พระราชบัญญัติ

เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น

.. 2509

-------------------------

ในพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สังวาลย์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ให้ไว้ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2509

เป็นปีที่ 21 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น

พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราช โองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

 

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.. 2509"

 

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ฝ่ายท้องถิ่น พุทธศักราช 2478

 

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

"เครื่องแบบ" หมายความว่า เครื่องแต่งกายทั้งหลายรวมทั้งเครื่องหมายต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งประกอบ เครื่องแต่งกายอย่างอื่น ที่ได้กำหนด ให้เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นแต่ง

"เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น"* หมายความว่า สมาชิกสภาจังหวัด ข้าราชการส่วนจังหวัด ลูกจ้างประจำของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี เทศมนตรี พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำของเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล สมาชิ สภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมือง
พัทยา พนักงานเมืองพัทยา ลูกจ้างประจำของ เมืองพัทยา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา กรรมการสุขาภิบาล พนักงานสุขาภิบาล ลูกจ้างประจำของสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาล กรรมการสภาตำบล ที่ปรึกษาสภาตำบล เลขานุการ สภาตำบล หรือเจ้าหน้าที่ และลูกจ้างประจำอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล หรือ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำ ตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการ ตำบล กรรมการหมู่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ตำบลและหมู่บ้านตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และหมายความรวมถึงผู้ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมาย ว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น

 

มาตรา 5 ลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบ และระเบียบ ในการแต่งเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ ส่วนท้องถิ่นแต่ละจำพวกหรือแต่ละชั้น ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

 

มาตรา 6 ผู้ใดไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบตามพระราชบัญญัตินี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่งเครื่องแบบ นั้นเพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
   จอมพล ถนอม กิตติขจร
     นายกรัฐมนตรี

 

(คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 105 หน้า 830)

 

 

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (.. 2542)
ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น
.. 2509

--------------------------------------

หลักการ

ปรับปรุงการกำหนดลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบ และระเบียบในการแต่งเครื่องแบบของ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น

เหตุผล

เนื่องจากได้มีการกำหนดเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นไว้ในกฎกระทรวงหลายฉบับ อันเป็นผลให้การ ใช้กฎหมายไม่สะดวก สมควรนำเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน ประกอบกับได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายฉบับ สมควรแก้ไขเพิ่มเติม เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นดังกล่าวให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง
ฉบับที่ 11 (.. 2542)
ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น
.. 2509

-------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.. 2509 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ให้ยกเลิก

(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (.. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วน ท้องถิ่น พ.. 2509

(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (.. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วน ท้องถิ่น พ.. 2509

(3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (.. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ ส่วนท้องถิ่น พ.. 2509

(4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (.. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วน ท้องถิ่น พ.. 2509

 

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้

"สมาชิกสภาท้องถิ่น" หมายความว่า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และให้หมายความรวมถึงสมาชิกสภา ตำบลด้วย

"ผู้บริหารท้องถิ่น" หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี เทศมนตรี นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล

"พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงาน เทศบาล พนักงานเมืองพัทยา และพนักงานส่วนตำบล

"ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า ลูกจ้างประจำขององค์การบริหารส่วน จังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล

หมวด 1

เครื่องแบบสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น

 

ข้อ 3 เครื่องแบบสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ให้มี 2 ชนิด คือ

(1) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี 2 ประเภท

() เครื่องแบบสีกากีคอพับ

() เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

(2) เครื่องแบบพิธีการ มี 5 ประเภท

() เครื่องแบบปกติขาว

() เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

() เครื่องแบบครึ่งยศ

() เครื่องแบบเต็มยศ

() เครื่องแบบสโมสร

 

ข้อ 4 เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย

 

(1) หมวก

ชายให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทอง สูง 6.5 เซนติเมตร

แบบ ที่ 2 หมวกแก็ปทรงอ่อนสีกากี หน้าหมวดติดครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง สูง 4.5 เซนติเมตร

หญิงให้ใช้หมวกได้ 3 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของชายแบบที่ 1 แต่เป็นทรงอ่อน

แบบที่ 2 หมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง สูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสีกากี

แบบที่ 3 หมวกหนีบสีกากี ด้านห้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก 2 ดุม ติดซ้อนกันมีตราครุฑพ่าห์ภายในบัวกระหนก สูง 4.5 เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวกห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวก ประมาณ 4 เซนติเมตร

การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร

 

(2) เสื้อ

ชายให้ใช้เสื้อได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 เสื้อคอพับ สีประเภทสีกากี แขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ 1 ดุม หรือแขนสั้น มีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่ง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม หรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋าและใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลื่ยม ผืนผ้า มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ 1 ดุม สำหรับขัดใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ 5 ดุม ระยะห่างกันพอสมควร และติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ ยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมน ด้านไหล่กว้าง 4 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 3 เซนติเมตร ตอนกลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ

ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตสีประเภทสีกากีแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำ เงื่อนกะลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง

แบบที่ 2 เสื้อคอแบะปล่อยเอว แบบคอตื้น สีประเภทสีกากีแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีดุมที่อกเสื้อ 4 ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละสองกระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง 3.5 เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่ามมีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋าติดดุมข้างละ 1 ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋าที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง

ให้ใช้เสื้อแบบที่ 2 แทนเสื้อแบบที่ 1 ในโอกาสอันควร

ตามที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับเสื้อ

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรบนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

หญิงให้ใช้เสื้อได้ 4 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบเสื้อของชายแบบที่ 1

แบบที่ 2 เสื้อคอพับ สีประเภทสีกากี สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่า มีตะเข็บผ่านกลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม 5 ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่ามีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมรด้านไหล่กว้าง 4 เซนติเมตร ด้านคอ กว้าง 3 เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ การสวมสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง

แบบที่ 3 เสื้อคอพับปล่อยเอว สีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ มีดุม 4 ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ 2 และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ 2 ทั้งหน้าหลัง ความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ ยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อ เหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง 4 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 3 เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ

แบบที่ 4 เสื้อคอแบะปล่อยเอว สีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ แขนยาวจรดข้อมือหรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม 3 ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีใบปกกระเป๋า

ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ 2 แบบที่ 3 และแบบที่ 4 เป็นดุมสีเดียวกับสีเสื้อ

การสวมเสื้อแบบที่ 3 และแบบที่ 4 ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางกาง และคาดเข็มขัดตาม (5) แบบที่ 2 ทับเอวเสื้อ

ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 โดยใช้เสื้อเชิ้ตประเภทสีกากีแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำ เงื่อนกะลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือ กระเป๋าบนซ้าย

 

(3) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูสำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

สำหรับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีแถบกว้าง 3 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร ติดทับอยู่บนปลอกพื้นสีกากียาว 5 เซนติเมตร และมีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นรูปรัฐธรรมนูยประดิษฐานบนพานสองชั้นภายในบัวกระหนกติดทับบนอินทรธนู

สำหรับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีแถบกว้าง 2 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 2 แถบ แถบบนขมวดเป็น วงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร ติดทับอยู่บนปลอกพื้นสีกากียาว 5 เซนติเมตร เฉพาะนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นรูป รัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานสองชั้นภายในบัวกระหนก ติดทับบนอินทรธนู

สำหรับสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภา ตำบล มีแถบกว้าง 3 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร ติดทับอยู่บนปลอกพื้นสีกากียาว 5 เซนติเมตร และมีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานสองชั้นภายในบัวกระหนก ติดทับบนอินทรธนู

สำหรับนายกเทศมนตรี เทศมนตรี นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มีแถบกว้าง 2 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร ติดทับอยู่บนปอกพื้นสีกากียาว 5 เซนติเมตร เฉพาะนายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานสองชั้น ภายในบัวกระหนก ติดทับบนอินทรธนู

แถบดังกล่าวให้ใช้สีเหลืองหรือสีทอง การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู ทับอยู่บนปลอกพื้น สีกากี แถบแรกห่างจากต้นอินทรธนู 5 มิลลิเมตร และแถบต่อไปเว้นระยะห่างกัน 5 มิลลิเมตร

การใช้เครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนู ให้ใช้กับเสื้อแบบที่ 1 สำหรับชาย และแบบที่ 2 และแบบที่ 3 สำหรับหญิง

 

(4) กางกง กระโปรง

ชายให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากีขายาว ไม่พับปลายขา

หญิงให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ 5 แบบ

แบบที่ 1 กางเกง อนุโลมตามแบบกางเกงของชาย

แบบที่ 2 กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ 1 นิ้ว มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิปด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา

แบบที่ 3 กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย

แบบที่ 4 กระโปรงมีตะเข็บหน้า 2 ตะเข็บ ตะเข็บหลัง 2 ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่า ปลายบานเล็กน้อย

แบบที่ 5 กระโปรงกางเกง แบบกางเกงขายาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า 2 ตะเข็บ ตะเข็บหลัง 2 ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง

 

(5) เข็มขัด

ชายให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายใน กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร

หญิงให้ใช้เข็มขัดได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบเข็มขัดของชาย

แบบที่ 2 เข็มขัดผ้าสีประเภทสีกากีสีเดียวกับสีเสื้อ กว้าง 2.5 เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า

การใช้เข็มขัดแบบที่ 1 ให้คาดทับกระโปรง และแบบที่ 2 ให้คาดทับเสื้อ

 

(6) รองเท้า ถุงเท้า

ชายให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ถุงเท้า สีเดียวกับรองเท้า

หญิงให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร

 

(7) เครื่องหมายแสดงสังกัด

ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง ไม่มีขอบ สูง 2 เซนติเมตร เป็นรูปราชสีห์ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง

 

(8) ป้ายชื่อและตำแหน่ง

ให้มีป้ายชื้อพื้นสีดำ ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 เซนติเมตร ตัวอักษรสีขาว แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่งในการบริหารงานหรือชื่อตำแหน่งในสายงานตามที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด ประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนขาว

 

(9) เครื่องหมายแสดงประเภท

ให้มีเครื่องหมายแสดงประเภทสำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ดังนี้

สำหรับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และรองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง มีขอบ ขนาดสูง 4 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร เป็นรูปอักษร "อบจ" ภายในบัวกระหนกติดที่อกเสื้อด้านขวาเหนือป้ายชื่อและตำแหน่ง

สำหรับสมาชิกสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี และเทศมนตรี ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง มีขอบขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร เป็นรูปอักษร "" ภายในบัวกระหนกติดที่อกเสื้อด้านขวาเหนือป้ายชื่อและตำแหน่ง

สำหรับสมาชิกสภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา และรองนายกเมืองพัทยา ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง มีขอบขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร เป็นรูปอักษร "" ภายในบัวกระหนกติดที่อกเสื้อด้านขาวเหนือป้ายชื่อและตำแหน่ง

สำหรับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง มีขอบ ขนาดสูง 3 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร เป็นรูปอักษร "อบต" สำหรับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และ "" สำหรับสมาชิกสภาตำบล ภายในบัวกระหนก ติดที่อกเสื้อด้านขวาเหนือป้ายชื่อและตำแหน่ง

 

ข้อ 5 เครื่องแบบพิธีการ

 

(1) เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย

() หมวก

ชายให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง สูง 5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว

หญิงให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของชาย แต่เป็นทรงอ่อน

แบบที่ 2 หมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาวที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง สูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว

การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร

() เสื้อ

ชายให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 ดุม ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

หญิงให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง 4 ตะเข็บ ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร 3 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และดุม 5 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อด้านซ้าย

() อินทรธนู สำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มีอินทรธนูแข็ง กว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีขาว ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก ปักดิ้นสีทองลายกระหนกเต็มแผ่นอินทรธนู

สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาตำบล ให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีขาว มีแถบสีน้ำเงินกว้าง 1 เซนติเมตร ติดตรงกลางส่วนยาว ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะ สีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก ปักดิ้นสีทองลายกระหนกเต็มแผ่นอินทรธนู

ผู้บริหารท้องถิ่น พื้นสีดำ ปักดิ้นสีทองลายกระหนกเต็มแผ่นอินทรธนู

() เครื่องหมายแสดงประเภท

ให้ใช้เครื่องหมายแสดงประเภทเช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ

สำหรับนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร และนายกเมืองพัทยา ให้มีสายสร้อยสีทองลงยาเป็นลายดอกรักร้อยกลางสายสร้อย มีอักษร "" หรือ "" ลงยาสีขาว ห้อยดวงตราเครื่องหมายประจำเทศบาลหรือเมือง พัทยาคล้องคอ เครื่องหมายนี้ให้ประดับได้ในโอกาสอันควร

() กางเกง กระโปรง

ชายให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาวขายาว ไม่พับปลายขา

หญิงให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า 2 เกล็ด และด้านหลัง 2 เกล็ด ยาวปิดเข่าปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอป้าน

() รองเท้า ถุงเท้า

ชายให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหลังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูก ถุงเท้าสีดำ

หญิงให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้าไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ

 

(2) เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่สีของหมวก ผ้าพันหมวก หมอนสักหลาดสำหรับปักครุฑพ่าห์ เสื้อและกางเกงหรือกระโปรงเป็นประเภทสีกากี

 

(3) เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

(4) เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศสวมสายสะพาย

(5) เครื่องแบบสโมสร

สำหรับชายมี 3 แบบ คือ

() เครื่องแบบสโมสร ก. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ

() เครื่องแบบสโมสร ข. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ก. เว้นแต่

เสื้อ ให้ใช้เสื้อสโมสรสีขาวทำด้วยผ้าสักหลาดหรือเสิร์จ เปิดอกปาดเอว มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้อมือข้างละ 3 ดุม ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ 3 ดุม และที่บรรจบเสื้อมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ข้างละ 1 ดุม ดุ่มคู่นี้มีสายสร้อยสีทองร้อยติดกัน ประกอบด้วย เสื้อกั๊กสีขาวดุมโลหะสีทองตรา ครุฑพ่าห์ 3 ดุม และเสื้อเชิ้ตสีขาวอกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชิ้ตชั้นเดียวแบบปีกผีเสื้อผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย

เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ในฤดูร้อน ให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำได้

() เครื่องแบบสโมสร ค. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข. เว้นแต่เสื้อเชิ้ตอกแข็งให้ใช้เสื้อเชิ้ตอกอ่อนสีขาว และเสื้อกั๊กให้ใช้แพรแถบสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน แพรแถบนี้ส่วนกลางด้านหน้ากว้าง 12 เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างเรียวกว้าง 11 เซนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง

สำหรับหญิง ให้แต่งตามสมัยนิยม

 

หมวด 2

เครื่องแบบพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ข้อ 6 เครื่องแบบปฎิบัติราชการของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่อินทรธนูให้มีเครื่องหมายอินทรธนู ดังต่อไปนี้

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไป มีแถบกว้าง 3 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 5 และระดับ 6 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 3 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 3 และระดับ 4 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 2 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ ขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 1 มีแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 5 มิลลิเมตร

สำหรับพนักงานเทศบาลวิสามัญ มีแถบเช่นเดียวกับพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่แถบที่ขมวดเป็นวงกลมนั้นให้ขมวดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

แถบดังกล่าวให้ใช้สีเหลืองหรือสีทอง การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู ทับอยู่บนปลอกพื้นสีกากี แถบแรกห่างจากต้นอินทรธนู 5 มิลลิเมตร และแถบต่อไปเว้นระหว่างกัน 5 มิลลิเมตร

เครื่องหมายแสดงประเภท ให้เป็นไปตามข้อ 4 (9) แล้วแต่กรณี

 

ข้อ 7 เครื่องแบบพิธีการของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับ เครื่องแบบสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่อินทรธนูให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตรา ครุฑพ่าห์ ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลายดังนี้

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไป มีแถบสีทองกว้าง 5 เซนติเมตรเป็นขอบและปัดดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 5 และระดับ 6 มีแถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 3 ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน 3 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 3 และระดับ 4 มีแถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตรเป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 2 ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 2 มีแถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร เป็นขอบและปักดิ้น สีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 1 ดอก ไม่เกิน 1 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ 1 มีแถบสีทองกว้าง 5 มิลลิเมตร เป็นขอบ

 

หมวด 3

เครื่องแบบลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ข้อ 8 เครื่องแบบลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่อง แบบสีกากีคอพับของสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น และพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่อินทรธนูให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้

ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป มีแถบกว้าง 3 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ

ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งระดับ 5 และระดับ 6 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 3 แถบ

ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งระดับ 3 และระดับ 4 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 2 แถบ

ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งระดับ 2 มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ

ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งระดับ 1 มีแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร 2 แถบ

แถบดังกล่าวให้ใช้สีเหลืองหรือสีทอง การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูทับอยู่บนปลอกพื้นสีกากี แถบแรกห่างจากต้นอินทรธนู 5 มิลลิเมตร และแถบต่อไปเว้นระยะห่างกัน 5 มิลลิเมตร

ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตสีประเภทสีกากีแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสีสอดชายผ้าผูกคอไว้ ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋า บนซ้าย

 

หมวด 4

เครื่องแบบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบล

 

ข้อ 9 เครื่องแบบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบล ให้มี 2 ชนิด คือ

(1) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี 1 ประเภท คือ เครื่องแบบสีกากีคอพับ

(2) เครื่องแบบพิธีการ มี 3 ประเภท

() เครื่องแบบปกติขาว

() เครื่องแบบครึ่งยศ

() เครื่องแบบเต็มยศ

ข้อ 10 เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย

(1) หมวก

ชายให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ กว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราราชสีห์ภายในซุ้มลายกระหนกดุนนูนพื้นแรเป็นเส้น ตอนล่างมีแถบโค้งรับ บรรจุด้วยตัวอักษรมีข้อความว่า "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ทำด้วยโลหะสีทอง สูง 7 เซนติเมตร

แบบที่ 2 หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี หน้าหมวกติดตราเช่นเดียวกับแบบที่ 1 แต่สูง 4.5 เซนติเมตร

หญิงให้ใช้หมวกได้ 3 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของชายแบบที่ 1 แต่เป็นทรงอ่อน

แบบที่ 2 หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ กว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพักหมวกสีกากี หน้าหมวกติดตราเช่นเดียวกับหมวกของชายแบบที่ 2

แบบที่ 3 หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก 2 ดุม ติดซ้อนกันมีตราเช่นเดียวกับหมวกของชายแบบที่ 2 ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวกห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ 4 เซนติเมตร

การสวมหมวก ให้สวมหมวกในโอกาสอันควร

(2) เสื้อ

ชายให้ใช้เสื้อคอพับ สีประเภทสีกากีแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ 1 ดุม หรือแขนสั้นมีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่ง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ 1 ดุม สำหรับขัดใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ 5 ดุม ระยะห่างกันพอสมควร และติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง 4.5 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 3.5 เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ

ดุมที่ใช้กับเสื้อมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับสีเสื้อ

ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตสีประเภทสีกากีแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี สอดชายผ้า ผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย หญิงให้ใช้เสื้อได้ 3 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบเสื้อของชาย

แบบที่ 2 เสื้อคอพับ สีประเภทสีกากีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่ามีตะเข็บผ่านกลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม 5 ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ ยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง 5 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 3 เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ

แบบที่ 3 เสื้อคอพับปล่อยเอว สีประเภทสีกากีสีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม 4 ดุม แขนยาวหรือแขนสั้น ตลบชายกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ 2 และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ 2 ทั้งหน้าหลัง ความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ ยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่ กว้าง 4 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 3 เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ

การสวมเสื้อแบบที่ 2 ให้สอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง และคาดเข็มขัดทับขอบกระโปรงและการสวมเสื้อแบบที่ 3 ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกง และคาดเข็มขัดตรา (5) แบบที่ 2 ทับเองเสื้อ

ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ 2 และแบบที่ 3 เป็นดุมสีเดียวกับสีเสื้อ

ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 โดยใช้เสื้อเชิ้ตสีประเภทสีกากีแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

(3) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้

กำนัน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 3 แถบ

ผู้ใหญ่บ้าน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 2 แถบ

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ

สารวัตรกำนัน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ

แพทย์ประจำตำบล มีแถบตามจำนวน ขนาดและลักษณะเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน แถบดังกล่าวให้ใช้สีเหลือง การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูทับอยู่บนปลอกพื้นสีดำ แถบแรกห่างจากต้นอินทรธนู 5 มิลลิเมตร และแถบต่อไปเว้นระยะห่างกัน 5 มิลลิเมตร ให้เหลือปลอกพื้นสีดำขนาดกว้าง 5 มิลลิเมตร อยู่ตอนบนของแถบสุดท้าย และเหนือปลอกพื้นสีดำ 5 มิลลิเมตร ติดเครื่องหมายโลหะสีทองเป็นรูปราชสีห์อยู่ภายในวงรีดุนนูนมีลายประกอบ ขนาดสูง 2 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร พื้นลงยา โดยสีแสดงความหมายของตำแหน่ง ดังนี้

กำนัน สารวัตรกำนัน สีแดง

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

แพทย์ประจำตำบล สีเขียว

(4) กางเกง กระโปรง

ชายให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากีขายาว ไม่พับปลายขา

หญิงให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีก็ได้ 5 แบบ

แบบที่ 1 กางเกง อนุโลมตามแบบกางเกงของชาย

แบบที่ 2 กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ 1 นิ้ว มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิปด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา

แบบที่ 3 กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบนเล็กน้อย

แบบที่ 4 กระโปรงมีตะเข็บหน้า 2 ตะเข็บ ตะเข็บหลัง 2 ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่าปลายบานเล็กน้อย

แบบที่ 5 กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า 2 ตะเข็บ ตะเข็บหลัง 2 ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง

(5) เข็มขัด

ชายให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายมนกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร มีรูปราชสีห์ดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้นด้วยโลหะสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร

หญิงให้ใช้เข็มขัดได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบเข็มขัดของชาย

แบบที่ 2 เช่นเดียวกับเข็มขัดของชาย แต่ด้ายถักกว้าง 2.5 เซนติเมตร หัวเข็มขัดกวาง 3 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร การใช้เข็มขัดแบบที่ 1 ให้คาดทับกระโปรง และแบบที่ 2 ให้คาดทับเสื้อ

(6) รองเท้า ถุงเท้า

ชายให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ถุงเท้า สีเดียวกับรองเท้า

หญิงให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้าตาล แบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร

(7) เครื่องหมายแสดงสังกัด

ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง ไม่มีขอบ สูง 2.5 เซนติเมตร เป็นรูปราชสีห์ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง

(8) ป้ายชื่อและตำแหน่ง

ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำ ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 เซนติเมตร ตัวอักษรสีขาวแสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่ง ประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนขวา

ข้อ 11 เครื่องแบบพิธีการ

(1) เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย

() หมวก

ชายให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราราชสีห์ภายในซุ้มลายกระหนก ตอนล่างมีแถบโค้งรับปักด้วยดิ้นสีทอง สูง 7 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว

หญิงให้ใช้หมวกได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบหมวกของชาย แต่เป็นทรงอ่อน

แบบที่ 2 หมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราเช่นเดียวกับหมวกของชาย เครื่องแบบปกติขาว สูง 4.5 เซนติเมตร

การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร

() เสื้อ

ชายให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 ดุม

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

หญิงให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง 4 ตะเข็บ ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ดุม 3 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และ 5 ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อด้านซ้าย

() อินทรธนู

ให้ใช้อินทรธนูแข็ง ต้นอินทรธนูกว้าง 5 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอดว้าง 4 เซติเมตร ปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก มีเครื่องหมายบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้

กำนัน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 3 แถง

ผู้ใหญ่บ้าน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 2 แถบ

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู 1 แถบ และแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร ติดเรียงต่อไปอีก 1 แถบ

สารวัตรกำนัน มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ

แพทย์ประจำตำบล มีแถบตามจำนวน ขนาดและลักษณะเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน

แถบดังกล่าวให้ใช้แถบดิ้นสีทอง การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู ทับอยู่บนพื้นสักหลาดสีดำแถบแรกห่างจากต้นอินทรธนู 5 มิลลิเมตร และแถบต่อไปเว้นระยะห่างกัน 5 มิลลิเมตร ตอนบนห่างจากแถบสุดท้าย 5 มิลลิเมตร ติดเครื่องหมายเช่นเดียวกับที่ใช้ประดับอินทรธนูอ่อน

() กางเกง กระโปรง

ชายให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาวขายาว ไม่พับปลายขา

หญิงให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า 2 เกล็ด และด้านหลัง 2 เกล็ด ยาวปิดเข่าปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอป้าน

() รองเท้า ถุงเท้า

ชายให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหลังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูก ถุงเท้าสีดำ

หญิงให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้าไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ

(2) เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

(3) เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศสวมสายสะพาย

 

หมวด 5

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณืและเครื่องหมาย

 

ข้อ 12 การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติและระเบียบการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

ผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้

ข้อ 13 ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของทางราชการ หรือที่ทางราชการรับรองให้ติดเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษานั้นได้

 

หมวด 6

เบ็ดเตล็ด

 

ข้อ 14 ผู้ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้ใช้เครื่องแบบ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นประจำการตามสังกัดนั้น ๆ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้ายและเครื่องหมาย นก ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง ไม่มีขอบ สูง 2 เซนติเมตร ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา

ข้อ 15 การแต่งเครื่องแบบให้อนุโลมแต่งตามหมายกำหนดการของสำนักพระราชวัง คำสั่งหรือกำหนดการ ของทางราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา สภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่อาจแต่งเครื่องแบบตามหมายกำหนดการนั้นได้ ให้แต่งเครื่องแบบเช่นเดียวกับใน โอกาสไปงานพิธี

ข้อ 16 ให้กระทรวงมหาดไทยจัดให้มีหรือเขียนรูปตัวอย่างเครื่องแบบนี้ขึ้นไว้เป็นมาตรฐาน และสอดส่อง ควบคุมการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542

(นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์)

รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

 

ตัวอย่างเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542

 

เครื่องแบบครึ่งยศ (ชาย)

เครื่องแบบครึ่งยศ(หญิง)



เครื่องแบบปกติขาว(ชาย)

เครื่องแบบสีกากีคอพับ แขนสั้น(ชาย)

เครื่องแบบสีกากีคอแบะ(ชาย)

เครื่องแบบปฏิบัติราชการ (หญิง)

สวมทับกระโปรงกางเกง

เครื่องแบบสีกากีคอพับ (หญิง
แสดงแบบเสื้อ (แบบที่ 2) สวมทับกระโปรง (แบบที่ 4)

เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (หญิง)
สวมทับกระโปรง (แบบที่ 4) และกางเกง (แบบที่ 2)

เครื่องแบบสีกากีคอพับปล่อยเอว (หญิง)
สวมทับกระโปรง (แบบที่ 4) และกางเกง (แบบที่ 2)

เครื่องแบบสีกากีคอพับ แขนยาว(ชาย)

เครื่องแบบสีกากีคอแบะสวมกับหมวกแก๊ปทรงอ่อน (แบบที่ 2)
(หญิง)

เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (หญิง)
สวมกับหมวกหนีบสีกากี (แบบที่ 3)

เครื่องแบบปกติขาว(หญิง)

 

 

เทศบาล

เมืองพัทยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนตำบล

สภาตำบล

 

 

 

ตัวอย่างเครื่องแบบปฏิบัติราชการ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน
และแพทย์ประจำตำบล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (.. 2542)

เสื้อ                                 1. ชาย มีแบบเดียว

2. หญิงมี 3 แบบ

เสื้อสีกากีคอพับแขนยาวหรือแขนสั้น
1. อนุโลมตามแบบเสื้อของชาย

2. เสื้อคอพับสีอ่อนกว่าหรือ

3. เสื้อคอพับปล่อยเอวสีกากี สีเดียวกับกระโปรง

กางเกง กระโปรง                     1. ชาย มีแบบเดียว

2. หญิงมี 5 แบบ

กางเกงสีกากี แบบราชการไม่พับปลายขา

1. อนุโลมตามแบบชาย

2. กางเกงขาตรง ไม่พับปลาย

 

หมวกสีกากี

 

 

 

 

 

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน
และแพทย์ประจำตำบล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (.. 2542

1. เครื่องแบบปกติขาว

ชาย
- หมวกทรงหม้อตาล สีขาว
- เสื้อแบบราชการสีขาว
- กางเกงแบบราชการสีขาว
ไม่พับปลายขา รองเท้า
หุ้มส้นหรือหุ้มข้อสีดำ
ถุงเท้าดำ

หญิง
- เสื้อคอแบะ 2 แบบ
1. แบบคอแหลม ดุมโลหะ 3 ดุม
2. แบบคอป้าน ดุมโลหะ 5 ดุม
- เสื้อคอแหลมใช้กระโปรงมีเก,
ยาวปิดเข่าปลายบานเล็กน้อย
- เสื้อคอป้าน ใช้กระโปรงยาวปิดเข่า
ปลายปสานเล็กน้อย
- รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำแบบปิดปลาย
ถุงเท้ายาวสีเนื้อ

 

 

2. เครื่องแบบครึ่งยศ

 

ชาย              - กางเกงผ้าสักหลาด
หรือเสิร์จสีดำ ประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หญิง           - กระโปรงผ้าสักหลาด
หรือเสิร์จสีดำ ประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์

3. เครื่องแบบเต็มยศ

ชาย                     - กางเกงผ้าสักหลาด
หรือเสิร์จสีดำ
สวมสายสะพาย

หญิง                    - กระโปรงผ้าสักหลาด
เสิร์จสีดำ
สวมสายสะพาย

หมวกสำหรับเครื่องแบบพิธีการ