ชื่อท้องถิ่น

มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ), แขว้งเคีย(ตาก)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum trilobatum Linn.

วงศ์

SOLANACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม ส่วนต่าง ๆ ตามลำต้นจะมีหนาม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบหยักเว้า 2-5 หยัก ผิวใบเรียบเป็นมัน และมีหนามเล็ก ๆ ตามเส้นใบ ดอกออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ออกเป็นช่อ 2-8 ดอก ผล เป็นผลสด รูปกลม ผลอ่อนสีเขียวมีลายตามยาว ผลแก่สีแดง

การขยายพันธุ์

ใช้เมล็ดปลูก สามารถขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ควรปลูกในฤดูฝน ปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงในหลุมที่ขุดเตรียมไว้แล้ว ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มชื้นหมั่นตรวจตราดูแลไม่ให้มีวัชพืชรบกวน

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลแก่สด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

มีวิตามิน เอ และมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ชื่อ Solanine, Solanidine และสารที่ทำให้ผลมะแว้งเครือมีรสขมคือ Tomatid 5-en-3-B-ol

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   แก้อาการไอ และมีเสมหะ และ เจริญอาหาร :   นำผลแก่ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวกลืนทั้งเนื้อและน้ำจนกว่าอาการจะดีขึ้น

ข้อระวัง

-

มะละกอ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะแว้งต้น