ชื่อท้องถิ่น หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), หญ้าแห้วหมูใหญ่, หญ้าแห้วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cyperus rotundus Linn.

วงศ์

CYPERACEAE

ชื่อสามัญ

Nutgrass

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัว กว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. กลางใบเป็นร่องสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ดอก  ออกเป็นช่อขนาดเล็กแบบดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แทงขึ้นจากกลางต้น ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผล  เป็นผลแห้ง รูปขอบขนานรูปไข่กลับ ปลายแหลมมีหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสีน้ำตาล หรือดำ

ขยายพันธุ์

โดยหัวหรือไหล ปลูกลงไปในดินลึก 2 - 3 ซม. ขึ้นง่าย ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มักจะขึ้นเองตามธรรมชาติ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

หัว, ใบ

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ในหัวมี Oleanolic acid และในใบมี Chlorophyll A, Chlorophyll B, luteolin

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด:     นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน

 แก้บิด:     หัวแห้วหมูแห้ง 6 - 8 หัว บดกับขิงแก่แห้ง 4 - 5 แว่น คลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาลูกกลอน

 ขับปัสสาวะ:     หัวใต้ดิน 5 - 7 หัว บดละเอียด คลุกกับน้ำผึ้ง กลืนเป็นยาลูกกลอน รับประทาน 1 ครั้ง

 รักษาแผลเรื้อรัง:     ต้นและใบ 5 - 10 ต้น หั่นตำให้ละเอียด พอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด

 บาดทะยัก     ใช้หัวแห้วหมู ต้นผักบุ้ง สารส้ม โขลกรวมกัน ให้เข้ากัน แล้วผสมยามหานิลซึ่งออกฤทธิ์ทำลายพิษลงไปเล็กน้อย แล้วคั้นเอาน้ำกิน กากใช้พอก

ข้อควรระวัง

 

หญ้าหนวดแมว สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน อ้อยแดง