ชื่อท้องถิ่น

ว่านไฟไหม้(ภาคเหนือ), ว่านหางจระเข้,หางตะเข้(ภาคกลาง), ว่านหางเข้(ใต้) ,นำเต็ก(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Aloe barbadensis Mill ,Aloe Vera (L.)

วงศ์

ALOACEAE

ชื่อสามัญ

Aloe

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อและปล้องสั้น ใบเป็นพืชใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้างประมาณ 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำ ปลายแหลม รอบใบหยักและมีหนาม ผิวสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ใบอ่อนจะมีรอยประสีขาว ภายในมีวุ้นใสเมือกมาก ดอกออกเป็นช่อในช่วงฤดูหนาว ออกจากกลางลำต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม เริ่มบานจากล่างขึ้นบน ผลเป้นผลแห้ง แตกได้

การขยายพันธุ์

โดยใช้หน่ออ่อนที่แตกออกมาจากกอใหญ่หรือแยกเหง้าหน่อ ปลูกได้ดีบริเวณริมทะเลที่เป็นดินทรายหรือดินร่วน และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ วิธีปลูกกลบดินพอมิดโคนหน่อ ปลูกในกระถางหรือแปลงก็ได้ ว่านหางจระเข้ชอบแดดรำไร ไม่ควรปลูกที่น้ำแฉะ ควรระบายน้ำได้ดี ให้มีระยะห่างกันประมาณ 1-2 ศอก ควรเติมปุ๋ยผสมดินลูกรังแดง เดือนละ 2 กำ มือ ใช้เวลาปลูกประมาณ 8-12 เดือน ก็สามารถเก็บได้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

วุ้นจากใบสด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

  สารที่ออกฤทธิ์ในเป็นสาร กลัยโคโปรตีน ชื่อ Aloctin A ซึ่งมีกฤธิ์เป็นกรด ลดการอักเสบและเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื้อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้นาน 24 ชั่วโมง

  สารที่ออกฤทธิ์ในยาถ่าย คือ สารที่พบที่เปลือก คือ Anthraquinone มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (l) Aloin เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ โดยไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

   สารออกฤทธิ์สมานแผล คือ Aloction และ Aloctin B

   สารออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด คือ Aloe

   สารออกฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้,น้ำร้อนลวก คือ Polysaccharide และ Methyl derivative ของ Polysaccharide

   สารออกฤทธิ์แก้ปวด คือ Aloe gel แก้ปวดเนื่องจากแมงกระพรุน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด แผลการฉายรังสี และแผลที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย : เลือกใบต่ำสุด นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือด่างทับทิม ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ใช้ปิดแผลพันทับด้วยผ้าพันแผล ให้ชุ่มในชั่วโมงแรก เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น จนกว่าแผลจะหาย ในกรณีแผลไหม้เกรียมให้นำวุ้นมาผสมกับขี้ผึ้ง

  โรคกระเพาะ : รับประทานวุ้นสด ที่ได้จากการนำใบที่ตัดจากต้นใหม่ ๆ ปอกเปลืกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือด่างทับทิม ผู้ใหญ่รับประทาน 15 กรัม/วัน เด็กลดลงตามส่วนประมาณ 1/3 ของผู้ใหญ่

   แก้ท้องผูก : กรีดเอายางออก เคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ก้อนสีดำ(ยาดำ) ตักมาปลายช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย คนให้ละเอียด เด็กกินครั้งละ 1 ช้อนชา ก่อนนอน ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 ช้อนชา ก่อนนอน

  รักษาสิวฝ้า : ตัดใบสด ๆ ขูดน้ำเมือกและวุ้นที่อยู่ภายใน ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด นำมาพอก ทิ้งไว้ให้แห้ง ทำติดต่อกันทุกวัน หรือใช้ผสมกับแป้งสาคู แป้งเท้ายายม่อม แป้งข้าวเจ้า แป้งขมิ้นไพร นำมาขัดผิวที่ด่างดำ ผิวจะชุมชื่น สะอาด

  โรคหนอง : นำยางเหลืองจากขอบใบเคี่ยวให้แห้ง นำไปผสมกับสารส้มกินรักษาอารการโรคหนอง หรือ นำรากและเหง้า มาต้ม (เเพทย์จีน)

   ปวดศรีษะ : ผ่าใบออกเป็นวง ล้างเอายางสีเหลืองออกให้หมด เอาปูนแดงทาที่วุ้นแล้วปิดขมับ

ข้อควรระวัง

  ก่อนใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาทาภายนอกควรทดสอบอาการแพ้ก่อน โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ หรือควรชิมวุ้น ถ้ามีรสขมแสดงว่ายังมียางอยู่ ควรล้างให้หมดรสขม

  เมื่อใช้เป็นยากิน ควรระวังเช่นกัน เพราะอาจทำให้ท้องเสียและปวดท้องได้

  กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้ เพราะจะเพิ่มอินซูลินในตับ อาจมีอันตรายทำให้หมดสติได้

เล็บมือนาง สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน สะแก