ชื่อท้องถิ่น

มะตาเสือ (เหนือ) ยอบ้าน (ทั่วไป) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Morinda citrifolia Linn.

วงศ์

RUBIACEAE

ชื่อสามัญ

Indian Mulberry

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้นสูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกออกเป็นช่อซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาวเป็นหลอด ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง เมื่อสุกสีค่อนข้างขาว มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว

การขยายพันธุ์

ใช้เมล็ด (ควรปลูกในฤดูฝน) โดยหว่านเมล็ดลงดินแล้วปล่อยให้งอกเอง หรือถ้าจะให้งอกเร็วก็รดน้ำเป็นครั้งคราว

ส่วนที่ใช้เป็นยา

ผลดิบหรือผลห่ามสด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ผลยอมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน: ใช้ผลสดดิบหรือห่าม 1 ผล ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงน้ำร้อน จิบบ่อย ๆ

 ยาขับลมในลำไส้แก้ท้องอืด: ใช้ผลยอมาโขลกกับเกลือผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานมื้อละขนาดผลพุทรา 1-2 ลูก หรือ นำผลยอมาหั่นเป็นชิ้น เล็ก ๆ แล้วตำกับพริก กระเทียม เกลือ มะนาว ใช้รับประทาน

 ยาฆ่าเหา: ใช้ใบสด 5-10 ใบ นำมาคั้นน้ำ สระล้างศีรษะ ใช้สระ 2-3 ครั้ง เหาก็จะหมดไป

แมงลัก สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ย่านาง