ชื่อท้องถิ่น พยับเมฆ , นางรักป่า(ประจวบฯ), อีตู่ดง(เพชรบูรณ์)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Orthosiphon aristatus (Blume) Miq

วงศ์

LABIATAE (LAMIACEAE)

ชื่อสามัญ

Cat' s Whisker

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งอ่อนและก้านเป็นสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ลำต้นมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม.ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นชิ้น ๆ คล้ายฉัตร มี 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยาวพ้นกลีบดอกออกมา มีลักษณะคล้ายหนวดแมว ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือเอากิ่งมาปักชำ ชอบที่ชื้น แดดไม่จัด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบและยอดแห้ง

สารเคมีที่สำคัญ

มีสารโปแตสเซียมในปริมาณสูง และมี glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthosiphonin นอกจากนี้ยังพบ essential saponin, alkaloid, organic acid และ fatty oil

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว : ใช้ใบแห้ง 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1 ขวดน้ำปลา เหมือนกับชงชา ดื่มวันละ 1 ขวด 3 ครั้ง หลังอาหาร

รักษาโรคหนองใน : ใช้ทั้งใบและกิ่งต้มกับสารส้ม ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง

 ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปแตสเซียมมาก

 จะใช้ใบหรือต้นสดต้มกินก็ได้ แต่รสชาติจะเหม็นเขียวใบแห้งที่มีสีเขียวเวลาต้มจะมี รสเหม็นเขียวเช่นกัน

 ถ้าใช้ใบแก่หรือต้นแก่ต้มด้วย อาจจะมีพิษเพิ่มขึ้น เช่นอาจจะมีฤทธิ์กดหัวใจเพิ่มขึ้น

 ควรจะเก็บยาใช้เอง เพราะยาที่ซื้อมานั้นมักจะมีต้นมากเกินไป มีใบน้อยไป และต้นมักเป็นต้นแก่

 ถ้าใช้ใบที่ตากแดดจนหมดสีเขียวมาชง น้ำยาที่ได้จะมีสีเหมือนน้ำชา มีกลิ่นหอม มีรสหวานเล็กน้อยและขมเล็กน้อยแบบน้ำชา

 จะกินยาให้มากกว่าขนาดที่กำหนดให้ก็ได้ เพราะไม่มีอันตรายใด

 ยานี้ระคายคอบ้างเล็กน้อย

หญ้าคา สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน แห้วหมู