชุม "ศิลปินหนังตะลุงเรื่องรามเกียรติ์" เมื่อ หลายทศวรรษที่ผ่านมา |
หนังเคล้าน้อย ชื่อจริง/สกุลจริงว่า นายเคล้า โรจนเมธากุล เป็นบุตรหนังสีชุม กับนางเทียน ชาวบ้านนา ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาชีพทำนา เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2485 ที่บ้านเลขที่ 002 หมู่ที่ 9 ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้อง 8 คน ประกอบอาชีพรับราชการและอาชีพอื่นๆ เป็นหลัก |
หนังเคล้าน้อย นอกจากเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขศิลปินหนังตะลุงมาแต่กำเนิด เขายังใสใจเรื่องศิลปินหนังตะลุงมาตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว จึงฝึกฝนการแสดงหนังตะลุง จนกระทั่งมีศิลปะและทักษะสามารถออกโรงแสดงหนังตะลุงแสดงหนังตะลุงเป็นอาชีพอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2507 |
อายุ 24 ปี บรรพชาอุปสมบททดแทนบุญคุณบิดามารดา อยู่ที่วัดท่าลิพง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน เป็นเวลา นาน 1 พรรษา จึงลาสิกาบทมาประกอบอาชีพศิลปินหนังตะลุง |
ศิลปินหนังตะลุง"เคล้าน้อย" ออกโรงแสดงหนังตะลุงเป็นอาชีพ เพียงไม่กี่ปีก็มีชื่อเสียงขจรขจาย กลายเป็นศิลปินหนังตะลุงยอดนิยมของประชาชนทั่วภาคใต้ แข่งขันโรงคราวใดได้รับชัยชนะมีรางวัลเป็นประจักษ์พยานนับชิ้นไม่ถ้วน มีขันหมากแทบไม่ว่างเว้นแต่ละคืน |
ด้วยอาชีพเป็นหนังตะลุง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังนี้เองที่เป็นสื่อรักชักนำให้ หนังเคล้าน้อย ได้เข้าสู่ประตูพิธีวิวาห์มงคลสมรสกับโนราห์ฉลวย ศิลปินสาวสวย แห่งจังหวัดกระบี่ เมื่อหนังเคล้าน้อยอายุได้ 38 ปี (พ.ศ.2533) จนมีบุตร - ธิดาด้วยกัน รวม 3 คน |
ปัจจุบันหนังเคล้าน้อย และโนราฉลวย สองสามี ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 6 ตำบลปกาศัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีอาชีพทำสวนยาง กาแฟ และปาล์มเป็นหลัก จัดรายการบันเทิงเป็นงานอดิเรก |
หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล ประสบผลสำเร็จในอาชีพศิลปินหนังตะลุงอย่างงดงาม เมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา เขาได้สร้างสรรค์ผลงานการแสดงหนังตะลุงอับประทับใจผู้ชมทั้งภาคใต้ และภาคกลางอย่างไม่รู้ลืมเลือนเลยทีเดียว |
ประวัติการศึกษา |
1. การศึกษาวิชาการ |
หนังเคล้าน้อย เรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดท่าลิพง ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน และสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (เรียนทางไปรษณีย์) ปัจจุบันยังสนใจการศึกษาอยู่จึงเรียนระดับมัธยมศึกษากับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ หนังเคล้าน้อยเป็นศิลปินหนังตะลุงผู้ฝักใฝ่ศึกษาอย่างจริงจัง |
2. การศึกษาวิชาศิลปินหนังตะลุง |
หนังเคล้าน้อย เติบโตท่ามกลางศิลปินหนังตะลุง มีหนังสีชุม ซึ่งเป็นบิดา และหนังใหม่ แห่งบ้านนาที่หนังเคล้าน้อยเรียกว่า "ปู่ใหม่" เป็นครูเป็นแบบอย่างให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลือดศิลปินค่อยๆสะสมและซึบซับสู่จิตและวิญญาณของเด็กชายเคล้า ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา หนังเคล้าน้อยตามบิดา ไปแสดง ณที่ต่างๆ และได้แสดงแทนในบางช่วงตอน และบางครั้งผู้ชมก็ติดอกติดใจจนทำให้เด็กชายเคล้าน้อยแสดงแทนหนังสีชุม จนจบเรื่องก็มี |
ปรากฎการณ์ที่คนรับหนังสีชุม ไปแสดงแต่เมื่อถึงเวลาแสดงจริงๆ กลับขอให้เด็กชายเคล้าน้อยแสดงแทนมีบ่อยครั้งขึ้นเป็บลำดับ หนังเคล้าน้อยเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งเจ้าภาพรับหนังสีชุมไปแสดงในงานศพครูแดงบ้านเกาะทวด อำเภอเชียรใหญ่หนังสีชุมไปตามนัดหมายเด็กชายเคล้าน้อยตามไปด้วย แต่เมื่อถึงเวลาแสดงเข้าจริงๆ หนังสีชุม กลับแสดงไม่ได้ การแสดงครั้งนั้นจึงต้องตกเป็นภาระของเด็กชายเคล้าน้อยตลอดคืน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมอีกด้วย เด็กชายเคล้าน้อยเพิ่งทราบตอนหลังว่าที่แท้หนังสีชุมจงใจ หรือแกล้งทำเป็นเมา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชมและทดสอบการแสดงหนังตะลุงของลูกชาย นั้นเอง |
เด็กชายเคล้าน้อย ซึ่งมีเลือดศิลปินหนังตะลุงมาแต่กำเกิด และสนใจการแสดงหนังตะลุงมาตั้งแต่วัยเด็กหลังจากสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ ก็ใช้เวาลเพื่อการฝึกหัดปฏิบัติการแสดงหนังตะลุง จากบิดาคือ หนังสีชุม |
ประวัติอาชีพและผลงาน |
ประวัติอาชีพ |
หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล ประกอบอาชีพศิลปินหนังตะลุงอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2507 ช่วงเวลาที่โด่งดังที่สุด มีขันหมากแสดงทั่วภาคใต้และกรุงเทพมหานคร คือ ช่วงปี พ.ศ.2529 - 2520 มีขันหมากถึงเดือนละ 20 - 30 คืน |
ประวัติผลงาน |
นิยายหนังตะลุงและบทกลอนที่ใช้แสดงหนังตะลุงจากหลายแหล่ง จากหนังสือ ศิลปินรุ่นพี่ ดัดแปลงจากนิยายหนังตะลุงของศิลปินชื่อดัง และนักแต่งนิยายหนังตะลุงเขียนเรื่อง |
นักแต่งนิยายหนังตะลุงคนสำคัญที่เขียนเรื่องให้หนังตะลุงเคล้าน้อยแสดงได้แก่ นายสุวิทย์ ชินสีห์ บ้านเชียรใหญ่ นายสนิท ชูนุ่น เมืองตรัง และนายสงวน มีชูสิทธิ์ หรือ "หมอสงวน" บ้านบ่อล้อ เชียรใหญ่ |
นิยายหนังตะลุงที่หนังเคล้าน้อย ชอบแสดงมักเป็นเรื่องจักรๆวงศ์ๆ อิงธรรมะ ให้ทั้งสาระและบันเทิง เช่น เรื่องกองทัพธรรม กรรมของแม่ พระแสง ถวัลย์วงศ์ ธรณีอย่ากันแสง มนุษย์พันเหลี่ยม ราชินีสืบตระกูล มนุษย์มหัศจรรย์ และแรงคำสาบ เป็นต้น |
นิยายที่ "คอหนังตะลุง" ชื่นชอบและมักจะขอให้แสดงอยู่เสมอๆ คือ เรื่องกองทัพธรรม และกรรมของแม่ |
ลักษณะที่โดดเด่นของศิลปินหนังตะลุงเคล้าน้อย นอกจากมีนิยายหนังตะตะลุงดีๆ จากผู้แต่ที่มีฝีมือ ศิลปินหนังตะลุงเคล้าน้อยยังมีศิลปะในการเชิดรูปเป็นเยี่ยม |
![]() หนูจันทร์ ธานินทรพงศ์ |
![]() |
![]() ปานบอด ชีช้าง |