|
|
การร่วมมือแก้ไขปัญหาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ |
|
ระยะเวลาดำเนินการ ตลอดปี 2550 |
|
วัตถุประสงค์ |
|
1. เพื่อให้ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน น้อมนำพระบรมราชาโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาปฏิบัติใช้ร่วมมือในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในอำเภอทุ่งสง คือ |
|
ปัญหาทุกอย่าง มีทางแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยกันคิดกันแก้ หลาย ๆ คน หลาย ๆ ทาง ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง และบ่อนทำลายความเจริญและความสำเร็จ |
|
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 กรกฎาคม 2533 |
|
2.. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอำเภอทุ่งสงแบบบูรณาการ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของอำเภอทุ่งสง คือ ปัญหาด้านน้ำท่วมเมืองทุ่งสงและผังเมือง ปัญหาจราจร ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาด้านภาวะมลพิษ |
|
เป้าหมาย |
|
1. บรรเทาปัญหาด้านน้ำท่วมเมืองทุ่งสงและผังเมือง ปัญหาจราจร ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาด้านภาวะมลพิษของเมืองทุ่งสงให้ลดน้อยลง |
|
2. ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด ในการช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน |
|
รายละเอียดกิจกรรม |
|
สืบเนื่องจากได้เกิดปัญหาน้ำท่วมเมืองทุ่งสงทุก ๆ ปี ซึ่งได้สร้างความสูญเสียทั้งด้าน ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจเมืองทุ่งสงเป็นอย่างมาก การแก้ปัญหาโดยท้องถิ่นเพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ ต่างคนต่างทำ แก้ได้เพียงปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ ทุกภาคีของเมืองและภาคีที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอเมืองทุ่งสงในขณะนั้น คือ นายสุรินทร์ เพชรสังข์ จนถึงนายอำเภอทุ่งสงคนถัดไป นายสุรพล พนัสอำพล และนายอำเภอในปัจจุบัน นายมนัส โสกันธิกา นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ภาคเอกชน และประชาชน จึงได้น้อมนำพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการแก้ไขปัญหาร่วมกัน มาใช้ในการแก้ไขปัญหาของเมืองทุ่งสง เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาอำเภอทุ่งสงแบบบูรณาการสามารถขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอำเภอทุ่งสงจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ และคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาจราจรเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งได้มีการวางแผนการปฏิบัติงาน ดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี รวมทั้งมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบบูรณาการนั้น ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือ ร่วมใจเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด โดยดำเนินการ ดังนี้ |
|
1. ร่วมเรียนรู้ปัญหา ระดมความคิดเห็น จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ 4 ด้าน คือ |
|
- ยุทธศาสตร์ด้านการผังเมืองและน้ำท่วม |
|
- ยุทธศาสตร์ด้านการจราจร |
|
- ยุทธศาสตร์ด้านมลภาวะมลพิษ |
|
- ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ |
|
2. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสงร่วมกัน ในวันที่ 13 สิงหาคม 2550 ณ ภัตตาคารบุญญา ในการลงนาม ฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธาน ในการลงนาม ฯ และกล่าวว่า การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการของอำเภอทุ่งสง เป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นหรือรูปแบบสหการ ที่อยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีกรณีนี้เกิดขึ้น เนื่องจากท้องถิ่นต่างก็มีฐิติและมองเฉพาะเขตท้องถิ่นของตนเอง จึงจะนำรูปแบบความร่วมมือที่ทุ่งสงไปขยายต่อไป |
|
3. ร่วมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ ดังนี้ |
|
1. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ |
|
- ด้านกายภาพ |
|
- ด้านสังคม จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน ปลูกต้นไม้ และหญ้าแฝก จำนวน 9 ครั้ง |
|
2. การแก้ไขปัญหาจราจรเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ |
|
- สำรวจความคิดเห็นของประชาชนอำเภอทุ่งสง จำนวน 2,000 เพื่อทราบสาเหตุปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา |
|
- รณรงค์สร้างจิตสำนึกการมีระเบียบวินัยจราจร
ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ |
|
- สร้างเครือข่ายร่วมแก้ไขปัญหาจราจร จากภาครัฐ เอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา |
|
- เดินรณรงค์พร้อมกันทุกหน่วยงาน ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 |
|
- ร่วมจัดระเบียบจราจรและใช้มาตรการทางกฎหมาย |
|
- กิจกรรมขับขี่ปลอดภัยร่วมใส่หมวกนิรภัยเพื่อเฉลิมฉลอง ๘๐ พรรษา ในวันที่ 28 สิงหาคม 2550 |
|
3. การแก้ไขปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในการปฏิบัติได้ดำเนินการไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ (ด้านสังคม) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ |
|
- กิจกรรมปั่นจักรยาน ลดใช้พลังงาน |
|
- กิจกรรมถุงผ้ายั่งยืน รณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก ลดภาวะโลกร้อน |
|
- สร้างองค์ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนเรื่อง การประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน การลดภาวะโลกร้อน การคัดแยกขยะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการเรียนรู้การปลูกป่า และหญ้าแฝก จากห้องเรียนธรรมชาติ |
|
- ร่วมปลูกต้นไม้ พันธ์ไม้ท้องถิ่น ลดภาวะโลกร้อน และอนุรักษ์ทรัพยากร ณ ป่าต้นน้ำ |
|
![]() |