ชื่อท้องถิ่น

ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Moringa oleifera Lam.

วงศ์

MORINGACEAE

ชื่อสามัญ

Horse Radish Tree

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกสามชั้นเรียงสลับ ใบย่อย รูปขอบขนาน รูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปวงรี กว้าง 0.7-2 ซม. ยาว 1-3 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ผลเป็นฝักกลมยาว เป็นไม้ปลูกง่าย ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด และปักชำ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ทุกส่วน

สารเคมีที่สำคัญ

ในใบจะมีสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามาถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

เปลือก รสร้อน ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลทอัมพาต
กระพี้ รสเฝื่อน แก้ไข้สันนิบาต
ราก รสเผ็ดหวานขม แก้บวม แก้ลมเข้าข้อ บำรุงธาตุไฟ
ฝักมะรุม รสหวานเย็น เม็ดรสมัน ถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน แก้ขัดเบา
ใบ แก้เลือดออกตามไรฝัน แก้อักเสบ แก้แผล
ดอก เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา
เมล็ด เมล็ดสดคั้นจะให้น้ำมัน นำไปปรุงอาหารหรือทำเครื่องสำอาง เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ

 แก้ปวดข้อ : ใช้มะรุมทั้ง 5 คือ ราก ต้น ใบ ดอก ฝัก อย่างละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำสะอาด 3 ขัน ให้เหลือครึ่งขัน ดื่มยาวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้า - เย็น ถ้าถูกกับยาอาการปวดข้อจะทุเลาลงภายใน 4 ชั่วโมง ให้ต้มดื่มต่อไปจนหาย
 แก้ท้องอืด : ใช้เปลือกต้น 2 ฝ่ามือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10 นาที ดื่มครั้งละ 1-2 แก้ว(ค่อย ๆ ดื่มทีละน้อย) อาการจะทุเลาลงภายใน 1 ชั่วโมง ดื่มต่อไปอีก 2-3 แก้ว อาการก็จะหาย
 แกความดันโหิตสูง : ใช้ยอดสด แก่หรืออ่อนก็ได้ ตำให้ละเอียดใส่น้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำผึ้งพอเหมาะ กินวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1/2 แก้ว

ข้อควรรู้