http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document
โครงสร้างการบริหาร           โครงการต่างๆ ตามฝ่ายงาน           บุคคลากรประจำฝ่ายงาน           รายชื่อบุคลากรในโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ที่ตั้งและขนาด
สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องพิเศษ
จุดเด่น-จุดด้อย
เป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals)
จุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (School Priovities)
แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร (Curriealum Plan)
บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา (Code of practice)
บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน (Student code of conduet)
แผนการดำเนินงานของสถานศึกษา (Master Plan)
การกำกับติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบและรายงานผล(School Accountability)
   
 
แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
(Curriealum Plan)
แผนการใช้หลักสูตรกลาง
          โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2533 ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
หลักการ
หลักสูตรประถมศึกษามีหลักการสำคัญ ดังนี้
          1. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อปวงชน
          2. เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์และการดำรงชีวิต
          3. เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างเอกภาพของชาติโดยมีเป้าหมายหลักร่วมกัน แต่ให้ท้องถิ่นมีโอกาสพัฒนาหลักสูตรบางส่วนให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการได้
จุดหมาย
จุดหมาย
          การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดี ตามระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำงานเป็น และครองชีวิตอย่างสงบสุข
          ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้จะต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
          1. มีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ คงสภาพอ่านออกเขียนได้ และคิดคำนวณได้
          2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
          3. สามารถปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว
          4. สามารถวิเคราะห์สาเหตุ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวได้อย่างมีเหตุผลด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          5. มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีนิสัยไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
          6. มีนิสัยรักการอ่านและใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
          7. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน มีนิสัยรักการทำงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
          8. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในบ้านและชุมชน สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านและชุมชนตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลป วัฒนธรรมในชุมชนรอบ ๆ บ้าน
โครงสร้าง
          มวลประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มี 5 กลุ่ม ดังนี้
          กลุ่มที่ 1 กลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์
          กลุ่มที่ 2 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ว่าด้วยกรบวนการแก้ไขปัญหาของชีวิตและสังคม โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตที่ดี
          กลุ่มที่ 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมนิสัย ค่านิยม เจตคติ และพฤติกรรม เพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี
          กลุ่มที่ 4 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ว่าด้วยประสบการณ์ทั่วไปในการทำงานและความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ
          กลุ่มที่ 5 กลุ่มประสบการณ์พิเศษ ว่าด้วยกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน สำหรับกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ในชั้น ป.5 - 6 โรงเรียนอาจเลือก จัดกิจกรรม
          เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะ ในกลุ่มประสบการณ์ทั้ง 4 หรือเลือกจัดกิจกรรมอื่น ๆ ตามความสนใจของผู้เรียน เช่น ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อาจจัดหลาย ๆ กิจกรรมก็ได้
เวลาเรียน
          ตลอดหลักสูตรประถมศึกษา ใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี แต่ละปีการศึกษาควรมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ ในหนึ่งสัปดาห์ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 25 ชั่วโมง หรือ 75 คาบ ซึ่งกำหนดให้คาบละ 20 นาที ทั้งนี้เมื่อรวมแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 200 วัน และไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง และสำหรับชั้น ป.5 - ป.6 นั้น ให้เพิ่มเวลาในการจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนในกลุ่มประสบการณ์พิเศษอีกไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมง
          อัตราเวลาเรียนของมวลประสบการณ์ทั้ง 5 กลุ่ม ในแต่ละระดับชั้น กำหนดไว้โดยประมาณ ดังนี้
มวลประสบการณ์ อัตราเวลาเรียนโดยประมาณ
ป.1 - 2 ป.3 - 4 ป.5 - 6
ร้อยละ คาบ/ปี ร้อยละ คาบ/ปี ร้อยละ คาบ/ปี
1.กลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ 50 1,500 35 1,050 25 750
2.กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย 15 450 20 600 25 750
3.กลุ่มสร้างลักษณะนิสัย 25 750 25 750 20 600
4.กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ 10 300 20 600 30 900
รวม 100 3000 100 3000 100 3000
5.กลุ่มประสบการณ์พิเศษ - - - - - 600
หมายเหตุเวลาเรียนคาบละ 20 นาที คิดเป็นชั่วโมงละ 3 คาบ
          เพื่อให้การจัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้ ประสบความสำเร็จตามจุดหมายข้างต้นจึงกำหนดแนวดำเนินการไว้ ดังนี้
แนวดำเนินการ
          1. จัดการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่นตามเหตุการณ์และสภาพท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนในส่วนที่เกี่ยวกับท้องถิ่นตามความเหมาะสม
          2. จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้สอดคล้องกับความสนใจและสภาพชีวิตจริงของผู้เรียน และให้โอกาสเท่าเทียมกันในการพัฒนาตนเองตามความสามารถ
          3. จัดการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงหรือบูรณาการ ทั้งภายในลุ่มประสบการณ์และระหว่างกลุ่มประสบการณ์ให้มากที่สุด
          4. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ และกระบวนการกลุ่ม
          5. จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงให้มากที่สุด และเน้นให้เกิดความคิดรวบยอดในกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ
          6. จัดให้มีการศึกษา ติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
          7. ให้สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
          8. ในการเสริมสร้างค่านิยมที่ระบุไว้ในจุดหมาย ต้องปลูกฝังค่านิยมที่เป็นพื้นฐาน เช่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีวินัย รับผิดชอบ ฯลฯ ควบคู่ไปด้วย
          9. จัดสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติจริงของผู้เรียน
การวัดผล การประเมินผล และการติดตาม
          การวัดผลและการประเมินผล ตลอดจนการติดตามผลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนหรือเลื่อนชั้นระหว่างปีหรือปลายปีตามความสามารถของผู้เรียนให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนทดสอบเป็นระยะและหรือทดสอบเมื่อจบแต่ละบทเรียนตามลักษณะการจัดประสบการณ์และเนื้อหาวิชาทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน
          อนึ่ง สำหรับกลุ่มประสบการณ์พิเศษ จะไม่นำมาเป็นเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนแต่เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูความก้าวหน้าจากการทำกิจกรรม
แผนการจัดทำและใช้หลักสูตรท้องถิ่น
          โรงเรียนได้กำหนดกรอบการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นไว้ 4 แนวทาง คือ
          1 ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริมให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และความเป็นไปของท้องถิ่น โดยยังยึดถือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งเนื่อหาและคาบเวลาเรียนก็ไม่เปลี่ยนแปลง
          2 ปรับรายละเอียดของเนื้อหา เป็นการพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับลด หรือเพิ่มเติมรายละเอียดของเนื้อหาจากหัวข้อหรือขอบข่ายที่ระบุไว้ในคำอธิบายของทุกกลุ่มประสบการณ์ ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นโดยไม่ทำให้จุดประสงค์หัวข้อหรือขอบข่ายเนื้อหาและคาบเวลาเรียนที่กำหนดไว้ ในหลักสูตรแม่บทเปลี่ยนแปลงไป
          3 จัดทำคำอธิบายในกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ซึ่งไม่มีเนื้อหาในหลักสูตรแม่บท
          4 ปรับปรุงและหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นการเลือกใช้ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือตัดทอนเนื้อหาในสื่อต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น
               - หนังสือเรียน
               - แบบฝึกหัด แบบทดสอบ
               - หนังสือเสริมประสบการณ์
แผนการสอนต่าง ๆ
          แผนการสอนที่โรงเรียนเน้น และถือเป็นนโยบายของโรงเรียน คือ แผนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง,และแผนการสอนแบบโครงงาน
แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center)
           คือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มใจและเต็มตามศักยาภาพของตน ภายใต้การชี้แนะและกำกับดูแลของผู้สอน
กิจกรรมต่อไปนี้จัดเป็น Performance task หรือ authentic task (เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง)
          1. การชักถาม (quiz) คือ การตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ อาจชักถามเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
          ผู้สอนบันทึกไว้ประกอบการพิจารณาประเมินผล
          2. การอภิปราย (discussion) หัวข้ออภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้ (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม) ผู้อภิปรายแต่ละคนจะอธิบายหรือแสดงเหตุผลเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย และไม่มีการลงมติ อาจอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียน และอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย
          ผู้สอนบันทึกระหว่างการพูดและตรวจข้อเขียนประกอบพิจารณาประเมินผล
          3. การแสดงความคิดเห็น/แก้ป้ญหา (Comment/problem solving) คือ การตั้งข้อสังเกต หรือบอกวิธีแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำได้โดยการพูดหรือเขียนบรรยาย (description) หรือโดยการแสดงท่าทาง (acting/role-play)
          ผู้สอนบันทึกระหว่างการพูดและตรวจข้อเขียนประกอบการพิจารณาประเมินผล
          หมายเหตุ การชักถาม การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น เป็นการให้ผู้เรียนคิดค้นหาคำตอบ หรือคำอธิบาย (คือเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง) คำตอบที่ถูกต้อง หรือการสรุปคำตอบของผู้สอนได้มาจาก ความคิดของผู้เรียน แต่ละคน ผู้สอนเพียงขัดเกลาเพิ่มเติม หรือแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้น
          4. การค้นหา (search) คือ การศึกษาค้นคว้าข้อเท็จจริง (fact) หรือข้อมูลสารสนเทศ (information) หรือทักษะกระบวนการ (skills and processes) (ดูรายละเอียดหน้า52) ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวม (collection) การสังเกต (observation) การปฏิบัติ (practice) การทดลอง (experiment) การตรวจสอบ (verification) หรือการฝึกกฝน (drill) เช่น การรวบรวม หรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการปฏิบัติตามหลักสุขศาสตร์ หรือหลักศาสนาและจริยธรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์การตรวจสอบกฎ หรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติเพื่อยืนยันหลักคุณธรรมในศาสนา หรือวัฒนธรรมประเพณี
แผนการสอนแบบโครงงาน (Project work)
          การสอนแบบโครงงาน หมายถึง กระบวนการทำงานที่ผู้เรียนทำด้วยตนเองตามจุดประสงค์ที่กำหนด แล้วเสนอผลงานต่อผู้สอน กระบวนการ 9 ขั้น

แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ยุทธศาสตร์ ปีที่1
พ.ศ.2544
ปีที่2
พ.ศ.2545
ปีที่3
พ.ศ.2546
ปีที่4
พ.ศ.2547
ปีที่5
พ.ศ.2548
1.อบรมจริยธรรมนักเรียน ป.5 - 6 ป.5 - 6 ป.5 - 6 ป.5 - 6 ป.5 - 6
2.อุปสมบทหมู่ นักเรียน ป.5 ป. 5 ป. 5 ป. 5 ป. 5
3.กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง
4.กีฬานักเรียน ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง
5.เข้าค่ายภาษาอังกฤษ ป.5 ป. 5 ป. 5 ป. 5 ป. 5
6.กิจกรรมตามประเพณี ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง
7.เข้าค่ายลูกเสือ - เนตรนารี ป.6 ป. 6 ป. 6 ป. 6 ป. 6

แผนการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ ปีที่1
พ.ศ.2544
ปีที่2
พ.ศ.2545
ปีที่3
พ.ศ.2546
ปีที่4
พ.ศ.2547
ปีที่5
พ.ศ.2548
1. ติดตั้งคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์มัลติมิเดีย ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 40 ชุด ห้องธุรการ จำนวน 2 ชุด ห้องสมุดจำนวน 1 ชุด ห้องดนตรีจำนวน 1 ชุด - -
2. ติดตั้งอินเตอร์คอมภายในโรงเรียน - ติดตั้งอินเตอร์คอม 5 จุด - - -
3. ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต 2 จุด - ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต ห้องคอมพิวเตอร์ 1 จุด ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตห้องสมุด 1 จุด - -
4. จัดหาสื่อคณิตศาสตร์ ป.1 - 4 ป.5 - 6 - - -
5. จัดตั้งศูนย์การเรียน - ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์คณิตศาสตร์ ศูนย์ภาษาไทย - -

แผนการวัดผล ประเมินผล
          โรงเรียนต้องดำเนินการวัดผล ทั้ง 3 ขั้นตอนดังนี้
               - ก่อนเรียน เพื่อทราบพื้นฐานความรู้และหาประสบการณ์เดิม
               - ระหว่างเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
               - หลังเรียน เพื่อตัดสินผลการเรียน
          สำหรับการประเมินผลโรงเรียนต้องประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายไม่ใช่ประเมินจากแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว อย่างน้อยโรงเรียนต้องพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
          1. พัฒนาการของผู้เรียน
          2. ความประพฤติ
          3. การสังเกตพฤติกรรมการเรียน
          4. การร่วมกิจกรรม
          5. การทดสอบ
          - พัฒนาการของผู้เรียน ประเมินจากการสังเกต บันทึก และจากแฟ้มสะสมผลงาน
          - ความประพฤติ ประเมินจากการสังเกต บันทึก และการประเมินตนเอง การประเมินจากกลุ่มเพื่อนจากผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่น ๆ
          - พฤติกรรมการเรียน ประเมินจากการสังเกต บันทึก การปฏิบัติในการเรียน การทำแบบฝึกหัด การซักถามและการทำงานภาระกิจต่าง ๆ
          - การร่วมกิจกรรม ประเมินจากการสังเกตบันทึก
          - การทดสอบ ประเมินจากแบบทดสอบ (ถ้าเป็นการปฏิบัติต้องทดสอบด้วยการปฏิบัติ)
          หมายเหตุ เวลาเรียนเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา จึงต้องมีการบันทึกด้วย



โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน ถ.ภราดร ต.ปากแพรก
อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110
Design By Miss Supaporn Yannasut E-mail--->syannasut@hotmail.com