![]() 13 เมษายน |
![]() ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป การที่ประเทศไทยจัดให้มีวันผู้สูงอายุแห่งชาตินั้นด้วยมติของ องค์การสหประชาชาติ ที่จัดการประชุมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านสังคม ครอบครัวและประเทศชาติ |
![]() ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายประการสำคัญอันเนื่องในอันที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และได้รับนโยบายอันนี้ให้กรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้ดำเนินการโดยครั้งแรกนั้นกรมประชาสงเคราะห์ได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้มีการจัดการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งได้พิจารณาประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ ๓ ประการ ![]() ![]() ![]() |
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า " Add Life to year " ทั้งนี้ทางองค์การอนามัยโลกต้องการให้ประเทศต่างๆทั่วโลก ช่วยกันส่งเสริมสถานะของผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า " ให้ความรักพิทักอนามัยผู้สูงวัยอายุยืน " จากการประชุมองค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่าด้วยเรื่องของผู้สูงอายุ ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ อนุมัติให้วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ การกำหนดวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและจัดให้มีกิจกรรมต่างๆสำหรับผู้สูงอายุของทุกปีตามแผน โดยกำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับผู้สูงอายุขึ้นมา ๕ ข้อ ดังต่อไปนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
กิจกรรมในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กราบขอพรผู้สูงอายุ มอบของขวัญให้กับผู้สูงอายุ |
![]() |
แหล่งที่มา : | ศิริวรรณ คุ้มโห้. วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ |