จันทน์แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiri Gagnep
ลักษณะทั่วไป ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน พบตามภูเขาหินปูนหรือลูกรัง ทั่วทุกภาคของไทย ชอบแสงแดดจัด ทนดินเค็มและทนแล้ง โตช้าเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 3-7 เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งเจริญเป็นพุ่ม เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกต้นเรียบสีเทา ใบเดี่ยว รูปแถบเรียวแหลม ขนาด 4-5 x 45-60 เซนติเมตร (กว้างxยาว) เวียนสลับถี่ที่ปลายยอด สีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบลำต้น ออกดอกเป็นช่อแขนงขนาดใหญ่ที่ ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอก 6 กลีบ กลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม ผลกลมเล็ก สีเขียว เมื่อแก่มีสีแดงคล้ำ ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดหรือปักชำ
ฤดูออก กรกฎาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำต้น
ประโยชน์ เนื้อไม้ ที่มีเชื้อราลงจนเป็นสีแดงเข้มเรียกว่า จันทน์แดง ใช้เป็นยาเย็น ดับพิษไข้ บำรุงหัวใจ ฝนทาภายนอกแก้ฟกช้ำ บวมและฝี
แหล่งที่พบในประเทศไทย

Back