ชื่อท้องถิ่น

เสลดพังพอนตัวผู้ ,พิมเสนต้น, ชองระอา หรือทองระอา, อังกาบแดง, ลิ้นงูเห่า, ต้นเขี้ยวงู, ต้นสารพัดพิษ ภาษาจีน เรียก เช็กเชเกี่ยม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Barleria lupulina Lindl

วงศ์

ACANTHACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มสูง 1-1.2 เมตร มีหนามยาวที่ข้อ ๆ ละ 2 คู่ กิ่งสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 ซม. ขอบเรียบ โคนและปลายใบค่อนข้างแหลม ก้านใบสั้น มีสีแดงตลอดไปจนเส้นกลางใบ เนื้อใบค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ ดอกช่อรูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ออกที่ปลายกิ่งเป็นช่อตั้งยาว 8 - 10 ซม. ประกอบด้วยใบประดับรูปกลมสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่หุ้มดอกย่อยแต่ละดอก กลีบดอกสีเหลือง - ส้ม โคนกลีบติดกัน ปลายแยกออกเป็นลักษณะสองปาก ผลเป็นฝักรูปไข่ปลายแหลม

การขยายพันธุ์

ใช้ลำต้นปักชำ เลือกกิ่งที่แก่ ๆ ยาวกิ่งละประมาณ 1 - 2 คืบ ปักชำให้ออกราก แล้วย้ายลงปลูกในแปลง ดูแลรักษาเหมือนกับพืชทั่ว ๆ ไป เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบสด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ในใบมีสารเคมีพวก iridoid ซึ่งจากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์แก้อักเสบ

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ถอนพิษ แมลง - สัตว์ , เป็นฝี และแก้น้ำร้อนลวก :   ใช้ใบ ประมาณ 1 กำมือ หรือ 10 - 15 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าโรง พอกหรือทาบริเวณที่เป็น
  ถอนพิษ ตะขาบ :ใช้รากฝนกับเหล้าทาบริเวณที่เป็น หรือใช้ใบผึ่งในที่ร่มจนแห้ง 9 ส่วน พิมเสน 1 ส่วน บดตัวยาทั้งสองให้ละเอียดใส่ขวด แล้วเติมแอลกอฮอล์หรือเหล้าโรงพอท่วมยา ใช้ทาบริเวณที่เป็นจนหาย
  แก้อาการปวดหัว :ใช้ดอกเสลดพังพอนมาต้มกับน้ำสะอาด ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา ให้กินบ่อย ๆ จนไม่มีอาการ
  แก้ร้อนใน :ใช้ใบตากแห้ง นำมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่น้ำตาลเล็กน้อย
ดื่มบ่อย ๆ
  แก้ปวดฟัน :ใช้ใบเคี้ยวกินบ่อย ๆ
  แก้ผดผื่นคัน :ใช้ดอกสด ที่ยังบานไม่เต็มที่ 9-10 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดดื่ม

ข้อควรรู้


สีเสียดเหนือ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน หญ้าคา