http://www.tungsong.com





ความสำคัญ ประวัติ องค์กรขององค์การสหประชาชาติ กิจกรรมในวันสหประชาชาติ




เพื่อระลึกถึงวันที่องค์การสหประชาชาติ ( UNITED NATIONS ) ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55



องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations - UN ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2482 - 2488 ) โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล ( Winston Churchill ) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ( Franklin D. Roosevelt ) เนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี
เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือ ระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ( New York ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ( The United State of America ) การประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติมีทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484 บนเรือออกุสตา ( Augusta ) ในมหาสมุทรแอตแลนติก
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ กรุงมอสโก
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ณ คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ ( Lumberton Laks ) กรุงวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 4 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ณ เมืองยัลตา ( Yalta ) แหลมไครเมีย สหภาพโซเวียต
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ นครซานฟรานซิลโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งครั้งนี้มีการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ให้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

                     




องค์การสหประชาชาติ ได้จัดแบ่งการบริการออกเป็นองค์กรต่าง ๆ 6 องค์กร ดังนี้
สมัชชา ( General Assembly )
คือ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้งประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนี้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)
คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ( Economic and Social Council )
มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
คณะมนตรีภาวะทรัสตี ( Trusteeship Council )
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี สมาชิกและคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่น ๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตีสามารถประกาศตนเป็นเอกราชได้และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Intermational Court of Justice )
มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่น ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง
สำนักงานเลขาธิการ (The Secretariat)
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่ สำนักเลขาธิการประกอบด้วยองค์กรย่อยดังต่อไปนี้
1. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ United Nations Children's Fund - UNICEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรณรงค์ให้รัฐบาลและบุคคลทั่วไปตระหนักในสุขภาพความเป็นอยู่ และการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ รวมถึงสนับสนุนโครงการสำหรับเด็กทั่วโลกองค์การยูนิเซฟเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2508
2. สถาบันฝึกอบรบและวิจัยของสหประชาชาติ United Nations Institute for Training and Reserch - UNITAR
3. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme - UNDP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่
4. ดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
5. ดำเนินการในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการลดของเสียและเศษขยะ รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการขจัดความยากจนให้หมดไป โดยการส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพ
7. ที่ประชุมว่าด้วยการค้าและพัฒนาการแห่งสหประชาชาติ United Nations Conference on Trade and Development - UNCTAD
8. องค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Industrial Development Organization - UNIDO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติเพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม และได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การพัฒนาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529
9. สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ United Nations High Commissioner for Refugee - UNHCR ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวอย่างมีเหตุผลเพียงพอว่าจะถูกประหัตประหาร เพราะความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติของสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพราะความคิดเห็นทางการเมือง เป็นผู้ซึ่งไม่อาจหรือไม่ยินดีรับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ๆ ไม่ยินดีกลับไปเพราะกลัวจะถูกประหัตประหาร
10. ทบวงการบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ United Nations Relidf Works Agency for Palestine Refugees in the Near East - UNRWA




นิทรรศการเผยแพร่ผลงาน และการทำงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ
ประดับธงของสหประชาชาติในสถานที่ต่าง ๆ





แหล่งอ้างอิง :
          ศิริวรรณ คุ้มโห้ วันและประเพณีสำคัญ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด