ประวัติ
            เยอรมันในยุคต้น หุบเขานีอันเดอร์ทาล (Neandertal) ตั้งอยู่ใกล้ๆ เมืองดุสเซลดอร์ฟ เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางเมื่อปีพ.ศ. 2399 เนื่องจากมีการค้นพบซากโบราณในบริเวณนี ้ มนุษย์นีอันเดอร์ทาลมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาชาวเยอรมันซึ่งมีนิสัยชอบทำสงครามได้รุกรานดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน
           ยุคสงครามโลก กษัตริย์วิลเฮลม์ที่ 2 กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรและหลังจากพ่ายแพ้ เยอรมนีก็เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ "สาธารณรัฐไวมาร์" แต่ต่อมาในปีพ.ศ. 2476 พรรคนาซีเรืองอำนาจ สาธารณรัฐไวมาร์จึงสิ้นสุด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์(Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซีดำรงตำแหน่งนายยกรัฐมนตรีโดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เยอรมนีมีอำนาจ และสิ่งนี้เองนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2482 สงครามยุติเมื่อ ปีพ.ศ. 2488 ประเทศเยอรมันตกอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนัก
           เยอรมนีถูกแบ่ง หลังสงครามโลกที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน กรุงเบอร์ลินอยู่ในการปกครองของสหภาพโซเวียต กรุงเบอร์ลินเองก็ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ในปีพ.ศ. 2492ต่อมาดินแดนภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และดินแดนที่เหลืออีก 3 ส่วน เป็นประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี ในปีพ.ศ. 2504 กำแพงเบอร์ลินถูกแยกเป็นเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก โดยเยอรมนีตะวันตกยึดครองทางตะวันตก 3 เขต ภายใต้สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส มีความผูกพันกับโลกตะวันตก ส่วนเยอรมนีตะวันออก คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ซึ่งมีกำเนิดจากเขตยึดครองของโซเวียต ต่อมาในปีพ.ศ. 2504 ประเทศนี้ก็ได้สร้างกำแพงเบอร์ลิน พร้อมกับปิดกั้นการคมนาคมภายในเยอรมนีโดยสิ้นเชิงด้วยลวดหนามและ "แนวมรณะ"ซึ่งมีระเบิดฝังอยู่
           พ.ศ. 2532 ได้เกิดการปฏิวัติโดยสันติของพลเมืองในสาธารณรัฐประธิปไตยเยอรมนี ซึ่งมีผลทำให้กระบวนการรวมประเทศเริ่มต้นขึ้น ดังนั้นเยอรมนีตะวันออก จึงต้องเปิดกำแพงเบอร์ลิน และเปิดเขตแดนภายในเยอรมนี ในตอนเย็นวันที่ 9 พ.ย. 2532 ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2533 ก็ได้มีการเลือกตั้งเป็นอิสระในครั้งแรกในเยอรมนีตะวันออก และคืนวันที่ 2 ต.ค. 2533 เวลาเที่ยงคืน สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีจึงสลายตัวไป และนับแต่วันที่ 3 ต.ค. 2533 เป็นต้นมาเยอรมนีก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน จากการรวมประเทศ จากวันที่ 3 ต.ค. 2533 อันเป็นวัน "รวมประเทศเยอรมนี" ต่อมาจึงกลายเป็นวันชาติเยอรมนี
Back