ชื่อท้องถิ่น

มะแว้งขม, มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแคว้งดำ (เหนือ) มะแว้ง (กลาง) แว้งคม (สงขลา ,สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum sanitwongsei Craib

วงศ์

SOLANACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร มีขนทั่วไปทั้งลำต้นและผิวใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง มี 5 แฉก เกสรสีเหลือง มีดอกตลอดปี ผล เป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

การขยายพันธุ์

เมล็ดแก่จัด หยอดในหลุมลึกประมาณ 0.5-1 ซม. ประมาณ 1-2 สัปดาห์เมล็ดจะงอก

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลแก่สด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

สาร solasodine จะพบได้ในส่วนผล, ใบ และ ต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ solanine, solanidine, beta-sitosterol และ diosgenin

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   แก้ไอ แก้เสมหะ น้ำลายหนียว : ใช้ผลแก่ เด็ก 2-3 ผล ผู้ใหญ่ 10-20 ผล ล้างให้สะอาดเคี้ยวอม กลืนเฉพาะน้ำเมือกจนหมดรสขม คายกากทิ้ง หรือจะกลืนทั้งน้ำและเนื้อก็ได้ หรือใช้ผลสด 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำเมือกใส่เกลือ จิบบ่อย ๆ เมื่อมีอาการ
       
  แก้โรคเบาหวาน : นำผลโตเต็มที่ รับประทานสด หรือจิ้มน้ำพริก

ข้อควรระวัง

-

มะแว้งเครือ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะหาด