ชื่อท้องถิ่น

อ้อยดำ อ้อยขม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Saccharum officinarum Linn.

วงศ์

GRAMINEAE (POACEAE)

ชื่อสามัญ

Black Sugar Cane, Sugar Cane

ลักษณะ

เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นกลมสีม่วงแดง ลำต้นแข็งแรงมีข้อปล้องชัดเจน มีไขสีขาวปกคลุม เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีขาวตรงปลายยอด ลำต้นจะออกดอกเมื่อต้นแก่เต็มที่ ผล เป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูงความยาวของข้อและสีของลำต้น

การขยายพันธุ์

ใช้หน่อจากเหง้า หรือปักชำใช้ลำต้นที่มีตา ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วม แดดจัด ปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศไทย

ส่วนที่ใช้เป็นยา

ลำต้นสด หรือ แห้ง

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ในลำต้นมีน้ำหวานซึ่งประกอบด้วยซูโครส (sucrose) ในปริมาณสูง มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส จำนวนเล็กน้อย

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ : ใช้ลำต้นสด วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 70-90 กรัม แห้งหนัก 30-40 กรัม) สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำจะได้รสยาขมๆ หวานๆ แบ่งดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิเมตร) วันละ 2 ครั้ง



   แก้ไอเรื้อรัง หอบ มีเสมหะในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ : ใช้รากอ้อย 10 กรัม ต้มกับสุรา กินครั้งเดียวหมด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น



   แก้อาเจียน (เพราะมีโรคอยู่ในกระเพาะ) : ใช้น้ำอ้อยสด 1/2 แก้ว ผสมกับน้ำคั้นจากขิงสด 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน ตั้งบนไฟพออุ่น ดื่มให้หมดในครั้งเดียว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

แห้วหมู สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน อัญชัญ