ชื่อท้องถิ่น

ส้มมะนาว, มะนาว, มะลิว , ส้มนาว (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swingle.

วงศ์

RUTACEAE

ชื่อสามัญ

Lime, Common Lime หรือ Sour lime

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม สูง 2-4 เมตร มีหนามตามลำต้น กิ่งอ่อนมีหนามสั้น ๆ ใบ เป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อเล็ก ๆ ออกที่ปลายกิ่งที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผล เป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ เปลือกบาง มีต่อมน้ำมันที่เปลือกผล มีกลิ่นหอม ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลแบ่งเป็น 5-10 ห้อง ภายในมีน้ำรสเปรี้ยว มีเมล็ดหลายเมล็ด รูปไข่สีขาวนวล

การขยายพันธุ์

นิยมปลูกโดยใช้กิ่งตอน มะนาวขึ้นได้ในดินทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนซุยและมีการระบายน้ำดี ควรปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกใช้กิ่งตอนปลูกในหลุม ใช้ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ ต้องรดน้ำทุกวัน และควรบังแดดจนกว่าต้นจะแข็งแรง

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เปลือกผล น้ำในผล ใบ และ เมล็ด

สารเคมีที่และสารอาหารสำคัญ

ในผิวเปลือกของมะนาว มีน้ำมันหอมระเหย "โวลาทิล" ซึ่งประกอบด้วย limonene, linalool, terpineol ในบ้ำมะนาว มีสารเคมีเช่น Slaronoid, Organic acid, citral และวิตามินซี

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   แก้คอแห้ง :   คั้นน้ำมะนาวใส่ช้อนแล้วเทลงคอ

  แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ :   คั้นน้ำมะนาวจากผลสด ผสมเกลือป่น จิบบ่อย ๆ หรือจะปรุงเป็นน้ำมะนาวโดยเติมน้ำตาลและเกลือ ปรุงรสให้จัดเล็กน้อยใช้ดื่มบ่อย ๆ หรือเอาเมล็ดมะนาวที่โขลกผสมพิมเสนมาชงกับน้ำร้อนดื่ม

  ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด :    ใช้เตรียมในรูปอาหารและเครื่องดื่ม

  แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด :  นำเปลือกผลมะนาวสดประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออกมา ฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ชงน้ำร้อนดื่มเมื่อมีอาการ หรือใช้เปลือกผลมะนาวแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำดื่ม

  ฟอกโลหิตระดู :  ใช้ใบ 108 ใบ นำมาต้มเป็นยา

  แก้ซางในเด็ก :  นำเมล็ดมะนาวมาคั่วแล้วบดให้เป็นผง ชงหรือต้มน้ำดื่ม

  แก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบ :  ใช้รากฝนกับเหล้าทาบริเวณที่เป็น

ข้อระวัง

-

มะคำดีควาย สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะพร้าว