ตลาดความคิดพัฒนาสร้างสรรค์
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม
1. หัวข้อแนวความคิดโครงการของท่าน (ไม่เกิน 12 คำ)
|
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม
|
หมายเลขโครงการ(สำหรับเจ้าหน้าที่)
|
|
2. วันที่เสนอโครงการ:
|
14 พฤษภาคม 2544
|
3. รายละเอียดโครงการโดยสังเขป:
บรรยายสรุป (ไม่เกิน 100 คำ) เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ประเด็นที่สำคัญ ผลที่ได้รับและผลกระทบ |
- .กระบวนทัศน์ใหม่ในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือในการรับรู้ข่าวสาร การสานเครือข่ายโดยมีเป้าหมายเพื่อ การจัดการเมือง แบบองค์รวม โดยใช้กลไกการสร้างวัฒนธรรมใหม่ และการตลาดในการจัดการเมืองในทุกด้าน ดังนี้
- ระบบประกันสุขภาพ
- เพิ่มศักยภาพในการดูสุขภาพ
- เพิ่มศักยภาพในการมีส่วนร่วมในการจัดการเมือง
- จัดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน
- สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการจัดการมลพิษ
- การจัดการตลาด ขายปลีก กึ่งขายส่ง ศูนย์กระจายสินค้า
- เชื่อมโยงการผลิต บรรจุภัณฑ์ การตลาด การขนส่ง
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)โดยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในการบริหารจัดการ เป็นกลไกสร้างห่วงโซ่การบริการ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรทำให้เกิดความร่วมมือทุกฝ่าย |
4. งบประมาณของโครงการ:
งบประมาณทั้งหมด(ดอลลาร์สหรัฐฯ)
งบประมาณที่ขอจากโครงการตลาดความคิดพัฒนาสร้างสรรค์
|
$ 1,844,500
|
5. ที่อยู่ที่ติดต่อได้:
|
|
ชื่อของท่าน:
|
พันโทนายแพทย์ปริวรรต อุดมศักดิ์
|
สถาบันหรือองค์กรของท่าน:
|
เทศบาลตำบลปากแพรก
|
อีเมล์:
|
mayortsgcity@hotmail.com
|
หมายเลขโทรศัพท์:
|
(075)332548
|
หมายเลขโทรสาร:
|
(075)332548, 411515 |
ที่อยู่:
|
103 ถนนชนปรีดา ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง
|
จังหวัด:
|
นครศรีธรรมราช
|
ที่อยู่ที่ติดต่อได้ของโครงการตลาดความคิดพัฒนาสร้างสรรค์(สำหรับเจ้าหน้าที่) |
|
6. ความร่วมมือระหว่างภาคี :
|
|
โครงการที่ยื่นเสนอโดยบุคคลทั่วไป องค์กรชุมชน มูลนิธิ บริษัทธุรกิจ หรือ สถาบันการศึกษาจะต้องยื่นเสนอโครงการร่วมกับองค์กรในชนบท
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง: เทศบาลตำบลปากแพรก กับ ชุมชนทุกชุมชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ของอำเภอทุ่งสง
|
ชื่อ
|
สถาบัน
|
หมายเลขโทรศัพท์
|
หมายเลขโทรสาร
|
อีเมล์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ในข่องว่างข้างล่างนี้ ให้ท่านระบุระดับการมีส่วนร่วมของภาคีว่ามากน้อยเพียงใด ภาคีของท่านเห็นด้วยกับโครงการอย่างไร ภาคีช่วยในการสนับสนุนโครงการมากน้อยเพียงใด เช่น จะช่วยในการดำเนินโครงการหรือไม่ หรือ จะให้ทุนสนับสนุน หรือให้การสนับสนุนที่ไม่ใช่เม็ดเงิน
|
กองทัพภาคที่ 4 ให้การสนับสนุนพื้นที่ดำเนินการบางส่วน เครื่องจักรกล และกำลังพล
เทศบาลตำบลปากแพรก เทศบาลตำบลนาบอน และ เทศบาลตำบลจันดี
องค์การบริหารส่วนตำบล 1..ควนกรด 2. นาไม้ไผ่ 3. นาหลวงเสน 4. ชะมาย 5. ถ้ำใหญ่ 6. ที่วัง 7.นาโพธิ์ 8.หนองหงษ์ และประชาคมต่าง ๆ ของอำเภอทุ่งสงเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน
|
7. พื้นที่โครงการ
|
ภูมิภาค: อำเภอทุ่งสง
|
ชุมชน:
|
ภูมิภาค: |
ชุมชน: |
ทั่วประเทศ: ____ ใช่ |
8. รายละเอียดของโครงการ(กรุณาอ่านคำแนะนำในการกรอกแบบฟอร์มอย่างละเอียดก่อนกรอก): |
ก. วัตถุประสงค์: อธิบายแนวความคิดของท่านว่าโครงการพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์(50 คำเป็นอย่างมาก) |
เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการรับรู้ข่าวสารของท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน และทิศทางการพัฒนาจะต้องเกิดจากกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ ของประชาชนทุกกลุ่มในชุมชน (ประชาคม) จากส่วนล่างไปยังส่วนบน สู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกันดังนี้
|
โดยเทศบาลตำบลปากแพรก ได้นำแนวความคิดดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ปฏิบัติเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้วดังนี้
|
ข. แผนงานและระยะเวลาปฏิบัติ: ขั้นตอนที่สำคัญและระยะเวลาการปฏิบัติการ( 200 คำเป็นอย่างมาก) |
ขั้นตอน |
ระยะเวลา |
การสร้างศักยภาพชุมชน |
|
- จัดทำแผนงาน/โครงการเปลี่ยนรูปแบบการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากสื่อหอกระจายข่าว และเสียงตามสาย มาเป็นระบบเคเบิลทีวี เพื่อรับสัญญาณภาพและเสียงจากดาวเทียม ถ่ายทอดไปยังชุมชนต่าง ๆ อย่างทั่วถึง และในปีงบประมาณ 2544 เทศบาล ฯ ได้ตั้งงบประมาณไว้แล้วเป็นเงิน 3,000,000 บาท
|
ปี 2544
|
- จัดทำแผนงาน/โครงการ Digital Knowledge Management ให้ได้องค์ความรู้ (Common Knowledge )จากภูมิปัญญาสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสื่อการศึกษา สำหรับการเรียนรู้ของประชาชนทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย และในปีงบประมาณ 2544 เทศบาล ฯ ได้ตั้งงบประมาณไว้แล้วเป็นเงิน 500,000 บาทจัดหา Digital video (DV) Computer Video Editor and VCD Writer
|
ปี 2544
ปี 2544 |
- จัดระบบประกันสุขภาพโดยกองทุนประกันสุขภาพ โดยนำเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต การสื่อสาร และ บัตรเครดิต (Credit card Or Smart card ) เข้ามาใช้ในระบบบริการ โดยกองทุนจะต้องได้รับเงินทุนจาก
- 10-20 %ของเงินรายได้ท้องถิ่นและรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายกระจายอำนาจ 20-35%
- ประชาชนรับภาระจ่ายตามอัตภาพ
- ผู้ที่ทำให้เกิดมลภาวะที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (ผู้ใดก่อมลพิษผู้นั้นต้องจ่าย)เช่น เหหล้า บุหรี่ โรงงาน
- ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรเช่น เหมือง แร่ น้ำมัน ความหลากหลายทางชีวะภาพ
|
2545 |
- จัดให้มีหอสมุดประชาชน เป็นศูนย์กลางแห่งสรรพวิชาการของท้องถิ่น ปัจจุบันมีหนังสือรวมทั้งสิ้น 50,000 เล่ม ผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ420 คน ปีละ 150,000 คน และดำเนินการพัฒนาหอสมุดเพื่อประชาชน ดังนี้
|
ตั้งแต่ ปี 2524 |
- ห้องคอมพิวเตอร์ (Microcomputer lab.) สำหรับฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์
|
ตั้งแต่ ปี 2538 |
- ห้องโสตทัศนศึกษา (Sound Lab)สำหรับฝึกการใช้ภาษาต่างประเทศ จากสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิดิทัศน์ ดาวเทียม
|
ตั้งแต่ ปี 2538 |
- พัฒนาระบบสารสนเทศของเทศบาล เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่น ธุรกิจชุมชน ธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจการตลาด โดยเริ่มต้นจาก ตำบล อำเภอ จังหวัด และภูมิภาค ต่อไป ดังนี้
- จัดทำระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ต โดยจัดให้มีเว็บไซต์ของเมืองทุ่งสง(Thungsong City) ชื่อ WWW.lifetsgcity.com สำหรับเป็นศูนย์ของระบบเครือข่ายองค์กรปกครองท้องถิ่น.ใช้งบประมาณ ปี 2543 เป็นเงิน
6,916,120 บาท โดยได้เปิดให้บริการแล้วในวันที่ 14 มีนาคม 2544 มีผู้ใช้บริการแล้ว ประมาณ 8,000 คน ในปี 2544 อีกเป็นเงิน 7,000,000 บาท สำหรับดำเนินการ ในโครงการ E-Classroom สำหรับนักเรียนนักศึกษา นักธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ตั้งแต่ ระดับ Beginner ไปจนถึงระดับ Advance
- จัดทำแผนงาน/โครงการ ก่อสร้าง IT Garden เป็นศูนย์สารสนเทศของท้องถิ่น ใช้ในการบริหารองค์กร การประกันสุขภาพ ด้านการผังเมือง การใชที่ดิน การจัดการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่นจัดระบบบริหารการจัดเก็บเอกสาร การส่งข้อมูลข่าวสารทาง E-mail การจัดเก็บภาษี การจัดการงบประมาณ และ การจัดแผนพัฒนา 5 ปีร่วมกับ พลเมือง ประชาคม และองค์กรปกครอง อบต รอบเมือง ประเมินผล และรายงานผลทาง Web site โดยประชาคม และองค์ทุกองค์กรที่สามารถสร้างweb - site ได้เองโดยผ่านระบบการช่วยเหลือจาก IT Garden (ตั้งงบประมาณในปี 2544 เป็นเงิน 5,000,000 บาท ปี2545 เป็นเงิน 10,000,000 บาท) เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารยุคใหม่ และสถานที่อบรมค้นคว้า วิจัยและพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อทำให้เมืองทุ่งสง เป็น IT CITY และทำให้ IT เป็นเรื่องง่าย ๆ โดยทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรม(Engine) เป็นเครื่องมือเพื่อให้ทุกคนสามารถทำ WEB SITE ได้เองโดยไม่ต้องมีความรู้ในโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ทำ WEB SITE ที่ยุ่งยากมากเกินความจำเป็น
|
ปี 2543 - 2549
|
- จัดให้มีเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน เริ่มจากห้องสมุดสาขา สู่อินเตอร์เน็ตชุมชน และอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน ( Book Multimedia and Internet) จำนวน 20 ชุมชนในเมือง และอีก 108 หมู่บ้าน ในชนบท
|
|
- ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน( Sustainable Development )
|
|
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ |
|
- จัดให้มี Tissue Culture Lab เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และนำต้นไม้ที่ได้กลับคืนสู่ธรรมชาติทั้งหมด
|
ตั้งแต่ ปี 2538 |
- จัดทำแผนงาน/โครงการ โรงเรียนปลูกต้นไม้ สำหรับกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้ -
|
ปี 2544 |
- กิจกรรมปลูกป่า กลุ่มรักษ์ต้นไม้ Friends of Trees
มุ่งสู่เป้าหมายปลูกป่าต้นน้ำ ของลำคลองทั้ง 4 สาย ที่ไหลผ่านเมืองทุ่งสง เป็นเครือข่าย (Network) ระหว่างเมืองและชนบท โดยขี่จักรยานเลาะป่าไปปลูกต้นไม้ (Jungle Trek) ณ เขาเหมน(เขาพระสุเมรู) และเขาบรรทัด ซึ่งเป็นต้นน้ำของคลองท่าเลา สู่แม่น้ำตรัง
|
ปี 2543 (โครงการต่อเนื่อง ทำทุกปี) |
- ตั้งงบประมาณของเทศบาลฯ สำหรับการก่อสร้าง Tissue Culture Lab แบบถอดประกอบได้ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
|
ปี 2544 |
- การวิจัยและพัฒนาความ หลากหลายทางชีวะภาพ(Bio-diversity)เพื่อธุรกิจชุมชน
จะต้องใช้ประมาณ 12,000,000 บาท อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแก่ประชาคม เป้าหมาย จำนวน 400 กลุ่ม (2,000 คน) และก่อสร้าง Tissue Culture Lab เพิ่มมีเป้าหมายกำลังการผลิต 1-2,000,000 ต้น ต่อปี โดยจะนำผลผลิตที่ได้กลับสู่ระบบนิเวศน์ และเศรษฐกิจชุมชน 50:50 เทศบาลต้องจัดหาแหล่งงบประมาณใหม่ เพราะเป็นโครงการเร่งด่วน ที่จะต้องดำเนินการในปี 2544 เพื่อเป็นธนาคารพันธุ์พืช (Rare Plant Bank) เพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืชหายาก และพันธ์พืชที่กำลังจะสูญพันธ์ เช่นกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ (รองเท้านารี เอื้องเงินหลวง ฯลฯ) ว่านเพชรหึง ว่านหางช้าง จันทน์ผา เฟิร์นมหาสดำ ไม้สาวดำ ฯลฯ
|
ปี 2543 |
- โครงการ เพาะพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
เช่น ปลาตะโกก(ตระกูลปลาอโรเวร่าหรือ Trout) ซึ่งมีเกล็ดสีทองครีบสีแดง บนน้ำตกหนานปลิว ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง งบประมาณ 1 000 000 บาท
|
|
การจัดการมลพิษ |
|
- ระบบบำบัดน้ำเสียรวม
ได้ศึกษาความเหมาะสม (FS) และออกแบบรายละเอียด (DD ) เสร็จแล้ว โดยผ่านการศึกษาการจัดลำดับความเร่งด่วน ของกองทุนสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นเมืองต้นน้ำ โดยอยู่ในลำดับที่ 4 ของ 139 เทศบาลทั่วประเทศ แต่ยังไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม จึงของบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับอนุมัติในหลักการจากกระทรวงวิทยาศาสตร์แล้วเป็นเงิน 380,000,000 บาท แต่สำนักงบประมาณ ยังไม่ได้อนุมัติเงิน
|
ปี 2542 |
- การบริหารจัดการขยะ เป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะ และกำจัดขยะมีพิษ
|
|
- การสร้างวัฒนธรรมในการแยกขยะ โดยจัดตั้งธนาคารมูลฝอย
(Recycle Waste and Garbage Bank) รับฝากมูลฝอยรีไซเคิล ขยะมีพิษ สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยนำการตลาดเข้ามาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการ ให้เยาวชน และประชาคม โดยใช้งบประมาณในเบื้องต้น 100,000 บาท เงินทุนหมุนเวียนเมื่อครบทุก ชุมชน หมู่บ้าน ประมาณ 10,000,000 บาท
|
ปี 2543
(เป็นโครงการต่อเนื่อง) |
- ศึกษาพัฒนาระบบจัดการมูลฝอยและขยะพิษ(secure landfilled & composite fermentation)
งบประมาณเป็นเงิน 15,000,000 บาท สำหรับปรับแต่งคันดิน บ่อฝังกลบขยะอินทรีย์ และฝังกลบขยะ อนินทรีย์ (ขยะที่มีพิษอัดแท่งหุ้มยางพาราก่อนฝัง) บ่อบำบัดน้ำเสีย โดยปูแผ่น HDPE บ่อฝังกลบทั่วไ
|
ปี 2543 |
- การบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนครบวงจร
(แบบรวมศูนย์) โดยได้รับจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2543 เป็นเงิน 30,000,000 บาท ปี 2544 เป็นเงิน 49,000,000 บาท และยังไม่รับอีก 59,000,000 บาท
|
ปี 2543 |
- วิจัยและพัฒนาโรงงานแยกขยะและอัดแท่ง
นำขยะรวมที่เก็บทุกวัน มาคัดแยก และอัดเป็นแท่ง เพื่อลดพื้นที่การฝังกลบ (Sanitary Landfill) สะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (Transfer) ใช้งบประมาณ เป็นเงิน 12,000,000 บาท
|
ปี 2543 |
- การวิจัยและพัฒนาโรงงานแปรรูปยางพารา
เพื่อทำภาชนะห่อหุ้มขยะพิษจากน้ำยางพารา โดยนำน้ำยางพารามาแปรรูปเป็นถังขยะหุ้มสารพิษ แล้วนำน้ำยางพาราผสมเคมี เทใส่ในถังหุ้มสารพิษอีกครั้ง แล้วอบด้วยความร้อน (Vulcanization) จึงนำไปไปฝังกลบใน Secure Landfill ต่อไป เป็นการจัดระบบหุ้มสารพิษสามชั้น ใช้งบประมาณ 3,800,000 บาท
|
ปี 2543 |
- โรงงานแปรรูปมูลฝอย
กระดาษ พลาสติก โลหะ และ แก้ว ที่ได้จากการคัดแยก และธนาคารมูลฝอย มาบดให้ละเอียดและขึ้นรูปใหม่เป็นบรรจุภัณฑ์และเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ รองรับตลาดกลางสินค้าขายส่ง ใช้งบประมาณ 4,000,000 บาท
|
ปี 2543 |
- ลดการใช้พลังงานฟอสซิล น้ำมัน
|
ปี 2538 |
- จัดหาจักรยานให้ประชาชน ใช้ออกกำลังกาย
ไปปลูกป่าต้นน้ำ และปลูกป่าให้เมือง ไปทำงาน ไปโรงเรียน ฯลฯในชีวิตประจำวัน ใช้งบประมาณ 2,500,000 บาท(Society Capitalism)
|
ปี 2543 |
- วิจัยและพัฒนา การใช้น้ำจากลำคลองมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อใช้ในสำนักงาน และถนนสาธารณะ ใช้งบประมาณ 2,000,000 บาท
|
ปี 2544 |
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบการจัดการตลาด |
|
- ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว
สวน พฤกษ์ศาสตร์ ณ บริเวณเขายายสีหวัง โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสัตว์ รวบรวมความหลากหลายทางชีวะภาพ เป็นธนาคารพืชสัตว์ที่เกือบสูญพันธุ์ ร่วมกันของอำเภอ และจังหวัดต่างๆในภาคใต้ ดังนี้
- โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสวนสาธารณบ้านในหวัง เขายายสีหวัง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองทุ่งสง สำหรับก่อสร้างกลุ่มอาคาร อเนกประสงค์ (ศูนย์ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน) เป็นเงิน 20,000,000 บาท
- โครงการ ขอรับงบอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง ในโครงการสวน พฤกษ์ศาสตร์ สวนลอยฟ้าป่าในเมือง
เป็นเงิน 127,000,000 บาท สำหรับก่อสร้างเรือนพัก ทางเลาะป่าปีนเขาศึกษาธรรมชาติ บ้านพักในป่าใหญ่ พระพุทธรูปปางลีลา อาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแบบตะวันออก จุดชมวิว หอดูดาว แอ่งเก็บน้ำ ทางเลาะปีนป่ายในแนวดิ่งและแนวราบ สวนสัตว์เปิด ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปาน้ำเลี้ยงพืชและสัตว์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ บนเขายายสีหวัง ได้ผ่านการจัดลำดับจาก ททท.ให้อยู่ในลำดับที่ 6 ของ10 อันดับแรก โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์การได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี 2544 -45
- ก่อสร้างถนน ระบบไฟฟ้า เรือนเพาะชำต้นไม้ ฯลฯ งบประมาณ 23,000,000 บาทเศษ
- จัดทำแผนงาน/โครงการ ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนกระจายการผลิตและการจ้างงานไปสู่ภูมิภาค เป็นเงิน 15,000,000 บาท สำหรับก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์ทั่วไปในสวนสาธารณะบ้านในหวัง เช่นปรับปรุงสะพาน ก่อสร้างเขื่อนกั้นตลิ่ง ขุดลอกทางน้ำ สระน้ำ ปรับสภาพพื้นที่ ตกแต่งพื้นที่ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ยืนต้น ฯลฯ
|
ปี 2542
ปี 2544-2545
ปีงบประมาณ 2543
ปี2544 |
- การตลาด (Marketing)
จัดให้มีตลาดกลางสินค้าได้แก่พืชผัก พืชผล ยางพารา ข้าว สัตว์น้ำฯลฯ โดยมีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงในการจัดการด้านการตลาดในระบบทั่วไป และระบบคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กระจายสินค้า นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และ E-Commerce มาใช้ในการจัดการตลาด ประกอบด้วยการดำเนินดังนี้
- ตลาดขายปลีก ปรับปรุงตลาดสดเทศบาลให้ทันสมัย งบประมาณ 25,000,000 บาท
- ตลาดกลางขายส่งกึ่งขายปลีก (Quasi Wholesale Market ) เช่น ตลาดกลางยางพารา, มะนาว , หมู, ไก่, ปลาน้ำจืด, ปลาทะเล งบประมาณ 60,000,000 บาท
- ตลาดกลางขายส่งภาคพื้นอันดามัน สินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออก ศูนย์กระจายสินค้า (Distributor) โดยใช้เทคโนโลยี E-Commerce งบประมาณ 70,000,000 บาท
- โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรขนาดย่อม (SME) เช่นโรงงานแปรรูปยางพาราอัดแท่งขยะอนินทรีย์ โรงงานแปรรูปเงาะ มังคุดเป็นแอลกอฮอล์ โรงงานบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตร งบประมาณ โรงงาน ละ 5,000,000 บาท
|
ปี 2545 |
- ระบบขนส่งสินค้าภาคพื้นอันดามัน
ตั้งแต่ระนองไปถึงสตูล เชื่อมต่อการคมนาคมทางบกคือทางรถยนต์และรถไฟ และทางน้ำ โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต วิทยุสื่อสาร Trunk Radio และ GIS เชื่อมโยงกับตลาดกลาง งบประมาณ 30,000,000 บาท
|
ปี2545 |
ค. เน้นที่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์: แนวความคิดของท่านมีความสร้างสรรค์อย่างไร แนวความคิดของท่านแตกต่างจากแนวความคิดหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วอย่างไร(100 คำเป็นอย่างมาก) |
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเมืองโดยสร้างวัฒนธรรมใหม่ มีกิจกรรมเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือกันและสนับสนุนเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเมืองแบบครบวงจรและเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้านวิถีชีวิต
- การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ
ใช้ได้ในชิวิตประจำวันสำหรับทุกคน และให้ทุกคนเข้าหาเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึง โดยเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และเป็นวัฒนธรรมใหม่ทำให้ชุมชนเกิดศักยภาพในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการค้นค้วาหาความรู้ได้หลากหลายมากขึ้น สามารถเลือกวิธีการใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนาในแนวราบรวดเร็วกว้างขวางและถ้วนหน้า ยกระดับคุณภาพชีวิตเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่
|
ด้านสิ่งแวดล้อม
:การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การวิจัยและพัฒนา ความหลากหลายทางชีวะภาพ เพื่อธุรกิจชุมชน
นอกจากเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการ พัฒนาศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นควบคู่กันไปอีกด้วย และการนำผลผลิตที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อพืช โดยนำกลับคืนสู่ป่าร้อยละ 50 สู่ธุรกิจชุมชน ร้อยละ 50 เป็นการเชื่อมโยงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติกับการตลาดเข้าด้วยกันโดยมีเงื่อนไขในการจ่ายภาษี 30 %จากรายได้ จะทำให้เกิดแรงจูงใจสร้างความต่อเนื่องและยั่งยืน
- กิจกรรมปั่นจักรยานไปปลูกต้นไม้ ทำให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะ เป็นกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่วนรวม เป็นการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง Sustainable Society
:การจัดการมลพิษ
- กำจัดสารพิษและลดขยะโดยสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยนำการตลาด และการจัดการแบบมืออาชีพ
เข้ามาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการ มีเป้าหมายในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการจัดการขยะให้เยาวชนและประชาคม รู้จักแยกขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และแยกขยะที่มีพิษนำมาฝากธนาคารมูลฝอยได้ จะได้รับคะแนนมากพอเป็นแรงจูงใจให้ไม่ทิ้งแต่เก็บแยกมาห่อหุ้มด้วยยางพารา มีผลต่อเกษตรกร ราคายางสูงขึ้น และจำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณสูงในการกำจัดสารพิษ และนำขยะมูลฝอยที่ได้มาฝากกับธนาคารมูลฝอยโดยไม่ยึดติดกับเงินตรา ไม่ค้ากำไร แต่ ใช้แต้ม (Point) แทน และเก็บสะสมแต้มเพื่อถอน(แลกเปลี่ยน)เป็นสิ่งของตามต้องการต่อไป เข่นข้าวสาร 1 กิโลกรัม มีค่า 10 แต้ม มี โดยเยาวชนที่รู้จักแยกขยะจะได้คะแนนมากขึ้นอีกเป็น 2 เท่า และถ้าเยาวชนรู้จักแยกขยะพิษ(Toxic Garbage) และมีวิธีการไม่ให้พิษรั่วไหล จะได้คะแนนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นกลไกการตลาด
|
ด้านเศรษฐกิจยั่งยืน
การวิจัยและพัฒนาแปรรูปน้ำยางพารา(พืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้) มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มขยะพิษ และสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตของท้องถิ่น สร้างรายได้ถ้วนหน้า สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นมากขึ้น
|
ง. งบประมาณ: อธิบายแผนการใช้งบประมาณโดยแยกรายละเอียดตามกิจกรรมและกรุณารวมงบที่จะใช้ในการตรวจสอบบัญชีด้วยเนื่องจากทางโครงการอาจขอให้มีการตรวจสอบบัญชีเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ (โปรดดูรายละเอียดแนะนำเฉพาะ)
|
กิจกรรม |
จำนวนเงิน (บาท) |
ปีงบประมาณ |
แหล่งที่มาของงบประมาณ |
|
3,000,000 |
2544 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- Digital Knowledge Management
|
500,000 |
2544 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- พัฒนาระบบสารสนเทศของเทศบาลตำบลปากแพรก
|
14,000,000 |
2544-2545 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Garden)
|
15,000,000 |
2544-2545 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- เครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน
|
8,000,000 |
2545 |
โครงการตลาดความคิด |
- ก่อสร้างห้องทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
|
2,000,000 |
2544 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- วิจัยและพัฒนาความหลากหลายทางชีวะภาพเพื่อ ธุรกิจชุมชน
|
12,000,000 |
2545 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
|
358,000,000 |
2545 |
กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
|
10,000,000 |
2544-45 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการมูลฝอยชุมชนครบวงจร
|
153,000,000 |
|
กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
- ระบบจัดการมูลฝอยอนินทรีย์และอินทรีย์ระยะเร่งด่วน
|
14,970,000 |
|
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ศูนย์จัดการมูลฝอยอัดแท่งชุมชนย่อย 50 องค์กรท้องถิ่น
|
150,000,000 |
2545-46 |
กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
- ก่อสร้างโรงงานแปรรูปกระดาษและพลาสติก
|
5,000,000 |
2545 |
โครงการตลาดความคิด |
|
2,500,000 |
2543-2544 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- วิจัยและพัฒนาการใช้น้ำจากลำคลองมาใช้ผลิต กระแสไฟฟ้า
|
2,000,000 |
2544 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สวนลอยฟ้า ป่าในเมือง
|
127,000,000 |
2545 |
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |
- ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน และปรับปรุงภูมิทัศน์ทั่วไปในสวนสาธารณบ้านในหวัง
|
15,000,000 |
2545 |
กองทุนกระจายผลิตผลและการจ้างงานไปสู่ภูมิภาค |
- ก่อสร้างปรับปรุงตลาดสดเทศบาลฯ
|
25,000,000 |
2545 |
ตลาดความคิด เทศบาล |
- ก่อสร้างตลาดกลางขายส่งกึ่งขายปลีก
|
60,000,000 |
2545 |
ตลาดความคิด |
- ก่อสร้างตลาดกลางขายส่งภาคพื้นอันดามัน
|
70,000,000 |
2546 |
ตลาดความคิด สภาพัฒน์ฯ |
- ก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรขนาดย่อม
|
15,000,000 |
2545 |
ตลาดความคิด กองทุนหมู่บ้าน |
- จัดระบบขนส่งสินค้าภาคพื้นอันดามัน
|
30,000,000 |
2546 |
ตลาดความคิด ขนส่งจังหวัด |
รวม |
1,091,970,000 |
|
|
จ. การจัดสรรงบประมาณและการหาทุนสมทบ: เพื่อให้โครงการของท่านประสบผลสำเร็จ ท่านต้องการทรัพยากร (เงินทุนและทรัพยากรอื่น ๆ) อย่างไรบ้าง
- ความช่วยเหลือด้านการเงินจากโครงการตลาดความคิดพัฒนาสร้างสรรค์
- ความช่วยเหลือทางการเงินจากแหล่งอื่น ๆ
- ทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องการใช้ในโครงการ เช่น ข้อตกลงกับภาคีความร่วมมือต่าง ๆ
|
ความต้องการระยะแรก เงินทุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม เทคโนโลยีทางอินเตอร์เนต และระบบการจัดการองค์รวมความรู้ดิจิตอล เครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน เป็นเงิน 8 ,000 ,000 บาท
เครื่องจักร อุตสาหกรรมแปรรูปมูลฝอย 5,000,000 บาท
ตลาด อุปกรณ์การถนอมอาหาร ระบบการขนส่ง ห่วงโซ่การบริการ (Supply chain) 70,000,000 บาท |
ฉ. การหาทุน/ทรัพยากรสมทบ: ถ้าโครงของท่านไม่ได้รับเงินทุนการสนับสนุนจากแหล่งอื่น ๆ กรุณาอธิบาย (100 คำเป็นอย่างมาก) |
ดำเนินการด้วยงบของตนเอง หากเร่งด่วนกู้จากกองทุนภายในประเทศ หากยังไม่พอดำเนินการและเพื่อไม่ให้เสียโอกาศทางเศรษฐกิจก็ขอกู้จาก ต่างประเทศให้โครงการสำเร็จภายใน 5 ปี
ในปี2547 องค์กรปกครองท้องถิ่นเทศบาลและ อบต ต่างก็ได้รับเงินจัดสรรเพิ่มขึ้นจากรายได้รัฐ 20 % (เดิม 8 % )
ในปี2549 ได้รับเพิ่มเป็น 35% ของรายได้ของรัฐ ฐานะทางการคลังของเครือข่ายท้องถิ่นจึงมีศักยภาพที่จะดำเนินการโครงการต่างๆได้สำเร็จ
|
ช. ผลที่ได้ที่เป็นรูปธรรม: กิจกรรมใดบ้างที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน( 50 คำเป็นอย่างมาก) |
กิจกรรม |
จำนวนเงิน |
แหล่งงบประมาณ |
|
3,000,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- Digital Knowledge Management
|
500,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- พัฒนาระบบสารสนเทศของ IT Garden
|
14,000,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Garden)
|
5,000,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้างห้องแลปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
|
2,000,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ระบบบำบัดน้ำเสียรวม (งบประมาณรวม 358,900,000 บาท)
|
31,900,000 |
กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
|
100,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้างระบบจัดการมูลฝอยระยะเร่งด่วน
|
14,970,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- ก่อสร้าง สถานที่บริหารจัดการมูลฝอยแบบครบวงจร
|
79,000,000 |
กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
|
2,500,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- วิจัยและพัฒนาการใช้น้ำจากลำคลองมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
|
2,000,000 |
เทศบาลตำบลปากแพรก |
- การฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสวนสาธารณบ้านในหวัง โครงการ 1
|
20,000,000 |
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(18ล้านบาท)
เทศบาลตำบลปากแพรก(2 ล้านบาท) |
รวม |
174,970,000 |
|
ซ. ผลกระทบ: ท่านคิดว่าโครงการของท่านจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง (100 คำเป็นอย่างมาก) |
เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ผลทางบวก
- การจัดการเมืองมีระบบที่ทันสมัยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจเคลื่อนตัวเป็นทางบวกมากขึ้น เช่น ยางพาราราคาสูงได้ระดับพอดี(30 บาท ต่อกิโลกรัม) ความหลากหลายทางชีวะภาพเช่นสมุนไพรยาจากธรรมชาติถูกนำมา ทดแทนเคมีสังเคราะห์ลดภาระนำเข้าแดนลบลดน้อยลงไปอยู่ในสมดุล
- สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้น ทุกคนมีจิตสำนึกสาธารณจากระบบการจัดการเมืองแบบมืออาชีพด้วยสารสนเทศอินเตอร์เนต และกลไกการตลาด ทำให้ระบบนิเวศเกิดภาวะสมดุล ยั่งยืน
- สุขภาวะทุกคนในส่วนที่เกี่ยวข้องดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วยระบบข่าวสารที่รวดเร็วกว้างไกลถูกต้องแม่นยำสามารถพึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงสังคมได้ดี สังคมเข้มแข็งยั่งยืน
- สารพิษและวัสดุที่ไม่มีค่ากลับมาใช้ได้มีราคาขึ้นมา ลดการทำลายระบบนิเวศจากระบบอุตสาหกรรมทำกำไรอย่างเดียวได้
|
ผลทางลบ
กระทบต่อระบบการลงทุนแบบทำกำไรเดิม ทำให้เกิดการต่อต้านจากผู้ที่ถูกกระทบต่อธุรกิจแบบเก่า อาจเกิดการแตกแยกและทำลายกันทุกวิถีทางได้ ประชาคมจะอ่อนแอทันที
อัตราการเปลี่ยนแปลงเร็วมากหากจัดการระบบไม่ดีผลเสียจากการบริโภคไม่ถูกต้องแล้วปฏิบัติไม่ถูกก็จะเกิดผผลร้ายได้มากเช่นกัน
- การเฝ้าระวัง Monotoring โดยเครือข่ายชุมชน ที่ต้องเพิ่มขีดความสามารถให้ได้มาตราฐานหากไม่ได้มาตราฐานก็จะเกิดผลร้ายได้ หากกำหนดตัวชี้วัดไม่ดี กลไกควบคุมไม่ดีก็จะเกิดมลภาวะ หรือผลที่คาดไม่ได้มาก่อน จึงต้องมีการวิจัยและพํฒนาเข้าสู่ประชาคม
|
ฌ. การประเมินผล: ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าแนวความคิดท่านประสบผลสำเร็จ อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการท่าน (100 คำเป็นอย่างมาก) |
ตัวชี้วัด Verifiable Indicator |
หลักฐานการตรวจสอบตัวชี้วัด Means of verification |
1. ปริมาณขยะรวมที่ลดลงในแต่ละพื้นที่อัตราต่อคนต่อวัน
|
- สถิติการเก็บขยะรวม โรงงานแยกขยะรวม(เขาชัยชุมพล)
|
2. ปริมาณขยะมีพิษที่แยกได้ก่อนทิ้ง
|
- สถิติการเก็บขยะที่แยกแล้ว
|
3. ธนาคารมูลฝอย สำนักกลาง / สาขา
- คะแนนสะสมสมาชิก
- คะแนนสะสม รวม
- จำนวนขยะที่แยกได้ก่อนทิ้ง(recycle ) แต่ละชนิด
- จำนวนขยะพิษที่แยกได้
|
- ทะเบียนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ / บัญชีกลาง (Internet)
- บัญชีธนาคาร / บัญชีการขนส่งรายวัน
- บัญชีธนาคาร /สถิติโรงงานอัดแท่งขยะอนินทรีย์(ลุ่มพ้อ)
- สมุดบัญชีรายบุคคล /บัญชีกลาง
- บัญชี สาขา/ สำนักกลาง
|
4. จำนวนองค์กรท้องถิ่น และ ประชาคมที่เข้าร่วม แต่ละโครงการ
|
- ทะเบียนประชาคมและองค์กรท้องถิ่น
|
5. จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในท้องถิ่น
|
- สถิติจากที่พัก การขนส่ง ร้านอาหาร
|
6. ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ / ราคาที่เปลี่ยนแปลง
|
|
7. รายได้ประชากรต่อหัวต่อปี
|
- สำนักงานสถิติ / จังหวัด / แห่งชาติ
|
8. การรักษาพยาบาล
|
- โรงพยาบาล /ศูนย์ /จังหหหวัด / อำเภอ โรงเรียนแพทย์
|
9. การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
|
- สาธารณสุข จังหวัด / อำเภอ /ตำบล
|
10. ผลผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
|
- ตลาดกลาง ค้าส่ง/ ปลีก สรรพากร เทศบาล
|
11. จำนวนต้นไม้ในเมือง/ การปลูกป่า
|
|
12. จำนวน พืช / สัตว์ ที่เพาะเลี้ยงได้
|
- ห้องปฏิบัติการเพาะพืช / สัตว์ ธนาคารพืช/สัตว์ใกล้สูญพันธ์
|
13. ดัชนีคุณภาพชีวิต
|
- สภาวิจัย สภาพัฒน์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
|
ญ. ความยั่งยืนของโครงการ: แนวความคิดของท่านจะมีความต่อเนื่องยั่งยืนได้อย่างไร โครงการจะมีการดำเนินการมากกว่าหนึ่งปีหรือไม่ โครงการต้องการงบประมาณสนับสนุนในอนาคตหรือไม่ ถ้าต้องการ งบเหล่านั้นจะมาจากไหน โครงการจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคตหรือไม่ (150 คำเป็นอย่างมาก) |
มีความต่อเนื่องยั่งยืนเพราะกิจกรรมทั้งหมดเป็นกิจกรรมที่ต้องทำตลอดปี หรือทุกปีอย่างต่อเนื่อง และแต่ละกิจกรรมมีปัจจัยความคาบเกี่ยวและพึงพาอาศัยเกื้อหหหนุนซึ่งกันและกัน โดยตลอด ทั้งยังเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
งบประมาณสนับสนุนในอนาคต จะต้องขอรับการสนับสนุนในบางโอกาสหากมีปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อโครงการจะต้องมีระบบช่วยเหลือต่อไปจาก องค์กรท้องถิ่นที่เป็นภาคีร่วม รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์การต่างประเทศ ฯลฯ
ความสามารถในการเลี้ยงตนเองในอนาคต ท้องถิ่นจะสามารถพึงพาตนเองในระยะแรกได้ร้อยละ 50 และยังคงต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณร้อยละ 50 หลังจาก 5 ปีสามารถปรับตัวเข้าสมดุลในการพึ่งตนเอง ภายใต้อุดมการณ์ เศรษฐกิจพอเพียง อิสสระ พึ่งตนเอง
|
ฎ. ความสามารถในการดำเนินการ: ประสบการณ์อะไรที่ท่าน/องค์กรเอกชน หรือบุคคลในทีมของท่านจะนำมาใช้เพื่อดำเนินโครงการ ท่านเคยมีประสบการณ์การดำเนินงานในประเทศไทยเกี่ยวกับโครงการของท่านอย่างไร (100 คำเป็นอย่างมาก) |
20 ปีเศษ ที่มีประสบการณ์และแนวคิดด้านการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลขนาด300 เตียง
15ปี ในการบริหารเทศบาลการจัดการตลาดสดกึ่งขายส่งที่ผผผลิตขยะวันละ15 ตัน
35ปี ในธุรกิจส่วนบุคคลในการเกษตรสวนยางพารา ทีมงานระดับค้ายางส่งออกรายสำคัญของประเทศ ที่ปรึกษาระดับนักวิชาการการค้าภายในและระหว่างประเทศ ทีมงานธุรกิจท้องถิ่น ค้าข้าว ค้าสุกร ค้าปลา ค้ายางพาราเนื่องจาก เมืองทุ่งสงมีประวัติการค้า มีการถ่ายทอดหลักการค้ามาหลาย generations ในรูปแบบซื้อมาคัดเลือก (grading) แล้วขายไป ( Trading ) เป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี
|
9. ความคุ้มครองสินทรัพย์ทางปัญญา:
ท่านจะมีวิธีบริหารสินทรัพย์ทางปัญญาของโครงการอย่างไร |
ทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นฐานคือส่วนที่ทำการเพิ่มมูลค่าก็ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการลอกเลียน สิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นเราก็ไม่นำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นจริยธรรมทางการค้าที่คู่ค้าต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด การทำความเข้าใจกับคู่ค้าหรือคู่แข่งในเรื่อง จริยธรรม กฏสังคม และกฏหมาย โดยการมีจิตใจที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อกันไม่เอารัดเอาเปรียบ การเสมอภาค จึงจะเป็นการค้าที่ยั่งยืน การคิดกำไรจากการค้าที่สมเหตุสมผลเป็นหนทางแก็ปัญหาการละเมิดได้อีกทางหนึ่ง การแบ่งปันกันภายได้ความสมานฉันท์ร่วมคิดร่วมค้าเป็นภาคีภาพกันสามารถร่วมด้วยช่วยกันคุ้มครองทรัพสินทางปัญญาได้อย่างถาวร
|
10. เอกสารแนบ: ท่านสามารถแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการเสนอเข้ามาพร้อมแบบฟอร์มนี้ได้อีก 2 หน้า(400 คำเป็นอย่างมาก) ถ้ามากกว่านี้ คณะกรรมการจะไม่รับพิจารณา เอกสารที่ท่านแนบมานั้นอาจเป็นกราฟ แผนภูมิ แผนที่ รูปภาพ หรือเอกสารสนับสนุนอื่น ๆ ท่านควรแนบเอกสารดังกล่าวพร้อมกับข้อเสนอโครงการของท่านนี้ในรูปแบบไฟล์(หรือ ส่งมาทางโทรสาร ถ้าท่านไม่มีอีเมล์) |
|
11. การเปิดเผยสู่สาธารณชน:
ในการส่งข้อเสนอโครงการนี้ ทางผู้ส่งได้มอบฉันทะให้กับโครงการตลาดความคิดพัฒนาสร้างสรรค์ในการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณชนเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการติดต่อกันระหว่างโครงการ หน่วยงาน ภาคีที่สนใจอื่น ถ้าท่านมีความประสงค์ไม่ให้เราเปิดเผยข้อมูลโครงการของท่าน กรุณาแจ้งให้ทราบโดยเติมเครื่องหมาย X ลงข้างหน้าช่อง กรุณาเก็บข้อมูลเป็นความลับ
____________ กรุณาเก็บข้อมูลเป็นความลับ |
งบประมาณ
ดูหลักเกณฑ์เกี่ยวกับงบประมาณที่แนบ
|
| |